นายกฯ เสนอแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสภาพแวดล้อมโลก ณ กรุงปารีส เตรียมประชุมวันนี้ ขณะที่ "สมคิด" เตรียมนำ 20 เจ้าสัวพบนายกฯ ขับเคลื่อนประชารัฐ พร้อมหารือเอกชนใน SET 100 ยันรัฐบาลเร่งผลักดันลงทุนนอก เน้นประเทศ CLMV
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (29พ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง เดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 00.05 น.ไปยังท่าอากาศยานปารีส - ชาร์ลส์ เดอ โกล กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมประชุมระดับสูงของประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 11
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการประชุมในวันที่ 30 พฤศจิกายน เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง แสวงหาแนวทางรักษาสถาพแวดล้อมของโลก โดยจะมีการหารือพิธีสารเกียวโตที่มีใช้มานาน ในขณะที่การพัฒนาอุตสาหกรรม มีการเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2020 การแสวงหาความร่วมมือเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายกรัฐมนตรีจะกล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับการพัฒนาที่จะต้องให้เกิดความสมดุลกับการรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนา ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีจะได้ให้กำลังใจฝรั่งเศสที่เพิ่งผ่านห้วงเวลาเลวร้ายที่สุด
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางถึงท่าอากาศยานชาร์ลส เดอ โกล กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในเวลา 06.50 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 6 ชั่วโมง โดยภารกิจแรก นายกรัฐมนตรีจะพบหารือกลุ่มเล็กกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมการประชุมระดับสูงของประมุขรัฐ และหัวหน้ารัฐบาล ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 หรือ COP21 ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นในวันนี้ (30 พ.ย.)
***"สมคิด" ยันรัฐบาลเร่งลงทุน CLMV
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการรายงานสรุปผลสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 33 ภายใต้แนวคิดนวัตกรรม นำไทย สู่ความเป็นเลิศ ณ โรงแรมเซ็นทารา คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จ.อุดรธานี พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง "สร้างไทยให้เข้มแข็ง" ว่า ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ตนจะนำนักธุรกิจกว่า 20 รายเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือในการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐให้เป็นรูปธรรม ยังมีแผนที่จะพบกับเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ set 100 ซึ่งเป็นกลุ่มเอกชนที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมีผลกำไรเฉลี่ยปีละ 1-5 แสนล้านบาท หากนำกำไร 1-2% จากทั้งหมดมาร่วมมือกับภาครัฐในการกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจและทำให้ประชารัฐลงสู่รากหญ้าได้อย่างแท้จริงก็จะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายได้
โดยนโยบายประชารัฐ เป็นการทำงานที่ต้องเกิดจากความร่วมมือของ 3 ฝ่ายได้แก่ รัฐบาล ประชาชนและภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นเป้าหมายที่ช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่นโยบายเพื่อการหาเสียงแต่เป็นนโยบายที่จะลดความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่การปรองดองได้ในที่สุด แต่ต้องทำให้ประชารัฐสามารถลงไปถึงรากหญ้าได้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ในปีหน้าภาครัฐกำลังพิจาณาที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2หลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกที่ลงไปสู่ระดับรากหญ้ามีผลที่ดีต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของคนในประเทศ ดังนั้นจึงอยากให้ภาคประชาชน, เอกชน, ผู้ว่าราชการจังหวัด, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล และชุมชนต่างๆ ช่วยกันคิดโครงการล่วงหน้าในการสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น
“ขณะนี้รัฐบาลเร่งผลักดันการลงทุนนอกประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV โดยให้กระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ (BOI) สนับสนุนดูแลผู้ประกอบธุรกิจไม่ให้ถูกเอาเปรียบ” นายสมคิดกล่าวและย้ำว่า จะให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจและภาคการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความเข้มแข็งของสหกรณ์ และ SMEs.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (29พ.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง เดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อเวลา 00.05 น.ไปยังท่าอากาศยานปารีส - ชาร์ลส์ เดอ โกล กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเข้าร่วมประชุมระดับสูงของประมุขรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 11
พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีจะเข้าร่วมการประชุมในวันที่ 30 พฤศจิกายน เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง แสวงหาแนวทางรักษาสถาพแวดล้อมของโลก โดยจะมีการหารือพิธีสารเกียวโตที่มีใช้มานาน ในขณะที่การพัฒนาอุตสาหกรรม มีการเพิ่มขึ้นทั่วโลก เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2020 การแสวงหาความร่วมมือเพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
นายกรัฐมนตรีจะกล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับการพัฒนาที่จะต้องให้เกิดความสมดุลกับการรักษาสภาพแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนา ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีจะได้ให้กำลังใจฝรั่งเศสที่เพิ่งผ่านห้วงเวลาเลวร้ายที่สุด
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี จะเดินทางถึงท่าอากาศยานชาร์ลส เดอ โกล กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในเวลา 06.50 น.ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าเวลาในประเทศไทย 6 ชั่วโมง โดยภารกิจแรก นายกรัฐมนตรีจะพบหารือกลุ่มเล็กกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมการประชุมระดับสูงของประมุขรัฐ และหัวหน้ารัฐบาล ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 หรือ COP21 ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นในวันนี้ (30 พ.ย.)
***"สมคิด" ยันรัฐบาลเร่งลงทุน CLMV
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการรายงานสรุปผลสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 33 ภายใต้แนวคิดนวัตกรรม นำไทย สู่ความเป็นเลิศ ณ โรงแรมเซ็นทารา คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จ.อุดรธานี พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง "สร้างไทยให้เข้มแข็ง" ว่า ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ตนจะนำนักธุรกิจกว่า 20 รายเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อหารือในการขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐให้เป็นรูปธรรม ยังมีแผนที่จะพบกับเอกชนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ set 100 ซึ่งเป็นกลุ่มเอกชนที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และมีผลกำไรเฉลี่ยปีละ 1-5 แสนล้านบาท หากนำกำไร 1-2% จากทั้งหมดมาร่วมมือกับภาครัฐในการกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจและทำให้ประชารัฐลงสู่รากหญ้าได้อย่างแท้จริงก็จะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายได้
โดยนโยบายประชารัฐ เป็นการทำงานที่ต้องเกิดจากความร่วมมือของ 3 ฝ่ายได้แก่ รัฐบาล ประชาชนและภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นเป้าหมายที่ช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งไม่ใช่นโยบายเพื่อการหาเสียงแต่เป็นนโยบายที่จะลดความเหลื่อมล้ำและนำไปสู่การปรองดองได้ในที่สุด แต่ต้องทำให้ประชารัฐสามารถลงไปถึงรากหญ้าได้อย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ในปีหน้าภาครัฐกำลังพิจาณาที่จะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2หลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบแรกที่ลงไปสู่ระดับรากหญ้ามีผลที่ดีต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของคนในประเทศ ดังนั้นจึงอยากให้ภาคประชาชน, เอกชน, ผู้ว่าราชการจังหวัด, องค์การบริหารส่วนจังหวัด, องค์การบริหารส่วนตำบล และชุมชนต่างๆ ช่วยกันคิดโครงการล่วงหน้าในการสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่น
“ขณะนี้รัฐบาลเร่งผลักดันการลงทุนนอกประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศ CLMV โดยให้กระทรวงพาณิชย์และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ (BOI) สนับสนุนดูแลผู้ประกอบธุรกิจไม่ให้ถูกเอาเปรียบ” นายสมคิดกล่าวและย้ำว่า จะให้ความสำคัญกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจและภาคการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และความเข้มแข็งของสหกรณ์ และ SMEs.