พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่เริ่มดำเนินการเมื่อวานนี้ (2พ.ย.) เป็นวันแรกว่า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทั้งจากโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เนื่องจากเป็นมิติใหม่ของการศึกษา ที่มีการปรับลดชั่วโมงเรียนบางวิชาให้น้อยลง แต่ไม่กระทบเนื้อหาวิชาหลัก 8 กลุ่มสาระวิชา ที่เด็กควรเรียนรู้ และมีความสุขเพิ่มขึ้น เช่น จากเดิมที่นักเรียนเคยเรียน 9 คาบ จะเหลือเพียง 7-8 คาบ และหลังจาก 14.00 น. เด็กนักเรียนได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมที่มีให้เลือกหลากหลายประเภทตามความพร้อมของโรงเรียน ครู และเด็ก เช่น จัดเวลาเรียนซ่อมเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มที่อ่อน จัดกิจกรรมแนะแนว การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา การพัฒนาทักษะการสื่อสาร เชื่อมความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง และการฝึกอาชีพ เป็นต้น
ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เข้าร่วมนำร่องในภาคเรียนที่ 2 นี้ จำนวน 3,831 โรง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3,437 โรง โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 384 โรง และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 10 โรง โดยกระทรวงศึกษาธิการจะส่งชุดสมาร์ทเทรนเนอร์ จำนวน 300 ทีม ลงตรวจประเมินผลทั่วประเทศทุกสัปดาห์ ทุกเดือน และทุก 3 เดือน เพื่อนำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ว่า ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขบ้าง
"นายกฯ พอใจที่ทุกฝ่ายให้การตอบรับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นอย่างดี และต้องการให้ขยายจำนวนโรงเรียนให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนหากผลประเมินออกมาดี และยังย้ำว่าการเรียนในห้อง เรียกว่าเรียนวิชาการ ส่วนเวลาช่วงบ่าย เรียกว่าเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่า นอกจากการเรียนในห้องด้านวิชาการเพื่อเพิ่มคุณวุฒิแล้วเราจะต้องเรียนรู้การปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎีไปด้วย จะได้ทำงานและจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ สร้างสรรค์ ความรู้รอบตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว
ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ เข้าร่วมนำร่องในภาคเรียนที่ 2 นี้ จำนวน 3,831 โรง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 3,437 โรง โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 384 โรง และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 10 โรง โดยกระทรวงศึกษาธิการจะส่งชุดสมาร์ทเทรนเนอร์ จำนวน 300 ทีม ลงตรวจประเมินผลทั่วประเทศทุกสัปดาห์ ทุกเดือน และทุก 3 เดือน เพื่อนำข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ว่า ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด และมีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไขบ้าง
"นายกฯ พอใจที่ทุกฝ่ายให้การตอบรับนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นอย่างดี และต้องการให้ขยายจำนวนโรงเรียนให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนหากผลประเมินออกมาดี และยังย้ำว่าการเรียนในห้อง เรียกว่าเรียนวิชาการ ส่วนเวลาช่วงบ่าย เรียกว่าเรียนรู้ ซึ่งหมายความว่า นอกจากการเรียนในห้องด้านวิชาการเพื่อเพิ่มคุณวุฒิแล้วเราจะต้องเรียนรู้การปฏิบัติควบคู่กับทฤษฎีไปด้วย จะได้ทำงานและจัดระเบียบความคิดให้เป็นระบบ สร้างสรรค์ ความรู้รอบตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในอนาคต" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว