ผู้จัดการรายวัน360 - กระทรวงพลังงานคาดครม.8 ธ.ค.นี้จะพิจารณาแก้ไขร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯได้ ด้านกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน ERS แถลงจุดยืนหนุนครม.ชี้ขาดเพื่อให้เร่งออกกฎหมายโดยเร็วหวังเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบ 21
นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คาดว่าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะมีการพิจารณาแก้ไขร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมและพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. 2514 ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฏหมายและมีการแก้ไขปรับปรุงในข้อกังวลของแต่ละฝ่ายแล้ว อย่างไรก็ตามการพิจารณาก็ขึ้นอยู่กับครม.เป็นสำคัญหากเห็นอย่างใดกระทรวงพลังงานในฐานะฝ่ายปฏิบัติก็จะต้องดำเนินการตามมติครม.เป็นสำคัญ
นายมนูญ ศิริวรรณ หนึ่งในแกนนำกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน(ERS) กล่าวแถลงข่าวว่า เห็นด้วยที่จะมีการนำเสนอครม.ให้พิจารณาแนวทางแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯเพราะหากมีประเด็นที่ไม่เห็นด้วยก็ยังสามารถดำเนินการผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ หรือสามารถผ่านกระบวนการยุติธรรมได้ โดยให้ฝ่ายบริหารคือครม.ได้ทำหน้าที่และใช้ดุลยพินิจตัดสินใจเพื่อทำให้บ้านเมืองเดินหน้า ซึ่งหากครม.ออกมาเช่นไรทางกลุ่มก็พร้อมจะปฏิบัติ
" ถ้าเราระดมคนมาสนับสนุนสิ่งที่เราเห็นว่าใช่ และอีกฝ่ายก็ออกมาคัดค้านเช่นกันแบบนี้บ้านเมืองก็จะมีปัญหาเกิดความวุ่นวาย ซึ่งเราไม่ใช่กลุ่มที่จะมากดดันฝ่ายการเมืองหรือหาผลประโยชน์อะไรเพราะเราคือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงานตัวจริง"นายมนูญกล่าว
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ หนึ่งในแกนนำ ERS กล่าวเสริมว่า ERSไม่ได้สนับสนุนต่อร่างแก้ไขกม.ดังกล่าวทั้งหมดซึ่งมีการเสนอถึง 4 ร่างคือของกระทรวงพลังงาน เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) กรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย(คปก.) โดยเนื้อหาบางฝ่ายก็คล้ายกันและในส่วนของร่างกระทรวงพลังงานจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยสุด ซึ่งเห็นว่าสิ่งสำคัญควรจะเร่งออกกฏหมายมาเพื่อที่จะเร่งเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 ให้เร็วที่สุดเพราะไทยต้องนำเข้าทั้งก๊าซฯและน้ำมันหากเริ่มได้ขณะนี้กว่าจะผลได้ต้องใช้เวลาถึง 10 ปีซึ่งถึงตอนนั้นเชื่อว่าราคาน้ำมันอาจจะกลับไปสูงระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อตันก็ได้ไม่ใช่อยู่ระดับต่ำเช่นขณะนี้
นายศิริ จิริพงษ์พันธ์ แกนนำ ERS กล่าวว่า 40 ปีที่ผ่านมา ไทยสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้จาก 90% เมื่อ 30กว่าปีที่ผ่านมาเหลือ 57% ในขณะนี้ด้วยการแสวงหาทรัพยากรภายในประเทศและหากนับการดำเนินงานภายใต้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมมีเงินลงทุนในการสำรวจและผลิตถึง 2 ล้านล้านบาท มีรายได้ทางตรงกว่า 1.5 ล้านล้านบาทยังไม่รวมรายได้จากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
นายชวลิต พิชาลัย รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คาดว่าคณะรัฐมนตรี(ครม.)จะมีการพิจารณาแก้ไขร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมและพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมพ.ศ. 2514 ในวันที่ 8 ธ.ค.นี้ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการไปตามขั้นตอนของกฏหมายและมีการแก้ไขปรับปรุงในข้อกังวลของแต่ละฝ่ายแล้ว อย่างไรก็ตามการพิจารณาก็ขึ้นอยู่กับครม.เป็นสำคัญหากเห็นอย่างใดกระทรวงพลังงานในฐานะฝ่ายปฏิบัติก็จะต้องดำเนินการตามมติครม.เป็นสำคัญ
นายมนูญ ศิริวรรณ หนึ่งในแกนนำกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน(ERS) กล่าวแถลงข่าวว่า เห็นด้วยที่จะมีการนำเสนอครม.ให้พิจารณาแนวทางแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯเพราะหากมีประเด็นที่ไม่เห็นด้วยก็ยังสามารถดำเนินการผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ หรือสามารถผ่านกระบวนการยุติธรรมได้ โดยให้ฝ่ายบริหารคือครม.ได้ทำหน้าที่และใช้ดุลยพินิจตัดสินใจเพื่อทำให้บ้านเมืองเดินหน้า ซึ่งหากครม.ออกมาเช่นไรทางกลุ่มก็พร้อมจะปฏิบัติ
" ถ้าเราระดมคนมาสนับสนุนสิ่งที่เราเห็นว่าใช่ และอีกฝ่ายก็ออกมาคัดค้านเช่นกันแบบนี้บ้านเมืองก็จะมีปัญหาเกิดความวุ่นวาย ซึ่งเราไม่ใช่กลุ่มที่จะมากดดันฝ่ายการเมืองหรือหาผลประโยชน์อะไรเพราะเราคือผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงานตัวจริง"นายมนูญกล่าว
นายพรายพล คุ้มทรัพย์ หนึ่งในแกนนำ ERS กล่าวเสริมว่า ERSไม่ได้สนับสนุนต่อร่างแก้ไขกม.ดังกล่าวทั้งหมดซึ่งมีการเสนอถึง 4 ร่างคือของกระทรวงพลังงาน เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย(คปพ.) กรรมาธิการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และคณะกรรมการปฏิรูปกฏหมาย(คปก.) โดยเนื้อหาบางฝ่ายก็คล้ายกันและในส่วนของร่างกระทรวงพลังงานจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อยสุด ซึ่งเห็นว่าสิ่งสำคัญควรจะเร่งออกกฏหมายมาเพื่อที่จะเร่งเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 ให้เร็วที่สุดเพราะไทยต้องนำเข้าทั้งก๊าซฯและน้ำมันหากเริ่มได้ขณะนี้กว่าจะผลได้ต้องใช้เวลาถึง 10 ปีซึ่งถึงตอนนั้นเชื่อว่าราคาน้ำมันอาจจะกลับไปสูงระดับ 100 เหรียญสหรัฐต่อตันก็ได้ไม่ใช่อยู่ระดับต่ำเช่นขณะนี้
นายศิริ จิริพงษ์พันธ์ แกนนำ ERS กล่าวว่า 40 ปีที่ผ่านมา ไทยสามารถลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้จาก 90% เมื่อ 30กว่าปีที่ผ่านมาเหลือ 57% ในขณะนี้ด้วยการแสวงหาทรัพยากรภายในประเทศและหากนับการดำเนินงานภายใต้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมมีเงินลงทุนในการสำรวจและผลิตถึง 2 ล้านล้านบาท มีรายได้ทางตรงกว่า 1.5 ล้านล้านบาทยังไม่รวมรายได้จากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง