โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
ฉายา “ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” คือเป็นส่วนสำคัญที่ค้ำจุนให้ชาติดำรงอยู่ได้ มีมานาน เป็นคำยกย่องเชิดชูชาวนา แต่ปัจจุบันฉายานั้นเปลี่ยนไปเป็น “ประชานิยมเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” เพราะชาวนาหรือประชาชนเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประมาณ 90% ที่นักการเมือง นักเลือกตั้ง หรือผู้มีอำนาจทั้งหลายมิอาจมองข้ามพวกเขา 90% คือฐานเสียงที่ค้ำจุนให้ผู้ปกครองมีอำนาจ หรือหล่นจากอำนาจได้ตลอดเวลา
การคิด การพูด การทำ อะไรที่มีผลกระทบต่อพวกเขา จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
รู้ว่า “ประชานิยม” หรือ “ประชารัฐ” ไม่ดี ทำให้ชาติหมดอนาคต ก็จำเป็นต้องทำ ด้วยเหตุผลลึกๆ...ตามที่กล่าวมา
ชาวนาชาวเมือง
ชาวนาที่ผ่านๆ มา แม้เขาจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนชั้นต่ำ จน โง่ เจ็บ ไร้การศึกษา ฯลฯ นานาปรามาสก็ตาม แต่เขา-ชาวนาก็รู้จักตนเอง พึ่งตนเองได้ มีอยู่มีกิน มีวิถีพอเพียงว่างั้นเถอะ สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษภัย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีนาเป็นของตัวเอง มีบ้านเป็นของตัวเอง พ่อ แม่ ลูก หลาน รู้จักทำนา รู้จักทำมาหากิน แม้จะหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ลำบากอย่างไร ก็ยังมีเวลาได้พักผ่อน สุขสบายกับครอบครัว และชุมชนตามสภาพของตนเอง
รู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นชาวนา ดังบทเพลงที่ว่า...เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน...
เสร็จฤดูทำนา มีข้าวเต็มเล้าเต็มยุ้ง ได้กิน ได้ขาย ได้เก็บ ไม่มีหนี้สิน
พอความเจริญในเมืองระบาดไปถึง มีถนนลาดยางเป็นเบื้องต้น ไฟฟ้า ประปาตามมา จากนั้นก็มีสินค้าต่างๆ เข้าไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมคนเมือง คนต่างชาติ หยิบโหย่ง ทำอะไรไม่เป็น ทำงานหาเงินเพื่อใช้เงินตามโฆษณา
เด็กๆ หนุ่มสาวทำนาไม่เป็นแล้ว เลิกใช้ควายไถนา ใช้บริการรถไถ รถดำรถหว่านรถเกี่ยวแทนแรงงานคน การทำนาสมัยใหม่ เจ้าของนาแทบไม่ต้องใช้มือใช้ตีน พอเสร็จนาขายข้าวใช้หนี้ก็ไม่พอ หนุ่มสาวไปทำงานรับจ้างในเมือง เด็กและผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน
แล้วก็เป็นหนี้จากครอบครัวละหมื่นกลายเป็นแสนเป็นล้าน ใครไม่เป็นหนี้ถือว่าโง่ ใครไม่โกงถือว่าโง่ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องธรรมดา เป็นวัฒนธรรมทำลายตนและทำลายชาติ
จากชาวนาชาวบ้านธรรมดา กลายเป็นชาวเมือง คนเมืองมีอะไร คนชนบทก็มีหมด โอย...เจริญหลาย ทันสมัยหลาย จนนาก็เช่าเขาทำ บ้านก็เช่าเขาอยู่ ขนาดนี้แล้วก็ยังไม่รู้สึก สำนึกดียังไม่ผุดไม่เกิด
