พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงภารกิจของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม และคณะ ที่เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ADMM Retreat) เมื่อวานนี้ ( 3 พ.ย.) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย ว่า รัฐมนตรีกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนได้แลกเปลี่ยนทัศนะ ประเด็นความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกัน โดยมองว่าภัยคุกคามที่สำคัญของภูมิภาคที่จำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยจากการก่อการร้าย และกลุ่มหัวรุนแรง อาชญากรข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ และภัยคุกคามจากไซเบอร์
พัฒนาการของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และขับเคลื่อนผลักดันความร่วมมือด้านความมั่นคงของภูมิภาค ที่เป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัด ทั้งความร่วมมือทางทะเล การแพทย์ทหาร การรักษาสันติภาพ การต่อต้านการก่อการร้าย การปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม การช่วยเหลือมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ
การบูรณาการทำงานร่วมกันที่จะตอบสนองภัยคุกคามในอนาคต มีความจำเป็นต้องยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ และให้ความสำคัญกับปัญหาการค้ามนุษย์ การแก้ปัญหายาเสพติด รวมทั้งการแก้ปัญหาการก่อการร้ายและกลุ่มนิยมความรุนแรงมากขึ้น เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยจำเป็นต้องให้ความรู้และพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อทำงานร่วมกันในอนาคต
ปัญหาทะเลจีนใต้ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน ที่ต้องคงไว้ซึ่งเสรีในการเดินเรือ และการเดินอากาศของทุกประเทศ โดยจำเป็นต้องส่งเสริมบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อพัฒนาปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ( Declaration on the Conduct)ที่ลงนามร่วมกันไว้แล้วเมื่อปี 45 สู่การจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ( Code of Conduct )ด้วยกรอบเวลาที่กำหนดร่วมกันต่อไป
อาเซียนยังเห็นร่วมกันว่า สหรัฐฯ และจีน เป็นประเทศที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียน การประชุมรมว.กลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาทั้งสองประเทศอย่างไม่เป็นทางการ จึงมีความสำคัญ เพื่อรักษาดุลยภาพ ผลประโยชน์ และความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากนั้นยังเห็นร่วมกันที่จะร่วมมือกันจัดตั้งกองกำลังของอาเซียน ในการตอบสนองต่อการบรรเทาภัยพิบัติร่วมกัน พร้อมทั้งขอบคุณ และชื่นชมไทย ในความริเริ่มจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน และกำหนดให้มีการฝึกร่วมด้านการแพทย์ทหารและด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติในปี 59 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคอาเซียนในภาพรวม
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ใช้โอกาสนี้กล่าวขอบคุณต่อที่ประชุม ที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารและการฝึกร่วมกันในปี 59 ที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งกล่าวว่า ความมีเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เกิดจากรูปแบบและกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงที่แน่นแฟ้น ทั้งการประชุมรมว.กลาโหมอาเซียน การประชุม ผบ.ทหารสูงสุด อย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ผ่านมา ประเทศไทยสนับสนุนการเสริมสร้างความร่วมมือของฝ่ายทหาร ควบคู่กับการสร้างความมั่นคงกับภาคส่วนอื่นๆของภูมิภาค
ขณะเดียวกันรัฐบาลไทย ให้ความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคง และความมีเสถียรภาพของประเทศ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถร่วมกันของสมาชิกอาเซียน จะเป็นกลไกสำคัญที่ตอบสนองต่อความท้าทายด้านความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกันอย่างมีเสถียรภาพ
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้ลงนาม Direct Communication Linksร่วมกัน เพื่อจัดตั้งกลไกการติดต่อสื่อสารสาย ตรงของรมว.กลาโหมทุกประเทศสมาชิกร่วมกัน สำหรับการประสานงานติดต่อตรงระหว่างกัน ในการลดปัญหาที่อาจขยายตัวจากความเข้าใจผิดจนกระทบต่อผลประโยชน์ของภูมิภาคในภาพรวม
พัฒนาการของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และขับเคลื่อนผลักดันความร่วมมือด้านความมั่นคงของภูมิภาค ที่เป็นรูปธรรมอย่างเด่นชัด ทั้งความร่วมมือทางทะเล การแพทย์ทหาร การรักษาสันติภาพ การต่อต้านการก่อการร้าย การปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม การช่วยเหลือมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ
การบูรณาการทำงานร่วมกันที่จะตอบสนองภัยคุกคามในอนาคต มีความจำเป็นต้องยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ และให้ความสำคัญกับปัญหาการค้ามนุษย์ การแก้ปัญหายาเสพติด รวมทั้งการแก้ปัญหาการก่อการร้ายและกลุ่มนิยมความรุนแรงมากขึ้น เน้นบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมมากขึ้น โดยจำเป็นต้องให้ความรู้และพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อทำงานร่วมกันในอนาคต
ปัญหาทะเลจีนใต้ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน ที่ต้องคงไว้ซึ่งเสรีในการเดินเรือ และการเดินอากาศของทุกประเทศ โดยจำเป็นต้องส่งเสริมบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อพัฒนาปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ ( Declaration on the Conduct)ที่ลงนามร่วมกันไว้แล้วเมื่อปี 45 สู่การจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ ( Code of Conduct )ด้วยกรอบเวลาที่กำหนดร่วมกันต่อไป
อาเซียนยังเห็นร่วมกันว่า สหรัฐฯ และจีน เป็นประเทศที่มีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียน การประชุมรมว.กลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาทั้งสองประเทศอย่างไม่เป็นทางการ จึงมีความสำคัญ เพื่อรักษาดุลยภาพ ผลประโยชน์ และความมั่นคงของภูมิภาค นอกจากนั้นยังเห็นร่วมกันที่จะร่วมมือกันจัดตั้งกองกำลังของอาเซียน ในการตอบสนองต่อการบรรเทาภัยพิบัติร่วมกัน พร้อมทั้งขอบคุณ และชื่นชมไทย ในความริเริ่มจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน และกำหนดให้มีการฝึกร่วมด้านการแพทย์ทหารและด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติในปี 59 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคอาเซียนในภาพรวม
ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ใช้โอกาสนี้กล่าวขอบคุณต่อที่ประชุม ที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารและการฝึกร่วมกันในปี 59 ที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งกล่าวว่า ความมีเสถียรภาพ สันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค เกิดจากรูปแบบและกลไกความร่วมมือด้านความมั่นคงที่แน่นแฟ้น ทั้งการประชุมรมว.กลาโหมอาเซียน การประชุม ผบ.ทหารสูงสุด อย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพที่ผ่านมา ประเทศไทยสนับสนุนการเสริมสร้างความร่วมมือของฝ่ายทหาร ควบคู่กับการสร้างความมั่นคงกับภาคส่วนอื่นๆของภูมิภาค
ขณะเดียวกันรัฐบาลไทย ให้ความสำคัญต่อการรักษาความมั่นคง และความมีเสถียรภาพของประเทศ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถร่วมกันของสมาชิกอาเซียน จะเป็นกลไกสำคัญที่ตอบสนองต่อความท้าทายด้านความมั่นคงของภูมิภาคร่วมกันอย่างมีเสถียรภาพ
หลังจากนั้น ที่ประชุมได้ลงนาม Direct Communication Linksร่วมกัน เพื่อจัดตั้งกลไกการติดต่อสื่อสารสาย ตรงของรมว.กลาโหมทุกประเทศสมาชิกร่วมกัน สำหรับการประสานงานติดต่อตรงระหว่างกัน ในการลดปัญหาที่อาจขยายตัวจากความเข้าใจผิดจนกระทบต่อผลประโยชน์ของภูมิภาคในภาพรวม