โฆษก กรธ."หวั่นให้ส.ว.เลือกตั้งทั้งหมดได้คนไม่สุจริต100% ส่วนอำนาจในการถอดถอนนักการเมืองยังไม่มีข้อสรุป ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ว่าจะให้องค์กรอิสระเป็นผู้ชี้ขาดการพ้นตำแหน่งของนักการเมืองหรือไม่ "สุริยะใส"แนะให้ส.ว.มาจากการสรรหาของสาขาอาชีพ และคงอำนาจตรวจสอบถอดถอนไว้ กปปส.
วานนี้ (22พ.ย.) นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวว่า กรธ.ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)จะมีจำนวน 200 คนหรือไม่ โดยมีทางเลือกในหลายรูปแบบ อาทิ ให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม หรือทางตรง พร้อมทั้งมองว่าหากจะให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงแล้วก็ห่วงว่าจะไม่ได้คนที่สุจริต และเที่ยงธรรม100 เปอร์เซนต์
ขณะเดียวกัน กรธ.ได้มองถึงประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของ ส.ว.ว่าเดิมทีกรธงจะให้ ส.ว.เป็นสภาพี่เลี้ยง ไม่ได้มีหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้กรธ.ต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วนว่า หากให้ ส.ว.ทำหน้าที่ถอดถอนนักการเมืองเช่นเดิม จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะหากส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ก็อาจมาจากกลุ่มก้อนเดียวกับนักการเมืองได้ โดยกำลังทบทวนบทบาทของส.ว. ทำให้เบื้องต้น กรธ. จึงมองว่าหากให้องค์กรอิสระเข้ามาทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะมาชี้ขาดในเรื่องคุณสมบัติ ก็อาจต้องมีกฎหมายด้วย หรือให้องค์กรอิสระองค์กรใด มาทำหน้าที่ชี้ขาดการพ้นตำแหน่งทางการเมืองนั้นๆ อีกทั้งกรธ.ก็ได้หารือกันว่า จะดีหรือไม่ หากให้ศาลรัฐธรรมนูญมาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่การได้มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องเข้มขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้ามีผู้เสนอมาว่า จะให้องค์กรใดทำหน้าที่ถอดถอนนักการเมือง ก็ให้เสนอเข้ามาที่กรธ.ได้
ส่วนความเห็นความห่วงใยของนักการเมือง ที่เสนอข้อทักท้วงให้ กรธ. คิดให้รอบคอบในเรื่องอำนาจหน้าที่ถอดถอนของส.ว. นั้น ทาง กรธ. ก็พร้อมรับฟังและนำทุกประเด็นไปแก้ไข ให้สอดคล้องกับหลักการที่วางไว้ เพื่อให้ประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง
แนะคงอำนาจส.ว.ในการถอดถอน
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงกรณี กรธ. จะตัดอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของส.ว.ทิ้ง แล้วไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. ทำหน้าที่แทน ก็แสดงว่า ต่อไปส.ว.ก็จะทำหน้าที่แค่กลั่นกรองร่างกฎหมายเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ไมจำเป็นต้องมีส.ว. เหลือแค่ส.ส.สภาเดียวก็ได้
ปัญหา คือ ถ้าโอนอำนาจถอดถอนจาก ส.ว. ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช.ทั้งหมด ใคร และองค์กรใด จะทำหน้าที่ตรวจสอบถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเหล่านั้นรวมทั้งการสรรหาที่มาของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระด้วย ว่า จะมาจากกระบวนการแบบไหน ถึงจะเป็นที่ยอมรับ
กรธ.ตั้งโจทย์กระโดดไป กระโดดมา ไม่ได้มองทั้งระบบก่อน ทำให้การออกแบบระบบการเมืองอาจมีความลักลั่นกันได้ ผมยังเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของระบบ 2 สภา โดยให้วุฒิสภาเป็นสภาตรวจสอบ ถอดถอนนักการเมือง แต่ที่ผ่านมาถอดถอนนักการเมืองแทบไม่ได้เลย เพราะเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 นั้นก็อาจเป็นเพราะ ส.ว.ขาดความเป็นอิสระ ใช้เสียงมากไปและข้อกล่าวหา อาจไม่มีน้ำหนัก
