วานนี้ (28ต.ค.) นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาปฏิรูปประเทศ( สปท.) คนที่ 1 ออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้ห้ามบุคคลภายนอกมาแถลงข่าวในรัฐสภา และโยนความผิดไปให้ข้าราชการรัฐสภาสรุปความผิดพลาด ว่า นายอลงกรณ์ จะไปปฏิรูปประเทศอะไรได้ ขนาดเรียกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของรัฐสภา 2 คนไปประชุมที่ห้องทำงานตัวเอง เมื่อวันที่ 16 ต.ค. เวลา 16.00 น. ให้ไปดำเนินการตามที่สั่งการ เมื่อข้าราชการรับไปปฏิบัติอย่างขึงขัง ออกหนังสือเวียนไปทั่วตามความประสงค์ แล้วมาโทษข้าราชการว่า สรุปผิดพลาดได้อย่างไร เพราะในหนังสือระบุถึงขนาดว่า ในการนี้ นายอลงกรณ์ มีดำริไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาแถลงข่าวภายในรัฐสภา โดยไม่ต้องการให้รัฐสภา เป็นเวทีของการทะเลาะเบาะแว้ง ทั้งนี้ บุคคลที่แถลงข่าวได้คือ สปท. สนช. และ กรธ.ชุดปัจจุบันเท่านั้น ลงชื่อ นายประวิช ตั้งใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์
นายวัชระ กล่าวว่า คำสั่งห้ามบุคคลภายนอกมาแถลงข่าวในรัฐสภา นับเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะสภา แปลว่า ที่พูด ไม่ว่าสภาใดๆ ก็ตาม บุคคลภายนอกนั้นรวมถึงประชาชนทั่วไป สภาจะตัดขาดจากประชาชนไม่ได้ เมื่อประชาชนมาร้องเรียน ก็ต้องให้แถลงข่าวได้ด้วย เมื่อหนังสือฉบับนี้ถูกเปิดเผยต่อสื่อมวลชน นายอลงกรณ์ ก็รีบออกตัวว่าเป็นการสรุปผิดพลาด ไม่ใช่ความคิดของตนเอง อะไรมันจะเป็นไปได้ถึงขนาดนี้
"อย่างไรก็ตาม ก็ขอฟังนายอลงกรณ์ไว้ก่อน แต่การที่มาบอกว่า ผมเข้าใจผิดแล้วใส่ร้ายป้ายสีตามอำเภอใจ และใช้อภิสิทธิ์เหนือคนอื่นนั้น ผมไม่มี และไม่เคยใช้อภิสิทธิ์ ถูก คสช.ปกครองเหมือนประชาชนทั้งประเทศ ผมเพียงแต่ใช้สิทธิ์ตามปกติ ในฐานะอดีตสมาชิกรัฐสภาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะไปแถลงข่าวแต่ละครั้ง ก็แจ้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ตามระเบียบทุกครั้ง แต่เมื่อไปครั้งหลังสุด เจ้าหน้าที่บอกว่า นายอลงกรณ์ สั่งห้ามไม่ให้ผมแถลง แล้วเรื่องอะไรที่ผมต้องไปเชื่อฟัง นายอลงกรณ์ ผมเป็นอดีตสมาชิกรัฐสภา มีสิทธิ์แถลงข่าวตามระเบียบอยู่แล้ว คำสั่งกำมะลอไม่มีผลใดๆ กับผม และเมื่อหนังสือราชการออกมา ผมตรวจสอบแล้วว่าเป็นหนังสือราชการจริง ผมจึงต้องต่อต้านกับคำสั่งเลอะเทอะ จะหาว่าผมไม่ตรวจสอบก่อนไม่ได้ และไม่ได้ใส่ร้ายป้ายสีใดๆ ในอนาคต ถ้านายอลงกรณ์ ไม่ไปอยู่พรรคทหารจริงๆ ก็ให้ประกาศชัดๆ อย่าอึมครึมแล้วกลับพรรคเก่าจะดีกว่า ส่วนที่บอกว่าไม่เคยวิ่งหาใครเพื่อตำแหน่ง ไม่ว่าสปช. สปท. หรือรองประธานสปท. ผมก็จะพยายามเชื่อ แต่ประชาชนจะเชื่อหรือไม่ ผมไม่รู้ ขนาดประธาน อบต. ชาวบ้านเขาก็รู้กันทั่วว่า ต้องวิ่งเต้นทั้งนั้น" นายวัชระ กล่าว
