อธิบดีกรมป่าไม้ ลงพื้นที่ตรวจสอบรีสอร์ตรุกป่า “ภูทับเบิก” วาง 8 แนวทางสางปัญหา ตั้งแต่การกำหนดเขตใช้ที่ดินยันราคาสินค้าบริหาร ด้านผอ.สำนัก 4 หิ้วตัวเจ้าของ ”รีสอร์ตอิงฟ้า”ลงดอยสอบปากคำที่หล่มเก่า พบมีภูมิลำเนาแขวงสายไหม กทม. เคยโดนจับปลายปี 57 ส่อรุกที่เพิ่มอีก
วานนี้(22 ต.ค.) นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ นายณรงค์ คงคำ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และนายบัณฑิตต์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมคณะ ร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหารีสอร์ตรุกพื้นที่ป่า การแก้ปัญหาและจัดระเบียบภูทับเบิก ก่อนร่วมกันแถลงผลการประชุมที่โรงแรมอิมพีเรียลภูแก้ว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
นายชลธิศ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุป 8 เรื่องในการวางแผนและกำหนดทิศทาง กรอบการทำงานระหว่างกรมป่าไม้ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ตลอดจนสร้างความยั่งยืนให้กับภูทับเบิก คือ 1.การกำหนดเขตการใช้ที่ดิน โดยกรมพัฒนาสังคมฯเป็นหน่วยงานหลักการ กำหนดมาสเตอร์แพลนพื้นที่ 4.7 หมื่นไร่ เน้นพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง และมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวก่อน โดยใช้ระยะเวลา 3 เดือน จะเห็นรูปร่างแล้วว่า ภูทับเบิกในอนาคตจะเป็นอย่างไร บริเวณไหนจะทำอะไรได้บ้าง
2. การคัดกรองคุณสมบัติคนใช้ประโยชน์ที่ดินภูทับเบิก โดยกรมพัฒนาสังคมฯจะทำคู่ขนานไปกับการทำมาสเตอร์แพลน ภายในกำหนดระยะเวลา 3 เดือน
3.การสำรวจการถือครอง จะเน้นพื้นที่ผู้ครอบครอง 62 ราย 258 แปลง และบริเวณก่อสร้างก่อน โดยทำคู่ขนานกับเรื่อง 1 กับ 2 ในระยะเวลา 3 เดือนเช่นกัน
4.ทำผังภาพรวมทั้งหมดของพื้นที่ 4.7 หมื่นไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่กว้าง จึงต้องระยะเวลาดำเนินการนานประมาณ 8 เดือน โดยกรมพัฒนาสังคมฯจะเข้าไปวางแผนจัดการ
5.การจัดทำผังเมืองรวม ซึ่งทางจังหวัดฯจะเป็นหน่วยงานหลัก โดยจะมีข้อกำหนดเรื่องของภูทับเบิกเป็นกรณีพิเศษ
6.เรื่องคดีที่ดำเนินการอยู่ กรมป่าไม้ รับเป็นเจ้าภาพจะต้องดำเนินการให้จบและให้ไปตามคำพิพากษา ซึ่งในช่วงปี 2556-2557 มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ และคดีทางศาลมีคำพิพากษาไปแล้ว 10 คดี ส่วนในอีก 40 ราย ก็ต้องรอกรมพัฒนาสังคมฯเคลียร์ในเรื่องพื้นที่และคุณสมบัติก่อน หากรายใดเป็นการบุกรุกใหม่จาก 62 แปลง จะดำเนินคดีทันที
7.การวางแผนฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างเขตอุทยานแห่งชาติ กับพื้นที่กรมพัฒนาสังคมฯ
8. ปัญหาขยะ การจราจร และการควบคุมราคาสินค้า ทางจังหวัดรับเป็นเจ้าภาพ โดยจะดูเรื่องสิ่งแวดล่อม สุขอนามัย ขยะ น้ำเสีย สาธารณูปโภคต่างๆ
ต่อมาคณะเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางด้วยรถยนต์เข้าตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าบริเวณภูทับเบิก ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ โดยมีเฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงทรัพยากรฯสนับสนุนการปฏิบัติการ ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้ ได้เดินลงตรวจสอบแปลงพื้นที่ทับเบิก โดยใช้เวลาไม่นานนัก แต่ได้มีกลุ่มม้งประมาณ 20 คน เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับอธิบดีกรมป่าไม้
ขณะที่นายมานพ สายอุ่นใจ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 พิษณุโลก ได้นำกำลังป่าไม้ ตรวจสอบอิงฟ้า รีสอร์ต ซึ่งเช่าพื้นที่จากชาวม้ง และมีข้อสงสัยว่าเปิดพื้นที่ใหม่ หลังจากที่จนท.ป่าไม้เคยจับกุมไปแล้วปลายปี 57 โดยบุกรุกแผ้วถางเพิ่มเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ พร้อมก่อสร้างบ้านพัก 3 หลัง รวม 6 ห้อง โดยนำตัวนายวิรัตน์ คำบุญ อายุ 47 บ้านเลขที่ 94/62 ซ สายไหม 69 แขวงสายไหม กรุงเทพฯ ไปสอบสวนที่ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
