ผู้จัดการรายวัน 360 - “ประวิตร” ปัดข่าว “มะกัน” แบนซีฟู้ดไทย ยันเร่งแก้ปัญหาทุกด้านเต็มที่ ไม่ห่วง “ปวีณ” เคลื่อนไหวทำชาติเสียหาย กวักมือกลับไทย ลั่นเอาเกียรติประกันความปลอดภัย “ผู้การ ภ.8” ให้ จนท.ทำรายงานแจ้งหากถูกขู่ “ศรีวราห์” ลงใต้ 23 ธ.ค.สอบแก๊งค้ามนุษย์ขู่ ตร. ด้าน สนช.โหวตผ่าน พ.ร.ก.ประมงฯฉลุย
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเตรียมชะลอสั่งซื้อสินค้าทะเลจากไทยว่า ยังไม่เห็นเรื่องดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาเราดำเนินการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) อย่างเต็มที่ ซึ่งก็ยังไม่ได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าทะเลจากไทย เวลานี้เราก็พยายามแก้ไขทั้งเรื่องการค้ามนุษย์และเรื่องการทำประมง รวมไปถึงปัญหาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (เอฟเอเอ) ของสหรัฐอเมริกาด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลกับความเคลื่อนไหวของ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ออดีตรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รอง ผบช.ศชต.) และอดีตหัวหน้าชุดสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ที่กล่าวอ้างว่า ถูกขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจาข่มขู่จนต้องขอลี้ภัยไปอยู่ประเทศออสเตรเลีย จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่หนักใจ เพราะไม่ใช่เรื่องจริง ถ้าเป็นเรื่องจริงก็ขอให้ พล.ต.ต.ปวีณ กลับมาแล้วบอกว่าใครข่มขู่อย่างไร
“ขอให้คุณปวีณ กลับมา ไม่มีใครทำอะไรได้ ผมจะเอาเกียรติยศ และตำแหน่งคุ้มครอง” พล.อ.ประวิตร ระบุ
** “ศรีวราห์” ลงใต้สอบแก๊งค้ามนุษย์ขู่ ตร.
ขณะที่ พล.ต.ท.เทศา ศิริวาโท ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนที่ร่วมเป็นพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทำรายงานขึ้นมาหากถูกข่มขู่ โดยจะให้เวลาจนถึงวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ซึ่งตนมั่นใจว่า ไม่มีการข่มขู่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมามีการทำคดีในลักษณะที่ผู้ต้องหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องหลายคดี แต่ไม่เคยเกิดเหตุการณ์การข่มขู่แต่อย่างใด
ด้าน พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ผู้บังคับการแผนงานคดีอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า หลังจากที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มอบหมายให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีขบวนการค้ามนุษย์ข่มขู่ พล.ต.ต.ปวีณ ขณะนี้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ได้เริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวแล้ว
“ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ รอง ผบ.ตร.จะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เพื่อตรวจสอบปัญหาดังกล่าว รวมถึงปัญหาการค้ามนุษย์ด้านอื่นๆด้วย และหากพบกรกระทำผิดก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป” พล.ต.ต.ชยพล กล่าว
** มติ สนช. 172 ต่อ 1 อนุมัติ พ.ร.ก.ประมง
ที่รัฐสภา ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานในการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องด่วน พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ....ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอ ก่อนที่จะมีมติเสียงข้างมาก 172 ต่อ 1 คะแนน อนุมัติให้ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้เป็นกฏหมายต่อไป
ทั้งนี้ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีทั้งสิ้น 176 มาตรา โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายการพัฒนาประมงในน่านน้ำไทยให้สอดคล้องกับปริมาณของทรัพยากรสัตว์น้ำและขีดความสามารถในการทำประมง รวมไปถึงการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประมงนอกน่านน้ำไทย ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ก่อนนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมง เจ้าของเรือ หรือผู้ควบคุมเรือต้องนำเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ ใบอนุญาตให้ทำการประมง จำนวนรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ และหลักฐานเกี่ยวกับการจัดระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก นอกจากนี้ คนประจำเรือต้องมีหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และในกรณีคนประจำเรือไม่มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและต้องได้รับใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว เป็นต้น