ประชานิยมในรูปแบบต่างๆ รัฐหาเงินมาให้กู้หมู่บ้านละล้าน ตำบลละ 5 ล้าน ก็กู้กันไป กู้จนจะฆ่ากันตาย เพราะไม่มีความเป็นธรรมในการจัดสรรเงินกู้ กรรมการจะเอามากกว่าชาวบ้าน กรรมการคนละแสน ชาวบ้านคนละ 5 พัน ทำได้ไง ใครจะยอม ฯลฯ
น่าสงสารรัฐบาลแต่ละชุด ถ้าไม่รู้จักหาเงินมาให้ชาวบ้าน ชาวเมือง และชาวครูกู้ ก็จะไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นงั้นไป
ชาวนา ชาวชนบท และชาวเมือง จึงมิได้แตกต่างกันเลย ดูเผินๆ...ก้าวหน้า ร่ำรวย ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ แต่ลึกๆ แล้ว...มีความทุกข์ที่สุด เพราะมีหนี้สินรุงรัง ใช้หนี้อีก 50-100 ปีก็ยังไม่หมด ตกเป็นกรรมของลูกหลาน ที่พ่อแม่ก่อไว้ให้ ต่อไปคงมี “กระทรวงหนี้สิน” เป็นแน่แท้
รุ่งเรืองเมืองไทย
ถ้ามองเพียงด้านวัตถุ เมืองไทยของเรามีความเจริญรุ่งเรืองจริงๆ คนในเมืองมีอะไร คนชนบทก็มีเช่นกัน เช่น รถยนต์ ทุกหมู่บ้านจะมีรถยนต์ครอบครัวละหนึ่งคันเป็นอย่างน้อย บางบ้านจอดไว้เฉยๆ ผู้มีอันจะกินหรือเศรษฐีตามหมู่บ้าน เช่น ครู เป็นต้น ถ้าผัวครู เมียครู เงินเดือนสองคนตกเดือนละแสนกว่า ชาวครูทั้งหลายเลยกลายเป็นบุคคลอีกระดับหนึ่ง รถเก๋งที่ขี่ต้องล้านอัพ ต่ำกว่าล้านขี่ไม่ได้ เสียเกียรติ ผัวคัน เมียคัน ถ้ามีลูก 3 คนก็ 3 คัน สรุปครอบครัวครู พ่อแม่ลูก 5 คน มีรถ 5 คัน และอื่นๆ อีกละ เดือนละแสนกว่าจะเหลืออะไร ด้วยเหตุนี้ครูจึงมีหนี้สิน และก็กู้ๆๆ ไม่บันยะบันยัง เช่นเดียวกับชาวบ้านยากจนทั้งหลาย มีโรคเรื้อรังเหมือนกันคือ โรคหนี้สินล้นพ้นตัว
สมัยก่อน เราเคยเรียกร้องให้ครูมีเงินเดือนมากๆ จะได้มีเวลาสอนเด็กเต็มที่ ปัจจุบันครูมีเงินเดือนมากแล้ว ก็ยังไม่มีเวลาสอนเด็ก เพราะเอาเวลาสอนไปทำผลงาน จึงจะได้ค่าวิชา ค่าตำแหน่ง กอปรกับครูจำนวนไม่น้อยคอยหลบหนี้ และหารายได้เสริมต่างๆ เลยไม่ค่อยมีเวลาสอนเด็ก ได้แต่ให้แบบฝึกหัดให้งาน นั่นคือทางออกของครูในยุคดิจิตอลที่หลอกหลอนเราตลอดเวลา
รัฐบาลเคยปลดหนี้ให้ชาวนา ตอนนี้ครูก็จะเรียกร้องให้รัฐปลดหนี้ให้บ้าง เพื่อความเสมอภาคว่างั้นไป
ครูยุคนี้มีวุฒิสูง ปริญญาโท เอก เต็มโรงเรียน การศึกษาก็สมควรรุ่งเรืองประเทืองเมืองไทยด้วย แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ คนระดับทรงเกียรติสอนผู้สอนคน เฉกเช่นครูทั้งหลาย แต่ก็มีหนี้สินเหมือนชาวบ้าน การศึกษาน้อย ปริญญาก็ไม่มี เป็นเพียงตาสีตาสา
จุดนี้...ท่านผู้นำที่ปกครองบ้านปกครองเมืองทั้งหลาย มองเห็นเป็นปัญหาไหม? หรือเฉยๆ หรือมันคือปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขโดยพลัน เนื่องเพราะการศึกษาคือหัวใจของการพัฒนาทุกอย่าง ถ้าการศึกษาล้มเหลวอย่างอื่นก็ล้มเหลวด้วย เช่น การทุจริตคอร์รัปชันที่ยังดำรงอยู่ ก็เพราะการศึกษาล้มเหลว! การเอานักคอร์รัปชันไปแก้ปัญหาคอร์รัปชัน นี่คือความล้มเหลวสุดๆ ของการศึกษา!!
