โพลชี้ประชาชนอยากให้กรธ. ร่างรธน.โดยคำนึงถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ ขอให้ทำงานอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ ขณะเดียวกันอยากให้สปท. ปฏิรูปเศรษฐกิจ แก้ปากท้องประชาชน ด้านโฆษกกรธ.มั่นใจ ม.ค.59 ได้ร่างรธน.ร่างแรก "เพื่อไทย"แนะปลดล็อก ม.35 ของรธน.ชั่วคราวก่อน เพื่อให้การยกร่างเป็นไปโดยอิสระ "วัชระ" จี้ สปท.สายข้าราชการรับเงินเดือนตำแหน่งเดียว "สุริยะใส" เสนอ 5 กรอบงานสปท.ไม่ควรทำทุกเรื่อง จัดลำดับความสำคัญเรื่องเร่งด่วน และต่อยอดข้อเสนอ สปช. ขณะที่สปท.นัดประชุม13 ต.ค.เลือกประธาน คาด"ทินพันธุ์"ลอยลำแบบไร้คู่แข่ง
หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศรายชื่อ 21 กรธ. และ 200 สปท. อย่างเป็นทางการ โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั่งเป็นประธาน กรธ. ซึ่งมีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และนำเสนอต่อเพื่อพิจารณา ขณะที่สปท. ทำหน้าที่ศึกษาแนวทางและปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน สืบต่อจากสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ถูกยุบไป
เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,247 คน ระหว่างวันที่ 5-10 ต.ค.58 สรุปผลได้ดังนี้
1) 10 เรื่อง ที่ประชาชนอยากฝากบอก“คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)”ทั้ง 21 คน คือ อันดับ 1การร่างรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ ขอให้ กรธ.ทุกท่าน ทำงานอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ 84.60% อันดับ 2 ควรเปิดรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน สร้างการมีส่วนร่วมและเสียงส่วนใหญ่ให้การยอมรับ 78.19% อันดับ 3 นำบทเรียนที่ผ่านมา พัฒนาปรับปรุงการทำงานหรือช่องโหว่ต่างๆให้ดีขึ้น74.90% อันดับ 4 การร่างกฎหมายต้องยึดหลักความยุติธรรม กฎหมายเข้มแข็ง เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 71.05% อันดับ 5กรธ.ทุกท่านต้องมีจุดยืนในการทำงานที่ชัดเจน ไม่ถูกแทรกแซงหรือครอบงำจากการเมือง 67.76% อันดับ 6 การร่างรัฐธรรมนูญควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน สามารถใช้ได้ในระยะยาว 64.64% อันดับ 7 เน้นการสร้างความปรองดองเพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ 62.55% อันดับ 8 ขอให้ กรธ. ทั้ง 21 ท่าน สามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ไม่ยึดเอาความคิดตัวเองเป็นที่ตั้ง 57.10% อันดับ 9เน้นการแก้ปัญหาทุจริต ประพฤติมิชอบ การใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง 55.01% อันดับ 10 ไม่อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องเสียเวลาและเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์52.69%
2) 10 เรื่อง ที่ประชาชนอยากฝากบอก “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)”ทั้ง 200 คน คือ อันดับ 1ควรปฏิรูปเรื่องสำคัญเร่งด่วนก่อน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องประชาชนและภาคการเกษตร 83.48% อันดับ 2 การปฏิรูปประเทศต้องคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ต้องซื่อสัตย์ ยุติธรรม 80.35% อันดับ 3 ควรรับฟังความเห็นจากประชาชนและทุกภาคส่วนเพื่อทราบถึงปัญหาและปฏิรูปได้ตรงจุด 73.14% อันดับ 4 เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้ง เสริมสร้างความปรองดองและความรักสามัคคีของคนในชาติ 72.01% อันดับ 5 ขอให้ สปท. ทุกท่านร่วมมือร่วมใจกันทำงานอย่างเต็มที่ การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 66.88% อันดับ 6 ปฏิรูปการศึกษาไทยให้มีคุณภาพและควรทำอย่างต่อเนื่อง 63.51% อันดับ 7 นำความรู้ความสามารถของท่านที่มีมาใช้ในการปฏิรูปให้เกิดประโยชน์ ดูจากบทเรียนที่ผ่านมา59.66% อันดับ 8 ขจัดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น การเอารัดเอาเปรียบ ความเหลื่อมล้ำในสังคม56.38% อันดับ 9 การปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน ควรมีแนวทางที่ชัดเจน ปฏิบัติได้จริงและเห็นผลเป็นรูปธรรม53.41% อันดับ 10 การปฏิรูปประเทศควรทำให้สำเร็จก่อนเลือกตั้ง บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง 51.72%
