วานนี้ (21ธ.ค.) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวถึงความคืบหน้าในการกำหนดที่มาของสมาชิกวุฒิสภา( ส.ว.) โดยสรุปจะมาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจากภาคส่วนต่างๆ ของสังคม 20 ภาคส่วน จากหลายด้าน ครอบคลุมทุกภาคส่วน และให้เป็น
การเลือกตั้งกันเองในกลุ่ม หรือการเลือกตั้งไขว้ เลือกระดับอำเภอ จังหวัด มาส่วนกลาง เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา
"กำลังคิดหาทางว่า ทำอย่างไรไม่ให้มีการฮั้วกัน หรือล็อกเสปก ซึ่งการเลือกไขว้ ไม่ได้หมายถึงจับคู่กัน แต่ให้อีก19 กลุ่มเลือกสลับกัน เชื่อว่าฮั้วลำบาก เพราะแต่ละคนไม่ได้เลือกได้ทั้งหมด กลไกที่จะดำเนินการจะไม่ให้มีการฮั้วกันเกิดขึ้น แต่เรื่องเลือกไขว้กัน คือให้เจ้าตัวอยู่เฉยๆ อีก 19 กลุ่มเลือก พร้อมยืนยันมีแนวคิดป้องกันไม่ให้มีการล็อคตัวกัน ซึ่งคนที่จะรับเลือกเข้ามาต้องเป็นคนที่ได้รับการยอมรับ"
ส่วนข้อเสนอของ นายสมชาย แสวงการ สนช. ที่ออกมาระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ ให้ประกาศใช้ไปเลย เพราะกระแสสังคมส่วนใหญ่เห็นชอบ แต่ที่ไม่ผ่านประชามติเพราะพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย นายมีชัย กล่าวว่า ข้อเสนอนี้เป็นการโยนหินไม่ได้ถามทาง แต่โยนหินใส่หัวตน สิ่งที่กำลังทำคือเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่ฝืนใจประชาชน เป็นประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งแต่ละเรื่องมีการทำโพลมาก่อน จึงค่อยเดินหน้า และต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ถ้าทำได้มากก็เชื่อว่าประชาชนที่เข้าใจจะยอมรับรัฐธรรมนูญนี้ได้ แต่พรรคการเมืองที่คิดว่าเสียประโยชน์ ก็คัดค้านก็เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็คงมีผลกับการลงคะแนนของประชาชนโดยมีอคติตามที่นักการเมืองไปใส่ไว้อย่างไรก็ตามคิดว่า ต้องยอมรับผลจากการทำประชามติ ซึ่งหากเป็นไปในทิศทางรัฐธรรมนูญ สิ่งที่ประเทศไทยจะได้คือ การเมืองเป็นธรรมชาติ การทุจริตน้อยลง การตรวจสอบมากขึ้น กลไกในทางการเมืองสอดคล้องบริบทสังคมไทย เป็นสิ่งที่เราคาดหวังไว้
" มีคนพูดว่า กลัวพรรคโน้น พรรคนี้ กรธ.ไม่กลัวอะไรเลย ไม่คิดว่าจะต้องป้องกันพรรคใดเข้ามาตราบเท่าที่เข้ามาสุจริต และบริหารบ้านเมืองโดยสุจริต ทำให้ไม่มีความกังวล จึงวางกลไกขจัดคนทุจริต มีกลไกจับตาดูให้บริหารงานอย่างสุจริต ให้มีช่องทางชี้โทษ และให้รับผลกรรมนั้นไป" นายมีชัย กล่าว
นายมีชัย ยังกล่าวถึง กลไกในช่วงการเปลี่ยนผ่านว่า คงไม่ออกแบบเหมือน คปป. ของกรรมาธิการยกร่างฯ ชุดที่แล้ว เพราะได้เห็นบทเรียบนแล้วว่า ไม่ได้รับการยอม รับและจำไว้แล้ว โดยพยายามที่จะให้เป็นไปตามกระบวนการปกติ ที่จะพึงมีพึงเป็น แต่ตอนนี้ยังไม่ได้คุยกัน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอาจต้องมีกลไกใหม่หากจำเป็น โดยจะต้องพิจารณาว่า จะใช้ทันที หรือมีระยะเวลาเท่าไร ซึ่งจะกำหนดในบทเฉพาะกาล ว่าเมื่อ รธน. มีผลบังคับใช้ สนช. เป็นอย่างไร สปท. เป็นอย่างไร กฎหมายเป็นอย่างไร ให้บังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ระหว่างที่กลไกเหล่านี้ไม่สำเร็จจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ใครควรอยู่ต่อใครต้องออกไป ต้องเขียนไว้หมด อีกทั้งยังยืนยันว่า จะไม่มีการกำหนดอำนาจใหม่เช่นเดียวกับ คปป. เพราะคนไม่รับ แต่จะพยายามคิดว่าต้องดำเนินการอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของ คสช.และได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งยังตอบชัดเจนไม่ได้
"รัฐบาลมีนโยบายได้ แต่จะมีการกำหนดกรอบว่า ต้องทำอะไร อย่างไร ในเวลาเท่าไหร่ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญความตั้งใจของกรรมการจะไม่ไปเจ้ากี้เจ้าการบอกว่าต้องทำด้วยวิธีนั้น วิธีนี้ บอกแต่เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกรอบเวลาในการทำ ส่วนทำอย่างไรให้รัฐบาลคิด แนวนโยบายรัฐจะลดน้อยลง ส่วนเรื่องที่ต้องทำกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกพรรคไม่ทำขัดรัฐธรรมนูญ ต้องพ้นจากตำแหน่ง" นายมีชัย กล่าว
