คำว่า ศีล แปลว่า ปกติ การมีศีลหรือการรักษาศีลหมายถึงการทำนาย และวาจาให้เป็นปกติคือ ปราศจากหรืองดเว้นจากกายทุจริตหรือความประพฤติชั่วทางกาย 3 ประการคือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ และการประพฤติผิดในกาม (ปาณาติบาต อทินนาทาน และกาเมสุมิจฉาจาร และการปราศจากหรือการงดเว้นจากประพฤติชั่วทางวาจา 4 ประการคือ พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ (มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ)
คำว่า ธรรม แปลว่าสภาวะที่ทรงอยู่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ กุศลธรรม คือธรรมฝ่ายดี อกุศลธรรม คือธรรมฝ่ายเลวหรือฝ่ายที่ไม่ดี และอัพยากตธรรม คือธรรมที่เป็นกลางๆ ไม่ดี และไม่เลว
อีกนัยหนึ่ง ศีลคือคำสอนที่เป็นข้อห้าม ซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนามากบ้างน้อยบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีล 5 แต่มีลักษณะและรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมมีจุดหมายตรงกันคือ สอนให้ทุกคนทำดี ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม
ส่วนธรรมมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขั้นปรมัตถ์หรือความจริงขั้นสูงสุดที่เรียกว่า อันติมสัจจะ (Ultimate Reality) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างศาสนาประเภทเทวนิยมกับอเทวนิยม
ดังนั้น ถ้าจะนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองเพื่อให้เกิดความปรองดอง ก็ควรที่จะนำคำสอนขั้นศีลและธรรมในขั้นโลกียะมาใช้ เพื่อให้ผู้คนในสังคมถือปฏิบัติโดยไม่มีความแตกต่างในระดับทิฏฐิหรือความคิดเห็นในเรื่องของคำสอนที่แตกต่างกัน
ด้วยเหตุนี้ โครงการหมู่บ้านศีล 5 ที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในชาติ หลังเกิดความแตกแยกกันมานาน คือ ถูกว่าถูกต้อง และเหมาะตามสภาพของสังคมไทย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีกว่านี้ ควรจะนำศีลธรรมในศาสนาอื่นมาใช้กับผู้ที่นับถือศาสนานั้นๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้คำสอนของแต่ละศาสนาได้มีการนำมาใช้ควบคู่ไปกับโครงการหมู่บ้านศีล 5 ของพุทธ
ศีล 5 ตามนัยแห่งคำสอนในพุทธศาสนามีข้อห้ามอะไรบ้าง และแต่ละข้อมีส่วนช่วยให้สังคมสงบได้อย่างไร?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธ และมิใช่ชาวพุทธ แต่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา มีพื้นฐานความเข้าใจตรงกัน ผู้เขียนใคร่ขออธิบายขยายความศีล 5 แต่ละข้อตามนัยอรรถกถาพอเป็นสังเขปดังนี้
ข้อที่ 1 ห้ามฆ่าสัตว์หรืองดเว้นจากปาณาติบาตหมายถึงการทำลายชีวิตสัตว์ด้วยเจตนา และคำว่า สัตว์ในที่นี้หมายรวมถึงมนุษย์ด้วย
