ศูนย์ข่าวภูมิภาค-ผู้ค้าลอตเตอรี่รายย่อยในอำเภอวังสะพุงหลายร้อยคนประท้วงปิดถนน เหตุไม่พอใจระบบการสั่งจองสั่งซื้อลอตเตอรี่ผ่านตู้ ATM แบงก์กรุงไทย เข้าคิวรอสั่งจองข้ามวันข้ามคืน แต่จองไม่ได้ ระบบช้า ล่มซ้ำซาก เผยหากต้องซื้อผ่านยี่ปั๊วก็ขายแพงถึง 79.50 บาท/ฉบับ ขณะที่กลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อยชาวพิจิตรร้องศูนย์ดำรงธรรมฯ อัดนโยบายกองสลาก 2 มาตรฐาน เปิดจองซื้อหวยผ่านแบงก์ ทำคนจน คนชรา คนพิการ เข้าไม่ถึงโควตา โดนนายทุนส่งกองทัพมดจองซื้อเรียบวุธ ด้านเครือข่ายคนพิการฯ ร้อง "บิ๊กตู่" ใช้ ม.44 เบรกประกาศกองสลากฯ ชะลอการวางเงินประกัน100%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 06.30 น. วานนี้ (4 พ.ย.) ริมถนนมะลิวัลย์-เลย หลัก กม.ที่ 21 ต.ศรีสงคราม อ.วังสะพุง จ.เลย บริเวณจุดกลับรถด้านหน้าตลาดนัดลอตเตอรี่ ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารตลาดขายส่งลอตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ได้มีผู้ค้าลอตเตอรี่รายย่อยกว่า 500 คน ได้นัดชุมนุมปิดถนนทำให้รถบนถนนติดยาวไม่สามารถเคลื่อนตัวได้นานกว่า 3 ชั่วโมง โดยสาเหตุที่นัดชุมนุมปิดถนนครั้งนี้ เนื่องจากผู้ค้ารายย่อยหลายพันคนในอำเภอวังสะพุงต่างไม่พอใจกับระบบการจองซื้อลอตเตอรี่ผ่านตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีปัญหาไม่สามารถทำรายการได้ นั่นเท่ากับว่าในงวดวันที่ 16 พ.ย.นี้ ไม่สามารถสั่งจองลอตเตอรี่มาขายได้
ผู้ค้ารายย่อยจำนวนมากระบุว่า เมื่อจองซื้อโดยตรงกับกองสลากไม่ได้ ก็ต้องหันมาซื้อจากผู้ค้าคนกลางหรือยี่ปั๊วที่ตลาดสหกรณ์การเกษตรวังสะพุง และตลาดตระกูลเศรษฐีแทน ซึ่งขายให้ผู้ค้ารายย่อยในราคาที่สูงกว่ากองสลาก ณ วันนี้ขายอยู่ที่ราคา 79.50 บาท/ฉบับ
นายณรงค์ สุดใจ ผู้ค้าสลากรายย่อยชาววังสะพุงรายหนึ่ง กล่าวว่า การออกมาชุมนุมผู้เรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งนี้ ไม่มีแกนนำ เนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของผู้ค้าลอตเตอรี่รายย่อยที่หาเช้ากินค่ำจริงๆ พวกตนไม่สามารถไปซื้อจองสลากฯ จากตู้เอทีเอ็มได้ บางคนไปรอตั้งแต่ 12.00 น. ของวันที่ 2 พ.ย. และมาได้คิวแรกเพื่อกดตู้ ATM วันที่ 3 พ.ย. แต่ใช้เวลาจองผ่านระบบนานถึง 15 นาทีถึงสามารถจองได้
หลังจากนั้นถึงเป็นสิทธิของผู้ถือบัตรคิวคนที่ 2 ที่ 3 แต่ก็สามารถจองได้ ช้ามาก ส่วนคนที่ 4-5 นั้น ไม่สามารถจองได้เลย ส่วนใหญ่แต่ละตู้ (ตู้เอทีเอ็ม) จะสามารถจองได้สำเร็จเพียง 1-2 คนเท่านั้น หลังจากนั้นระบบการจองจะล่ม
"พวกผมเดือดร้อนกันมาก เมื่อจองไม่ได้ก็ไม่มีลอตเตอรี่ขายไม่มีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง หากไปซื้อกับพ่อค้าคนกลางก็ซื้อได้ในราคาที่สูงมาก ขายได้กำไรน้อย อยากให้นายกรัฐมนตรีรับทราบปัญหานี้ และเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด"
ต่อมาเวลา 08.30 น. นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เดินทางมาพบกลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมรับทราบข้อปัญหา โดยนายวิโรจน์ได้โทรศัพท์ไปปรึกษากับผู้เกี่ยวข้องของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