นายทุนยิ่งใหญ่
นายทุนคือเจ้าของทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือผู้ลงทุนประกอบกิจการ
นายทุนย่อมมีทั้งคนดี และคนไม่ดี
นายทุนดี เรียกว่า “นายทุนธรรมะ”
นายทุนชั่ว เรียกว่า “นายทุนสามานย์”
นายทุนทั้งดีและชั่ว ก็มีอยู่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ถ้านายทุนธรรมะยิ่งใหญ่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม สังคมประเทศชาติ
หากนายทุนสามานย์ยิ่งใหญ่ อันนี้แหละเป็นปัญหาของชาติและบ้านเมือง เพราะนายทุนสามานย์ชอบ “ผูกขาด” คือ ถือสิทธิทำประโยชน์ไว้แต่ผู้เดียว
เขาจึงได้รับสมญาว่า “นายทุนสามานย์ผูกขาด” และก็จะกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่จริงๆ คือสามารถที่จะเอาประโยชน์จากประเทศได้แต่เพียงผู้เดียว แค่นั้นยังไม่พอ ยังจะเอาประโยชน์จากโลกแต่เพียงผู้เดียวอีกด้วย เขาโลภสุดโคตรเช่นนั้นจริงๆ น่ากลัวมาก
สามานย์เลวทรามต่ำช้าขนาดไหน ก็คิดดูเถิด ประเทศทั้งประเทศ โลกทั้งโลก ตูจะเอาคนเดียว!
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้พ่อค้าแม่ค้า นายทุนเล็กนายทุนน้อยขายสินค้าได้ ก็ดูดีมีเหตุผล แต่ลึกๆ แล้ว สินค้าส่วนใหญ่เป็นของใคร มาจากไหน งบที่มากระตุ้นเศรษฐกิจเท่ากับงบให้นายทุนผู้ยิ่งใหญ่ขายสินค้าได้หรือเปล่า?
เศรษฐีหรือนายทุนยิ่งใหญ่ของเมืองไทย มีประมาณ 10 คน หรือ 10 ตระกูล
ผู้มีเงิน ย่อมมีอำนาจ หรือผู้มีอำนาจ ย่อมมีเงิน ดังนั้น เงินกับอำนาจจึงสัมพันธ์กันเป็นพิเศษเสมอ
คนไทยยิ่งจน
ทุกวันนี้ดูไม่ค่อยออกว่า ใครเป็นชาวนา ใครเป็นคนบ้านนอกคอกนา ใครเป็นคนจน ดูเผินๆ ก็เป็นคนเมืองไปหมด เป็นคนรวยไปหมด เพราะมีอะไรเหมือนๆ กัน เศรษฐีมีไอโฟนได้ ฉันแค่ลูกจ้างวันละ 300 บาทก็มีได้ (ผ่อนเอา) 55555
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต่างกันราวฟ้ากับเหว
คนไทยส่วนมากถูกกำหนดและส่งเสริมให้เป็นแค่ลูกจ้าง หรือมนุษย์เงินเดือน การศึกษาผลิตคนมาเป็นลูกจ้าง เป็นลูกจ้างเขาตลอดชีวิต เพราะทุนชีวิต ทุนดั้งเดิมหมดแล้ว ที่นาถูกยึด ต้องเช่าเขาทำ หรือเป็นลูกจ้างทำนา บ้านเช่าเขาอยู่ อู่เช่าเขานอน หรือนอนฟรีตามที่สาธารณะ
แม้มีเงินเดือนมากขนาดไหน หากไม่รู้จักใช้ ก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ล้นพ้นตัวกับคนไทยสมัยนี้ จึงเป็นสิ่งเดียวกัน เหมือนกับ เงิน อำนาจ นายทุน เป็นสิ่งเดียวกัน
แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร?
พระเจ้าอยู่หัวทรงบอกวิธีแก้แล้ว แต่ไม่ทำกัน นั่นคือเศรษฐกิจพอเพียง!
ทำไมไม่ทำกัน?
เพราะไม่รู้ ไม่ศึกษา ไม่สนใจ!
การศึกษาแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เลยส่งเสริมกันใหญ่ มีด็อกเตอร์เต็มบ้านเต็มเมือง แต่แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ เป็นแค่ลูกจ้างเขา วิ่งตามเขา เห่อตามเขา เทือกเถาเหล่ากอของตน ไม่รู้ ไม่สนใจ
แก่นไม่รู้ รู้แต่เปลือก!
ชอบคนดี ส่งเสริมคนดี แต่แก่นคนดี ธรรมของคนดี เป็นอย่างไร ไม่สนใจ
ดังนั้น...จึงมีความจำเป็น ต้อง “หยุด” แล้วกลับไปหา “รากเหล้าเหล่ากอ” ของตนเอง
คำว่า “ไตร” หรือ “สาม” มีหลายอย่าง ล้วนแต่เป็นรากเหง้าเหล่ากอ หรือแก่นชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เช่น ไตรลักษณ์ ไตรสรณะ ไตรสิกขา สัทธรรม 3 เป็นต้น
ไตรสิกขา คือข้อที่จะต้องศึกษา หรือข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือฝึกหัด อบรมกาย วาจา ใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
สัทธรรม 3 คือธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ หลักหรือแก่นศาสนา ได้แก่...
1. ปริยัติสัทธรรม คือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
2. ปฏิบัติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ
3. ปฏิเวธสัทธรรม คือผลอันจะพึงเข้าถึง หรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน
สิกขา คือ การศึกษา การเล่าเรียน ข้อปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา
การศึกษา แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ถ้ารู้ เข้าใจ เข้าถึงหลักธรรมดังกล่าว (สัมมาสิกขา)
คนเราก็จะกลับคืนสู่รากเหง้า คือเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนายตัวเอง พึ่งตัวเองได้ อยู่อย่างพอเพียง ไม่ตกเป็นเหยื่อเป็นทาสใคร ปลอดหนี้ มีสติทุกเมื่อ ชีวิตจึงอยู่ดีมีสุข
“ชาวนาชาวเมือง
รุ่งเรืองเมืองไทย
นายทุนยิ่งใหญ่
คนไทยยิ่งจน”
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระอริยเจ้า หนึ่งในไตรสรณะ ท่านสอนว่า...
“แก้ตัว-ช่วยอะไรไม่ได้....แก้ไข-ช่วยได้ทุกอย่าง...แก้แค้น-ที่ดีที่สุดคือหยุด! ก่อเวรกรรม...โกรธเขา-เราทุกข์...อภัยเขา-เราสุข...ศีล สมาธิ ปัญญา-คือมรรคาแห่งความสุข”
“ศีล สมาธิ ปัญญา” 3 คำจำง่าย แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เพราะเป็นแก่น อยากพ้นทุกข์ อยากมีสุข อยู่ตรงนี้-ตรงแก่น
คิด พูด ทำ อะไรมากมาย เสียเงินเสียทรัพย์เป็นแสนล้าน เป็นล้านล้าน ก็แค่เปลือก เล่นบทมดเท็จกันไปวันๆ มันมีแต่จะเพิ่มปัญหา นายทุนยิ่งใหญ่ คนไทยยิ่งจน หลงเล่นกับเปลือกมานาน กลับมาเล่นกับแก่น หรือรากเหง้าเหล่ากอของตนบ้างสิ จิได้ตาสว่าง เห็นทางสู่ความสุข
ฉายา “ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” คือเป็นส่วนสำคัญที่ค้ำจุนให้ชาติดำรงอยู่ได้ มีมานาน เป็นคำยกย่องเชิดชูชาวนา แต่ปัจจุบันฉายานั้นเปลี่ยนไปเป็น “ประชานิยมเป็นกระดูกสันหลังของชาติ” เพราะชาวนาหรือประชาชนเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ประมาณ 90% ที่นักการเมือง นักเลือกตั้ง หรือผู้มีอำนาจทั้งหลายมิอาจมองข้ามพวกเขา 90% คือฐานเสียงที่ค้ำจุนให้ผู้ปกครองมีอำนาจ หรือหล่นจากอำนาจได้ตลอดเวลา
การคิด การพูด การทำ อะไรที่มีผลกระทบต่อพวกเขา จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
รู้ว่า “ประชานิยม” หรือ “ประชารัฐ” ไม่ดี ทำให้ชาติหมดอนาคต ก็จำเป็นต้องทำ ด้วยเหตุผลลึกๆ...ตามที่กล่าวมา
ชาวนาชาวเมือง
ชาวนาที่ผ่านๆ มา แม้เขาจะถูกตราหน้าว่าเป็นคนชั้นต่ำ จน โง่ เจ็บ ไร้การศึกษา ฯลฯ นานาปรามาสก็ตาม แต่เขา-ชาวนาก็รู้จักตนเอง พึ่งตนเองได้ มีอยู่มีกิน มีวิถีพอเพียงว่างั้นเถอะ สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษภัย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว มีนาเป็นของตัวเอง มีบ้านเป็นของตัวเอง พ่อ แม่ ลูก หลาน รู้จักทำนา รู้จักทำมาหากิน แม้จะหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน ลำบากอย่างไร ก็ยังมีเวลาได้พักผ่อน สุขสบายกับครอบครัว และชุมชนตามสภาพของตนเอง
รู้สึกภาคภูมิใจในความเป็นชาวนา ดังบทเพลงที่ว่า...เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน...
เสร็จฤดูทำนา มีข้าวเต็มเล้าเต็มยุ้ง ได้กิน ได้ขาย ได้เก็บ ไม่มีหนี้สิน
พอความเจริญในเมืองระบาดไปถึง มีถนนลาดยางเป็นเบื้องต้น ไฟฟ้า ประปาตามมา จากนั้นก็มีสินค้าต่างๆ เข้าไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมคนเมือง คนต่างชาติ หยิบโหย่ง ทำอะไรไม่เป็น ทำงานหาเงินเพื่อใช้เงินตามโฆษณา
เด็กๆ หนุ่มสาวทำนาไม่เป็นแล้ว เลิกใช้ควายไถนา ใช้บริการรถไถ รถดำรถหว่านรถเกี่ยวแทนแรงงานคน การทำนาสมัยใหม่ เจ้าของนาแทบไม่ต้องใช้มือใช้ตีน พอเสร็จนาขายข้าวใช้หนี้ก็ไม่พอ หนุ่มสาวไปทำงานรับจ้างในเมือง เด็กและผู้เฒ่าเฝ้าบ้าน
แล้วก็เป็นหนี้จากครอบครัวละหมื่นกลายเป็นแสนเป็นล้าน ใครไม่เป็นหนี้ถือว่าโง่ ใครไม่โกงถือว่าโง่ สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องธรรมดา เป็นวัฒนธรรมทำลายตนและทำลายชาติ
จากชาวนาชาวบ้านธรรมดา กลายเป็นชาวเมือง คนเมืองมีอะไร คนชนบทก็มีหมด โอย...เจริญหลาย ทันสมัยหลาย จนนาก็เช่าเขาทำ บ้านก็เช่าเขาอยู่ ขนาดนี้แล้วก็ยังไม่รู้สึก สำนึกดียังไม่ผุดไม่เกิด
ประชานิยมในรูปแบบต่างๆ รัฐหาเงินมาให้กู้หมู่บ้านละล้าน ตำบลละ 5 ล้าน ก็กู้กันไป กู้จนจะฆ่ากันตาย เพราะไม่มีความเป็นธรรมในการจัดสรรเงินกู้ กรรมการจะเอามากกว่าชาวบ้าน กรรมการคนละแสน ชาวบ้านคนละ 5 พัน ทำได้ไง ใครจะยอม ฯลฯ
น่าสงสารรัฐบาลแต่ละชุด ถ้าไม่รู้จักหาเงินมาให้ชาวบ้าน ชาวเมือง และชาวครูกู้ ก็จะไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นงั้นไป
ชาวนา ชาวชนบท และชาวเมือง จึงมิได้แตกต่างกันเลย ดูเผินๆ...ก้าวหน้า ร่ำรวย ทันสมัย ทันโลก ทันเหตุการณ์ แต่ลึกๆ แล้ว...มีความทุกข์ที่สุด เพราะมีหนี้สินรุงรัง ใช้หนี้อีก 50-100 ปีก็ยังไม่หมด ตกเป็นกรรมของลูกหลาน ที่พ่อแม่ก่อไว้ให้ ต่อไปคงมี “กระทรวงหนี้สิน” เป็นแน่แท้
รุ่งเรืองเมืองไทย
ถ้ามองเพียงด้านวัตถุ เมืองไทยของเรามีความเจริญรุ่งเรืองจริงๆ คนในเมืองมีอะไร คนชนบทก็มีเช่นกัน เช่น รถยนต์ ทุกหมู่บ้านจะมีรถยนต์ครอบครัวละหนึ่งคันเป็นอย่างน้อย บางบ้านจอดไว้เฉยๆ ผู้มีอันจะกินหรือเศรษฐีตามหมู่บ้าน เช่น ครู เป็นต้น ถ้าผัวครู เมียครู เงินเดือนสองคนตกเดือนละแสนกว่า ชาวครูทั้งหลายเลยกลายเป็นบุคคลอีกระดับหนึ่ง รถเก๋งที่ขี่ต้องล้านอัพ ต่ำกว่าล้านขี่ไม่ได้ เสียเกียรติ ผัวคัน เมียคัน ถ้ามีลูก 3 คนก็ 3 คัน สรุปครอบครัวครู พ่อแม่ลูก 5 คน มีรถ 5 คัน และอื่นๆ อีกละ เดือนละแสนกว่าจะเหลืออะไร ด้วยเหตุนี้ครูจึงมีหนี้สิน และก็กู้ๆๆ ไม่บันยะบันยัง เช่นเดียวกับชาวบ้านยากจนทั้งหลาย มีโรคเรื้อรังเหมือนกันคือ โรคหนี้สินล้นพ้นตัว
สมัยก่อน เราเคยเรียกร้องให้ครูมีเงินเดือนมากๆ จะได้มีเวลาสอนเด็กเต็มที่ ปัจจุบันครูมีเงินเดือนมากแล้ว ก็ยังไม่มีเวลาสอนเด็ก เพราะเอาเวลาสอนไปทำผลงาน จึงจะได้ค่าวิชา ค่าตำแหน่ง กอปรกับครูจำนวนไม่น้อยคอยหลบหนี้ และหารายได้เสริมต่างๆ เลยไม่ค่อยมีเวลาสอนเด็ก ได้แต่ให้แบบฝึกหัดให้งาน นั่นคือทางออกของครูในยุคดิจิตอลที่หลอกหลอนเราตลอดเวลา
รัฐบาลเคยปลดหนี้ให้ชาวนา ตอนนี้ครูก็จะเรียกร้องให้รัฐปลดหนี้ให้บ้าง เพื่อความเสมอภาคว่างั้นไป
ครูยุคนี้มีวุฒิสูง ปริญญาโท เอก เต็มโรงเรียน การศึกษาก็สมควรรุ่งเรืองประเทืองเมืองไทยด้วย แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ คนระดับทรงเกียรติสอนผู้สอนคน เฉกเช่นครูทั้งหลาย แต่ก็มีหนี้สินเหมือนชาวบ้าน การศึกษาน้อย ปริญญาก็ไม่มี เป็นเพียงตาสีตาสา
จุดนี้...ท่านผู้นำที่ปกครองบ้านปกครองเมืองทั้งหลาย มองเห็นเป็นปัญหาไหม? หรือเฉยๆ หรือมันคือปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขโดยพลัน เนื่องเพราะการศึกษาคือหัวใจของการพัฒนาทุกอย่าง ถ้าการศึกษาล้มเหลวอย่างอื่นก็ล้มเหลวด้วย เช่น การทุจริตคอร์รัปชันที่ยังดำรงอยู่ ก็เพราะการศึกษาล้มเหลว! การเอานักคอร์รัปชันไปแก้ปัญหาคอร์รัปชัน นี่คือความล้มเหลวสุดๆ ของการศึกษา!!
นายทุนยิ่งใหญ่
นายทุนคือเจ้าของทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้า หรือผู้ลงทุนประกอบกิจการ
นายทุนย่อมมีทั้งคนดี และคนไม่ดี
นายทุนดี เรียกว่า “นายทุนธรรมะ”
นายทุนชั่ว เรียกว่า “นายทุนสามานย์”
นายทุนทั้งดีและชั่ว ก็มีอยู่ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
ถ้านายทุนธรรมะยิ่งใหญ่ ก็จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม สังคมประเทศชาติ
หากนายทุนสามานย์ยิ่งใหญ่ อันนี้แหละเป็นปัญหาของชาติและบ้านเมือง เพราะนายทุนสามานย์ชอบ “ผูกขาด” คือ ถือสิทธิทำประโยชน์ไว้แต่ผู้เดียว
เขาจึงได้รับสมญาว่า “นายทุนสามานย์ผูกขาด” และก็จะกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่จริงๆ คือสามารถที่จะเอาประโยชน์จากประเทศได้แต่เพียงผู้เดียว แค่นั้นยังไม่พอ ยังจะเอาประโยชน์จากโลกแต่เพียงผู้เดียวอีกด้วย เขาโลภสุดโคตรเช่นนั้นจริงๆ น่ากลัวมาก
สามานย์เลวทรามต่ำช้าขนาดไหน ก็คิดดูเถิด ประเทศทั้งประเทศ โลกทั้งโลก ตูจะเอาคนเดียว!
นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้พ่อค้าแม่ค้า นายทุนเล็กนายทุนน้อยขายสินค้าได้ ก็ดูดีมีเหตุผล แต่ลึกๆ แล้ว สินค้าส่วนใหญ่เป็นของใคร มาจากไหน งบที่มากระตุ้นเศรษฐกิจเท่ากับงบให้นายทุนผู้ยิ่งใหญ่ขายสินค้าได้หรือเปล่า?
เศรษฐีหรือนายทุนยิ่งใหญ่ของเมืองไทย มีประมาณ 10 คน หรือ 10 ตระกูล
ผู้มีเงิน ย่อมมีอำนาจ หรือผู้มีอำนาจ ย่อมมีเงิน ดังนั้น เงินกับอำนาจจึงสัมพันธ์กันเป็นพิเศษเสมอ
คนไทยยิ่งจน
ทุกวันนี้ดูไม่ค่อยออกว่า ใครเป็นชาวนา ใครเป็นคนบ้านนอกคอกนา ใครเป็นคนจน ดูเผินๆ ก็เป็นคนเมืองไปหมด เป็นคนรวยไปหมด เพราะมีอะไรเหมือนๆ กัน เศรษฐีมีไอโฟนได้ ฉันแค่ลูกจ้างวันละ 300 บาทก็มีได้ (ผ่อนเอา) 55555
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต่างกันราวฟ้ากับเหว
คนไทยส่วนมากถูกกำหนดและส่งเสริมให้เป็นแค่ลูกจ้าง หรือมนุษย์เงินเดือน การศึกษาผลิตคนมาเป็นลูกจ้าง เป็นลูกจ้างเขาตลอดชีวิต เพราะทุนชีวิต ทุนดั้งเดิมหมดแล้ว ที่นาถูกยึด ต้องเช่าเขาทำ หรือเป็นลูกจ้างทำนา บ้านเช่าเขาอยู่ อู่เช่าเขานอน หรือนอนฟรีตามที่สาธารณะ
แม้มีเงินเดือนมากขนาดไหน หากไม่รู้จักใช้ ก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว
หนี้ล้นพ้นตัวกับคนไทยสมัยนี้ จึงเป็นสิ่งเดียวกัน เหมือนกับ เงิน อำนาจ นายทุน เป็นสิ่งเดียวกัน
แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร?