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. คนที่ 1 กล่าวถึง กระแสข่าวมีคำสั่งห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาแถลงข่าวที่รัฐสภา ว่า ไม่เป็นความจริง เรื่องนี้เป็นเพียงการจัดระเบียบให้เกิดความเรียบร้อย การใช้พื้นที่รัฐสภาในการแถลงข่าว จะต้องยึดถือตามกฎระเบียบของรัฐสภา เพราะที่แห่งนี้เป็นสถานที่ราชการ และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการพูดถึงบุคคลอื่น ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวเป็นระเบียบเดิมที่ถือปฏิบัติมานาน หากอดีต ส.ส. อดีต ส.ว.จะแถลงข่าว ต้องแจ้งกับสำนักประชาสัมพันธ์ ว่าจะแถลงในประเด็นอะไร มีการพาดพิงถึงใครหรือไม่ หากเป็นบุคคลภายนอก ต้องแจ้งต่อรักษาการเลขาสภาฯ หรือ รองเลขาสภาฯ เพื่อให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายใช้สิทธิอย่างเสมอภาค รวมถึงสภาฯ เป็นสถานที่ราชการ สปท. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องแถลงข่าวกันทุกวัน จึงจำเป็นต้องจัดระเบียบ
"หากมายื่นหนังสือ ยื่นข้อเสนอเรื่องการปฏิรูป หรือเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ สามารถประสานเข้ามาได้ เรายินดีต้อนรับ แต่ข้อปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ของสภาฯ ต้องเท่าเทียมกันทุกคน จะใช้อภิสิทธิ์ไม่ได้ ส่วนกรณีที่อดีต ส.ส. เข้ามาใช้พื้นที่แถลงเรื่องส่วนตัว แล้วมีการพาดพิงถึงบุคคลอื่นนั้น ผมคิดว่าถ้าเป็นเช่นนั้นคงไม่เหมาะสม เพราะหากจะแถลงเรื่องดังกล่าว ก็สามารถทำที่พรรคของตัวเองได้อยู่แล้ว" อลงกรณ์ กล่าว
นายวัชระ กล่าวว่า คำสั่งห้ามบุคคลภายนอกมาแถลงข่าวในรัฐสภา นับเป็นความผิดพลาดอย่างยิ่ง เพราะสภา แปลว่า ที่พูด ไม่ว่าสภาใดๆ ก็ตาม บุคคลภายนอกนั้นรวมถึงประชาชนทั่วไป สภาจะตัดขาดจากประชาชนไม่ได้ เมื่อประชาชนมาร้องเรียน ก็ต้องให้แถลงข่าวได้ด้วย เมื่อหนังสือฉบับนี้ถูกเปิดเผยต่อสื่อมวลชน นายอลงกรณ์ ก็รีบออกตัวว่าเป็นการสรุปผิดพลาด ไม่ใช่ความคิดของตนเอง อะไรมันจะเป็นไปได้ถึงขนาดนี้
"อย่างไรก็ตาม ก็ขอฟังนายอลงกรณ์ไว้ก่อน แต่การที่มาบอกว่า ผมเข้าใจผิดแล้วใส่ร้ายป้ายสีตามอำเภอใจ และใช้อภิสิทธิ์เหนือคนอื่นนั้น ผมไม่มี และไม่เคยใช้อภิสิทธิ์ ถูก คสช.ปกครองเหมือนประชาชนทั้งประเทศ ผมเพียงแต่ใช้สิทธิ์ตามปกติ ในฐานะอดีตสมาชิกรัฐสภาโดยชอบด้วยกฎหมาย จะไปแถลงข่าวแต่ละครั้ง ก็แจ้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ตามระเบียบทุกครั้ง แต่เมื่อไปครั้งหลังสุด เจ้าหน้าที่บอกว่า นายอลงกรณ์ สั่งห้ามไม่ให้ผมแถลง แล้วเรื่องอะไรที่ผมต้องไปเชื่อฟัง นายอลงกรณ์ ผมเป็นอดีตสมาชิกรัฐสภา มีสิทธิ์แถลงข่าวตามระเบียบอยู่แล้ว คำสั่งกำมะลอไม่มีผลใดๆ กับผม และเมื่อหนังสือราชการออกมา ผมตรวจสอบแล้วว่าเป็นหนังสือราชการจริง ผมจึงต้องต่อต้านกับคำสั่งเลอะเทอะ จะหาว่าผมไม่ตรวจสอบก่อนไม่ได้ และไม่ได้ใส่ร้ายป้ายสีใดๆ ในอนาคต ถ้านายอลงกรณ์ ไม่ไปอยู่พรรคทหารจริงๆ ก็ให้ประกาศชัดๆ อย่าอึมครึมแล้วกลับพรรคเก่าจะดีกว่า ส่วนที่บอกว่าไม่เคยวิ่งหาใครเพื่อตำแหน่ง ไม่ว่าสปช. สปท. หรือรองประธานสปท. ผมก็จะพยายามเชื่อ แต่ประชาชนจะเชื่อหรือไม่ ผมไม่รู้ ขนาดประธาน อบต. ชาวบ้านเขาก็รู้กันทั่วว่า ต้องวิ่งเต้นทั้งนั้น" นายวัชระ กล่าว
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. คนที่ 1 กล่าวถึง กระแสข่าวมีคำสั่งห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาแถลงข่าวที่รัฐสภา ว่า ไม่เป็นความจริง เรื่องนี้เป็นเพียงการจัดระเบียบให้เกิดความเรียบร้อย การใช้พื้นที่รัฐสภาในการแถลงข่าว จะต้องยึดถือตามกฎระเบียบของรัฐสภา เพราะที่แห่งนี้เป็นสถานที่ราชการ และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการพูดถึงบุคคลอื่น ยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวเป็นระเบียบเดิมที่ถือปฏิบัติมานาน หากอดีต ส.ส. อดีต ส.ว.จะแถลงข่าว ต้องแจ้งกับสำนักประชาสัมพันธ์ ว่าจะแถลงในประเด็นอะไร มีการพาดพิงถึงใครหรือไม่ หากเป็นบุคคลภายนอก ต้องแจ้งต่อรักษาการเลขาสภาฯ หรือ รองเลขาสภาฯ เพื่อให้ทุกกลุ่มทุกฝ่ายใช้สิทธิอย่างเสมอภาค รวมถึงสภาฯ เป็นสถานที่ราชการ สปท. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต้องแถลงข่าวกันทุกวัน จึงจำเป็นต้องจัดระเบียบ
"หากมายื่นหนังสือ ยื่นข้อเสนอเรื่องการปฏิรูป หรือเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญ สามารถประสานเข้ามาได้ เรายินดีต้อนรับ แต่ข้อปฏิบัติตามระเบียบ กฎเกณฑ์ของสภาฯ ต้องเท่าเทียมกันทุกคน จะใช้อภิสิทธิ์ไม่ได้ ส่วนกรณีที่อดีต ส.ส. เข้ามาใช้พื้นที่แถลงเรื่องส่วนตัว แล้วมีการพาดพิงถึงบุคคลอื่นนั้น ผมคิดว่าถ้าเป็นเช่นนั้นคงไม่เหมาะสม เพราะหากจะแถลงเรื่องดังกล่าว ก็สามารถทำที่พรรคของตัวเองได้อยู่แล้ว" อลงกรณ์ กล่าว