ผู้จัดการรายวัน 360-การประมูล4Gคลื่น900 MHzยังคงเดินหน้าแข่งขันกันอย่างดุเดือด จนถึงเวลา21.00น. ของวันที่ 16ธ.ค. รวม36ชั่วโมง จำนวน90รอบการประมูล เผยราคาต่อMHzแซงหน้าคลื่น1800 MHzไปแล้ว ประธาน กทค. ระบุส่วนหนึ่งมาจากเงื่อนไขการชำระการประมูลสามารถแบ่งจ่ายได้ 4งวด ชี้หากยังยืดเยื้อถึงวันที่ 3 ราคาประมูลอาจทะลุแสนล้าน
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ล่าสุด ณ เวลา21.00น. ของวันที่ 16ธ.ค.2558 การประมูลยังคงเดินหน้าเคาะราคากันถึง90รอบ คิดเป็นระยะเวลาในการประมูลทั้งสิ้น36ชั่วโมง โดยมีราคารวมอยู่ที่ 85,298ล้านบาท มีการเสนอราคาคลื่นความถี่ชุดที่ 1จำนวน1บริษัท ราคา 41,844 ล้านบาท คิดเป็นต้นทุนต่อ MHz ที่ 4,184 ล้านบาท และคลื่นความถี่ชุดที่ 2จำนวน 1 บริษัท ราคาที่ 43,454 ล้านบาท คิดเป็นต้นทุนต่อ MHz ที่ 4,345 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยต่อMHzของคลื่น1800 MHzที่มีราคาอยู่ที่ 2,692ล้านบาท
จากการสังเกตการณ์การประมูล ยังไม่มีผู้เข้าร่วมประมูลรายใดถอดใจออกจากการประมูล และคาดว่าการประมูลยังคงดำเนินต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีราคารวมอยู่ที่แสนล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าการแข่งขันยังไม่สิ้นสุด ผู้ที่ได้คลื่นไปจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคตแน่นอน เพราะคลื่นที่ได้ต้องนำไปใช้ผสมกันสำหรับให้บริการในเครื่องของลูกค้า ดังนั้น ในอนาคตใครมีคลื่นมากย่อมได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่า ทำให้วิเคราะห์ต่อไปได้ว่าในการประมูลครั้งต่อไปอาจจะไม่มีผู้ประกอบการรายเล็กเข้ามา เพราะการประมูลครั้งนี้ เป็นสิ่งยืนยันให้เห็นว่าผู้ที่มีเงินมาก หรือผู้ให้บริการรายใหญ่เท่านั้นที่จะเป็นผู้ประกอบการที่เข้ามาประมูลคลื่น อีกทั้งยังอาจเป็นบรรทัดฐานในการแก้กฎหมายให้เปลี่ยนจากการประมูลเป็นรูปแบบอื่น
ส่วนอีกปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ประมูลยังคงมีการเคาะราคากันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเงื่อนไขการชำระการประมูล เมื่อราคาประมูลสูงกว่า16,080ล้านบาท ให้แบ่งจ่ายได้ 4งวด งวดแรก ชำระ8,040ล้านบาท (50% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080ล้านบาท) ภายใน90วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล งวดที่สอง ชำระ 4,020ล้านบาท (25% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080ล้านบาท) ภายใน15วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา2ปีนับแต่ได้รับใบอนุญาต งวดที่สาม ชำระ4,020ล้านบาท (25% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080ล้านบาท) ภายใน15วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา3ปี นับแต่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่สี่ ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน15วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา4ปี นับแต่ได้รับใบอนุญาต
