วานนี้ (20 ต.ค.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... โดยสาระสำคัญในการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว เพื่อโอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิหนี้ ภาระผูกพัน และกองทุนสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของกองส่งเสริมกิจการฮัจย์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ไปยังกองส่งเสริมกิจการฮัจย์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อให้การดำเนินงานฮัจย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากกรมการปกครองมีหน่วยงานในพื้นที่ทั้งระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน สามารถเข้าถึงประชาชนได้รวดเร็ว
** มท. เข้าถึงประชาชนมากกว่า
นายวีระ กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย ผู้ทรงวุฒิและหน่วยงานต่างๆ และการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่างสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหางานและส่วนราชการที่กำกับดูแลและบริหารกิจการฮัจย์ในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จะมีการแก้ไขปรับปรุงรัฐมนตรีรักษาการตาม พ.ร.บ.และมีอำนาจออกกฎกระทรวง จากเดิมเป็น รมว.วัฒนธรรม เป็น รมว.มหาดไทย แทน รวมทั้งแก้ไขให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ฯ แทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ฯ ปรับแก้ให้อธิบดีกรมการปกครอง ทำหน้าที่แทนอธิบดีกรมการศาสนา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะโอนย้ายกิจการฮัจย์ไปแล้ว ทางกระทรวงวัฒนธรรมจะยังคงร่วมขับเคลื่อนงานของกิจการฮัจย์ต่อไป และยังมีผู้แทนกระทรวงร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย“การโอนย้ายกิจการฮัจย์ครั้งนี้ ขอย้ำว่าไม่ได้เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่นใดๆ แต่เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน การดำเนินกิจการฮัจย์เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล จึงต้องปฏิรูปการบริหารกิจการงานฮัจย์ใหม่ ที่สำคัญ กรมการปกครอง ถือว่ามีกลไกการทำงานที่ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนมากกว่า เพราะมีทั้งนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นประจำมัสยิดอยู่ในการดูแล ทั้งนี้ การโอนกิจการฮัจย์ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้” นายวีระ กล่าว
** มท. เข้าถึงประชาชนมากกว่า
นายวีระ กล่าวว่า คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย ผู้ทรงวุฒิและหน่วยงานต่างๆ และการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่างสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหางานและส่วนราชการที่กำกับดูแลและบริหารกิจการฮัจย์ในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จะมีการแก้ไขปรับปรุงรัฐมนตรีรักษาการตาม พ.ร.บ.และมีอำนาจออกกฎกระทรวง จากเดิมเป็น รมว.วัฒนธรรม เป็น รมว.มหาดไทย แทน รวมทั้งแก้ไขให้ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ฯ แทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ส่วนหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ฯ ปรับแก้ให้อธิบดีกรมการปกครอง ทำหน้าที่แทนอธิบดีกรมการศาสนา อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะโอนย้ายกิจการฮัจย์ไปแล้ว ทางกระทรวงวัฒนธรรมจะยังคงร่วมขับเคลื่อนงานของกิจการฮัจย์ต่อไป และยังมีผู้แทนกระทรวงร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย“การโอนย้ายกิจการฮัจย์ครั้งนี้ ขอย้ำว่าไม่ได้เกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่นใดๆ แต่เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน การดำเนินกิจการฮัจย์เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล จึงต้องปฏิรูปการบริหารกิจการงานฮัจย์ใหม่ ที่สำคัญ กรมการปกครอง ถือว่ามีกลไกการทำงานที่ลงพื้นที่ใกล้ชิดประชาชนมากกว่า เพราะมีทั้งนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีอิหม่าม คอเต็บ และบิหลั่นประจำมัสยิดอยู่ในการดูแล ทั้งนี้ การโอนกิจการฮัจย์ จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้” นายวีระ กล่าว