หลังจากประสานงานกับกองสลาก นายวิโรจน์ได้กล่าวรับปากกับผู้ชุมนุมว่า จะเป็นคนกลางไปเจรจากับผู้ค้าคนกลางหรือยี่ปั๊วเพื่อให้ขายสลากฯ ในราคาที่ถูกกว่านี้ และให้ผู้ชุมนุมทุกคนนั้นลงชื่อไว้เพื่อใช้สิทธิซื้อสลากกินแบ่งฯ จากยี่ปั๊วในราคาถูก จากนั้นประมาณ 09.20 น.ทางกลุ่มผู้ชุมนุมก็ยอมเปิดถนนให้รถสามารถสัญจรได้ตามปกติ
ส่วนที่ จ.พิจิตร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกองสลากประกาศให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ที่เคาน์เตอร์ NET Bank และตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย ทุกวันที่ 3-7 และในวันที่ 18-22 ของทุกเดือน เพื่อจะได้สิทธิรับสลากกินแบ่งฯ ไปขาย แต่ปรากฏว่า คนจน คนชรา คนพิการ ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ไม่ได้สิทธิจองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมาขาย
ล่าสุดนายสมบัติ ดำมินเสก อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ 4 ต.ท่าหลวง อ.เมืองพิจิตร และนางเรียน เฟื่องฟู ชาวบ้าน ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร พร้อมด้วยกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายย่อยกว่า 10 คนได้เข้าร้องทุกข์ต่อ พ.ต.ท.ถนอม จินาวา รองหัวหน้าชุดเฉพาะกิจศูนย์ดำรงธรรม จ.พิจิตร ว่ารัฐบาล นโยบายของกองสลากเป็นสองมาตรฐานไม่เอื้อประโยชน์ให้คนยากคนจน คนชรา คนพิการ ได้เข้าถึงการขอโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาล และเปิดช่องให้เกิดการผูกขาดของนายทุนใหญ่ ที่ใช้กองทัพมดเข้ามาเอาโควตา แล้วนำกลับมาขายกินกำไรจากคนยากคนจนเหมือนเดิม
ขณะที่นายสุขเสริม ไพบูลย์สิริ ผู้จัดการสาขาอาวุโสธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาพิจิตร กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวตนเองรับทราบ และได้รายงานไปยังผู้บริหารแล้ว ด้วยใจจริงแล้วรู้สึกเห็นใจคนยากคนจน คนชรา คนพิการ ที่เข้าไม่ถึงระบบเทคโนโลยี ชาวบ้านบางคนเดินทางไกลมากว่า 40-50 กิโลเมตร มาถึงธนาคารกรุงไทยพิจิตรตั้งแต่ตี 5 หวังว่าจะได้คิวเป็นคนแรก แต่พอถึงเวลา 08.30 น. ซึ่งเป็นเวลาทำการเพียงแค่ 5 นาทีแรก ก็พบว่าโควตาถูกจองเต็มหมดแล้ว
สำหรับจังหวัดพิจิตรในงวดที่ผ่านมามีผู้ที่สามารถจองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อนำมาขายปลีกผ่านตู้ ATM ได้เพียง 19 ราย ผ่านระบบ Net Bank เพียงแค่ 2 ราย เป็นเงินหมุนเวียนเพื่อการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล 1.6 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงจะประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องจะจัดให้ความรู้และช่องทางในการขอโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านธนาคารกรุงไทย เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนเข้าถึงระบบเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วันเดียวกันนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ฝั่งสำนักงานก.