น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า แม้ว่าระดับราคาการประมูลของคลื่นความถี่ย่าน900 MHzจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็ยังไม่น่ากังวล เพราะเป็นระดับราคาที่ไม่ได้สูงเกินไป เมื่อเทียบกับหลายประเทศที่มีการประมูลคลื่นความถี่ในย่านเดียวกันนี้
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ตอนนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าการประมูลจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่อยากให้ประชาชนมั่นใจว่าการประมูลครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม เป็นการเดินหน้าเพื่อประเทศชาติ และเพื่อประชาชนทุกคน ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจแม้ว่าราคาการประมูลจะยังดำเนินสูงขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราค่าบริการจะต้องถูกกว่า3Gที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับลักษณะการเคาะประมูล พบว่า เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเคาะราคาในเวลา 19.00 น. ในการเคาะครั้งที่ 84 เป็นครั้งแรกที่ไม่มีผู้เสนอราคาในคลื่นชุดที่ 1 จากที่ก่อนหน้านั้น มีการเคาะราคาทั้ง 2 ชุดคลื่นความถี่ ซึ่งในการเคาะราคาครั้งที่ 85-88 ไม่มีการเสนอราคาในคลื่นชุดที่ 1 จากนั้นในการเคาะครั้งที่ 89-90 มีการเสนอราคาในชุดที่ 1 และชุดที่ 2 อย่างละ 1 บริษัท ดังนั้น จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเกมการประมูลจะเป็นอย่างไร เพราะในช่วงที่ไม่มีการเสนอราคาอาจจะมาจากผู้ประมูลใช้สิทธิ์ไม่เสนอราคาก็เป็นได้
นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าร่วมประมูลหนึ่งรายเสนอให้เคาะราคาอย่างต่อเนื่อง แต่ทาง กสทช. เห็นว่าเป็นการเสนอเพียงรายเดียวไม่ใช่เสียงส่วนมาก จึงไม่มีการนัดประชุมคณะกรรมการ กทค. เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ดังนั้น เมื่อพักในเวลา 21.00 น. เสร็จ ต้องเริ่มประมูลในเวลา 24.00 น. ส่วนที่มีการมองว่าราคาที่ประมูลจะสูงเกินไปหรือเปล่านั้น กสทช.ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ ผู้ประมูลต้องวิเคราะห์เอง
ส่วนรายการอาหารประจำวันที่ 16ธ.ค.2558 ของผู้เข้าร่วมประมูลประกอบด้วย อาหารเช้า ข้าวมันไก่ เสิร์ฟพร้อมสลัด ปลา ไส้กรอกเยอรมันย่าง ตะกร้าขนมปังฝรั่งเศส เนย แยม น้ำเต้าหู้ น้ำผลไม้ โจ๊กหมู กองปราบ ปาท่องโก๋ ตะกร้าผลไม้รวม อาหารว่างช่วงเช้า ขนมจีบกุ้ง-หมู ซาลาเปา ร้านวราภรณ์ ผลไม้รวม ขณะที่อาหารกลางวันคือ บะหมี่ลูกชิ้นกุ้งทอด ก้ามปู เสิร์ฟพร้อมเกี๊ยวกุ้ง จากภัตตาคารตั้งใจอยู่ เยาวราช อาหารว่างช่วงบ่าย ขนมเค้กคุณเฟรนด์ และกาแฟจากร้านสตาร์บัค
ขณะที่อาหารเย็น เป็นอาหารไทย ได้แก่ ต้มข่าไก่ วุ้นเส้นผัดสามเหม็น ต้มโคล้งปลาช่อนทอด ไข่เจียวฟูปู ปูนิ่มทอดกระเทียม ทอดมันหัวปลี ยำเห็ดออรินจิและเห็ดรวม ข้าวผัดปลาสลิด เสิร์ฟพร้อมสลัด ปลา ของร้านพึงชม ขณะที่อาหารว่างช่วงค่ำ คือ นมร้อนและขนมปังสังขยา จากร้านมนต์นมสด ส่วนอาหารดึก คือ กระเพาะปลาเยาวราช เสิร์ฟพร้อม ลูกชิ้นปลา กุ้ง เผือกทอด เกี๊ยวน้ำ จากร้านยู้ ลูกชิ้นปลา เยาวราช
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า ล่าสุด ณ เวลา21.00น. ของวันที่ 16ธ.ค.2558 การประมูลยังคงเดินหน้าเคาะราคากันถึง90รอบ คิดเป็นระยะเวลาในการประมูลทั้งสิ้น36ชั่วโมง โดยมีราคารวมอยู่ที่ 85,298ล้านบาท มีการเสนอราคาคลื่นความถี่ชุดที่ 1จำนวน1บริษัท ราคา 41,844 ล้านบาท คิดเป็นต้นทุนต่อ MHz ที่ 4,184 ล้านบาท และคลื่นความถี่ชุดที่ 2จำนวน 1 บริษัท ราคาที่ 43,454 ล้านบาท คิดเป็นต้นทุนต่อ MHz ที่ 4,345 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาเฉลี่ยต่อMHzของคลื่น1800 MHzที่มีราคาอยู่ที่ 2,692ล้านบาท
จากการสังเกตการณ์การประมูล ยังไม่มีผู้เข้าร่วมประมูลรายใดถอดใจออกจากการประมูล และคาดว่าการประมูลยังคงดำเนินต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีราคารวมอยู่ที่แสนล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าการแข่งขันยังไม่สิ้นสุด ผู้ที่ได้คลื่นไปจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคตแน่นอน เพราะคลื่นที่ได้ต้องนำไปใช้ผสมกันสำหรับให้บริการในเครื่องของลูกค้า ดังนั้น ในอนาคตใครมีคลื่นมากย่อมได้เปรียบทางการแข่งขันมากกว่า ทำให้วิเคราะห์ต่อไปได้ว่าในการประมูลครั้งต่อไปอาจจะไม่มีผู้ประกอบการรายเล็กเข้ามา เพราะการประมูลครั้งนี้ เป็นสิ่งยืนยันให้เห็นว่าผู้ที่มีเงินมาก หรือผู้ให้บริการรายใหญ่เท่านั้นที่จะเป็นผู้ประกอบการที่เข้ามาประมูลคลื่น อีกทั้งยังอาจเป็นบรรทัดฐานในการแก้กฎหมายให้เปลี่ยนจากการประมูลเป็นรูปแบบอื่น
ส่วนอีกปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ประมูลยังคงมีการเคาะราคากันอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเงื่อนไขการชำระการประมูล เมื่อราคาประมูลสูงกว่า16,080ล้านบาท ให้แบ่งจ่ายได้ 4งวด งวดแรก ชำระ8,040ล้านบาท (50% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080ล้านบาท) ภายใน90วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล งวดที่สอง ชำระ 4,020ล้านบาท (25% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080ล้านบาท) ภายใน15วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา2ปีนับแต่ได้รับใบอนุญาต งวดที่สาม ชำระ4,020ล้านบาท (25% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 16,080ล้านบาท) ภายใน15วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา3ปี นับแต่ได้รับใบอนุญาต และงวดที่สี่ ชำระเงินประมูลคลื่นความถี่ส่วนที่เหลือทั้งหมดภายใน15วัน เมื่อครบกำหนดระยะเวลา4ปี นับแต่ได้รับใบอนุญาต
น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า แม้ว่าระดับราคาการประมูลของคลื่นความถี่ย่าน900 MHzจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็ยังไม่น่ากังวล เพราะเป็นระดับราคาที่ไม่ได้สูงเกินไป เมื่อเทียบกับหลายประเทศที่มีการประมูลคลื่นความถี่ในย่านเดียวกันนี้
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่า ตอนนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าการประมูลจะสิ้นสุดลงเมื่อใด แต่อยากให้ประชาชนมั่นใจว่าการประมูลครั้งนี้ดำเนินไปด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ และยุติธรรม เป็นการเดินหน้าเพื่อประเทศชาติ และเพื่อประชาชนทุกคน ทั้งนี้ ขอให้มั่นใจแม้ว่าราคาการประมูลจะยังดำเนินสูงขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง แต่อัตราค่าบริการจะต้องถูกกว่า3Gที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับลักษณะการเคาะประมูล พบว่า เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการเคาะราคาในเวลา 19.00 น. ในการเคาะครั้งที่ 84 เป็นครั้งแรกที่ไม่มีผู้เสนอราคาในคลื่นชุดที่ 1 จากที่ก่อนหน้านั้น มีการเคาะราคาทั้ง 2 ชุดคลื่นความถี่ ซึ่งในการเคาะราคาครั้งที่ 85-88 ไม่มีการเสนอราคาในคลื่นชุดที่ 1 จากนั้นในการเคาะครั้งที่ 89-90 มีการเสนอราคาในชุดที่ 1 และชุดที่ 2 อย่างละ 1 บริษัท ดังนั้น จึงไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเกมการประมูลจะเป็นอย่างไร เพราะในช่วงที่ไม่มีการเสนอราคาอาจจะมาจากผู้ประมูลใช้สิทธิ์ไม่เสนอราคาก็เป็นได้
นอกจากนี้ ยังมีผู้เข้าร่วมประมูลหนึ่งรายเสนอให้เคาะราคาอย่างต่อเนื่อง แต่ทาง กสทช. เห็นว่าเป็นการเสนอเพียงรายเดียวไม่ใช่เสียงส่วนมาก จึงไม่มีการนัดประชุมคณะกรรมการ กทค. เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ดังนั้น เมื่อพักในเวลา 21.00 น. เสร็จ ต้องเริ่มประมูลในเวลา 24.00 น. ส่วนที่มีการมองว่าราคาที่ประมูลจะสูงเกินไปหรือเปล่านั้น กสทช.ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ ผู้ประมูลต้องวิเคราะห์เอง
ส่วนรายการอาหารประจำวันที่ 16ธ.ค.2558 ของผู้เข้าร่วมประมูลประกอบด้วย อาหารเช้า ข้าวมันไก่ เสิร์ฟพร้อมสลัด ปลา ไส้กรอกเยอรมันย่าง ตะกร้าขนมปังฝรั่งเศส เนย แยม น้ำเต้าหู้ น้ำผลไม้ โจ๊กหมู กองปราบ ปาท่องโก๋ ตะกร้าผลไม้รวม อาหารว่างช่วงเช้า ขนมจีบกุ้ง-หมู ซาลาเปา ร้านวราภรณ์ ผลไม้รวม ขณะที่อาหารกลางวันคือ บะหมี่ลูกชิ้นกุ้งทอด ก้ามปู เสิร์ฟพร้อมเกี๊ยวกุ้ง จากภัตตาคารตั้งใจอยู่ เยาวราช อาหารว่างช่วงบ่าย ขนมเค้กคุณเฟรนด์ และกาแฟจากร้านสตาร์บัค
ขณะที่อาหารเย็น เป็นอาหารไทย ได้แก่ ต้มข่าไก่ วุ้นเส้นผัดสามเหม็น ต้มโคล้งปลาช่อนทอด ไข่เจียวฟูปู ปูนิ่มทอดกระเทียม ทอดมันหัวปลี ยำเห็ดออรินจิและเห็ดรวม ข้าวผัดปลาสลิด เสิร์ฟพร้อมสลัด ปลา ของร้านพึงชม ขณะที่อาหารว่างช่วงค่ำ คือ นมร้อนและขนมปังสังขยา จากร้านมนต์นมสด ส่วนอาหารดึก คือ กระเพาะปลาเยาวราช เสิร์ฟพร้อม ลูกชิ้นปลา กุ้ง เผือกทอด เกี๊ยวน้ำ จากร้านยู้ ลูกชิ้นปลา เยาวราช