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรมว.กลาโหม กล่าวถึงกระแสข่าวที่ระบุว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาเตรียมชะลอสั่งซื้อสินค้าทะเลจากไทยว่า ยังไม่เห็นเรื่องดังกล่าว แต่ที่ผ่านมาเราดำเนินการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมาย (ไอยูยู) อย่างเต็มที่ ซึ่งก็ยังไม่ได้สั่งห้ามนำเข้าสินค้าทะเลจากไทย เวลานี้เราก็พยายามแก้ไขทั้งเรื่องการค้ามนุษย์และเรื่องการทำประมง รวมไปถึงปัญหาองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (เอฟเอเอ) ของสหรัฐอเมริกาด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลกับความเคลื่อนไหวของ พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ ออดีตรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รอง ผบช.ศชต.) และอดีตหัวหน้าชุดสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ที่กล่าวอ้างว่า ถูกขบวนการค้ามนุษย์โรฮีนจาข่มขู่จนต้องขอลี้ภัยไปอยู่ประเทศออสเตรเลีย จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศในการแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่หนักใจ เพราะไม่ใช่เรื่องจริง ถ้าเป็นเรื่องจริงก็ขอให้ พล.ต.ต.ปวีณ กลับมาแล้วบอกว่าใครข่มขู่อย่างไร
“ขอให้คุณปวีณ กลับมา ไม่มีใครทำอะไรได้ ผมจะเอาเกียรติยศ และตำแหน่งคุ้มครอง” พล.อ.ประวิตร ระบุ
** “ศรีวราห์” ลงใต้สอบแก๊งค้ามนุษย์ขู่ ตร.
ขณะที่ พล.ต.ท.เทศา ศิริวาโท ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจทุกคนที่ร่วมเป็นพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ทำรายงานขึ้นมาหากถูกข่มขู่ โดยจะให้เวลาจนถึงวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ซึ่งตนมั่นใจว่า ไม่มีการข่มขู่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมามีการทำคดีในลักษณะที่ผู้ต้องหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องหลายคดี แต่ไม่เคยเกิดเหตุการณ์การข่มขู่แต่อย่างใด
ด้าน พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ผู้บังคับการแผนงานคดีอาชญากรรม สำนักงานยุทธศาสตร์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวว่า หลังจากที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) มอบหมายให้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีขบวนการค้ามนุษย์ข่มขู่ พล.ต.ต.ปวีณ ขณะนี้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ได้เริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าวแล้ว
“ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ รอง ผบ.ตร.จะเดินทางลงพื้นที่จังหวัดภาคใต้ เพื่อตรวจสอบปัญหาดังกล่าว รวมถึงปัญหาการค้ามนุษย์ด้านอื่นๆด้วย และหากพบกรกระทำผิดก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป” พล.ต.ต.ชยพล กล่าว
** มติ สนช. 172 ต่อ 1 อนุมัติ พ.ร.ก.ประมง
ที่รัฐสภา ได้มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.เป็นประธานในการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องด่วน พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การประมง พ.ศ....ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอ ก่อนที่จะมีมติเสียงข้างมาก 172 ต่อ 1 คะแนน อนุมัติให้ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้เป็นกฏหมายต่อไป
ทั้งนี้ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มีทั้งสิ้น 176 มาตรา โดยมีสาระสำคัญ คือ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีหน้าที่กำหนดนโยบายการพัฒนาประมงในน่านน้ำไทยให้สอดคล้องกับปริมาณของทรัพยากรสัตว์น้ำและขีดความสามารถในการทำประมง รวมไปถึงการส่งเสริมและแก้ไขปัญหาการประมงนอกน่านน้ำไทย ขณะเดียวกันยังกำหนดให้ก่อนนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมง เจ้าของเรือ หรือผู้ควบคุมเรือต้องนำเอกสารเกี่ยวกับทะเบียนเรือ ใบอนุญาตใช้เรือ ใบอนุญาตให้ทำการประมง จำนวนรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ และหลักฐานเกี่ยวกับการจัดระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก นอกจากนี้ คนประจำเรือต้องมีหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย และในกรณีคนประจำเรือไม่มีสัญชาติไทย ต้องได้รับอนุญาตให้อยู่ราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและต้องได้รับใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว เป็นต้น