ฉะนั้น ควรไปแก้ที่มา ส.ว.ให้มีความเป็นอิสระ และหลากหลายมากขึ้น โดยใช้ระบบเลือกตั้งผ่านสาขาอาชีพ แทนการเลือกตั้งหรือสรรหาแบบเดิม ที่กระจุกตัวอยู่กับคนไม่กี่กลุ่ม
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง ความเห็นของกรธ. ที่จะลดอำนาจส.ว.ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแทนว่า ข้อเสนอนี้มีขึ้นเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการกำหนดให้ ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง เมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่าส.ว.มาจากการแต่งตั้ง ก็พบว่า ส.ว.ที่จะมีขึ้นนี้ ยังมีหน้าที่อีกมากมาย ทั้งการตรวจสอบรัฐบาล แต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ และอำนาจอื่นๆ อีกมาก กลายเป็น ส.ว.ที่มีอำนาจมหาศาลเบ็ดเสร็จอยู่ดี ขณะเดียวกันการยกอำนาจถอดถอนไปให้องค์กรอื่น ทำไม่ได้ เพราะจะกระทบการถ่วงดุลอธิปไตย ทำให้มีแนวโน้มฝ่ายตุลาการ จะมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจอื่นๆ ส่วนรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง จะเหลืออำนาจน้อยลง
กปปส.ให้อำนาจตุลาการถอดถอน
นายวิทยา แก้วภารดรัย สมาชิก สปท. และอดีตแกนนำ กปปส. กล่าวถึงกรณีที่กรธ.ไม่ให้ ส.ว.มีอำนาจถอดถอน แต่จะให้อำนาจดังกล่าวเป็นหน้าที่ขององค์กรออิสระว่า น่าจะดี เพราะส.ว.ควรมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายเป็นเรื่องหลัก ส่วนอำนาจถอดถอน ก็ควรจบไป ที่ผ่านมาอำนาจการถอดถอนของ ส.ว.ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร กระบวนการไต่สวนเรื่องการถอดถอน จึงควรให้เป็นอำนาจของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลยุติธรรม แต่กรณีที่จะให้อำนาจ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามกาทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีอำนาจถอนในคดีทุจริต และประพฤติมิชอบนั้น เห็นว่าไม่สมควรไปเพิ่มภาระหน้าที่การทำงานใก้กับป.ป.ช. มากกว่าเดิม เพราะการทำงานของ ป.ป.ช. ยังมีคดีที่ต้องพิจารณาค้างอยู่เยอะ หน้าที่ในการถอดถอนจึงควรจะแบ่งเบาไปยังศาลยุติธรรม หรือศาลรัฐธรรมนูญ ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมน่าจะดีกว่า
ส่วนแนวคิดให้ยกเลิก ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์นั้น ในที่ประชุม กมธ.การเมือง มีการถกเถียงกันในเบื้องต้น และเห็นว่า สมควรจะต้องยกเลิก เนื่องจากที่ผ่านมาส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่ใช่ที่ซ่องสุมของคนดีตามเจตนารมณ์ แต่กลายเป็นที่ซ่องสุมของกลุ่มทุน และสร้างปัญหาขึ้นมากกว่า
ไม่จำเป็นต้องมีคปป.ไว้ผ่าทางตัน
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีข้อเสนอของคสช. ที่ส่งไปถึงกรธ. ซึ่งในข้อที่ 6 ระบุว่า “การร่างรัฐธรรมนูญ ควรบัญญัติช่องทางเผื่อในอนาคตในการผ่าทางตันไว้ด้วย โดยเฉพาะการเกิดปัญหาสุญญากาศทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ”
ทั้งนี้ ตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะทำให้เกิดคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เพราะทางกรธ.น่าจะรู้ดีว่า สิ่งนี้เป็นปัญหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว จึงไม่น่านำมาใส่ลงในร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม ตนเข้าใจว่าข้อเสนอของคสช. น่าจะหมายถึงว่า กรณีที่เกิดทางตันขึ้นมา อาทิ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าขอนายกรัฐมนตรีตาม มาตรา 7 ได้ แต่อีกฝ่ายก็บอกวาทำไม่ได้ ประเด็นเหล่านี้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะต้องหาทางออกเอาไว้