ทั้งนี้ล่าสุดมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ วางเป้าจับกุม 5 รีสอร์ต ที่ทำผิดวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่ ตามนโบบายอธิบดีกรมป่าไม้เน้นให้จับกุมรีสอร์ตที่ดื้อเพ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้จับกุมไปแล้ว และยังก่อสร้างรีสอร์ตเพิ่มเติม จากทั้งหมด 40 แห่ง ซึ่งศาลได้ตัดสินไปแล้ว 10 แห่ง
วานนี้(22 ต.ค.) นายชลธิศ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ นายณรงค์ คงคำ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และนายบัณฑิตต์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมคณะ ร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหารีสอร์ตรุกพื้นที่ป่า การแก้ปัญหาและจัดระเบียบภูทับเบิก ก่อนร่วมกันแถลงผลการประชุมที่โรงแรมอิมพีเรียลภูแก้ว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
นายชลธิศ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุป 8 เรื่องในการวางแผนและกำหนดทิศทาง กรอบการทำงานระหว่างกรมป่าไม้ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ตลอดจนสร้างความยั่งยืนให้กับภูทับเบิก คือ 1.การกำหนดเขตการใช้ที่ดิน โดยกรมพัฒนาสังคมฯเป็นหน่วยงานหลักการ กำหนดมาสเตอร์แพลนพื้นที่ 4.7 หมื่นไร่ เน้นพื้นที่ที่มีการก่อสร้าง และมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวก่อน โดยใช้ระยะเวลา 3 เดือน จะเห็นรูปร่างแล้วว่า ภูทับเบิกในอนาคตจะเป็นอย่างไร บริเวณไหนจะทำอะไรได้บ้าง
2. การคัดกรองคุณสมบัติคนใช้ประโยชน์ที่ดินภูทับเบิก โดยกรมพัฒนาสังคมฯจะทำคู่ขนานไปกับการทำมาสเตอร์แพลน ภายในกำหนดระยะเวลา 3 เดือน
3.การสำรวจการถือครอง จะเน้นพื้นที่ผู้ครอบครอง 62 ราย 258 แปลง และบริเวณก่อสร้างก่อน โดยทำคู่ขนานกับเรื่อง 1 กับ 2 ในระยะเวลา 3 เดือนเช่นกัน
4.ทำผังภาพรวมทั้งหมดของพื้นที่ 4.7 หมื่นไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่กว้าง จึงต้องระยะเวลาดำเนินการนานประมาณ 8 เดือน โดยกรมพัฒนาสังคมฯจะเข้าไปวางแผนจัดการ
5.การจัดทำผังเมืองรวม ซึ่งทางจังหวัดฯจะเป็นหน่วยงานหลัก โดยจะมีข้อกำหนดเรื่องของภูทับเบิกเป็นกรณีพิเศษ
6.เรื่องคดีที่ดำเนินการอยู่ กรมป่าไม้ รับเป็นเจ้าภาพจะต้องดำเนินการให้จบและให้ไปตามคำพิพากษา ซึ่งในช่วงปี 2556-2557 มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ และคดีทางศาลมีคำพิพากษาไปแล้ว 10 คดี ส่วนในอีก 40 ราย ก็ต้องรอกรมพัฒนาสังคมฯเคลียร์ในเรื่องพื้นที่และคุณสมบัติก่อน หากรายใดเป็นการบุกรุกใหม่จาก 62 แปลง จะดำเนินคดีทันที
7.การวางแผนฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างเขตอุทยานแห่งชาติ กับพื้นที่กรมพัฒนาสังคมฯ
8. ปัญหาขยะ การจราจร และการควบคุมราคาสินค้า ทางจังหวัดรับเป็นเจ้าภาพ โดยจะดูเรื่องสิ่งแวดล่อม สุขอนามัย ขยะ น้ำเสีย สาธารณูปโภคต่างๆ
ต่อมาคณะเจ้าหน้าที่ ได้เดินทางด้วยรถยนต์เข้าตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่ป่าบริเวณภูทับเบิก ต.วังบาล อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ โดยมีเฮลิคอปเตอร์ของกระทรวงทรัพยากรฯสนับสนุนการปฏิบัติการ ซึ่งอธิบดีกรมป่าไม้ ได้เดินลงตรวจสอบแปลงพื้นที่ทับเบิก โดยใช้เวลาไม่นานนัก แต่ได้มีกลุ่มม้งประมาณ 20 คน เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับอธิบดีกรมป่าไม้
ขณะที่นายมานพ สายอุ่นใจ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 พิษณุโลก ได้นำกำลังป่าไม้ ตรวจสอบอิงฟ้า รีสอร์ต ซึ่งเช่าพื้นที่จากชาวม้ง และมีข้อสงสัยว่าเปิดพื้นที่ใหม่ หลังจากที่จนท.ป่าไม้เคยจับกุมไปแล้วปลายปี 57 โดยบุกรุกแผ้วถางเพิ่มเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ พร้อมก่อสร้างบ้านพัก 3 หลัง รวม 6 ห้อง โดยนำตัวนายวิรัตน์ คำบุญ อายุ 47 บ้านเลขที่ 94/62 ซ สายไหม 69 แขวงสายไหม กรุงเทพฯ ไปสอบสวนที่ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
ทั้งนี้ล่าสุดมีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ป่าไม้ วางเป้าจับกุม 5 รีสอร์ต ที่ทำผิดวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่ ตามนโบบายอธิบดีกรมป่าไม้เน้นให้จับกุมรีสอร์ตที่ดื้อเพ่ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้จับกุมไปแล้ว และยังก่อสร้างรีสอร์ตเพิ่มเติม จากทั้งหมด 40 แห่ง ซึ่งศาลได้ตัดสินไปแล้ว 10 แห่ง