พ. ถนนพิษณุโลก เครือข่ายคนพิการผู้เดือดร้อนเรื่องเงินประกันสลาก นำโดยนายเดชา ปะทิเก ประธานเครือข่ายฯ และพวกประมาณ 60 คน เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านพล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่อง โดยระบุว่าได้รับความเดือดร้อนที่มีการออกประกาศของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในส่วนของเงินประกันในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล และขอให้พล.อ.ประยุทธ์ ออกคำสั่งตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ชะลอประกาศของสำนักงานกินแบ่งรัฐบาลครั้งนี้ ออกไปก่อน
นายเดชากล่าวว่า จากข้อกำหนดหลักเกณฑ์ในประกาศของสำนักงานสลากกินแบ่งฯ ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ ในข้อที่ 4 ระบุ เรื่องหลักประกันในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ ต้องวางเงินประกัน 100 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 8,000 บาท ต่อเล่มคู่ จากปกติที่ทุกครั้งเราไปรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจะต้องจ่าย 7,040 บาท ต่อเล่ม ซึ่งจะได้กำไร ใบละ 9.60 บาท ถ้าให้จ่ายค่าประกันตามคำสั่ง ก็จ่ายเพิ่มไปอีก 8,000 บาท จะเป็น 15,040 บาท ซึ่งจากความเป็นจริงแล้ว องค์กรของคนพิการไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ เพราะองค์กรได้รับส่วนต่างเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสลากให้กับสมาชิกในการบริหารจัดการสลากให้แต่ละงวด จึงขอให้นายกฯ ใช้มาตรา 44 ระงับประกาศของสำนักงานสลากฯ ไปเสียก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.เอก ได้ประสานงานยังสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อส่งตัวแทนเข้ามาพูดคุยถึงปัญหา และทางสำนักสลากฯ ได้รับเรื่อง เพื่อส่งไปให้ผู้อำนวยการสำนักสลากฯ แก้ไขต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 06.30 น. วานนี้ (4 พ.ย.) ริมถนนมะลิวัลย์-เลย หลัก กม.ที่ 21 ต.ศรีสงคราม อ.วังสะพุง จ.เลย บริเวณจุดกลับรถด้านหน้าตลาดนัดลอตเตอรี่ ซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารตลาดขายส่งลอตเตอรี่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ได้มีผู้ค้าลอตเตอรี่รายย่อยกว่า 500 คน ได้นัดชุมนุมปิดถนนทำให้รถบนถนนติดยาวไม่สามารถเคลื่อนตัวได้นานกว่า 3 ชั่วโมง โดยสาเหตุที่นัดชุมนุมปิดถนนครั้งนี้ เนื่องจากผู้ค้ารายย่อยหลายพันคนในอำเภอวังสะพุงต่างไม่พอใจกับระบบการจองซื้อลอตเตอรี่ผ่านตู้เอทีเอ็ม ธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีปัญหาไม่สามารถทำรายการได้ นั่นเท่ากับว่าในงวดวันที่ 16 พ.ย.นี้ ไม่สามารถสั่งจองลอตเตอรี่มาขายได้
ผู้ค้ารายย่อยจำนวนมากระบุว่า เมื่อจองซื้อโดยตรงกับกองสลากไม่ได้ ก็ต้องหันมาซื้อจากผู้ค้าคนกลางหรือยี่ปั๊วที่ตลาดสหกรณ์การเกษตรวังสะพุง และตลาดตระกูลเศรษฐีแทน ซึ่งขายให้ผู้ค้ารายย่อยในราคาที่สูงกว่ากองสลาก ณ วันนี้ขายอยู่ที่ราคา 79.50 บาท/ฉบับ
