จับตากบง.ที่มี”อนัตพร” เป็นประธานนัดแรกประชุม 7ก.ย.นี้เพื่อ พิจารณาราคาแอลพีจีขายปลีกตามกลไกตลาดโลกประจำเดือนกันยายน คาดเคาะลง 70 สต./กก.ด้าน สปช.เสนอผลงาน 18 ข้อส่งรัฐบาลให้ดำเนินการภายในปีนี้และระยะ 1-3 ปี ทั้งเลิกสูตรนำเข้าน้ำมันอ้างอิงสิงคโปร์หน้าโรงกลั่นฯ เลิกการแทรกแซงราคาจากทั้งปตท.-บางจากเพื่อให้กลไกเป็นแบบเสรี
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งจะมี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานประชุมครั้งแรกวันที่ 7กันยายนนี้จะมีวาระที่น่าสนใจว่าด้วย เรื่องการกำหนดราคาแอลพีจีขายปลีกประจำเดือนกันยายน 2558ให้สะท้อนกลไกตลาดโลกโดยมีแนวโน้มว่าจะปรับลดลงเฉลี่ย0.70บาทต่อกิโลกรัม(กก.) จากราคาขายปลีกเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 22.96บาท/กก.
“เดือนสิงหาคมราคาแอลพีจีได้ปรับลดลง 1 บาทต่อกก.จากก.ค.ซึ่งขณะนั้นราคาแอลพีจีตะวันออกกลาง (ซีพี) ที่ประมาณ 360ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ราคาแอลพีจีมีการสวิงตัวขึ้นลงตามทิศทางน้ำมันซึ่งขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 308ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งหากราคาเฉลี่ยอยู่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ก็คาดว่าราคาแอลพีจีขายปลีกจะลดประมาณ 70 ส.ต./กก. เพราะเดือนที่แล้วใช้ราคาคำนวณที่ประมาณ 379 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ กบง.จะมีมติอย่างไร หรือจะปรับลดเท่าใด”
ขณะเดียวกันวานนี้(31ส.ค.) คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงผลงานแนวทางและขั้นตอนการปฏิรูปพลังงาน 18 ประเด็น โดยนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีไปแล้วแบ่งเป็นการดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกดำเนินการได้ทันทีและระยะต่อเนื่องทำภายใน 1-3 ปี ซึ่งอยู่ภายใต้หลักการมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน
นายมนูญ ศิริวรรณ รองประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรปิโตรเลียมและราคาน้ำมัน กล่าวว่า ประเด็นของการปฏิรูปคือการส่งเสริมการแข่งขันเสรีลดการผูกขาดทุกด้าน เช่น เรื่องราคาน้ำมันเสนอให้ยกเลิกสูตรราคานำเข้าที่ประกาศราคาอ้างอิงสิงคโปร์หน้าโรงกลั่นฯ แต่เปลี่ยนเป็นราคาเทียบเคียงสิงคโปร์และให้รายงานราคาซื้อขายที่แท้จริงทั้งในประเทศและส่งออก ยกเลิกการแทรกแซงราคาจากบริษัทของรัฐโดย บมจ.ปตท.และบมจ.บางจากเพื่อให้ตลาดน้ำมันแข่งขันอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ควรส่งเสริมเกิดผู้ค้าน้ำมันรายใหม่ ซึ่งจะทำให้ราคาแข่งขันแท้จริงเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เสนอให้มีการออก พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันแห่งชาติ กำหนดความชัดเจนให้มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพเท่านั้นป้องกันการแทรกแซง โดยอำนาจรัฐเสนอการผลิตซื้อขายไฟฟ้าเสรี, ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า, ส่งเสริมติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรี เป็นต้น
“ดีเซลปัจจุบันลดมาแล้วกว่า 30% แต่ราคาสินค้าในตลาดไม่ลดลง ดังนั้น เป้าหมายของการปฏิรูประบบราคาเชื้อเพลงนั้น ก็เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้พลังงานทุกกลุ่ม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง มุ่งอุดหนุนผู้มีรายได้น้อย ลดการแทรกแซงจากรัฐและขจัดการผูกขาดจากเอกชน”นายมนูญกล่าว
นายวิบูลย์ คูหิรัญ ประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปกิจการไฟฟ้า ระบุว่า การจัดทำพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ดี ควรมีการปรับแก้ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และควรแบ่งการจัดทำเป็นรายภูมิภาค พร้อมทั้งให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยต้องเปรียบเทียบการนำเชื้อเพลิงแต่ละประเภทมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนรับทราบภาระค่าไฟที่ต้องแบกรับจากเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ แล้วค่อยนำไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี).