"อมร"มั่นใจม.ค.59ได้รธน.ร่างแรก
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการทำงานของ กรธ.ว่า ในวันนี้ ( 12 ต.ค.) ที่ประชุมจะพูดคุยเรื่องโครงสร้าง และรูปแบบของรัฐธรรมนูญ หลังจากได้พิจารณากรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 35 ทั้ง 10 ข้อ และกรอบการร่างรัฐธรรมนูญตามความมุ่งหมายของคสช. เรียบร้อยแล้ว
ส่วนที่มีคนกังวลว่า กรธ.หลายคนเป็นข้าราชการ และไม่สามารถมาประชุมตอนเช้าได้ ตรงนี้ของชี้แจงว่า ตอนเช้าเรามีประชุมอนุฯ ของกรธ. ส่วนตอนบ่ายประชุมชุดใหญ่ และไม่ต้องกังวล แต่ละคนที่เข้ามามีจุดยืน และความรับผิดชอบรวมทั้งมีประสบการณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ได้บอกให้ กรธ.ทั้ง 20 คน ไปจัดการธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยภายใน 2 อาทิตย์แรก เพื่อเตรียมตัวรับงานหนักต่อจากนี้ ที่อาจจะประชุมเช้า เย็นและอาจจะมีวันเสาร์ และอาทิตย์ด้วย ก่อนหน้าที่ทุกคนจะรับตำแหน่งยังไม่มีใครรู้ตัวมาก่อน ทำให้ต้องใช้เวลาจัดการ ตนยืนยันว่า ทุกคนทุ่มเทการทำงานและ จะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จทันกำหนดได้ ขอให้ทุกคนไม่ต้องเป็นห่วง มั่นใจว่า เดือนม.ค. 59 จะมีร่างแรกให้ทุกคนแน่นอน จากนั้นจะพยายามรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย จากทุกช่องทาง
แนะกรธ.เพิ่มเวลาประชุมเร่งร่างรธน.
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำงานของ กรธ.ที่มีหลายคนเป็นข้าราชการประจำ ว่า การจะพูดเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ลำบากเพราะรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 ไม่ได้ห้ามไว้ นายกรัฐมนตรี สามารถแต่งตั้งได้ ซึ่งในส่วนของกรธ. ที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ ทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กำหนดให้ประชุมในช่วงบ่ายของทุกวัน โดยในช่วงเช้าให้ไปปฏิบัติราชการก่อน ซึ่งตนเห็นว่า หากเพิ่มเวลาทำงานเหมือนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ประชุมตลอดทั้งวัน ก็จะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเร็วขึ้น เพียง 3 เดือน ก็จะเสร็จ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน ตามกำหนดเวลา
พท.แนะปลดล็อก ม.35 รธน.57ก่อน
นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กรธ. กำลังดำเนินการอยู่ แม้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. รวมทั้งกรธ.อีก 20 คน จะเก่งกาจขนาดไหน ก็ต้องยกร่างภายใต้ข้อจำกัด เนื่องจากมี มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวล็อกเอาไว้อยู่ มีเงื่อนไข 10 ข้อ เป็นโซ่ตรวนขึงพืด จะออกจากกรอบนี้ไม่ได้เลย ทำให้ขาดอิสระ และไม่สง่างามที่จะเขียนให้ออกมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตย อีกทั้งจะเกิดข้อกังขาเรื่องการยอมรับ เชื่อถือ สุดท้ายลักษณะเนื้อหาคงออกมาไม่ต่างจากฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน เคยยกร่างและถูกคว่ำทิ้ง ฉะนั้นก่อนอื่นใดนายมีชัย ต้องเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35 เพื่อปลดล็อก ก่อนที่จะเดินหน้ายกร่างต่อไป
สปท.สายขรก.กินเงินเดือนตำแหน่งเดียว
นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีข้าราชการประจำ 23 คนว่า ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยพูดแล้วว่า คนที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นสปท. ต้องทำเพียงตำแหน่งเดียว ดังนั้นจึงเห็นว่าข้าราชการที่มาเป็นสมาชิก สปท. ควรลาออกจากการเป็นข้าราชการก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเอาเปรียบประชาชน รับเงินเดือน กินภาษีของประชาชนใน 2 ด้าน และเห็นว่าบุคคลที่เข้ามาเป็นสปท. ทั้ง 200 คนนั้น ตนสงสัยว่าทำไมถึงไม่เอาคนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูปเข้ามาทำงาน อย่าง นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีต สปช. แต่กลับมีน้องชาย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน ขณะเดียวกัน ยังมีชื่อของ พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันการเปิดบ่อนกาสิโนเข้ามาเป็นสปท. หรือรัฐบาลตั้งใจที่จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้รายชื่อสปท.ทั้งหมดที่ออกมา ล้วนมาจากบ้านใหญ่ทั้งสิ้น
นายวัชระ กล่าวต่อว่า ส่วนรายชื่อกรธ. ที่มี นายภัทระ คำพิทักษ์ ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ไม่เคยให้ความสำคัญกับงานนิติบัญญัติเลย คณะอนุกรรมาธิการพัฒนาการเมือง และการสื่อสาร เรียกให้มาชี้แจงถึง10 ครั้ง ไม่เคยมาแม้แต่ครั้งเดียว แล้วแบบนี้จะมาร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างไร คนในวงการสื่อไม่มีดีกว่านี้แล้วหรือ
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ตนในฐานะตัวแทนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เกือบ 3 ล้านคน ได้จัดทำเสื้อรณรงค์คัดค้านการจดทะเบียนพรรคใหม่ตามแนวคิดพิสดารของ นายวิษณุ เครืองาม โดยเป็นการจำหน่ายเสื้อดังกล่าวตัวละ 120 บาท ซึ่งเป็นการดำเนินการจัดทำด้วยตัวเอง ไม่เกี่ยวกับพรรค
"สุริยะใส"เสนอ 5 กรอบงานสปท.
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นัดแรก ในวันที่ 13 ต.ค.นี้ ว่า ยังไม่ควรเลือกประธาน และรองประธาน ควรจัดสัมมนาภายในเพื่อแลกเปลี่ยนแนะนำตัวกัน หรือการละลายพฤติกรรมในหมู่สมาชิกก่อน และในส่วนโครงสร้างการทำงานของ สปท.นั้น ไม่จำเป็นต้องไปตั้งกรรมาธิการขึ้นมามากมายหรือไปนับหนึ่งใหม่ทุกเรื่อง หลายเรื่องสามารถต่อยอดจากข้อเสนอของ สปช.ได้เลย โดยตนขอเสนอกรอบการทำงาน สปท. 5 กรอบ ดังนี้
1. สร้างกลไกทำงานหนุนเสริมกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดย สปท. อาจตั้งกรรมาธิการทำหน้าที่รับฟังความเห็นจากประชาชน และนำมาประมวลเพื่อเสนอแนะต่อกรธ.โดยตรง
2. ตั้งกรรมาธิการสังเคราะห์พิมพ์เขียว 37 ประเด็น และ 6 วาระการพัฒนาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่เสนอต่อ คสช.ก่อนหน้านี้ไปแล้ว โดยจัดกลุ่มข้อเสนอแนะที่เป็นเรื่องเร่งด่วนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเสนอต่อคสช. ครม.และ สนช. ให้ดำเนินการได้เลยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ
3. ไม่ควรตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาทุกเรื่องเหมือนที่สปช.เคยทำ โดยเลือกเอาเฉพาะประเด็นสำคัญเร่งด่วนเช่น การปราบปรามการทุจริต การปฏิรูปตำรวจ หรือการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิรูประบบราชการ การจัดการทรัพยากร การปรองดองฯ
4. ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาทบทวนบรรดากฎหมายเก่าๆ ที่บังคับใช้มาหลายสิบปี และไม่สอดคล้องกับยุคสมัย และเสนอแนะให้ สนช.ปรับปรุงแก้ไขต่อไป รวมทั้งการทำความเห็นต่อการตรากฎหมายลูกและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะออกตามรัฐธรรมนูญใหม่
5. มีกลไกรับเรื่องราวร้องทุกข์จากปัญหาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารงานของรัฐบาล โดยอาจทำงานเชื่อมประสานกับศูนย์ดำรงธรรม หรือส่วนราชการอื่นๆ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาประชาชนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
"นิกร"ยันไม่มีล็อบบี้โหวตปธ.สปท.
นายนิกร จำนง สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึง การประชุมสปท. เพื่อลงมติเลือกประธาน และรองประธานสปท. ในวันที่ 13 ต.ค.นี้ว่า ขณะนี้ตนยังไม่มีใครในใจ ส่วนรายชื่อว่าที่ประธาน และรองประธาน ก็ได้ทราบจากการรายงานข่าวเท่านั้น โดยไม่มีสมาชิกมาล็อบบี้ให้เลือกใครเป็นพิเศษ ส่วนตัวคิดว่าจะตัดสินใจเลือกบุคคลที่เหมาะสมในวันลงมติเลือกประธาน และรองประธาน สปท. ในวันที่ 13 ต.ค.ทีเดียวเลย
ทั้งนี้ สำหรับสเปก หรือคุณสมบัติของบุคคลที่เหมาะสมเป็นประธานสปท. ตามความเห็นส่วนตัวนั้น คิดว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ สามารถทำหน้าควบคุมการประชุมตามข้อบังคับการประชุมได้ดี และจะต้องมีสุขภาพที่ดี สามารถนั่งควบคุมการประชุมครั้งละนานๆ ได้ และที่สำคัญ จะต้องมีความอาวุโสเป็นที่เกรงใจและเป็นตัวแทนที่ของสมาชิกโดยส่วนใหญ่ ให้การยอมรับ
นายวันชัย สอนศิริ สปท. กล่าวว่า หลังจากได้ตัวประธาน และรองประธาน สปท. ในวันที่ 13 ต.ค.นี้แล้ว เชื่อว่าประธาน สปท. จะประสาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อนำสมาชิกสปท.ทั้ง 200 คนเข้าพบ เพื่อฟังนโยบายการทำงานจากนายกฯ ในฐานะผู้แต่งตั้ง สปท. เพื่อให้แนวทางการทำงานของสปท. เป็นไปในทางเดียวกับที่นายกฯ ต้องการ เพราะสปท. ถือเป็นแขนขาของนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เป็นไปคนละแนวทาง เหมือนสมัย สปช. หลังจากได้นโยบายจากนายกฯแล้ว สปท. จึงจะประชุมวางแนวทางการทำงานว่าจะจัดลำดับ ว่าอะไรควรเป็นเรื่องเร่งด่วน อะไรเป็นเรื่องระยะยาว จะต้องวางแผนให้ชัดเจน
"ทินพันธุ์"ว่าที่ ประธานสปท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสปท.วันที่ 13 ต.ต.ที่จะมีการโหวตเลือกตัวประธานสปท. และรองประธาน สปท. 2 คนนั้น ขณะนี้ค่อนข้างเป็นที่แน่นอนแล้วว่า สมาชิก สปท. จะมีการเสนอชื่อ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นประธานสปท. โดย พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก สมาชิกสปท.จะเป็นผู้เสนอชื่อ ร.อ.ทินพันธุ์ ต่อที่ประชุม และคาดว่าจะไม่มีการเสนอชื่อสมาชิก สปท. รายอื่นมาแข่ง
ขณะที่ในส่วนรองประธานสปท. คนที่ 1 ที่ชื่อ พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ เป็นแคนดิเดตนั้น อาจจะมีการเสนอชื่อ นายอลงกรณ์ พลบุตร มาชิงตำแหน่งด้วย ส่วนรองประธานสปท. คนที่ 2 ที่มีชื่อ นางวลัยลักษณ์ ศรีอรุณ เป็นแคนดิเดตนั้น คาดว่าจะมีการเสนอชื่อ นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ อดีตสปช. ลงชิงตำแหน่งด้วย
ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งผ่านเน็ต
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารจัดการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า กกต. เตรียมที่จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทวงการต่างประเทศ และกรมการกงสุล ในวันที่ 22 ต.ค.นี้ เพื่อดำเนินการโครงการจัดทำระบบลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกจากราชอาณาจักรทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นการอำนวยการสะดวกให้คนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ที่ต้องการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง สามารถลงทะเบียนขอใช้สิทธิทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปสถานทูต ซึ่งจะลดภาระผู้ที่ต้องการจะใช้สิทธิ