นายณรงค์ สุดใจ ผู้ค้าสลากรายย่อยชาววังสะพุงรายหนึ่ง กล่าวว่า การออกมาชุมนุมผู้เรียกร้องขอความเป็นธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งนี้ ไม่มีแกนนำ เนื่องจากเป็นความเดือดร้อนของผู้ค้าลอตเตอรี่รายย่อยที่หาเช้ากินค่ำจริงๆ พวกตนไม่สามารถไปซื้อจองสลากฯ จากตู้เอทีเอ็มได้ บางคนไปรอตั้งแต่ 12.00 น. ของวันที่ 2 พ.ย. และมาได้คิวแรกเพื่อกดตู้ ATM วันที่ 3 พ.ย. แต่ใช้เวลาจองผ่านระบบนานถึง 15 นาทีถึงสามารถจองได้
หลังจากนั้นถึงเป็นสิทธิของผู้ถือบัตรคิวคนที่ 2 ที่ 3 แต่ก็สามารถจองได้ ช้ามาก ส่วนคนที่ 4-5 นั้น ไม่สามารถจองได้เลย ส่วนใหญ่แต่ละตู้ (ตู้เอทีเอ็ม) จะสามารถจองได้สำเร็จเพียง 1-2 คนเท่านั้น หลังจากนั้นระบบการจองจะล่ม
"พวกผมเดือดร้อนกันมาก เมื่อจองไม่ได้ก็ไม่มีลอตเตอรี่ขายไม่มีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง หากไปซื้อกับพ่อค้าคนกลางก็ซื้อได้ในราคาที่สูงมาก ขายได้กำไรน้อย อยากให้นายกรัฐมนตรีรับทราบปัญหานี้ และเข้ามาแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด"
ต่อมาเวลา 08.30 น. นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เดินทางมาพบกลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมรับทราบข้อปัญหา โดยนายวิโรจน์ได้โทรศัพท์ไปปรึกษากับผู้เกี่ยวข้องของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
หลังจากประสานงานกับกองสลาก นายวิโรจน์ได้กล่าวรับปากกับผู้ชุมนุมว่า จะเป็นคนกลางไปเจรจากับผู้ค้าคนกลางหรือยี่ปั๊วเพื่อให้ขายสลากฯ ในราคาที่ถูกกว่านี้ และให้ผู้ชุมนุมทุกคนนั้นลงชื่อไว้เพื่อใช้สิทธิซื้อสลากกินแบ่งฯ จากยี่ปั๊วในราคาถูก จากนั้นประมาณ 09.20 น.ทางกลุ่มผู้ชุมนุมก็ยอมเปิดถนนให้รถสามารถสัญจรได้ตามปกติ
ส่วนที่ จ.พิจิตร ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากกองสลากประกาศให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ที่เคาน์เตอร์ NET Bank และตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย ทุกวันที่ 3-7 และในวันที่ 18-22 ของทุกเดือน เพื่อจะได้สิทธิรับสลากกินแบ่งฯ ไปขาย แต่ปรากฏว่า คนจน คนชรา คนพิการ ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ไม่ได้สิทธิจองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลมาขาย
ล่าสุดนายสมบัติ ดำมินเสก อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ 4 ต.ท่าหลวง อ.เมืองพิจิตร และนางเรียน เฟื่องฟู ชาวบ้าน ต.ไผ่ท่าโพ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร พร้อมด้วยกลุ่มผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาลรายย่อยกว่า 10 คนได้เข้าร้องทุกข์ต่อ พ.ต.ท.ถนอม จินาวา รองหัวหน้าชุดเฉพาะกิจศูนย์ดำรงธรรม จ.พิจิตร ว่ารัฐบาล นโยบายของกองสลากเป็นสองมาตรฐานไม่เอื้อประโยชน์ให้คนยากคนจน คนชรา คนพิการ ได้เข้าถึงการขอโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาล และเปิดช่องให้เกิดการผูกขาดของนายทุนใหญ่ ที่ใช้กองทัพมดเข้ามาเอาโควตา แล้วนำกลับมาขายกินกำไรจากคนยากคนจนเหมือนเดิม