ถึงแม้ว่า การฆ่าสัตว์ผิดศีลข้อนี้เท่ากัน แต่ผลของกรรมอันเกิดจากการกระทำไม่เท่ากัน การฆ่ามนุษย์ถือว่าบาปหนักที่สุด และถ้ามนุษย์นั้นเป็นพ่อแม่หรือพระอรหันต์ด้วยแล้ว ถือว่าเป็นอนันตริยกรรมถึงขั้นห้ามสวรรค์และนิพพานคือตายไปแล้วไม่มีโอกาสจะเกิดในสวรรค์ และถึงแม้มีชีวิตอยู่โอกาสจะปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุพระอรหันต์ไม่มี
ส่วนสัตว์เดรัจฉานก็มีผลแห่งการกระทำอันเป็นบาปไม่เท่ากัน สัตว์มีคุณเช่นวัว ควายที่ใช้แรงงานจะเป็นบาปกว่าสัตว์ที่ไม่มีคุณ แม้ในสัตว์ที่ไม่มีคุณด้วยกันสัตว์ใหญ่เป็นบาปมากกว่าสัตว์เล็ก
ข้อที่ 2 ห้ามลักทรัพย์หรืองดเว้นจากอทินนาทานคือการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ รวมไปถึงการยักยอกฉ้อโกงทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยเจตนาเอามาเป็นของตน
ข้อที่ 3 ห้ามประพฤติผิดในกาม หมายถึงการล่วงละเมิดทางเพศในลูกเมียของผู้อื่น โดยมีอรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสตรีหรือบุรุษที่เป็นสามี ภรรยาของผู้อื่น รวมไปถึงผู้ที่อยู่ในการปกครองดูแลของพ่อแม่หรือผู้ปกครองด้วย
ข้อที่ 4 ห้ามพูดเท็จในที่นี้หมายถึงการพูดเรื่องไม่จริง เพื่อหวังให้ผู้อื่นหลงเชื่อ และตนเองได้ประโยชน์จากการเชื่อนั้น
แต่ถ้าผู้ฟังรู้อยู่แล้วว่าเป็นเรื่องไม่จริง และผู้พูดเองก็มิได้หวังให้คนอื่นหลงเชื่อแล้วแสวงหาประโยชน์จากความเชื่อ ก็ไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อนี้ เช่น การเล่านิทานโกหกเพื่อหวังให้เกิดความขบขันหรือการแสดงตลกเพื่อความบันเทิงไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อนี้
ข้อที่ 5 ห้ามดื่มสุราและเมรัยหมายถึงการดื่มจนเมาเกิดความประมาท เนื่องจากขาดสติด้วยฤทธิ์แห่งน้ำเมา เพื่อป้องกันมิให้เป็นเหตุนำไปสู่การทำชั่วอื่นๆ ตามมา เช่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ เป็นต้น
ด้วยอานิสงส์ของการรักษาศีล 5 จะทำให้สังคมสงบสุขได้
ดังนั้น โครงการหมู่บ้านศีล 5 ที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถ้าทำได้ถึงขั้นให้ทุกคนในหมู่บ้านมีศีล 5 ได้ เชื่อได้ว่าเป็นหมู่บ้านที่มีการปรองดองได้แน่นอน เนื่องจากว่า การมีศีลเสมอกันเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการปรองดอง แต่ถ้าจะให้เกิดการปรองดองที่แน่นอนและถาวรกว่านี้ ควรจะส่งเสริมให้ทุกคนในหมู่บ้านศีล 5 มีธรรมอันเป็นปัจจัยให้เกิดการปรองดองอีก 3 ข้อคือ
1. ทิฏฐิสามัญญตา คือมีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกันเหมือนกันหรือตรงกัน เช่น เห็นสิ่งดีว่าดี สิ่งชั่วว่าชั่ว เป็นต้น
2. ปรโตโฆสะ คือการฟังคนอื่นและนำมาประกอบการตัดสินใจไม่ยึดความคิดของตนเพียงอย่างเดียว
3. กัลยาณมิตตตา คือการมีคนดีเป็นมิตร โดยนัยตรงกันข้ามคือการไม่คบคนเลวเป็นมิตร
ถ้าทุกคนมีศีล 5 และมีธรรม 3 ประการดังกล่าวด้วย เป็นที่แน่นอนว่าความขัดแย้งจะหมดไป
ในทางปฏิบัติจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีศีล และมีธรรม?
