ASTVผู้จัดการรายวัน - รมว.คลังยอมรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเห็นผลต้องรอปีหน้า มั่นใจจีดีพีโตกว่าปีนี้ที่ขยายตัวเพียง 2.8% เผยมีประชาชนมายื่นคำขอกู้ธอส.แล้ว 6-7 พันล้าน อนุมัติไปแล้ว 2 พันล้าน ระบุขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมหรือไม่ขึ้นอยู่กับบอร์ด ธอส.
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 58 ว่า จะขยายตัว 2.8% ส่วนในปี 59 จะขยายตัวดีกว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้เร่งออกในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นผลตั้งแต่เดือน ม.ค.59 เป็นต้นไป
สำหรับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์นั้น ผ่านการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ขณะนี้มีประชาชนมายื่นคำขอกู้เงินแล้วจำนวน 6-7 พันล้านบาท โดยธนาคารอนุมัติไปแล้ว 2 พันล้านบาท แต่จะขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ต้องเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ธอส.จะเป็นผู้พิจารณาเอง ตามความเหมาะสม และการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร
"การลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองนั้นอยู่ระหว่างรอให้กระทรวงมหาดไทยลงนามในประกาศ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนนี้ ขณะที่การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 20% ของมูลค่าบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังเร่งออกกฤษฎีกา คาดจะมีความชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์" รมว.คลังกล่าว
ส่วนการปล่อยกู้ผ่านกองทุนหมู่บ้านวงเงิน 6 หมื่นล้านบาท ขณะนี้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 3.3 หมื่นล้านบาท รวมถึงอยู่ระหว่างประเมินเพื่อยกระดับกองทุนหมู่บ้านเกรด C เป็นเกรด B เนื่องจากมีการปรับปรุงผลการดำเนินงานดีขึ้น ส่วนความคืบหน้าในการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชน ตำบลละ 5 ล้านบาท นั้น ขณะนี้สำนักงบประมาณได้มีการจัดสรรวงเงินไว้เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ทันทีจนถึงวันที่ 31 ม.ค. นี้
“การกระตุ้นการลงทุนผ่านโครงการลงทุนขนาดเล็กของส่วนราชการ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทนั้น ขณะนี้มีการจัดสรรวงเงินเรียบร้อยแล้ว โดยทางสำนักงบประมาณได้เร่งให้ส่วนราชการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันภายในเดือน ธ.ค. นี้ ขณะที่การปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วงเงิน 1 แสนล้านบาท นั้น มีการอนุมัติวงเงินไปแล้วกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท" นายอภิศักดิ์กล่าว
นายอภิศักดิ์เปิดเผยด้วยว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ครั้งที่ 4 ว่า ในปีงบประมาณ 59 จะมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างได้ และคาดว่าในปีงบประมาณ 60 จะสามารถเบิกจ่ายเงินลงทุนได้เพิ่มขึ้น เชื่อว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)เร่งหามาตรการกระตุ้นให้เอกชนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้มีการเร่งดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยในปีนี้ยอมรับว่ามีการลงทุนน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลได้มีการปรับหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นไปที่อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและมีเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น.
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง คาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 58 ว่า จะขยายตัว 2.8% ส่วนในปี 59 จะขยายตัวดีกว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้เร่งออกในช่วงที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นผลตั้งแต่เดือน ม.ค.59 เป็นต้นไป
สำหรับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์นั้น ผ่านการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ขณะนี้มีประชาชนมายื่นคำขอกู้เงินแล้วจำนวน 6-7 พันล้านบาท โดยธนาคารอนุมัติไปแล้ว 2 พันล้านบาท แต่จะขยายวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมหรือไม่นั้น ต้องเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ธอส.จะเป็นผู้พิจารณาเอง ตามความเหมาะสม และการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร
"การลดค่าธรรมเนียมการโอนและค่าจดจำนองนั้นอยู่ระหว่างรอให้กระทรวงมหาดไทยลงนามในประกาศ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนนี้ ขณะที่การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 20% ของมูลค่าบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท ขณะนี้กรมสรรพากรกำลังเร่งออกกฤษฎีกา คาดจะมีความชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์" รมว.คลังกล่าว
ส่วนการปล่อยกู้ผ่านกองทุนหมู่บ้านวงเงิน 6 หมื่นล้านบาท ขณะนี้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 3.3 หมื่นล้านบาท รวมถึงอยู่ระหว่างประเมินเพื่อยกระดับกองทุนหมู่บ้านเกรด C เป็นเกรด B เนื่องจากมีการปรับปรุงผลการดำเนินงานดีขึ้น ส่วนความคืบหน้าในการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับชุมชน ตำบลละ 5 ล้านบาท นั้น ขณะนี้สำนักงบประมาณได้มีการจัดสรรวงเงินไว้เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะเริ่มเบิกจ่ายได้ทันทีจนถึงวันที่ 31 ม.ค. นี้
“การกระตุ้นการลงทุนผ่านโครงการลงทุนขนาดเล็กของส่วนราชการ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทนั้น ขณะนี้มีการจัดสรรวงเงินเรียบร้อยแล้ว โดยทางสำนักงบประมาณได้เร่งให้ส่วนราชการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันภายในเดือน ธ.ค. นี้ ขณะที่การปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี วงเงิน 1 แสนล้านบาท นั้น มีการอนุมัติวงเงินไปแล้วกว่า 1.9 หมื่นล้านบาท" นายอภิศักดิ์กล่าว
นายอภิศักดิ์เปิดเผยด้วยว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานในที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ครั้งที่ 4 ว่า ในปีงบประมาณ 59 จะมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถลงนามในสัญญาก่อสร้างได้ และคาดว่าในปีงบประมาณ 60 จะสามารถเบิกจ่ายเงินลงทุนได้เพิ่มขึ้น เชื่อว่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)เร่งหามาตรการกระตุ้นให้เอกชนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้มีการเร่งดำเนินการให้เร็วขึ้น โดยในปีนี้ยอมรับว่ามีการลงทุนน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลได้มีการปรับหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมการลงทุนที่เน้นไปที่อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและมีเทคโนโลยีทันสมัยมากขึ้น.