ในการแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี ของรัฐบาล เมื่อวานนี้ (23 ธ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แถลงว่า ผลงานด้านกฎหมาย เป็นการแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 22 พ.ค.57 อาทิ เรื่องพันธสัญญาระหว่างประเทศที่ยังค้างคา ทั้งเรื่องประมงผิดกฎหมาย ไอเคโอ สัญญาข้อตกลงรถไฟไทย-จีน แก้กฎกติกาที่เป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจ ออก พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม แก้กฎหมายลูกหนี้-เจ้าหนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ออกกฎหมายอุ้มบุญ แก้ปัญหาระบบราชการ 4 ช. คือ เชย เชื่องช้า ใช้งบประมาณมาก และเปิดช่องให้ทุจริต ออก พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ ออกกฎหมายภาษีมรดก พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการอุดหนุนการเงินแก่การก่อการร้าย กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการค้ามนุษย์ พร้อมเร่งรัด 12 ดคี ที่รัฐเป็นโจทก์ ฟ้องเอกชน และเอกชน ราษฎร ฟ้องร้องรัฐ ส่วนคดีอาญาและคดีนักการเมือง นายกฯ เร่งรัดคดีเข้าสู่ศาลภายใน 1 ปีครึ่งจากนี้ เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า คดีถูกดอง
** เผยส่ง 50 ขรก.เอี่ยวโกงให้นายกฯ
ส่วนผลงานในเชิงปฏิรูป ส่วนของระบบราชการ ได้แก้ปัญหาความล่าช้า กฎหมายซ้ำซ้อน ล้าสมัย โดยประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ทบทวนความจำเป็นของการออกกฎหมาย กำหนดทั้ง 20 กระทรวง ต้องทบทวนกฎหมายทุกปี 5 ปี อะไรควรอยู่ ควรเลิก ควรแก้ หรือซ้ำซ้อน ให้ยุบรวมเป็นฉบับเดียว ถ้าไม่ทำ มีความผิดและถูกลงโทษ พร้อมต้องแปลกฎหมายของตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ ภายใน 5 ปี เพื่อรับเข้าสู่อาเซียน เรื่องของการทุจริต พบคดีล่าช้า เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่สังกัด ซึ่งเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้ส่งรายชื่อข้าราชการจำนวน 50 คน ที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตชุดใหม่ ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. พิจารณาใช้อำนาจ มาตรา 44 ดำเนินการ
** แก้กม.สนองกรรมคนโกงติดจรวด
นายวิษณุ กล่าวว่า ทั้งนี้ คดีทุจริตที่ล่าช้า ทำผู้ต้องหาหนีคดีไปต่างประเทศ อาจขาดอายุความ ครม.จึงได้ผ่านร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และได้ส่ง สนช.เร่งพิจารณาแล้ว โดยกฎหมายดังกล่าวใช้วิธีไตร่สวนผู้ต้องหา จำเลยหนีคดีก็ไม่มีวันขาดอายุความ ชนะคดีตามยึดทรัพย์ได้ง่าย และให้อุทธรณ์หนเดียว ไม่มีฎีกา พร้อมออก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบประกอบ เพื่อให้รวดเร็วแบบกรรมติดจรวด
นอกจากนี้ แก้ปัญหาคดีรกศาล โดยจะออกกฎหมายชะลอการฟ้องให้ประนีประนอมกันก่อน และได้แก้กฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จนนำเงินจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สินในคดีฉ้อโกงประชาชน สามารถนำเงินมาคืนประชาชนได้โดยไม่ต้องรอให้คดีสิ้นสุด เช่น คดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) คดียูฟัน คดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
**เร่งร่างกม.ลูกหลังประชามติ
นายวิษณุ กล่าวว่า ในปี 59 เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. วางระบบการแต่งตั้งข้าราชการระดับปลัดกระทรวง อธิบดี ทุกกรมใหม่หมด แก้ปัญหาไม่เป็นธรรมและป้องกันการใช้เส้นสาย เริ่มวันที่ 1 ต.ค. 59 ขณะที่การประเมินคุณภาพหน่วยงาน และผู้บังคับบัญชาระดับปลัดกระทรวง และอธิบดี ใน 20 กระทรวง 148 กรม 50 รัฐวิสาหกิจ 40 องค์กรมหาชน จะมีการประเมินแบบใหม่ เริ่มใช้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า และนำไปสู่การแต่งตั้งอีก 6 เดือนข้างหน้า เดินหน้าปฏิรูปตำรวจ โดยปี 59-60 รัฐบาลมีกฎหมายเชิงนโยบายเข้าสู่ สนช. หลายฉบับ ชิ้นเอก คือ กลุ่มกฎหมายดิจิตอล กฎหมายวิธีพิจารณาคดีทุจริต กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่ และกฎหมายที่จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นไปตามที่คาด เดือนมี.ค.ร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จ จากนั้น 3-4 เดือน จะเข้าสู่การทำประชามติ ถ้าประชามติผ่าน ก็จะได้เร่งออกกฎหมายลูกเข้าสู่สภา เพื่อให้เป็นไปตามโรดแมป
** เผยส่ง 50 ขรก.เอี่ยวโกงให้นายกฯ
ส่วนผลงานในเชิงปฏิรูป ส่วนของระบบราชการ ได้แก้ปัญหาความล่าช้า กฎหมายซ้ำซ้อน ล้าสมัย โดยประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ทบทวนความจำเป็นของการออกกฎหมาย กำหนดทั้ง 20 กระทรวง ต้องทบทวนกฎหมายทุกปี 5 ปี อะไรควรอยู่ ควรเลิก ควรแก้ หรือซ้ำซ้อน ให้ยุบรวมเป็นฉบับเดียว ถ้าไม่ทำ มีความผิดและถูกลงโทษ พร้อมต้องแปลกฎหมายของตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ ภายใน 5 ปี เพื่อรับเข้าสู่อาเซียน เรื่องของการทุจริต พบคดีล่าช้า เพราะไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่สังกัด ซึ่งเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา ได้ส่งรายชื่อข้าราชการจำนวน 50 คน ที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตชุดใหม่ ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. พิจารณาใช้อำนาจ มาตรา 44 ดำเนินการ
** แก้กม.สนองกรรมคนโกงติดจรวด
นายวิษณุ กล่าวว่า ทั้งนี้ คดีทุจริตที่ล่าช้า ทำผู้ต้องหาหนีคดีไปต่างประเทศ อาจขาดอายุความ ครม.จึงได้ผ่านร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และได้ส่ง สนช.เร่งพิจารณาแล้ว โดยกฎหมายดังกล่าวใช้วิธีไตร่สวนผู้ต้องหา จำเลยหนีคดีก็ไม่มีวันขาดอายุความ ชนะคดีตามยึดทรัพย์ได้ง่าย และให้อุทธรณ์หนเดียว ไม่มีฎีกา พร้อมออก พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบประกอบ เพื่อให้รวดเร็วแบบกรรมติดจรวด
นอกจากนี้ แก้ปัญหาคดีรกศาล โดยจะออกกฎหมายชะลอการฟ้องให้ประนีประนอมกันก่อน และได้แก้กฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จนนำเงินจากการยึดหรืออายัดทรัพย์สินในคดีฉ้อโกงประชาชน สามารถนำเงินมาคืนประชาชนได้โดยไม่ต้องรอให้คดีสิ้นสุด เช่น คดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) คดียูฟัน คดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
**เร่งร่างกม.ลูกหลังประชามติ
นายวิษณุ กล่าวว่า ในปี 59 เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. วางระบบการแต่งตั้งข้าราชการระดับปลัดกระทรวง อธิบดี ทุกกรมใหม่หมด แก้ปัญหาไม่เป็นธรรมและป้องกันการใช้เส้นสาย เริ่มวันที่ 1 ต.ค. 59 ขณะที่การประเมินคุณภาพหน่วยงาน และผู้บังคับบัญชาระดับปลัดกระทรวง และอธิบดี ใน 20 กระทรวง 148 กรม 50 รัฐวิสาหกิจ 40 องค์กรมหาชน จะมีการประเมินแบบใหม่ เริ่มใช้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า และนำไปสู่การแต่งตั้งอีก 6 เดือนข้างหน้า เดินหน้าปฏิรูปตำรวจ โดยปี 59-60 รัฐบาลมีกฎหมายเชิงนโยบายเข้าสู่ สนช. หลายฉบับ ชิ้นเอก คือ กลุ่มกฎหมายดิจิตอล กฎหมายวิธีพิจารณาคดีทุจริต กฎหมายคนเข้าเมืองฉบับใหม่ และกฎหมายที่จะเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นไปตามที่คาด เดือนมี.ค.ร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จ จากนั้น 3-4 เดือน จะเข้าสู่การทำประชามติ ถ้าประชามติผ่าน ก็จะได้เร่งออกกฎหมายลูกเข้าสู่สภา เพื่อให้เป็นไปตามโรดแมป