เกี่ยวกับประเด็นแห่งปัญหานี้ ผู้เขียนเห็นว่ามีทางทำได้โดยการจัดตั้งมวลชนด้วยการจัดให้มีผู้นำในการจัดกิจกรรมร่วมกันเป็นนิจ โดยใช้สถานศึกษา และศาสนสถานของแต่ละศาสนาที่ผู้คนในชุมชนนับถือเป็นที่อบรมตามแนวทางของแต่ละศาสนา ก็จะทำให้เกิดการปรองดองได้ เนื่องจากทุกคนยึดมั่นในคำสอนของศาสนาที่แต่ละคนนับถือ ทั้งนี้เนื่องจากว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี และที่สำคัญจะต้องยึดหลักความจริงที่ว่า ศัตรูของศาสนามิใช่ศาสนาด้วยกัน แต่เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ลัทธิวัตถุนิยม และลัทธิการเมืองที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงหาอำนาจให้แก่ตนเอง โดยใช้ศรัทธาเป็นเครื่องมือในการชี้นำให้ผู้ที่ศรัทธาเดินตามไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ ดังที่ปรากฏตัวอย่างให้เห็นในสังคมปัจจุบัน
คำว่า ธรรม แปลว่าสภาวะที่ทรงอยู่แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ กุศลธรรม คือธรรมฝ่ายดี อกุศลธรรม คือธรรมฝ่ายเลวหรือฝ่ายที่ไม่ดี และอัพยากตธรรม คือธรรมที่เป็นกลางๆ ไม่ดี และไม่เลว
อีกนัยหนึ่ง ศีลคือคำสอนที่เป็นข้อห้าม ซึ่งมีอยู่ในทุกศาสนามากบ้างน้อยบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีล 5 แต่มีลักษณะและรายละเอียดแตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมมีจุดหมายตรงกันคือ สอนให้ทุกคนทำดี ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมโดยรวม
ส่วนธรรมมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขั้นปรมัตถ์หรือความจริงขั้นสูงสุดที่เรียกว่า อันติมสัจจะ (Ultimate Reality) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างศาสนาประเภทเทวนิยมกับอเทวนิยม
ดังนั้น ถ้าจะนำหลักคำสอนของศาสนามาใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองเพื่อให้เกิดความปรองดอง ก็ควรที่จะนำคำสอนขั้นศีลและธรรมในขั้นโลกียะมาใช้ เพื่อให้ผู้คนในสังคมถือปฏิบัติโดยไม่มีความแตกต่างในระดับทิฏฐิหรือความคิดเห็นในเรื่องของคำสอนที่แตกต่างกัน
ด้วยเหตุนี้ โครงการหมู่บ้านศีล 5 ที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นในชาติ หลังเกิดความแตกแยกกันมานาน คือ ถูกว่าถูกต้อง และเหมาะตามสภาพของสังคมไทย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีกว่านี้ ควรจะนำศีลธรรมในศาสนาอื่นมาใช้กับผู้ที่นับถือศาสนานั้นๆ ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้คำสอนของแต่ละศาสนาได้มีการนำมาใช้ควบคู่ไปกับโครงการหมู่บ้านศีล 5 ของพุทธ
ศีล 5 ตามนัยแห่งคำสอนในพุทธศาสนามีข้อห้ามอะไรบ้าง และแต่ละข้อมีส่วนช่วยให้สังคมสงบได้อย่างไร?
เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่เป็นชาวพุทธ และมิใช่ชาวพุทธ แต่สนใจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา มีพื้นฐานความเข้าใจตรงกัน ผู้เขียนใคร่ขออธิบายขยายความศีล 5 แต่ละข้อตามนัยอรรถกถาพอเป็นสังเขปดังนี้
ข้อที่ 1 ห้ามฆ่าสัตว์หรืองดเว้นจากปาณาติบาตหมายถึงการทำลายชีวิตสัตว์ด้วยเจตนา และคำว่า สัตว์ในที่นี้หมายรวมถึงมนุษย์ด้วย
ถึงแม้ว่า การฆ่าสัตว์ผิดศีลข้อนี้เท่ากัน แต่ผลของกรรมอันเกิดจากการกระทำไม่เท่ากัน การฆ่ามนุษย์ถือว่าบาปหนักที่สุด และถ้ามนุษย์นั้นเป็นพ่อแม่หรือพระอรหันต์ด้วยแล้ว ถือว่าเป็นอนันตริยกรรมถึงขั้นห้ามสวรรค์และนิพพานคือตายไปแล้วไม่มีโอกาสจะเกิดในสวรรค์ และถึงแม้มีชีวิตอยู่โอกาสจะปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุพระอรหันต์ไม่มี