ทั้งนี้หากดำเนินการโครงการดังกล่าวได้สำเร็จ คนไทยในต่างประเทศก็จะสามารถลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งได้ทั่วโลก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ตกไป ที่ระบุว่า การเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ของคนในประเทศ และเป็นสิทธิของคนไทยที่อยู่นอกประเทศ ดังนั้น กกต.ก็ต้องอำนวยความสะดวกให้คนไทยในต่างประเทศที่ประสงค์จะใช้สิทธิ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินการดังกล่าวสำเร็จ ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งสำรับคนไทยในต่างประเทศ เป็นแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศรายชื่อ 21 กรธ. และ 200 สปท. อย่างเป็นทางการ โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั่งเป็นประธาน กรธ. ซึ่งมีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ และนำเสนอต่อเพื่อพิจารณา ขณะที่สปท. ทำหน้าที่ศึกษาแนวทางและปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน สืบต่อจากสภาปฏิรูปแห่งชาติที่ถูกยุบไป
เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพล”มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,247 คน ระหว่างวันที่ 5-10 ต.ค.58 สรุปผลได้ดังนี้
1) 10 เรื่อง ที่ประชาชนอยากฝากบอก“คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)”ทั้ง 21 คน คือ อันดับ 1การร่างรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงส่วนรวมเป็นสำคัญ ขอให้ กรธ.ทุกท่าน ทำงานอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ 84.60% อันดับ 2 ควรเปิดรับฟังความคิดเห็นรอบด้าน สร้างการมีส่วนร่วมและเสียงส่วนใหญ่ให้การยอมรับ 78.19% อันดับ 3 นำบทเรียนที่ผ่านมา พัฒนาปรับปรุงการทำงานหรือช่องโหว่ต่างๆให้ดีขึ้น74.90% อันดับ 4 การร่างกฎหมายต้องยึดหลักความยุติธรรม กฎหมายเข้มแข็ง เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง 71.05% อันดับ 5กรธ.ทุกท่านต้องมีจุดยืนในการทำงานที่ชัดเจน ไม่ถูกแทรกแซงหรือครอบงำจากการเมือง 67.76% อันดับ 6 การร่างรัฐธรรมนูญควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน สามารถใช้ได้ในระยะยาว 64.64% อันดับ 7 เน้นการสร้างความปรองดองเพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ 62.55% อันดับ 8 ขอให้ กรธ. ทั้ง 21 ท่าน สามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ไม่ยึดเอาความคิดตัวเองเป็นที่ตั้ง 57.10% อันดับ 9เน้นการแก้ปัญหาทุจริต ประพฤติมิชอบ การใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง 55.01% อันดับ 10 ไม่อยากให้การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องเสียเวลาและเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์52.69%
2) 10 เรื่อง ที่ประชาชนอยากฝากบอก “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)”ทั้ง 200 คน คือ อันดับ 1ควรปฏิรูปเรื่องสำคัญเร่งด่วนก่อน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องประชาชนและภาคการเกษตร 83.48% อันดับ 2 การปฏิรูปประเทศต้องคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ต้องซื่อสัตย์ ยุติธรรม 80.35% อันดับ 3 ควรรับฟังความเห็นจากประชาชนและทุกภาคส่วนเพื่อทราบถึงปัญหาและปฏิรูปได้ตรงจุด 73.14% อันดับ 4 เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้ง เสริมสร้างความปรองดองและความรักสามัคคีของคนในชาติ 72.01% อันดับ 5 ขอให้ สปท. ทุกท่านร่วมมือร่วมใจกันทำงานอย่างเต็มที่ การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 66.88% อันดับ 6 ปฏิรูปการศึกษาไทยให้มีคุณภาพและควรทำอย่างต่อเนื่อง 63.51% อันดับ 7 นำความรู้ความสามารถของท่านที่มีมาใช้ในการปฏิรูปให้เกิดประโยชน์ ดูจากบทเรียนที่ผ่านมา59.66% อันดับ 8 ขจัดปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น การเอารัดเอาเปรียบ ความเหลื่อมล้ำในสังคม56.38% อันดับ 9 การปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน ควรมีแนวทางที่ชัดเจน ปฏิบัติได้จริงและเห็นผลเป็นรูปธรรม53.41% อันดับ 10 การปฏิรูปประเทศควรทำให้สำเร็จก่อนเลือกตั้ง บ้านเมืองจะได้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง 51.72%
