วานนี้ (29 ต.ค.) พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) พร้อมคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นการรายงานผลการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่จากผู้ประสานงานกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด และรับฟังการนำเสนอแผนการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปีงบประมาณ 2559 จากศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) ณ ห้องประชุม 1 กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า จ.ปัตตานี
โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อรับฟังการายงานผลการพัฒนาการศึกษา และการบูรณาการแผนพัฒนาต่างๆที่จะดำเนินงานในปี 2559 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดเอกภาพ สามารถเข้าถึงสภาพของปัญหาของแต่ละจังหวัด และนำมาดำเนินการพัฒนา โดยยังคงพบว่า เยาวชนในพื้นที่ยังมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการศึกษาในระดับสูง จึงขอให้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ พร้อมสนับสนุนให้เด็กที่มีความสามารถในพื้นเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น และให้เด็กเหล่านั้นได้กลับไปพัฒนาพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ยังต้องเน้นการดูแลนักเรียนที่ด้อยโอกาส พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาครูไม่ครบทุกกลุ่มสาระ และไม่ครบชั้นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจังทุกภาคส่วน ทั้งครอบครัว โรงเรียน และเจ้าหน้าที่รัฐ
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ฝากให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ไปร่วมกันพิจารณาและนำเสนอแนวทางเพิ่มเติมคือในเรื่องของการ ส่งเสริมการเรียนเพื่อเสริมสร้างสันติสุข ส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับนักเรียน เยาวชน และประชาชน การเสริมให้มีการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาเด็ก เยาวชน และบุคลากรเพื่อสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่อปัจจุบัน ส่งเสริมการกีฬาในสถานศึกษา ที่สำคัญต้องมีการรักษาความปลอดภัยครูและบุคลากรทางการศึกษา พร้อมทั้งฝึกอบรมให้รู้จักการป้องกันตัวจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ทั้งยังเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาโดยจัดให้มีทุนการศึกษาสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อรับฟังการายงานผลการพัฒนาการศึกษา และการบูรณาการแผนพัฒนาต่างๆที่จะดำเนินงานในปี 2559 ซึ่งเป็นการร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดเอกภาพ สามารถเข้าถึงสภาพของปัญหาของแต่ละจังหวัด และนำมาดำเนินการพัฒนา โดยยังคงพบว่า เยาวชนในพื้นที่ยังมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการศึกษาในระดับสูง จึงขอให้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพ พร้อมสนับสนุนให้เด็กที่มีความสามารถในพื้นเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่ดีขึ้น และให้เด็กเหล่านั้นได้กลับไปพัฒนาพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ยังต้องเน้นการดูแลนักเรียนที่ด้อยโอกาส พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาครูไม่ครบทุกกลุ่มสาระ และไม่ครบชั้นควบคู่กันไปด้วย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือแก้ไขอย่างจริงจังทุกภาคส่วน ทั้งครอบครัว โรงเรียน และเจ้าหน้าที่รัฐ
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่ฝากให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ไปร่วมกันพิจารณาและนำเสนอแนวทางเพิ่มเติมคือในเรื่องของการ ส่งเสริมการเรียนเพื่อเสริมสร้างสันติสุข ส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับนักเรียน เยาวชน และประชาชน การเสริมให้มีการจัดสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาเด็ก เยาวชน และบุคลากรเพื่อสู่ประชาคมอาเซียนโดยใช้สื่อและเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่อปัจจุบัน ส่งเสริมการกีฬาในสถานศึกษา ที่สำคัญต้องมีการรักษาความปลอดภัยครูและบุคลากรทางการศึกษา พร้อมทั้งฝึกอบรมให้รู้จักการป้องกันตัวจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบต่างๆ ทั้งยังเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาโดยจัดให้มีทุนการศึกษาสำหรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้