โดย...วีระศักดิ์ นาทะสิริ
1. กล่าวนำ
เนื่องจากมีผู้อาวุโสท่านหนึ่งได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) ว่าประเทศไทยมีปัญหามากมายที่จะต้องแก้ไข การที่เสนอให้ขุดคลองกระเป็นเส้นทางเดินเรือจะไปแบ่งแยกแผ่นดินไทยออกเป็นสองส่วนซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาด้านความมั่นคงตามมา เพราะกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อาจถือโอกาสแบ่งแยกพื้นที่ (ตามแนวคลองที่ขุดเป็นเส้นทางเดินเรือ) ตั้งเป็นรัฐอิสระไปเลยก็ได้ คนที่เสนอเรื่องขุดคลองกระคงว่างมากไป เลยจินตนาการวาดฝันไปตามที่อยากจะให้เป็น และในตอนท้ายผู้อาวุโสท่านนี้ได้กลับมาถามผู้เขียนว่า มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากผู้เขียนมีภารกิจอื่นรออยู่ เลยต้องขอผลัดว่าจะขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ผ่านบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (6) เรื่องที่ 6.1 ตอนที่ 5 เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบข้อมูล และความคิดเห็นเพิ่มเติมจากการศึกษากรณีตัวอย่างจาก คลองปานามา และคลองนิการากัวไปพร้อมๆ กัน
2. กรณีตัวอย่าง: ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคลองปานามา และคลองนิการากัว
ภาพที่ 1 ที่ตั้งของนิการากัว และปานามา อยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก
http://www.primap.com/wsen/Maps/MapCollection/MarineCharts/Atlantic-Ocean-Towns-1920x1080.html
ภาพที่ 2 คลองนิการากัว และคลองปานามาเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ภาพจาก https://www.vesselfinder.com/news/2340-Construction-of-Nicaragua-Canal-starts-in-December
2.1 คลองปานามา
คลองปานามา กว้างประมาณ 55 เมตร (จากภาพที่ 2) และมีระยะทางยาวประมาณ77.1 กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ข้อมูลในปี2008 (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Panama_Canal) ได้ระบุว่ามีเรือต่างๆ ที่ใช้เส้นทางคลองปานามาตั้งแต่เริ่มเปิดใช้รวมแล้วมากกว่า 815,000 ลำ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักได้ประมาณ 309.6 ล้านตันโดยเรือที่แล่นผ่านคลองปานามาแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมงและสามารถย่นระยะทางได้ถึง 7,800ไมล์ทะเล โดยไม่ต้องอ้อมทวีปอเมริกาใต้
2.2 คลองนิการากัว
สำหรับคลองนิการากัวได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ธันวาคม ปี 2014 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2019 ซึ่งบริษัทของจีน (โดยนายWang Jing, CEO of Chinese company HKND)ได้รับสัมปทานในการจัดการจากรัฐบาลนิการากัวเป็นเวลา 50 ปี (หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ) และอาจต่อสัญญาได้อีก 50 ปี โดยบริษัท HKND จะเสียค่าสัมปทานให้แก่รัฐบาลนิการากัวปีละ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คลองนิการากัวจะมีระยะทางประมาณ 173 ไมล์ (เกือบ 3 เท่าของคลองปานามา) เริ่มต้นจากท่าเรือที่เมือง Punta Gorda ในทะเล Caribbean ผ่านทะเลสาบนิการากัว Lake Nicaragua เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกที่เมือง Brito จะใช้งบประมาณการก่อสร้างประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยย่นระยะทางโดยไม่ต้องอ้อมทวีปอเมริกาใต้เช่นเดียวกับคลองปานามา
2.3 การเปรียบเทียบด้านกายภาพระหว่างคลองนิการากัวกับคลองปานามา
ถ้าดูภาพหน้าตัดของคลองทั้งสองในภาพที่ 2 เราจะพบว่า คลองนิการากัวมีขนาดกว้าง 83 เมตร และลึกถึง 26.7 เมตร ซึ่งกว้างกว่าคลองปานามาซึ่งมีขนาดกว้าง 55 เมตร และลึกเพียง 18 เมตร ด้วยเหตุนี้คลองนิการากัวจึงสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่าและกินน้ำลึกได้มากกว่าคลองปานามา โดยสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ที่มีความจุได้ถึง 400,000 ตัน (ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อหน่วยลดลงเพราะสามารถขนสินค้าต่อเที่ยวได้มากขึ้น - ผู้เขียน)
*ข้อมูลจาก https://www.vesselfinder.com/news/2340-Construction-of-Nicaragua-Canal-starts-in-December
3. เส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คอดกระ) ที่คาดว่าจะมีความเป็นไปได้ในอนาคต
ภาพที่ 3 เส้นทางเดินเรือที่คาดว่าจะผ่านเส้นทางคลองกระของไทย
http://wanderlustandlipstick.com/blogs/genywanderer/2013/02/26/5-websites-for-southeast-asia/
3.1 บริเวณที่แคบที่สุดของคาบสมุทรภาคใต้คือ คอคอดกระซึ่งอยู่ที่จังหวัดระนอง มีพื้นที่ระหว่างด้านตะวันตกที่ติดทะเลอันดามัน (ออกไปสู่มหาสมุทรอินเดีย) และด้านตะวันออกติดอ่าวไทย (ที่ออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก) พื้นที่ช่วงนี้มีความกว้างเพียง 50-80 กิโลเมตรจึงควรนำมาพิจารณาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้เป็นเส้นทางการเดินเรือเพื่อเชื่อมทะเลและมหาสมุทรทั้งสองเข้าด้วยกัน
3.2 สำหรับเส้นทางอื่นๆ ที่อาจนำมาพิจารณาเป็นเส้นทางเดินเรือเพื่อเชื่อมทะเลทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างเช่นเส้นทางที่แสดงในภาพที่ 4 คือ เส้นทางจากชายฝั่งจังหวัดสตูลไปออกอ่าวไทยที่จังหวัดสงขลา ที่มาจากบทความเรื่อง “The Kra-Canal Project” ซึ่งเขียนโดย Luc Verley MIIMS แห่งสถาบันนานาชาติแห่งการสำรวจทางทะเล (International Institute of Marine Surveying) เป็นต้น
ภาพที่ 4 เส้นทางจากกระบี่ไปออกอ่าวไทยที่สงขลา
ภาพจาก http://iims.org.uk/kra-canal-project/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
อย่างไรก็ดีรายงานข่าวจาก ASTVManager ได้ระบุว่า การขุดคลองกระ (คอดกระ) เป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะช่วยร่นระยะทางที่ไม่ต้องอ้อมผ่านสิงคโปร์ได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ไมล์ทะเล รวมทั้งจะลดเวลาการเดินเรือได้ประมาณ 3 วัน (ข้อมูลข่าวจากhttp://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000111641)
4. ทำไมต้องโครงการขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) : Why Kra Canal?
4.1 ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ท่ามกลางผู้ผลิต และผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ประเทศไทยตั้งอยู่ท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียน และมีพื้นที่อยู่ระหว่างทะเลอันดามันที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก และอ่าวไทยที่ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเชื่อมต่อกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย และอินเดีย โดยมีประชากรรวมกันแล้วมากที่สุดในโลก นั่นหมายความว่า ประเทศต่างๆ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกจะเป็นทั้งตลาดผู้บริโภค ผู้ค้า ผู้ขนส่งสินค้า ผู้ผลิตสินค้า และตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นเอง
ภาพที่ 5 เรือบรรทุกสินค้ากำลังผ่านคลองปานามา
ภาพจาก http://www.marine-knowledge.com/panama-canal-cement-work-begins/
ดังนั้น การมีเส้นทางเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดียผ่านพื้นที่ภาคใต้ของไทยเข้าสู่อ่าวไทยและต่อไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกจึงไม่เพียงจะช่วยให้การเดินทางสั้นและเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังจะทำให้เส้นทางนี้เป็นศูนย์กลางการค้าและขนส่งที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากโดยรอบมหาสมุทรทั้งสองไม่ได้มีเพียงผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไทย และสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่จะใช้เส้นทางนี้ แต่ยังมีผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ เช่น ไทย เวียดนาม อินเดีย จีน พม่า ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ที่จะใช้เส้นทางคลองกระนี้อีกด้วย เพราะเส้นทางคลองกระอยู่ใกล้ทั้งแหล่งผลิตและกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและร่นเวลาในการขนส่งได้เร็วขึ้น
ภาพที่ 6 เรือนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่กำลังผ่านคลองปานามา
ภาพจาก http://cruisemiss.com/2012/11/23/the-panama-canal/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
นอกจากเรือบรรทุกสินค้า และเรือโดยสารท่องเที่ยวในภาพที่ 5 และภาพที่ 6 แล้ว เรือพยาบาลหรือแม้กระทั่งเรือรบก็จะสามารถใช้เวลาเพียง 4 - 6 ชั่วโมง ในการเดินเรือผ่านคลองกระไปปฏิบัติภารกิจเร่งด่วนและภารกิจต่างๆ ในมหาสมุทรทั้งสอง ดังเช่นเรือรบที่ได้ใช้เส้นทางคลองปานามาในภาพที่ 7
ภาพที่ 7 เรือรบกำลังผ่านคลองปานามา
ภาพจาก http://www.thetimes.co.uk/tto/business/industries/engineering/article2808953.ece
4.2 การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (สำหรับเรือเดินทะเลที่มีขนาดใหญ่) อาจเปรียบได้กับการปลูกต้นกล้าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศในอนาคต
แม้ว่าโครงการเส้นทางการเดินเรือคลองกระอาจจะช่วยร่นระยะทางได้เพียง 1,200 ไมล์ทะเล ซึ่งน้อยกว่าคลองปานามาที่สามารถร่นระยะทางการเดินเรือได้ประมาณ 7,800 ไมล์ทะเล และคลองสุเอซที่สามารถร่นระยะทางการเดินเรือได้ประมาณ 6,400 ไมล์ทะเลแต่ทั้งปานามาและอียิปต์ไม่ได้อยู่ท่ามกลางประเทศผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของโลก (ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศอาเซียน และอินเดีย) และยังไม่ได้อยู่ท่ามกลางประเทศที่เป็นผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดของโลก (จากกำลังซื้อรวมของประชากรในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง กลุ่มประเทศอาเซียน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย) เช่นเดียวกับประเทศไทย ดังในภาพที่ 8 ดังนั้น ผู้เขียนจึงเชื่อว่า เส้นทางการเดินเรือคลองกระของไทยไม่เพียงจะเป็นเส้นทางการเดินเรือที่เชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น แต่ยังจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและยังจะเป็นฐานรากที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย
ภาพที่ 8 ประเทศไทยอยู่ท่ามกลางประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ภาพจาก http://www.thailand-maps.com/south-east-asia-map.htm ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ เปรียบเสมือนการปลูกต้นกล้าทางเศรษฐกิจที่จะขยายกิ่งก้านสาขาและให้ดอกออกผลทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งย่อมจะทำให้เศรษฐกิจของไทยได้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไปในอนาคต โดยดอกผลทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มีดังนี้
(1) การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเรือในทุกๆ ประเภท เช่น อุตสาหกรรมการต่อเรือ (ดังแสดงในภาพที่ 9), อุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงรักษาเรือ (ดูในภาพที่ 10), อุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งทางเรือ, และอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรือ เป็นต้น
ภาพที่ 9 อุตสาหกรรมการต่อเรือที่เกิดขึ้นตามมา
ภาพจาก https://www.youtube.com/watch?v=cYqHCFSnCWs
ภาพที่10 อุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงรักษาเรือ
ภาพจาก https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Naval_Shipyard_Gdynia_13874387.jpg
(2) นอกจากนี้การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) ยังจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ ด้วย เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคใกล้เคียง,อุตสาหกรรมการประมงและแปรรูป, อุตสาหกรรมการแปรรูปทางการเกษตร, อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ, อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องจักรกลต่างๆ และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เป็นต้น
(3) ประการต่อมา การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) จะส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางบก ทางเรือ และทางอากาศในภูมิภาคต่างๆที่จะเชื่อมต่อกับเส้นทางเดินเรือคลองกระ ผู้เขียนคาดว่าจะมีการสร้างและพัฒนาสนามบิน สถานีขนส่งทางบก ท่าเรือต่างๆ ที่ทันสมัยหลายแห่งในภูมิภาคต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ และรวมทั้งระบบการขนส่งความเร็วสูง (เช่น รถไฟความเร็วสูงในภาพที่ 11 และการขนส่งทางอากาศรูปแบบต่างๆ) เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าและการโดยสารจากภูมิภาคต่างๆ ของไทยและจากประเทศต่างๆ ในเอเชียมายังเส้นทางการเดินเรือคลองกระอย่างแน่นอน
ภาพที่11 ภาพรถไฟความเร็วสูง
ภาพจาก http://www.gojapango.com/travel/bullet_train_pictures.htm
(4) ที่สำคัญคือ การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระของไทยจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูปการบริหารจัดการที่ดินในภาคใต้ทั้งหมด และอาจรวมทั้งการบริหารจัดการที่ดินในภาคอื่นๆ ด้วย การบริหารจัดการที่ดินอย่างเหมาะสม โดยจัดเป็นเขตอุตสาหกรรม เขตพื้นที่ทางการเกษตร เขตที่อยู่อาศัย และเขตที่ทำการของหน่วยงานรัฐจะทำให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา สังคมและความมั่นคงของไทยด้วย
5. บทสรุป
5.1 สำหรับโครงการขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) ในอนาคต ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริงก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยและคนไทยอย่างมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อไทย สิงคโปร์ และมาเลเซียบ้างพอสมควร เนื่องจากเรือเดินทะเลส่วนใหญ่จะหันมาใช้เส้นทางคลองกระมากขึ้นเพราะสะดวกกว่า และมีระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางที่ผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งอาจทำให้ไทยต้องกลายเป็นคู่ต่อสู้ทางการค้ากับสิงคโปร์และมาเลเซีย ดังนั้นทั้งสิงคโปร์และมาเลเซียคงจะต้องพยายามทำทุกวิถีทางที่จะขัดขวางไม่ให้มีการดำเนินโครงการนี้จนเป็นผลสำเร็จ ซึ่งอาจรวมไปถึงการสนับสนุนกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่ต่อต้านรัฐบาลไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม (เป็นการมองโลกในแง่ร้ายของผู้เขียน)
5.2 ในความคิดเห็นส่วนตัว ผู้เขียนเชื่อว่า โครงการขุดคลองกระเป็นเรื่องที่ต้องกระทำ (We have to do what we have to do.) ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน ซึ่งถ้าไทยสามารถขุดคลองกระเป็นผลสำเร็จ ไทยก็จะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งด้านการค้าและด้านการขนส่งของภูมิภาคเอเชียไม่เพียงเท่านั้น ไทยยังจะกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าต่างๆ และศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย
5.3 นอกจากนี้โครงการขุดคลองกระยังไปสอดคล้องกับความฝันทั้งในอดีตและปัจจุบันของจีนที่ต้องการพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลที่เรียกว่า เส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งคาดว่าเส้นทางเดินเรือดังกล่าวคงจะต้องผ่านไทยเพราะที่ตั้งของไทยอยู่ระหว่างทะเลอันดามันที่เชื่อมต่อไปยังมหาสมุทรอินเดีย และอ่าวไทยที่เป็นประตูไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ไทยจึงควรให้ความสนใจต่อจีนในฐานะประเทศที่มีความสนใจที่จะร่วมลงทุนในโครงการนี้ด้วย
โดยสรุปแล้วการพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) ไม่เพียงจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านอุตสาหกรรมและด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษา, การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของคนไทยในสังคม, การพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดิน, การพัฒนากองทัพให้ทันสมัยและเข้มแข็งเพื่อปกป้องและให้ความปลอดภัยแก่เส้นทางการเดินเรือคลองกระ และรวมไปถึงการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่(ที่ดิน)และทรัพยากรของชาติทั้งประเทศอีกด้วย
การพัฒนาต่างๆ ดังกล่าวทำให้เราจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยในทุกๆ ด้านเพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพราะผลที่เกิดขึ้นจะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบของประเทศและการวางตำแหน่งของประเทศไทยให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม มีความมั่นคง และสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตนั่นเอง (ความคิดเห็นของผู้เขียน)
ท้ายบทความ: ตอบคำถามผู้อ่าน
(1) ตามที่มีหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่เสนอให้ขุดคลองกระอาจมองโลกในแง่ดีเกินไป เพราะการขุดคลองเป็นเส้นทางเดินเรืออาจเปรียบได้กับการแบ่งแยกแผ่นดินไทยออกจากกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การสู้รบเพื่อแบ่งแยกดินแดนไทยโดยกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
แต่ผู้เขียนกลับมีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับความคิดเห็นดังกล่าว เพราะการพัฒนาเส้นทางการเดินเรือดังกล่าวจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาด้านต่างๆ และการจ้างงานอย่างมากมาย จะมีคนไทยในภูมิภาคต่างๆ และรวมทั้งคนต่างชาติจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก (เช่น พม่า ลาว กัมพูชา อินเดีย จีน อเมริกัน ยุโรป รัสเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น) หลั่งไหลเข้ามาทำงานทั้งในภาคการก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคการขนส่ง และภาคบริการต่างๆ เป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้จะขยายตัวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตัวเมืองจะมีการขยายตัวมากขึ้น สภาพสังคมจะเปลี่ยนไป และทุกคนจะมีงานทำมีรายได้ที่จะดำรงชีพได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ผู้เขียนจึงเชื่อว่า การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวจะทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นจนส่งผลให้ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ยุติลงได้ในที่สุด ผู้เขียนขอให้ดู Dubai เป็นตัวอย่าง
(2) ได้มีคำถามต่อมาว่า แล้วดินที่ขุดออกจากบริเวณที่จะทำโครงการเดินเรือคลองกระซึ่งมีจำนวนมหาศาล จะเอาไปทิ้งไว้ที่ไหน ดินจำนวนมากจะทำให้พื้นที่ของจังหวัดใกล้เคียงสกปรกและเกะกะไปหมด
ในเรื่องนี้มีบางท่านเสนอว่า ให้เอาดินที่ขุดได้ไปถมทะเลขยายพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทยออกไป บางท่านก็เสนอให้เอาไปถมกลางทะเลแล้วสร้างเป็นเกาะกลางทะเลเพื่อจัดทำเป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศทั้งในทะเลอันดามัน และในอ่าวไทย บางท่านก็แนะให้สร้างเป็นสถานีวิจัยทางทะเล หรือสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนกลางทะเล แล้วท่านที่อ่านบทความนี้มีความเห็นเป็นอย่างไร กรุณาส่งความคิดเห็นของท่านมาที่ Email Address: weerasak.nathasiri@gmail.com และFB: วีระศักดิ์ นาทะสิริ - ขอบคุณครับ
1. กล่าวนำ
เนื่องจากมีผู้อาวุโสท่านหนึ่งได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) ว่าประเทศไทยมีปัญหามากมายที่จะต้องแก้ไข การที่เสนอให้ขุดคลองกระเป็นเส้นทางเดินเรือจะไปแบ่งแยกแผ่นดินไทยออกเป็นสองส่วนซึ่งจะทำให้เป็นปัญหาด้านความมั่นคงตามมา เพราะกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อาจถือโอกาสแบ่งแยกพื้นที่ (ตามแนวคลองที่ขุดเป็นเส้นทางเดินเรือ) ตั้งเป็นรัฐอิสระไปเลยก็ได้ คนที่เสนอเรื่องขุดคลองกระคงว่างมากไป เลยจินตนาการวาดฝันไปตามที่อยากจะให้เป็น และในตอนท้ายผู้อาวุโสท่านนี้ได้กลับมาถามผู้เขียนว่า มีความคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ แต่เนื่องจากผู้เขียนมีภารกิจอื่นรออยู่ เลยต้องขอผลัดว่าจะขอแสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ผ่านบทความ แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย (6) เรื่องที่ 6.1 ตอนที่ 5 เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้รับทราบข้อมูล และความคิดเห็นเพิ่มเติมจากการศึกษากรณีตัวอย่างจาก คลองปานามา และคลองนิการากัวไปพร้อมๆ กัน
2. กรณีตัวอย่าง: ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคลองปานามา และคลองนิการากัว
ภาพที่ 1 ที่ตั้งของนิการากัว และปานามา อยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก
http://www.primap.com/wsen/Maps/MapCollection/MarineCharts/Atlantic-Ocean-Towns-1920x1080.html
ภาพที่ 2 คลองนิการากัว และคลองปานามาเชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก
ภาพจาก https://www.vesselfinder.com/news/2340-Construction-of-Nicaragua-Canal-starts-in-December
2.1 คลองปานามา
คลองปานามา กว้างประมาณ 55 เมตร (จากภาพที่ 2) และมีระยะทางยาวประมาณ77.1 กิโลเมตร หรือ 48 ไมล์ข้อมูลในปี2008 (จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Panama_Canal) ได้ระบุว่ามีเรือต่างๆ ที่ใช้เส้นทางคลองปานามาตั้งแต่เริ่มเปิดใช้รวมแล้วมากกว่า 815,000 ลำ ซึ่งคิดเป็นน้ำหนักได้ประมาณ 309.6 ล้านตันโดยเรือที่แล่นผ่านคลองปานามาแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 6 ถึง 8 ชั่วโมงและสามารถย่นระยะทางได้ถึง 7,800ไมล์ทะเล โดยไม่ต้องอ้อมทวีปอเมริกาใต้
2.2 คลองนิการากัว
สำหรับคลองนิการากัวได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ธันวาคม ปี 2014 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2019 ซึ่งบริษัทของจีน (โดยนายWang Jing, CEO of Chinese company HKND)ได้รับสัมปทานในการจัดการจากรัฐบาลนิการากัวเป็นเวลา 50 ปี (หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ) และอาจต่อสัญญาได้อีก 50 ปี โดยบริษัท HKND จะเสียค่าสัมปทานให้แก่รัฐบาลนิการากัวปีละ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
คลองนิการากัวจะมีระยะทางประมาณ 173 ไมล์ (เกือบ 3 เท่าของคลองปานามา) เริ่มต้นจากท่าเรือที่เมือง Punta Gorda ในทะเล Caribbean ผ่านทะเลสาบนิการากัว Lake Nicaragua เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกที่เมือง Brito จะใช้งบประมาณการก่อสร้างประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยย่นระยะทางโดยไม่ต้องอ้อมทวีปอเมริกาใต้เช่นเดียวกับคลองปานามา
2.3 การเปรียบเทียบด้านกายภาพระหว่างคลองนิการากัวกับคลองปานามา
ถ้าดูภาพหน้าตัดของคลองทั้งสองในภาพที่ 2 เราจะพบว่า คลองนิการากัวมีขนาดกว้าง 83 เมตร และลึกถึง 26.7 เมตร ซึ่งกว้างกว่าคลองปานามาซึ่งมีขนาดกว้าง 55 เมตร และลึกเพียง 18 เมตร ด้วยเหตุนี้คลองนิการากัวจึงสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าที่มีขนาดใหญ่กว่าและกินน้ำลึกได้มากกว่าคลองปานามา โดยสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ที่มีความจุได้ถึง 400,000 ตัน (ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าต่อหน่วยลดลงเพราะสามารถขนสินค้าต่อเที่ยวได้มากขึ้น - ผู้เขียน)
*ข้อมูลจาก https://www.vesselfinder.com/news/2340-Construction-of-Nicaragua-Canal-starts-in-December
3. เส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คอดกระ) ที่คาดว่าจะมีความเป็นไปได้ในอนาคต
ภาพที่ 3 เส้นทางเดินเรือที่คาดว่าจะผ่านเส้นทางคลองกระของไทย
http://wanderlustandlipstick.com/blogs/genywanderer/2013/02/26/5-websites-for-southeast-asia/
3.1 บริเวณที่แคบที่สุดของคาบสมุทรภาคใต้คือ คอคอดกระซึ่งอยู่ที่จังหวัดระนอง มีพื้นที่ระหว่างด้านตะวันตกที่ติดทะเลอันดามัน (ออกไปสู่มหาสมุทรอินเดีย) และด้านตะวันออกติดอ่าวไทย (ที่ออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก) พื้นที่ช่วงนี้มีความกว้างเพียง 50-80 กิโลเมตรจึงควรนำมาพิจารณาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะศึกษาความเป็นไปได้ที่จะใช้เป็นเส้นทางการเดินเรือเพื่อเชื่อมทะเลและมหาสมุทรทั้งสองเข้าด้วยกัน
3.2 สำหรับเส้นทางอื่นๆ ที่อาจนำมาพิจารณาเป็นเส้นทางเดินเรือเพื่อเชื่อมทะเลทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างเช่นเส้นทางที่แสดงในภาพที่ 4 คือ เส้นทางจากชายฝั่งจังหวัดสตูลไปออกอ่าวไทยที่จังหวัดสงขลา ที่มาจากบทความเรื่อง “The Kra-Canal Project” ซึ่งเขียนโดย Luc Verley MIIMS แห่งสถาบันนานาชาติแห่งการสำรวจทางทะเล (International Institute of Marine Surveying) เป็นต้น
ภาพที่ 4 เส้นทางจากกระบี่ไปออกอ่าวไทยที่สงขลา
ภาพจาก http://iims.org.uk/kra-canal-project/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
อย่างไรก็ดีรายงานข่าวจาก ASTVManager ได้ระบุว่า การขุดคลองกระ (คอดกระ) เป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างทะเลอันดามันกับอ่าวไทยจะใช้เงินลงทุนประมาณ 28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะช่วยร่นระยะทางที่ไม่ต้องอ้อมผ่านสิงคโปร์ได้ไม่น้อยกว่า 1,200 ไมล์ทะเล รวมทั้งจะลดเวลาการเดินเรือได้ประมาณ 3 วัน (ข้อมูลข่าวจากhttp://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000111641)
4. ทำไมต้องโครงการขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) : Why Kra Canal?
4.1 ที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ท่ามกลางผู้ผลิต และผู้บริโภคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ประเทศไทยตั้งอยู่ท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียน และมีพื้นที่อยู่ระหว่างทะเลอันดามันที่ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก และอ่าวไทยที่ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเชื่อมต่อกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา บราซิล ออสเตรเลีย และอินเดีย โดยมีประชากรรวมกันแล้วมากที่สุดในโลก นั่นหมายความว่า ประเทศต่างๆ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิกจะเป็นทั้งตลาดผู้บริโภค ผู้ค้า ผู้ขนส่งสินค้า ผู้ผลิตสินค้า และตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั่นเอง
ภาพที่ 5 เรือบรรทุกสินค้ากำลังผ่านคลองปานามา
ภาพจาก http://www.marine-knowledge.com/panama-canal-cement-work-begins/
ดังนั้น การมีเส้นทางเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดียผ่านพื้นที่ภาคใต้ของไทยเข้าสู่อ่าวไทยและต่อไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกจึงไม่เพียงจะช่วยให้การเดินทางสั้นและเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังจะทำให้เส้นทางนี้เป็นศูนย์กลางการค้าและขนส่งที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากโดยรอบมหาสมุทรทั้งสองไม่ได้มีเพียงผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ไทย และสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่จะใช้เส้นทางนี้ แต่ยังมีผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่ เช่น ไทย เวียดนาม อินเดีย จีน พม่า ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา ที่จะใช้เส้นทางคลองกระนี้อีกด้วย เพราะเส้นทางคลองกระอยู่ใกล้ทั้งแหล่งผลิตและกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและร่นเวลาในการขนส่งได้เร็วขึ้น
ภาพที่ 6 เรือนักท่องเที่ยวขนาดใหญ่กำลังผ่านคลองปานามา
ภาพจาก http://cruisemiss.com/2012/11/23/the-panama-canal/ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
นอกจากเรือบรรทุกสินค้า และเรือโดยสารท่องเที่ยวในภาพที่ 5 และภาพที่ 6 แล้ว เรือพยาบาลหรือแม้กระทั่งเรือรบก็จะสามารถใช้เวลาเพียง 4 - 6 ชั่วโมง ในการเดินเรือผ่านคลองกระไปปฏิบัติภารกิจเร่งด่วนและภารกิจต่างๆ ในมหาสมุทรทั้งสอง ดังเช่นเรือรบที่ได้ใช้เส้นทางคลองปานามาในภาพที่ 7
ภาพที่ 7 เรือรบกำลังผ่านคลองปานามา
ภาพจาก http://www.thetimes.co.uk/tto/business/industries/engineering/article2808953.ece
4.2 การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (สำหรับเรือเดินทะเลที่มีขนาดใหญ่) อาจเปรียบได้กับการปลูกต้นกล้าทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศในอนาคต
แม้ว่าโครงการเส้นทางการเดินเรือคลองกระอาจจะช่วยร่นระยะทางได้เพียง 1,200 ไมล์ทะเล ซึ่งน้อยกว่าคลองปานามาที่สามารถร่นระยะทางการเดินเรือได้ประมาณ 7,800 ไมล์ทะเล และคลองสุเอซที่สามารถร่นระยะทางการเดินเรือได้ประมาณ 6,400 ไมล์ทะเลแต่ทั้งปานามาและอียิปต์ไม่ได้อยู่ท่ามกลางประเทศผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของโลก (ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย กลุ่มประเทศอาเซียน และอินเดีย) และยังไม่ได้อยู่ท่ามกลางประเทศที่เป็นผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดของโลก (จากกำลังซื้อรวมของประชากรในจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง กลุ่มประเทศอาเซียน สหรัฐอเมริกา และอินเดีย) เช่นเดียวกับประเทศไทย ดังในภาพที่ 8 ดังนั้น ผู้เขียนจึงเชื่อว่า เส้นทางการเดินเรือคลองกระของไทยไม่เพียงจะเป็นเส้นทางการเดินเรือที่เชื่อมมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิกเท่านั้น แต่ยังจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกและยังจะเป็นฐานรากที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย
ภาพที่ 8 ประเทศไทยอยู่ท่ามกลางประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ภาพจาก http://www.thailand-maps.com/south-east-asia-map.htm ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ เปรียบเสมือนการปลูกต้นกล้าทางเศรษฐกิจที่จะขยายกิ่งก้านสาขาและให้ดอกออกผลทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งย่อมจะทำให้เศรษฐกิจของไทยได้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงต่อไปในอนาคต โดยดอกผลทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเกิดขึ้น มีดังนี้
(1) การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเรือในทุกๆ ประเภท เช่น อุตสาหกรรมการต่อเรือ (ดังแสดงในภาพที่ 9), อุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงรักษาเรือ (ดูในภาพที่ 10), อุตสาหกรรมการเดินเรือและการขนส่งทางเรือ, และอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรือ เป็นต้น
ภาพที่ 9 อุตสาหกรรมการต่อเรือที่เกิดขึ้นตามมา
ภาพจาก https://www.youtube.com/watch?v=cYqHCFSnCWs
ภาพที่10 อุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงรักษาเรือ
ภาพจาก https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Naval_Shipyard_Gdynia_13874387.jpg
(2) นอกจากนี้การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) ยังจะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ ด้วย เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคใกล้เคียง,อุตสาหกรรมการประมงและแปรรูป, อุตสาหกรรมการแปรรูปทางการเกษตร, อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงต่างๆ, อุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องจักรกลต่างๆ และอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เป็นต้น
(3) ประการต่อมา การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) จะส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งทางบก ทางเรือ และทางอากาศในภูมิภาคต่างๆที่จะเชื่อมต่อกับเส้นทางเดินเรือคลองกระ ผู้เขียนคาดว่าจะมีการสร้างและพัฒนาสนามบิน สถานีขนส่งทางบก ท่าเรือต่างๆ ที่ทันสมัยหลายแห่งในภูมิภาคต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ และรวมทั้งระบบการขนส่งความเร็วสูง (เช่น รถไฟความเร็วสูงในภาพที่ 11 และการขนส่งทางอากาศรูปแบบต่างๆ) เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าและการโดยสารจากภูมิภาคต่างๆ ของไทยและจากประเทศต่างๆ ในเอเชียมายังเส้นทางการเดินเรือคลองกระอย่างแน่นอน
ภาพที่11 ภาพรถไฟความเร็วสูง
ภาพจาก http://www.gojapango.com/travel/bullet_train_pictures.htm
(4) ที่สำคัญคือ การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระของไทยจะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการปฏิรูปการบริหารจัดการที่ดินในภาคใต้ทั้งหมด และอาจรวมทั้งการบริหารจัดการที่ดินในภาคอื่นๆ ด้วย การบริหารจัดการที่ดินอย่างเหมาะสม โดยจัดเป็นเขตอุตสาหกรรม เขตพื้นที่ทางการเกษตร เขตที่อยู่อาศัย และเขตที่ทำการของหน่วยงานรัฐจะทำให้การใช้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การศึกษา สังคมและความมั่นคงของไทยด้วย
5. บทสรุป
5.1 สำหรับโครงการขุดคลองกระ (คลองคอดกระ) ในอนาคต ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริงก็จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยและคนไทยอย่างมหาศาล แต่ในขณะเดียวกันก็จะส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ต่อไทย สิงคโปร์ และมาเลเซียบ้างพอสมควร เนื่องจากเรือเดินทะเลส่วนใหญ่จะหันมาใช้เส้นทางคลองกระมากขึ้นเพราะสะดวกกว่า และมีระยะทางที่สั้นกว่าเส้นทางที่ผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งอาจทำให้ไทยต้องกลายเป็นคู่ต่อสู้ทางการค้ากับสิงคโปร์และมาเลเซีย ดังนั้นทั้งสิงคโปร์และมาเลเซียคงจะต้องพยายามทำทุกวิถีทางที่จะขัดขวางไม่ให้มีการดำเนินโครงการนี้จนเป็นผลสำเร็จ ซึ่งอาจรวมไปถึงการสนับสนุนกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่ต่อต้านรัฐบาลไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม (เป็นการมองโลกในแง่ร้ายของผู้เขียน)
5.2 ในความคิดเห็นส่วนตัว ผู้เขียนเชื่อว่า โครงการขุดคลองกระเป็นเรื่องที่ต้องกระทำ (We have to do what we have to do.) ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อประเทศไทยและคนไทยทุกคน ซึ่งถ้าไทยสามารถขุดคลองกระเป็นผลสำเร็จ ไทยก็จะกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทั้งด้านการค้าและด้านการขนส่งของภูมิภาคเอเชียไม่เพียงเท่านั้น ไทยยังจะกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าต่างๆ และศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกอีกด้วย
5.3 นอกจากนี้โครงการขุดคลองกระยังไปสอดคล้องกับความฝันทั้งในอดีตและปัจจุบันของจีนที่ต้องการพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าทางทะเลที่เรียกว่า เส้นทางสายไหมทางทะเล ซึ่งคาดว่าเส้นทางเดินเรือดังกล่าวคงจะต้องผ่านไทยเพราะที่ตั้งของไทยอยู่ระหว่างทะเลอันดามันที่เชื่อมต่อไปยังมหาสมุทรอินเดีย และอ่าวไทยที่เป็นประตูไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ไทยจึงควรให้ความสนใจต่อจีนในฐานะประเทศที่มีความสนใจที่จะร่วมลงทุนในโครงการนี้ด้วย
โดยสรุปแล้วการพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระ (คลองคอดกระ) ไม่เพียงจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านอุตสาหกรรมและด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังจะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษา, การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของคนไทยในสังคม, การพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดิน, การพัฒนากองทัพให้ทันสมัยและเข้มแข็งเพื่อปกป้องและให้ความปลอดภัยแก่เส้นทางการเดินเรือคลองกระ และรวมไปถึงการพัฒนาการบริหารจัดการพื้นที่(ที่ดิน)และทรัพยากรของชาติทั้งประเทศอีกด้วย
การพัฒนาต่างๆ ดังกล่าวทำให้เราจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศไทยในทุกๆ ด้านเพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพราะผลที่เกิดขึ้นจะมีบทบาทอย่างสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบของประเทศและการวางตำแหน่งของประเทศไทยให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม มีความมั่นคง และสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตนั่นเอง (ความคิดเห็นของผู้เขียน)
ท้ายบทความ: ตอบคำถามผู้อ่าน
(1) ตามที่มีหลายท่านได้ให้ความเห็นว่า ผู้ที่เสนอให้ขุดคลองกระอาจมองโลกในแง่ดีเกินไป เพราะการขุดคลองเป็นเส้นทางเดินเรืออาจเปรียบได้กับการแบ่งแยกแผ่นดินไทยออกจากกัน ซึ่งอาจนำไปสู่การสู้รบเพื่อแบ่งแยกดินแดนไทยโดยกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
แต่ผู้เขียนกลับมีความคิดเห็นตรงกันข้ามกับความคิดเห็นดังกล่าว เพราะการพัฒนาเส้นทางการเดินเรือดังกล่าวจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หลากหลายรูปแบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาด้านต่างๆ และการจ้างงานอย่างมากมาย จะมีคนไทยในภูมิภาคต่างๆ และรวมทั้งคนต่างชาติจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก (เช่น พม่า ลาว กัมพูชา อินเดีย จีน อเมริกัน ยุโรป รัสเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น) หลั่งไหลเข้ามาทำงานทั้งในภาคการก่อสร้าง ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคการขนส่ง และภาคบริการต่างๆ เป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้จะขยายตัวและเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตัวเมืองจะมีการขยายตัวมากขึ้น สภาพสังคมจะเปลี่ยนไป และทุกคนจะมีงานทำมีรายได้ที่จะดำรงชีพได้อย่างมีความสุข ดังนั้น ผู้เขียนจึงเชื่อว่า การพัฒนาเส้นทางการเดินเรือคลองกระจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้มีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าวจะทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นจนส่งผลให้ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ยุติลงได้ในที่สุด ผู้เขียนขอให้ดู Dubai เป็นตัวอย่าง
(2) ได้มีคำถามต่อมาว่า แล้วดินที่ขุดออกจากบริเวณที่จะทำโครงการเดินเรือคลองกระซึ่งมีจำนวนมหาศาล จะเอาไปทิ้งไว้ที่ไหน ดินจำนวนมากจะทำให้พื้นที่ของจังหวัดใกล้เคียงสกปรกและเกะกะไปหมด
ในเรื่องนี้มีบางท่านเสนอว่า ให้เอาดินที่ขุดได้ไปถมทะเลขยายพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทยออกไป บางท่านก็เสนอให้เอาไปถมกลางทะเลแล้วสร้างเป็นเกาะกลางทะเลเพื่อจัดทำเป็นฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศทั้งในทะเลอันดามัน และในอ่าวไทย บางท่านก็แนะให้สร้างเป็นสถานีวิจัยทางทะเล หรือสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนกลางทะเล แล้วท่านที่อ่านบทความนี้มีความเห็นเป็นอย่างไร กรุณาส่งความคิดเห็นของท่านมาที่ Email Address: weerasak.nathasiri@gmail.com และFB: วีระศักดิ์ นาทะสิริ - ขอบคุณครับ