ส่วนสัตว์เดรัจฉานก็มีผลแห่งการกระทำอันเป็นบาปไม่เท่ากัน สัตว์มีคุณเช่นวัว ควายที่ใช้แรงงานจะเป็นบาปกว่าสัตว์ที่ไม่มีคุณ แม้ในสัตว์ที่ไม่มีคุณด้วยกันสัตว์ใหญ่เป็นบาปมากกว่าสัตว์เล็ก
ข้อที่ 2 ห้ามลักทรัพย์หรืองดเว้นจากอทินนาทานคือการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ รวมไปถึงการยักยอกฉ้อโกงทรัพย์สินของผู้อื่นด้วยเจตนาเอามาเป็นของตน
ข้อที่ 3 ห้ามประพฤติผิดในกาม หมายถึงการล่วงละเมิดทางเพศในลูกเมียของผู้อื่น โดยมีอรรถกถาอธิบายว่า หมายถึงสตรีหรือบุรุษที่เป็นสามี ภรรยาของผู้อื่น รวมไปถึงผู้ที่อยู่ในการปกครองดูแลของพ่อแม่หรือผู้ปกครองด้วย
ข้อที่ 4 ห้ามพูดเท็จในที่นี้หมายถึงการพูดเรื่องไม่จริง เพื่อหวังให้ผู้อื่นหลงเชื่อ และตนเองได้ประโยชน์จากการเชื่อนั้น
แต่ถ้าผู้ฟังรู้อยู่แล้วว่าเป็นเรื่องไม่จริง และผู้พูดเองก็มิได้หวังให้คนอื่นหลงเชื่อแล้วแสวงหาประโยชน์จากความเชื่อ ก็ไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อนี้ เช่น การเล่านิทานโกหกเพื่อหวังให้เกิดความขบขันหรือการแสดงตลกเพื่อความบันเทิงไม่เข้าข่ายผิดศีลข้อนี้
ข้อที่ 5 ห้ามดื่มสุราและเมรัยหมายถึงการดื่มจนเมาเกิดความประมาท เนื่องจากขาดสติด้วยฤทธิ์แห่งน้ำเมา เพื่อป้องกันมิให้เป็นเหตุนำไปสู่การทำชั่วอื่นๆ ตามมา เช่น ฆ่าคน ลักทรัพย์ เป็นต้น
ด้วยอานิสงส์ของการรักษาศีล 5 จะทำให้สังคมสงบสุขได้
ดังนั้น โครงการหมู่บ้านศีล 5 ที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ถ้าทำได้ถึงขั้นให้ทุกคนในหมู่บ้านมีศีล 5 ได้ เชื่อได้ว่าเป็นหมู่บ้านที่มีการปรองดองได้แน่นอน เนื่องจากว่า การมีศีลเสมอกันเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการปรองดอง แต่ถ้าจะให้เกิดการปรองดองที่แน่นอนและถาวรกว่านี้ ควรจะส่งเสริมให้ทุกคนในหมู่บ้านศีล 5 มีธรรมอันเป็นปัจจัยให้เกิดการปรองดองอีก 3 ข้อคือ
1. ทิฏฐิสามัญญตา คือมีความคิดเห็นในสิ่งเดียวกันเหมือนกันหรือตรงกัน เช่น เห็นสิ่งดีว่าดี สิ่งชั่วว่าชั่ว เป็นต้น
2. ปรโตโฆสะ คือการฟังคนอื่นและนำมาประกอบการตัดสินใจไม่ยึดความคิดของตนเพียงอย่างเดียว
3. กัลยาณมิตตตา คือการมีคนดีเป็นมิตร โดยนัยตรงกันข้ามคือการไม่คบคนเลวเป็นมิตร
ถ้าทุกคนมีศีล 5 และมีธรรม 3 ประการดังกล่าวด้วย เป็นที่แน่นอนว่าความขัดแย้งจะหมดไป
ในทางปฏิบัติจะทำอย่างไรให้ทุกคนมีศีล และมีธรรม?
เกี่ยวกับประเด็นแห่งปัญหานี้ ผู้เขียนเห็นว่ามีทางทำได้โดยการจัดตั้งมวลชนด้วยการจัดให้มีผู้นำในการจัดกิจกรรมร่วมกันเป็นนิจ โดยใช้สถานศึกษา และศาสนสถานของแต่ละศาสนาที่ผู้คนในชุมชนนับถือเป็นที่อบรมตามแนวทางของแต่ละศาสนา ก็จะทำให้เกิดการปรองดองได้ เนื่องจากทุกคนยึดมั่นในคำสอนของศาสนาที่แต่ละคนนับถือ ทั้งนี้เนื่องจากว่าทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี และที่สำคัญจะต้องยึดหลักความจริงที่ว่า ศัตรูของศาสนามิใช่ศาสนาด้วยกัน แต่เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ลัทธิวัตถุนิยม และลัทธิการเมืองที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือแสวงหาอำนาจให้แก่ตนเอง โดยใช้ศรัทธาเป็นเครื่องมือในการชี้นำให้ผู้ที่ศรัทธาเดินตามไปในทิศทางที่ตนเองต้องการ ดังที่ปรากฏตัวอย่างให้เห็นในสังคมปัจจุบัน