การเลือกตั้งกันเองในกลุ่ม หรือการเลือกตั้งไขว้ เลือกระดับอำเภอ จังหวัด มาส่วนกลาง เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณา
"กำลังคิดหาทางว่า ทำอย่างไรไม่ให้มีการฮั้วกัน หรือล็อกเสปก ซึ่งการเลือกไขว้ ไม่ได้หมายถึงจับคู่กัน แต่ให้อีก19 กลุ่มเลือกสลับกัน เชื่อว่าฮั้วลำบาก เพราะแต่ละคนไม่ได้เลือกได้ทั้งหมด กลไกที่จะดำเนินการจะไม่ให้มีการฮั้วกันเกิดขึ้น แต่เรื่องเลือกไขว้กัน คือให้เจ้าตัวอยู่เฉยๆ อีก 19 กลุ่มเลือก พร้อมยืนยันมีแนวคิดป้องกันไม่ให้มีการล็อคตัวกัน ซึ่งคนที่จะรับเลือกเข้ามาต้องเป็นคนที่ได้รับการยอมรับ"
ส่วนข้อเสนอของ นายสมชาย แสวงการ สนช. ที่ออกมาระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ ให้ประกาศใช้ไปเลย เพราะกระแสสังคมส่วนใหญ่เห็นชอบ แต่ที่ไม่ผ่านประชามติเพราะพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย นายมีชัย กล่าวว่า ข้อเสนอนี้เป็นการโยนหินไม่ได้ถามทาง แต่โยนหินใส่หัวตน สิ่งที่กำลังทำคือเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญต้องไม่ฝืนใจประชาชน เป็นประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งแต่ละเรื่องมีการทำโพลมาก่อน จึงค่อยเดินหน้า และต้องอธิบายให้ประชาชนเข้าใจ ถ้าทำได้มากก็เชื่อว่าประชาชนที่เข้าใจจะยอมรับรัฐธรรมนูญนี้ได้ แต่พรรคการเมืองที่คิดว่าเสียประโยชน์ ก็คัดค้านก็เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งก็คงมีผลกับการลงคะแนนของประชาชนโดยมีอคติตามที่นักการเมืองไปใส่ไว้อย่างไรก็ตามคิดว่า ต้องยอมรับผลจากการทำประชามติ ซึ่งหากเป็นไปในทิศทางรัฐธรรมนูญ สิ่งที่ประเทศไทยจะได้คือ การเมืองเป็นธรรมชาติ การทุจริตน้อยลง การตรวจสอบมากขึ้น กลไกในทางการเมืองสอดคล้องบริบทสังคมไทย เป็นสิ่งที่เราคาดหวังไว้
" มีคนพูดว่า กลัวพรรคโน้น พรรคนี้ กรธ.ไม่กลัวอะไรเลย ไม่คิดว่าจะต้องป้องกันพรรคใดเข้ามาตราบเท่าที่เข้ามาสุจริต และบริหารบ้านเมืองโดยสุจริต ทำให้ไม่มีความกังวล จึงวางกลไกขจัดคนทุจริต มีกลไกจับตาดูให้บริหารงานอย่างสุจริต ให้มีช่องทางชี้โทษ และให้รับผลกรรมนั้นไป" นายมีชัย กล่าว
นายมีชัย ยังกล่าวถึง กลไกในช่วงการเปลี่ยนผ่านว่า คงไม่ออกแบบเหมือน คปป. ของกรรมาธิการยกร่างฯ ชุดที่แล้ว เพราะได้เห็นบทเรียบนแล้วว่า ไม่ได้รับการยอม รับและจำไว้แล้ว โดยพยายามที่จะให้เป็นไปตามกระบวนการปกติ ที่จะพึงมีพึงเป็น แต่ตอนนี้ยังไม่ได้คุยกัน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอาจต้องมีกลไกใหม่หากจำเป็น โดยจะต้องพิจารณาว่า จะใช้ทันที หรือมีระยะเวลาเท่าไร ซึ่งจะกำหนดในบทเฉพาะกาล ว่าเมื่อ รธน. มีผลบังคับใช้ สนช. เป็นอย่างไร สปท. เป็นอย่างไร กฎหมายเป็นอย่างไร ให้บังคับใช้ได้อย่างสมบูรณ์ ระหว่างที่กลไกเหล่านี้ไม่สำเร็จจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ใครควรอยู่ต่อใครต้องออกไป ต้องเขียนไว้หมด อีกทั้งยังยืนยันว่า จะไม่มีการกำหนดอำนาจใหม่เช่นเดียวกับ คปป. เพราะคนไม่รับ แต่จะพยายามคิดว่าต้องดำเนินการอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของ คสช.และได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งยังตอบชัดเจนไม่ได้
"รัฐบาลมีนโยบายได้ แต่จะมีการกำหนดกรอบว่า ต้องทำอะไร อย่างไร ในเวลาเท่าไหร่ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญความตั้งใจของกรรมการจะไม่ไปเจ้ากี้เจ้าการบอกว่าต้องทำด้วยวิธีนั้น วิธีนี้ บอกแต่เป้าหมาย วัตถุประสงค์ และกรอบเวลาในการทำ ส่วนทำอย่างไรให้รัฐบาลคิด แนวนโยบายรัฐจะลดน้อยลง ส่วนเรื่องที่ต้องทำกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกพรรคไม่ทำขัดรัฐธรรมนูญ ต้องพ้นจากตำแหน่ง" นายมีชัย กล่าว