ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง ไม่รับคำฟ้องที่นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี และพวกรวม 4 คน ยื่นฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. เลขาธิการ ปปง. และสำนักงานปปง. กรณียึดทรัพย์นางภคินี สุวรรณภักดี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยในศาลปกครองกลางเห็นว่า คดีดังกล่าวไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลแพ่ง ตาม พ.ร.บ. ปปง. 2542 กำหนด
ส่วนเหตุผลศาลปกครองสูงสุด ยืนไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ระบุว่า การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้วนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย เนื่องจาก พ.ร.บ. ปปง. 2542 กำหนดให้อำนาจศาลยุติธรรม ในการมีคำสั่งให้ทรัพยสินตกเป็นของแผ่นดิน ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมาย ของกระบวนการทั้งหมด ก่อนที่จะมีการยื่นคำร้องต่อศาล โดยไม่อาจแยกศาลที่มีอำนาจ มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน กับศาลที่มีอำนาจตรวจสอบกระบวนการก่อนยื่นคำร้อง แยกต่างหากจากกันได้ และไม่ว่าคำสั่งของปปง. ที่ให้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ทรัพย์สินของ นายอรรถวิชช์ และพวก ตกเป็นของแผนดิน จะเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ก็ตาม ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งดังกล่าวได้ และกรณีนี้ไม่อาจเทียบเคียงกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 229/2548 ที่ได้วินิจฉัยคำสั่งยึดทรัพย์ชั่วคราวของคณะกรรมการธุรกรรม ซึ่งเป็นคำสั่งที่มีกระทบต่อสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ถูกยึดในทันที ซึ่งแตกต่างจากข้อเท็จจริงในคดีนี้ อันเป็นกระบวนการในการยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรม เพื่อให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยยังไม่มีผล เป็นการให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยทันที จนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของนายอรรถวิชช์ และพวก จึงฟังไม่ขึ้น จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง
ส่วนเหตุผลศาลปกครองสูงสุด ยืนไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ระบุว่า การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความแล้วนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย เนื่องจาก พ.ร.บ. ปปง. 2542 กำหนดให้อำนาจศาลยุติธรรม ในการมีคำสั่งให้ทรัพยสินตกเป็นของแผ่นดิน ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมาย ของกระบวนการทั้งหมด ก่อนที่จะมีการยื่นคำร้องต่อศาล โดยไม่อาจแยกศาลที่มีอำนาจ มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน กับศาลที่มีอำนาจตรวจสอบกระบวนการก่อนยื่นคำร้อง แยกต่างหากจากกันได้ และไม่ว่าคำสั่งของปปง. ที่ให้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ทรัพย์สินของ นายอรรถวิชช์ และพวก ตกเป็นของแผนดิน จะเป็นคำสั่งทางปกครองหรือไม่ก็ตาม ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งดังกล่าวได้ และกรณีนี้ไม่อาจเทียบเคียงกับคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 229/2548 ที่ได้วินิจฉัยคำสั่งยึดทรัพย์ชั่วคราวของคณะกรรมการธุรกรรม ซึ่งเป็นคำสั่งที่มีกระทบต่อสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้ถูกยึดในทันที ซึ่งแตกต่างจากข้อเท็จจริงในคดีนี้ อันเป็นกระบวนการในการยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรม เพื่อให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน โดยยังไม่มีผล เป็นการให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินโดยทันที จนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ที่จะพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่ง คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของนายอรรถวิชช์ และพวก จึงฟังไม่ขึ้น จึงมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองกลาง