วานนี้ (25 ต.ค.) นายธีรภัทร์ คหะวงศ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ กล่าวถึงกรณีที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 23ตุลาคม ที่ผ่านมา ว่า ถือเป็นกฎหมายที่เพิ่มความชัดเจน และมีบทลงโทษตาม พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่ยึดโยงเสริมหนุนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2558 ซึ่งกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาร้านเหล้ารอบสถานศึกษาเอาไว้ และมีแนวปฏิบัติที่กำหนดให้สถานศึกษาครอบคลุมระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และมัธยม ซึ่งประกาศฉบับนี้ได้กำหนดบริเวณที่จะจัดให้เป็นเขตห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า สถานที่ต่อเนื่องติดกับ และบริเวณใกล้เคียง โดยไม่ได้ระบุระยะ 300 เมตร ตามฉบับเดิมที่เครือข่าย ได้เสนอไว้
“เครือข่ายฯ ยอมรับได้ว่าการที่ประกาศไม่ระบุบริเวณเขตห้ามขาย ซึ่งอาจจะยากในทางปฏิบัติ แต่ก็เข้าใจได้ว่า บริบทหรือพื้นที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน การใช้มาตรฐานระยะเดียวกับทุกพื้นที่อาจจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้ สอดคล้องกับเจตนาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ไม่ต้องการให้กำหนดระยะที่ตายตัว และยังสั่งการให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานได้ร่วมหารือกับสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กำหนดขอบเขตห้ามขายสุราที่เหมาะสม สร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนตัดสินใจและรับผิดชอบ ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ยังน่าห่วงเพราะมีบางจังหวัดเท่านั้น ที่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราพบว่าหลายจังหวัดยังไม่มีความคืบหน้า
อย่างไรก็ตาม ภายในสัปดาห์หน้า เครือข่ายฯเตรียมที่จะไปยื่นหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอทราบความคืบหน้า ในการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ในการกำหนดขอบเขตให้เกิดความชัดเจนเรื่องห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้เคียงสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา อาชีวะ และมัธยมหรือหอพัก เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้กำหนดให้ทุกพื้นที่ต้อง สรุปแผนผังขอบเขต ตามคำสั่ง คสช. และประกาศฉบับนี้ มีความชัดเจนก่อนสิ้นปี เพื่อนำข้อมูลส่งให้กรมสรรพสามิต พิจารณาออกใบอนุญาตขายสุรา
ขณะเดียวกันเครือข่ายฯ จะนำกฎหมายนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีความก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม และจะประสานให้ภาคีที่มีอยู่ทุกจังหวัดช่วยกันเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแส ร้านที่ยังทำผิดกฎหมาย เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการปกป้องเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป” นายธีรภัทร์ กล่าว
“เครือข่ายฯ ยอมรับได้ว่าการที่ประกาศไม่ระบุบริเวณเขตห้ามขาย ซึ่งอาจจะยากในทางปฏิบัติ แต่ก็เข้าใจได้ว่า บริบทหรือพื้นที่แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน การใช้มาตรฐานระยะเดียวกับทุกพื้นที่อาจจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติได้ สอดคล้องกับเจตนาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ไม่ต้องการให้กำหนดระยะที่ตายตัว และยังสั่งการให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานได้ร่วมหารือกับสถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กำหนดขอบเขตห้ามขายสุราที่เหมาะสม สร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนตัดสินใจและรับผิดชอบ ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่ยังน่าห่วงเพราะมีบางจังหวัดเท่านั้น ที่ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราพบว่าหลายจังหวัดยังไม่มีความคืบหน้า
อย่างไรก็ตาม ภายในสัปดาห์หน้า เครือข่ายฯเตรียมที่จะไปยื่นหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอทราบความคืบหน้า ในการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ในการกำหนดขอบเขตให้เกิดความชัดเจนเรื่องห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใกล้เคียงสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา อาชีวะ และมัธยมหรือหอพัก เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้กำหนดให้ทุกพื้นที่ต้อง สรุปแผนผังขอบเขต ตามคำสั่ง คสช. และประกาศฉบับนี้ มีความชัดเจนก่อนสิ้นปี เพื่อนำข้อมูลส่งให้กรมสรรพสามิต พิจารณาออกใบอนุญาตขายสุรา
ขณะเดียวกันเครือข่ายฯ จะนำกฎหมายนี้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีความก้าวหน้าขึ้นกว่าเดิม และจะประสานให้ภาคีที่มีอยู่ทุกจังหวัดช่วยกันเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแส ร้านที่ยังทำผิดกฎหมาย เพื่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการปกป้องเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป” นายธีรภัทร์ กล่าว