ขณะที่นายสุขเสริม ไพบูลย์สิริ ผู้จัดการสาขาอาวุโสธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาพิจิตร กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวตนเองรับทราบ และได้รายงานไปยังผู้บริหารแล้ว ด้วยใจจริงแล้วรู้สึกเห็นใจคนยากคนจน คนชรา คนพิการ ที่เข้าไม่ถึงระบบเทคโนโลยี ชาวบ้านบางคนเดินทางไกลมากว่า 40-50 กิโลเมตร มาถึงธนาคารกรุงไทยพิจิตรตั้งแต่ตี 5 หวังว่าจะได้คิวเป็นคนแรก แต่พอถึงเวลา 08.30 น. ซึ่งเป็นเวลาทำการเพียงแค่ 5 นาทีแรก ก็พบว่าโควตาถูกจองเต็มหมดแล้ว
สำหรับจังหวัดพิจิตรในงวดที่ผ่านมามีผู้ที่สามารถจองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อนำมาขายปลีกผ่านตู้ ATM ได้เพียง 19 ราย ผ่านระบบ Net Bank เพียงแค่ 2 ราย เป็นเงินหมุนเวียนเพื่อการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล 1.6 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก จึงจะประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องจะจัดให้ความรู้และช่องทางในการขอโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลผ่านธนาคารกรุงไทย เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ประชาชนเข้าถึงระบบเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
วันเดียวกันนี้ ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ฝั่งสำนักงานก.พ. ถนนพิษณุโลก เครือข่ายคนพิการผู้เดือดร้อนเรื่องเงินประกันสลาก นำโดยนายเดชา ปะทิเก ประธานเครือข่ายฯ และพวกประมาณ 60 คน เข้ายื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผ่านพล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับเรื่อง โดยระบุว่าได้รับความเดือดร้อนที่มีการออกประกาศของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในส่วนของเงินประกันในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล และขอให้พล.อ.ประยุทธ์ ออกคำสั่งตาม มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ชะลอประกาศของสำนักงานกินแบ่งรัฐบาลครั้งนี้ ออกไปก่อน
นายเดชากล่าวว่า จากข้อกำหนดหลักเกณฑ์ในประกาศของสำนักงานสลากกินแบ่งฯ ที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้พิการ ในข้อที่ 4 ระบุ เรื่องหลักประกันในการเป็นตัวแทนจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล คือ ต้องวางเงินประกัน 100 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 8,000 บาท ต่อเล่มคู่ จากปกติที่ทุกครั้งเราไปรับสลากกินแบ่งรัฐบาลจะต้องจ่าย 7,040 บาท ต่อเล่ม ซึ่งจะได้กำไร ใบละ 9.60 บาท ถ้าให้จ่ายค่าประกันตามคำสั่ง ก็จ่ายเพิ่มไปอีก 8,000 บาท จะเป็น 15,040 บาท ซึ่งจากความเป็นจริงแล้ว องค์กรของคนพิการไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ เพราะองค์กรได้รับส่วนต่างเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสลากให้กับสมาชิกในการบริหารจัดการสลากให้แต่ละงวด จึงขอให้นายกฯ ใช้มาตรา 44 ระงับประกาศของสำนักงานสลากฯ ไปเสียก่อน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.เอก ได้ประสานงานยังสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อส่งตัวแทนเข้ามาพูดคุยถึงปัญหา และทางสำนักสลากฯ ได้รับเรื่อง เพื่อส่งไปให้ผู้อำนวยการสำนักสลากฯ แก้ไขต่อไป