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่าในการประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งจะมี พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานประชุมครั้งแรกวันที่ 7กันยายนนี้จะมีวาระที่น่าสนใจว่าด้วย เรื่องการกำหนดราคาแอลพีจีขายปลีกประจำเดือนกันยายน 2558ให้สะท้อนกลไกตลาดโลกโดยมีแนวโน้มว่าจะปรับลดลงเฉลี่ย0.70บาทต่อกิโลกรัม(กก.) จากราคาขายปลีกเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 22.96บาท/กก.
“เดือนสิงหาคมราคาแอลพีจีได้ปรับลดลง 1 บาทต่อกก.จากก.ค.ซึ่งขณะนั้นราคาแอลพีจีตะวันออกกลาง (ซีพี) ที่ประมาณ 360ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขณะนี้ราคาแอลพีจีมีการสวิงตัวขึ้นลงตามทิศทางน้ำมันซึ่งขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 308ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ซึ่งหากราคาเฉลี่ยอยู่ประมาณ 300 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน ก็คาดว่าราคาแอลพีจีขายปลีกจะลดประมาณ 70 ส.ต./กก. เพราะเดือนที่แล้วใช้ราคาคำนวณที่ประมาณ 379 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ กบง.จะมีมติอย่างไร หรือจะปรับลดเท่าใด”
ขณะเดียวกันวานนี้(31ส.ค.) คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงผลงานแนวทางและขั้นตอนการปฏิรูปพลังงาน 18 ประเด็น โดยนำเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีไปแล้วแบ่งเป็นการดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกดำเนินการได้ทันทีและระยะต่อเนื่องทำภายใน 1-3 ปี ซึ่งอยู่ภายใต้หลักการมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน
นายมนูญ ศิริวรรณ รองประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สภาปฏิรูปแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรปิโตรเลียมและราคาน้ำมัน กล่าวว่า ประเด็นของการปฏิรูปคือการส่งเสริมการแข่งขันเสรีลดการผูกขาดทุกด้าน เช่น เรื่องราคาน้ำมันเสนอให้ยกเลิกสูตรราคานำเข้าที่ประกาศราคาอ้างอิงสิงคโปร์หน้าโรงกลั่นฯ แต่เปลี่ยนเป็นราคาเทียบเคียงสิงคโปร์และให้รายงานราคาซื้อขายที่แท้จริงทั้งในประเทศและส่งออก ยกเลิกการแทรกแซงราคาจากบริษัทของรัฐโดย บมจ.ปตท.และบมจ.บางจากเพื่อให้ตลาดน้ำมันแข่งขันอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ควรส่งเสริมเกิดผู้ค้าน้ำมันรายใหม่ ซึ่งจะทำให้ราคาแข่งขันแท้จริงเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เสนอให้มีการออก พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันแห่งชาติ กำหนดความชัดเจนให้มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพเท่านั้นป้องกันการแทรกแซง โดยอำนาจรัฐเสนอการผลิตซื้อขายไฟฟ้าเสรี, ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า, ส่งเสริมติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเสรี เป็นต้น
“ดีเซลปัจจุบันลดมาแล้วกว่า 30% แต่ราคาสินค้าในตลาดไม่ลดลง ดังนั้น เป้าหมายของการปฏิรูประบบราคาเชื้อเพลงนั้น ก็เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้พลังงานทุกกลุ่ม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง มุ่งอุดหนุนผู้มีรายได้น้อย ลดการแทรกแซงจากรัฐและขจัดการผูกขาดจากเอกชน”นายมนูญกล่าว
นายวิบูลย์ คูหิรัญ ประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปกิจการไฟฟ้า ระบุว่า การจัดทำพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ดี ควรมีการปรับแก้ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และควรแบ่งการจัดทำเป็นรายภูมิภาค พร้อมทั้งให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยต้องเปรียบเทียบการนำเชื้อเพลิงแต่ละประเภทมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า เพื่อให้ประชาชนรับทราบภาระค่าไฟที่ต้องแบกรับจากเชื้อเพลิงประเภทต่างๆ แล้วค่อยนำไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี).