นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (กมธ.สปท.) ด้านการเมืองกล่าวว่า กมธ.ด้านการเมืองเตรียมเสนอความเห็น และข้อเสนอแนะประเด็นการปฏิรูปด้านการเมืองต่อกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในสัปดาห์หน้า โดยประเด็นผู้ที่จะดำรงตำแหน่งทางการเมืองทุกระดับต้องมีการกำหนดคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งให้มีความเข้มข้นกว่าเดิม เพื่อช่วยคัดกรองบุคคลในเบื้องต้น ก่อนที่จะให้ประชาชนเลือก อาทิ คนที่มีประวัติถูกไล่ออก ปลดออกจากราชการ และทุจริต ต้องไม่มีสิทธิ์ลงสมัคร รวมทั้งคนที่เคยถูกศาลพิพากษาลงโทษ เพราะทุจริตการเลือกตั้ง หรือคนที่มีประวัติไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต ก็ไม่มีสิทธิ์เช่นกัน
ส่วนใครจะลงสมัครรับเลือกตั้ง ต้องแจ้งความจำนงต่อ กกต. ก่อนประกาศเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อให้ประชาชนพิจารณาตรวจสอบประวัติ คุณสมบัติ นอกจากนี้ ยังต้องเปิดเผยการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี แสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง และคู่สมรสโดยละเอียด ทั้งนี้หากขณะหาเสียงเลือกตั้ง มีการกระทำผิดขึ้นมาจะต้องกำหนดบทลงโทษผู้รับสมัครเลือกตั้ง ที่กระทำการทุจริตให้รุนแรง และเด็ดขาด เช่น ตัดสิทธิ์ไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต กำหนดบทลงโทษทางอาญาที่รุนแรง ให้มีโทษจำคุก 1-10 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้มีอายุความ 20 ปี
"กำหนดให้หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมือง ร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดต่อกฎหมายการเลือกตั้ง และให้ร่วมรับผิดชอบในการกระทำทุจริตเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค หากเป็นการกระทำผิดของหัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค ให้ลงโทษตัดสิทธิ์ทางการเมืองกับผู้กระทำผิดตลอดชีวิต และห้ามเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมือง หากอยู่เบื้องหลังการเมือง ให้มีโทษจำคุก 10 ปี และห้ามรอลงอาญา หากต้องมีการเลือกตั้งใหม่เพราะทุจริตเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้นรับผิดชอบชดใช้ค่าเลือกตั้งใหม่ และต้องมีการฟ้องร้อง บังคับให้ได้ผลจริง" นายวันชัย กล่าว
โฆษกกมธ.การเมือง กล่าวต่อว่า กมธ.ได้กำหนดบทลงโทษนายทุน หรือกลุ่มทุนที่แจกเงินให้พรรคการเมือง มีโทษจำคุก 10 ปี โดยไม่มีการรอลงอาญา และมีโทษปรับไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท และให้ผู้ที่นำหลักฐานมาเปิดเผยได้รับเงินค่าปรับดังกล่าว และกำหนดบทลงโทษทางอาญาที่
รุนแรงกับนักการเมืองที่รับเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนจากพรรคการเมือง กลุ่มทุน หัวหน้ากลุ่มเพื่อนำไปใช้หาเสียงหรือซื้อเสียง รวมถึงคนที่เป็นหัวคะแนนที่รับเงินหรือผลประโยชน์ไปซื้อเสียง และลงโทษทางอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าโดยมิชอบหรือกระทำการให้คุณให้โทษกับผู้สมัคร รับเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น
ส่วนใครจะลงสมัครรับเลือกตั้ง ต้องแจ้งความจำนงต่อ กกต. ก่อนประกาศเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อให้ประชาชนพิจารณาตรวจสอบประวัติ คุณสมบัติ นอกจากนี้ ยังต้องเปิดเผยการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปี แสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง และคู่สมรสโดยละเอียด ทั้งนี้หากขณะหาเสียงเลือกตั้ง มีการกระทำผิดขึ้นมาจะต้องกำหนดบทลงโทษผู้รับสมัครเลือกตั้ง ที่กระทำการทุจริตให้รุนแรง และเด็ดขาด เช่น ตัดสิทธิ์ไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต กำหนดบทลงโทษทางอาญาที่รุนแรง ให้มีโทษจำคุก 1-10 ปี โดยไม่รอลงอาญา และให้มีอายุความ 20 ปี
"กำหนดให้หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคการเมือง ร่วมกันป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดต่อกฎหมายการเลือกตั้ง และให้ร่วมรับผิดชอบในการกระทำทุจริตเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค หากเป็นการกระทำผิดของหัวหน้าพรรค หรือกรรมการบริหารพรรค ให้ลงโทษตัดสิทธิ์ทางการเมืองกับผู้กระทำผิดตลอดชีวิต และห้ามเข้ามายุ่งเกี่ยวทางการเมือง หากอยู่เบื้องหลังการเมือง ให้มีโทษจำคุก 10 ปี และห้ามรอลงอาญา หากต้องมีการเลือกตั้งใหม่เพราะทุจริตเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองนั้นรับผิดชอบชดใช้ค่าเลือกตั้งใหม่ และต้องมีการฟ้องร้อง บังคับให้ได้ผลจริง" นายวันชัย กล่าว
โฆษกกมธ.การเมือง กล่าวต่อว่า กมธ.ได้กำหนดบทลงโทษนายทุน หรือกลุ่มทุนที่แจกเงินให้พรรคการเมือง มีโทษจำคุก 10 ปี โดยไม่มีการรอลงอาญา และมีโทษปรับไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท และให้ผู้ที่นำหลักฐานมาเปิดเผยได้รับเงินค่าปรับดังกล่าว และกำหนดบทลงโทษทางอาญาที่
รุนแรงกับนักการเมืองที่รับเงิน หรือผลประโยชน์ตอบแทนจากพรรคการเมือง กลุ่มทุน หัวหน้ากลุ่มเพื่อนำไปใช้หาเสียงหรือซื้อเสียง รวมถึงคนที่เป็นหัวคะแนนที่รับเงินหรือผลประโยชน์ไปซื้อเสียง และลงโทษทางอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าโดยมิชอบหรือกระทำการให้คุณให้โทษกับผู้สมัคร รับเลือกตั้งทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น