พระเจ้าอยู่หัวทรงบอกวิธีแก้แล้ว แต่ไม่ทำกัน นั่นคือเศรษฐกิจพอเพียง!
ทำไมไม่ทำกัน?
เพราะไม่รู้ ไม่ศึกษา ไม่สนใจ!
การศึกษาแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เลยส่งเสริมกันใหญ่ มีด็อกเตอร์เต็มบ้านเต็มเมือง แต่แก้ปัญหาอะไรไม่ได้ เป็นแค่ลูกจ้างเขา วิ่งตามเขา เห่อตามเขา เทือกเถาเหล่ากอของตน ไม่รู้ ไม่สนใจ
แก่นไม่รู้ รู้แต่เปลือก!
ชอบคนดี ส่งเสริมคนดี แต่แก่นคนดี ธรรมของคนดี เป็นอย่างไร ไม่สนใจ
ดังนั้น...จึงมีความจำเป็น ต้อง “หยุด” แล้วกลับไปหา “รากเหล้าเหล่ากอ” ของตนเอง
คำว่า “ไตร” หรือ “สาม” มีหลายอย่าง ล้วนแต่เป็นรากเหง้าเหล่ากอ หรือแก่นชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เช่น ไตรลักษณ์ ไตรสรณะ ไตรสิกขา สัทธรรม 3 เป็นต้น
ไตรสิกขา คือข้อที่จะต้องศึกษา หรือข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือฝึกหัด อบรมกาย วาจา ใจ และปัญญาให้ยิ่งขึ้นไป จนบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
สัทธรรม 3 คือธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของสัตบุรุษ หลักหรือแก่นศาสนา ได้แก่...
1. ปริยัติสัทธรรม คือคำสั่งสอนอันจะต้องเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์
2. ปฏิบัติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ
3. ปฏิเวธสัทธรรม คือผลอันจะพึงเข้าถึง หรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน
สิกขา คือ การศึกษา การเล่าเรียน ข้อปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เรียกว่า ไตรสิกขา
การศึกษา แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ถ้ารู้ เข้าใจ เข้าถึงหลักธรรมดังกล่าว (สัมมาสิกขา)
คนเราก็จะกลับคืนสู่รากเหง้า คือเศรษฐกิจพอเพียง เป็นนายตัวเอง พึ่งตัวเองได้ อยู่อย่างพอเพียง ไม่ตกเป็นเหยื่อเป็นทาสใคร ปลอดหนี้ มีสติทุกเมื่อ ชีวิตจึงอยู่ดีมีสุข
“ชาวนาชาวเมือง
รุ่งเรืองเมืองไทย
นายทุนยิ่งใหญ่
คนไทยยิ่งจน”
หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ พระอริยเจ้า หนึ่งในไตรสรณะ ท่านสอนว่า...
“แก้ตัว-ช่วยอะไรไม่ได้....แก้ไข-ช่วยได้ทุกอย่าง...แก้แค้น-ที่ดีที่สุดคือหยุด! ก่อเวรกรรม...โกรธเขา-เราทุกข์...อภัยเขา-เราสุข...ศีล สมาธิ ปัญญา-คือมรรคาแห่งความสุข”
“ศีล สมาธิ ปัญญา” 3 คำจำง่าย แก้ปัญหาได้ทุกอย่าง เพราะเป็นแก่น อยากพ้นทุกข์ อยากมีสุข อยู่ตรงนี้-ตรงแก่น
คิด พูด ทำ อะไรมากมาย เสียเงินเสียทรัพย์เป็นแสนล้าน เป็นล้านล้าน ก็แค่เปลือก เล่นบทมดเท็จกันไปวันๆ มันมีแต่จะเพิ่มปัญหา นายทุนยิ่งใหญ่ คนไทยยิ่งจน หลงเล่นกับเปลือกมานาน กลับมาเล่นกับแก่น หรือรากเหง้าเหล่ากอของตนบ้างสิ จิได้ตาสว่าง เห็นทางสู่ความสุข