"อมร"มั่นใจม.ค.59ได้รธน.ร่างแรก
นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงการทำงานของ กรธ.ว่า ในวันนี้ ( 12 ต.ค.) ที่ประชุมจะพูดคุยเรื่องโครงสร้าง และรูปแบบของรัฐธรรมนูญ หลังจากได้พิจารณากรอบการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 มาตรา 35 ทั้ง 10 ข้อ และกรอบการร่างรัฐธรรมนูญตามความมุ่งหมายของคสช. เรียบร้อยแล้ว
ส่วนที่มีคนกังวลว่า กรธ.หลายคนเป็นข้าราชการ และไม่สามารถมาประชุมตอนเช้าได้ ตรงนี้ของชี้แจงว่า ตอนเช้าเรามีประชุมอนุฯ ของกรธ. ส่วนตอนบ่ายประชุมชุดใหญ่ และไม่ต้องกังวล แต่ละคนที่เข้ามามีจุดยืน และความรับผิดชอบรวมทั้งมีประสบการณ์ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ได้บอกให้ กรธ.ทั้ง 20 คน ไปจัดการธุระส่วนตัวให้เรียบร้อยภายใน 2 อาทิตย์แรก เพื่อเตรียมตัวรับงานหนักต่อจากนี้ ที่อาจจะประชุมเช้า เย็นและอาจจะมีวันเสาร์ และอาทิตย์ด้วย ก่อนหน้าที่ทุกคนจะรับตำแหน่งยังไม่มีใครรู้ตัวมาก่อน ทำให้ต้องใช้เวลาจัดการ ตนยืนยันว่า ทุกคนทุ่มเทการทำงานและ จะร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จทันกำหนดได้ ขอให้ทุกคนไม่ต้องเป็นห่วง มั่นใจว่า เดือนม.ค. 59 จะมีร่างแรกให้ทุกคนแน่นอน จากนั้นจะพยายามรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย จากทุกช่องทาง
แนะกรธ.เพิ่มเวลาประชุมเร่งร่างรธน.
นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำงานของ กรธ.ที่มีหลายคนเป็นข้าราชการประจำ ว่า การจะพูดเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ลำบากเพราะรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 ไม่ได้ห้ามไว้ นายกรัฐมนตรี สามารถแต่งตั้งได้ ซึ่งในส่วนของกรธ. ที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการประจำ ทำให้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กำหนดให้ประชุมในช่วงบ่ายของทุกวัน โดยในช่วงเช้าให้ไปปฏิบัติราชการก่อน ซึ่งตนเห็นว่า หากเพิ่มเวลาทำงานเหมือนคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่ประชุมตลอดทั้งวัน ก็จะทำให้การร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเร็วขึ้น เพียง 3 เดือน ก็จะเสร็จ ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน ตามกำหนดเวลา
พท.แนะปลดล็อก ม.35 รธน.57ก่อน
นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กรธ. กำลังดำเนินการอยู่ แม้นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. รวมทั้งกรธ.อีก 20 คน จะเก่งกาจขนาดไหน ก็ต้องยกร่างภายใต้ข้อจำกัด เนื่องจากมี มาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวล็อกเอาไว้อยู่ มีเงื่อนไข 10 ข้อ เป็นโซ่ตรวนขึงพืด จะออกจากกรอบนี้ไม่ได้เลย ทำให้ขาดอิสระ และไม่สง่างามที่จะเขียนให้ออกมาเป็นรูปแบบประชาธิปไตย อีกทั้งจะเกิดข้อกังขาเรื่องการยอมรับ เชื่อถือ สุดท้ายลักษณะเนื้อหาคงออกมาไม่ต่างจากฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน เคยยกร่างและถูกคว่ำทิ้ง ฉะนั้นก่อนอื่นใดนายมีชัย ต้องเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 35 เพื่อปลดล็อก ก่อนที่จะเดินหน้ายกร่างต่อไป
สปท.สายขรก.กินเงินเดือนตำแหน่งเดียว
นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีข้าราชการประจำ 23 คนว่า ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เคยพูดแล้วว่า คนที่จะมาดำรงตำแหน่งเป็นสปท. ต้องทำเพียงตำแหน่งเดียว ดังนั้นจึงเห็นว่าข้าราชการที่มาเป็นสมาชิก สปท. ควรลาออกจากการเป็นข้าราชการก่อน ไม่เช่นนั้นจะเป็นการเอาเปรียบประชาชน รับเงินเดือน กินภาษีของประชาชนใน 2 ด้าน และเห็นว่าบุคคลที่เข้ามาเป็นสปท. ทั้ง 200 คนนั้น ตนสงสัยว่าทำไมถึงไม่เอาคนที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิรูปเข้ามาทำงาน อย่าง นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีต สปช. แต่กลับมีน้องชาย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน ขณะเดียวกัน ยังมีชื่อของ พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันการเปิดบ่อนกาสิโนเข้ามาเป็นสปท. หรือรัฐบาลตั้งใจที่จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ ทั้งนี้รายชื่อสปท.ทั้งหมดที่ออกมา ล้วนมาจากบ้านใหญ่ทั้งสิ้น
นายวัชระ กล่าวต่อว่า ส่วนรายชื่อกรธ. ที่มี นายภัทระ คำพิทักษ์ ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ไม่เคยให้ความสำคัญกับงานนิติบัญญัติเลย คณะอนุกรรมาธิการพัฒนาการเมือง และการสื่อสาร เรียกให้มาชี้แจงถึง10 ครั้ง ไม่เคยมาแม้แต่ครั้งเดียว แล้วแบบนี้จะมาร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างไร คนในวงการสื่อไม่มีดีกว่านี้แล้วหรือ
นายวัชระ กล่าวอีกว่า ตนในฐานะตัวแทนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เกือบ 3 ล้านคน ได้จัดทำเสื้อรณรงค์คัดค้านการจดทะเบียนพรรคใหม่ตามแนวคิดพิสดารของ นายวิษณุ เครืองาม โดยเป็นการจำหน่ายเสื้อดังกล่าวตัวละ 120 บาท ซึ่งเป็นการดำเนินการจัดทำด้วยตัวเอง ไม่เกี่ยวกับพรรค
"สุริยะใส"เสนอ 5 กรอบงานสปท.
นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวถึงการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) นัดแรก ในวันที่ 13 ต.ค.นี้ ว่า ยังไม่ควรเลือกประธาน และรองประธาน ควรจัดสัมมนาภายในเพื่อแลกเปลี่ยนแนะนำตัวกัน หรือการละลายพฤติกรรมในหมู่สมาชิกก่อน และในส่วนโครงสร้างการทำงานของ สปท.นั้น ไม่จำเป็นต้องไปตั้งกรรมาธิการขึ้นมามากมายหรือไปนับหนึ่งใหม่ทุกเรื่อง หลายเรื่องสามารถต่อยอดจากข้อเสนอของ สปช.ได้เลย โดยตนขอเสนอกรอบการทำงาน สปท. 5 กรอบ ดังนี้
1. สร้างกลไกทำงานหนุนเสริมกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) โดย สปท. อาจตั้งกรรมาธิการทำหน้าที่รับฟังความเห็นจากประชาชน และนำมาประมวลเพื่อเสนอแนะต่อกรธ.โดยตรง
2. ตั้งกรรมาธิการสังเคราะห์พิมพ์เขียว 37 ประเด็น และ 6 วาระการพัฒนาของสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่เสนอต่อ คสช.ก่อนหน้านี้ไปแล้ว โดยจัดกลุ่มข้อเสนอแนะที่เป็นเรื่องเร่งด่วนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเสนอต่อคสช. ครม.และ สนช. ให้ดำเนินการได้เลยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญ
3. ไม่ควรตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษาทุกเรื่องเหมือนที่สปช.เคยทำ โดยเลือกเอาเฉพาะประเด็นสำคัญเร่งด่วนเช่น การปราบปรามการทุจริต การปฏิรูปตำรวจ หรือการบังคับใช้กฎหมาย การปฏิรูประบบราชการ การจัดการทรัพยากร การปรองดองฯ
4. ตั้งกรรมาธิการขึ้นมาทบทวนบรรดากฎหมายเก่าๆ ที่บังคับใช้มาหลายสิบปี และไม่สอดคล้องกับยุคสมัย และเสนอแนะให้ สนช.ปรับปรุงแก้ไขต่อไป รวมทั้งการทำความเห็นต่อการตรากฎหมายลูกและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่จะออกตามรัฐธรรมนูญใหม่
5. มีกลไกรับเรื่องราวร้องทุกข์จากปัญหาของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการบริหารงานของรัฐบาล โดยอาจทำงานเชื่อมประสานกับศูนย์ดำรงธรรม หรือส่วนราชการอื่นๆ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาประชาชนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
"นิกร"ยันไม่มีล็อบบี้โหวตปธ.สปท.
นายนิกร จำนง สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึง การประชุมสปท. เพื่อลงมติเลือกประธาน และรองประธานสปท. ในวันที่ 13 ต.ค.นี้ว่า ขณะนี้ตนยังไม่มีใครในใจ ส่วนรายชื่อว่าที่ประธาน และรองประธาน ก็ได้ทราบจากการรายงานข่าวเท่านั้น โดยไม่มีสมาชิกมาล็อบบี้ให้เลือกใครเป็นพิเศษ ส่วนตัวคิดว่าจะตัดสินใจเลือกบุคคลที่เหมาะสมในวันลงมติเลือกประธาน และรองประธาน สปท. ในวันที่ 13 ต.ค.ทีเดียวเลย
ทั้งนี้ สำหรับสเปก หรือคุณสมบัติของบุคคลที่เหมาะสมเป็นประธานสปท. ตามความเห็นส่วนตัวนั้น คิดว่าจะต้องเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ สามารถทำหน้าควบคุมการประชุมตามข้อบังคับการประชุมได้ดี และจะต้องมีสุขภาพที่ดี สามารถนั่งควบคุมการประชุมครั้งละนานๆ ได้ และที่สำคัญ จะต้องมีความอาวุโสเป็นที่เกรงใจและเป็นตัวแทนที่ของสมาชิกโดยส่วนใหญ่ ให้การยอมรับ
นายวันชัย สอนศิริ สปท. กล่าวว่า หลังจากได้ตัวประธาน และรองประธาน สปท. ในวันที่ 13 ต.ค.นี้แล้ว เชื่อว่าประธาน สปท. จะประสาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เพื่อนำสมาชิกสปท.ทั้ง 200 คนเข้าพบ เพื่อฟังนโยบายการทำงานจากนายกฯ ในฐานะผู้แต่งตั้ง สปท. เพื่อให้แนวทางการทำงานของสปท. เป็นไปในทางเดียวกับที่นายกฯ ต้องการ เพราะสปท. ถือเป็นแขนขาของนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เป็นไปคนละแนวทาง เหมือนสมัย สปช. หลังจากได้นโยบายจากนายกฯแล้ว สปท. จึงจะประชุมวางแนวทางการทำงานว่าจะจัดลำดับ ว่าอะไรควรเป็นเรื่องเร่งด่วน อะไรเป็นเรื่องระยะยาว จะต้องวางแผนให้ชัดเจน
"ทินพันธุ์"ว่าที่ ประธานสปท.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสปท.วันที่ 13 ต.ต.ที่จะมีการโหวตเลือกตัวประธานสปท. และรองประธาน สปท. 2 คนนั้น ขณะนี้ค่อนข้างเป็นที่แน่นอนแล้วว่า สมาชิก สปท. จะมีการเสนอชื่อ ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ เป็นประธานสปท. โดย พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก สมาชิกสปท.จะเป็นผู้เสนอชื่อ ร.อ.ทินพันธุ์ ต่อที่ประชุม และคาดว่าจะไม่มีการเสนอชื่อสมาชิก สปท. รายอื่นมาแข่ง
ขณะที่ในส่วนรองประธานสปท. คนที่ 1 ที่ชื่อ พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ เป็นแคนดิเดตนั้น อาจจะมีการเสนอชื่อ นายอลงกรณ์ พลบุตร มาชิงตำแหน่งด้วย ส่วนรองประธานสปท. คนที่ 2 ที่มีชื่อ นางวลัยลักษณ์ ศรีอรุณ เป็นแคนดิเดตนั้น คาดว่าจะมีการเสนอชื่อ นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ อดีตสปช. ลงชิงตำแหน่งด้วย
ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งผ่านเน็ต
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารจัดการเลือกตั้ง เปิดเผยว่า กกต. เตรียมที่จะทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทวงการต่างประเทศ และกรมการกงสุล ในวันที่ 22 ต.ค.นี้ เพื่อดำเนินการโครงการจัดทำระบบลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกจากราชอาณาจักรทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะเป็นการอำนวยการสะดวกให้คนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ที่ต้องการขอใช้สิทธิเลือกตั้ง สามารถลงทะเบียนขอใช้สิทธิทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องเดินทางไปสถานทูต ซึ่งจะลดภาระผู้ที่ต้องการจะใช้สิทธิ
ทั้งนี้หากดำเนินการโครงการดังกล่าวได้สำเร็จ คนไทยในต่างประเทศก็จะสามารถลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งได้ทั่วโลก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ตกไป ที่ระบุว่า การเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ของคนในประเทศ และเป็นสิทธิของคนไทยที่อยู่นอกประเทศ ดังนั้น กกต.ก็ต้องอำนวยความสะดวกให้คนไทยในต่างประเทศที่ประสงค์จะใช้สิทธิ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินการดังกล่าวสำเร็จ ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาการลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งสำรับคนไทยในต่างประเทศ เป็นแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น