นายนิพิฎฐ์กล่าวว่าตนเห็นด้วยกับ กรธ.ที่ได้แสดงจุดยืนว่า จะไม่เพิ่มองค์กรใหม่ลงไปในรัฐธรรมนูญ โดยเห็นควรให้ใช้องค์กรที่มีอยู่แก้ปัญหาไป สำหรับกรณีพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอว่าเห็นควรให้มีศาลเลือกตั้งนั้น ตนคิดว่าเรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปตั้งศาลใหม่ขึ้นมา เพียงแต่ให้ไปอยู่ในแผนกของศาลให้มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดยให้มีอำนาจลงโทษทางอาญาได้
วานนี้ (22พ.ย.) นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) กล่าวว่า กรธ.ยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)จะมีจำนวน 200 คนหรือไม่ โดยมีทางเลือกในหลายรูปแบบ อาทิ ให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม หรือทางตรง พร้อมทั้งมองว่าหากจะให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงแล้วก็ห่วงว่าจะไม่ได้คนที่สุจริต และเที่ยงธรรม100 เปอร์เซนต์
ขณะเดียวกัน กรธ.ได้มองถึงประสิทธิภาพในการทำหน้าที่ของ ส.ว.ว่าเดิมทีกรธงจะให้ ส.ว.เป็นสภาพี่เลี้ยง ไม่ได้มีหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำให้กรธ.ต้องศึกษาอย่างถี่ถ้วนว่า หากให้ ส.ว.ทำหน้าที่ถอดถอนนักการเมืองเช่นเดิม จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะหากส.ว.มาจากการเลือกตั้ง ก็อาจมาจากกลุ่มก้อนเดียวกับนักการเมืองได้ โดยกำลังทบทวนบทบาทของส.ว. ทำให้เบื้องต้น กรธ. จึงมองว่าหากให้องค์กรอิสระเข้ามาทำหน้าที่ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองโดยเฉพาะมาชี้ขาดในเรื่องคุณสมบัติ ก็อาจต้องมีกฎหมายด้วย หรือให้องค์กรอิสระองค์กรใด มาทำหน้าที่ชี้ขาดการพ้นตำแหน่งทางการเมืองนั้นๆ อีกทั้งกรธ.ก็ได้หารือกันว่า จะดีหรือไม่ หากให้ศาลรัฐธรรมนูญมาตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่การได้มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องเข้มขึ้นกว่าเดิม แต่ถ้ามีผู้เสนอมาว่า จะให้องค์กรใดทำหน้าที่ถอดถอนนักการเมือง ก็ให้เสนอเข้ามาที่กรธ.ได้
ส่วนความเห็นความห่วงใยของนักการเมือง ที่เสนอข้อทักท้วงให้ กรธ. คิดให้รอบคอบในเรื่องอำนาจหน้าที่ถอดถอนของส.ว. นั้น ทาง กรธ. ก็พร้อมรับฟังและนำทุกประเด็นไปแก้ไข ให้สอดคล้องกับหลักการที่วางไว้ เพื่อให้ประเทศและประชาชนเป็นที่ตั้ง
แนะคงอำนาจส.ว.ในการถอดถอน
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงกรณี กรธ. จะตัดอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของส.ว.ทิ้ง แล้วไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช. ทำหน้าที่แทน ก็แสดงว่า ต่อไปส.ว.ก็จะทำหน้าที่แค่กลั่นกรองร่างกฎหมายเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ ก็ไมจำเป็นต้องมีส.ว. เหลือแค่ส.ส.สภาเดียวก็ได้
ปัญหา คือ ถ้าโอนอำนาจถอดถอนจาก ส.ว. ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ และ ป.ป.ช.ทั้งหมด ใคร และองค์กรใด จะทำหน้าที่ตรวจสอบถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระเหล่านั้นรวมทั้งการสรรหาที่มาของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระด้วย ว่า จะมาจากกระบวนการแบบไหน ถึงจะเป็นที่ยอมรับ
กรธ.ตั้งโจทย์กระโดดไป กระโดดมา ไม่ได้มองทั้งระบบก่อน ทำให้การออกแบบระบบการเมืองอาจมีความลักลั่นกันได้ ผมยังเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของระบบ 2 สภา โดยให้วุฒิสภาเป็นสภาตรวจสอบ ถอดถอนนักการเมือง แต่ที่ผ่านมาถอดถอนนักการเมืองแทบไม่ได้เลย เพราะเสียงไม่ถึง 3 ใน 5 นั้นก็อาจเป็นเพราะ ส.ว.ขาดความเป็นอิสระ ใช้เสียงมากไปและข้อกล่าวหา อาจไม่มีน้ำหนัก
ฉะนั้น ควรไปแก้ที่มา ส.ว.ให้มีความเป็นอิสระ และหลากหลายมากขึ้น โดยใช้ระบบเลือกตั้งผ่านสาขาอาชีพ แทนการเลือกตั้งหรือสรรหาแบบเดิม ที่กระจุกตัวอยู่กับคนไม่กี่กลุ่ม
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง ความเห็นของกรธ. ที่จะลดอำนาจส.ว.ในการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแทนว่า ข้อเสนอนี้มีขึ้นเพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการกำหนดให้ ส.ว.มาจากการแต่งตั้ง เมื่อได้ข้อสรุปแล้วว่าส.ว.มาจากการแต่งตั้ง ก็พบว่า ส.ว.ที่จะมีขึ้นนี้ ยังมีหน้าที่อีกมากมาย ทั้งการตรวจสอบรัฐบาล แต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ และอำนาจอื่นๆ อีกมาก กลายเป็น ส.ว.ที่มีอำนาจมหาศาลเบ็ดเสร็จอยู่ดี ขณะเดียวกันการยกอำนาจถอดถอนไปให้องค์กรอื่น ทำไม่ได้ เพราะจะกระทบการถ่วงดุลอธิปไตย ทำให้มีแนวโน้มฝ่ายตุลาการ จะมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจอื่นๆ ส่วนรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง จะเหลืออำนาจน้อยลง
กปปส.ให้อำนาจตุลาการถอดถอน
นายวิทยา แก้วภารดรัย สมาชิก สปท. และอดีตแกนนำ กปปส. กล่าวถึงกรณีที่กรธ.ไม่ให้ ส.ว.มีอำนาจถอดถอน แต่จะให้อำนาจดังกล่าวเป็นหน้าที่ขององค์กรออิสระว่า น่าจะดี เพราะส.ว.ควรมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายเป็นเรื่องหลัก ส่วนอำนาจถอดถอน ก็ควรจบไป ที่ผ่านมาอำนาจการถอดถอนของ ส.ว.ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร กระบวนการไต่สวนเรื่องการถอดถอน จึงควรให้เป็นอำนาจของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลยุติธรรม แต่กรณีที่จะให้อำนาจ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามกาทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีอำนาจถอนในคดีทุจริต และประพฤติมิชอบนั้น เห็นว่าไม่สมควรไปเพิ่มภาระหน้าที่การทำงานใก้กับป.ป.ช. มากกว่าเดิม เพราะการทำงานของ ป.ป.ช. ยังมีคดีที่ต้องพิจารณาค้างอยู่เยอะ หน้าที่ในการถอดถอนจึงควรจะแบ่งเบาไปยังศาลยุติธรรม หรือศาลรัฐธรรมนูญ ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมน่าจะดีกว่า
ส่วนแนวคิดให้ยกเลิก ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือปาร์ตี้ลิสต์นั้น ในที่ประชุม กมธ.การเมือง มีการถกเถียงกันในเบื้องต้น และเห็นว่า สมควรจะต้องยกเลิก เนื่องจากที่ผ่านมาส.ส.บัญชีรายชื่อ ไม่ใช่ที่ซ่องสุมของคนดีตามเจตนารมณ์ แต่กลายเป็นที่ซ่องสุมของกลุ่มทุน และสร้างปัญหาขึ้นมากกว่า
ไม่จำเป็นต้องมีคปป.ไว้ผ่าทางตัน
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่มีข้อเสนอของคสช. ที่ส่งไปถึงกรธ. ซึ่งในข้อที่ 6 ระบุว่า “การร่างรัฐธรรมนูญ ควรบัญญัติช่องทางเผื่อในอนาคตในการผ่าทางตันไว้ด้วย โดยเฉพาะการเกิดปัญหาสุญญากาศทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ”
ทั้งนี้ ตนคิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะทำให้เกิดคณะกรรมการยุทธศาสตร์ปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เพราะทางกรธ.น่าจะรู้ดีว่า สิ่งนี้เป็นปัญหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว จึงไม่น่านำมาใส่ลงในร่างรัฐธรรมนูญในขณะนี้
อย่างไรก็ตาม ตนเข้าใจว่าข้อเสนอของคสช. น่าจะหมายถึงว่า กรณีที่เกิดทางตันขึ้นมา อาทิ ฝ่ายหนึ่งบอกว่าขอนายกรัฐมนตรีตาม มาตรา 7 ได้ แต่อีกฝ่ายก็บอกวาทำไม่ได้ ประเด็นเหล่านี้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะต้องหาทางออกเอาไว้
นายนิพิฎฐ์กล่าวว่าตนเห็นด้วยกับ กรธ.ที่ได้แสดงจุดยืนว่า จะไม่เพิ่มองค์กรใหม่ลงไปในรัฐธรรมนูญ โดยเห็นควรให้ใช้องค์กรที่มีอยู่แก้ปัญหาไป สำหรับกรณีพรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอว่าเห็นควรให้มีศาลเลือกตั้งนั้น ตนคิดว่าเรื่องนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปตั้งศาลใหม่ขึ้นมา เพียงแต่ให้ไปอยู่ในแผนกของศาลให้มีอำนาจในการพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งโดยให้มีอำนาจลงโทษทางอาญาได้