ที่รัฐสภา วานนี้ (6ต.ค.)มีการเปิดให้สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) รายงานตัว แสดงตนเป็นวันแรก ตลอดทั้งวัน ปรากฏว่า มีบรรดาสมาชิก สปท. มาแสดงตน รวม 64 คน โดยมี พล.อ.อ.อนาวิล ภิรมย์รัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพอากาศ เข้าแสดงตนเป็นคนแรก ตั้งแต่เวลา 07.45 โดยใน ช่วงเช้ามีผู้เข้าแสดงตน 23 คน และในช่วงบ่ายอีก 42 คน และในระหว่างวัน มีบุคคลสำคัญแสดงตน อาทิ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน อดีต ผบช.ภ.1 นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตสมาชิก สปช. พล.อ.นคร สุขประเสริฐ์ อดีตสมาชิกกรรมาธิการกร่างรธน. นายสันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ตัวแทนจากพรรคพลังชล นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตกรรมาธิการยกร่าง รธน. นายนิกร จำนง ตัวแทนพรรคชาติไทยพัฒนา พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีต สปช. ตัวแทนจากพรรคชาติพัฒนา นายสมพงษ์ สระกวี แกนนำคนเสื้อแดง พล.ต.ท.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รักษาการ ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา อดีต รองผบ.ตร. พล.ต.อ.เรืองศักดิ์ จริตเอก อดีต รองผบ.ตร. พล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก อดีต สปช. นายคุรุจิต นาครทรรพ อดีตสปช. ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอนุสิษฐ์ คุณากร อดีตเลขาสมช. พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย อดีต สปช. นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ เป็นต้น
** "นวยนิ่ม"จะเสนอแนวทางปฏิรูปตร.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 07.45 น. พล.อ.อ.อนาวิล ภิรมย์รัตน์ อดีตรอง ผบ.ทอ. เดินทางเข้ามารายงานตัวเป้นคนแรกด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ตามมาด้วย นายกลินท์ สาระสิน กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้ารายงานตัวลำดับที่ 2
พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน อดีตผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 หรือ ผบก.น. 1 ได้เข้ารายงานตัวในช่วงเช้า และได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่าการมาทำหน้าที่ สปท. ไม่ขัดต่อคุณสมบัติการเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคาว 2557 และมาตรา 8 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 จึงไม่จำเป็นต้องลาออกจาการเป็น สปท. พร้อมกับย้ำว่า ตลอดชีวิตการทำงานด้านการสืบสวนสอบสวน สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้จริง และที่ผ่านมาก็ผ่านประสบการณ์ทาง การเมืองมาตั้งแต่ปี 2550 จนได้รับฉายาว่า"นวยอดทน" ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งประกันได้ว่า ตนมีความเหมาะสมต่อคุณสมบัติ กรรมการป.ป.ช.ได้
ส่วนการที่ได้รับตำแหน่งทำหน้าที่ในสปท. ก็ต้องขอบคุณหัวหน้าคสช. ที่ให้โอกาส และขอปวารณาตัวว่าจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูปด้านการยุติธรรม และตำรวจ ซึ่งมีความถนัดเดิมอยู่แล้ว และมีความเข้าใจในตำรวจดี ต้องทำให้ตำรวจเป็นคนของพระมหากษัตริย์ และประชาชน เพราะที่ผ่านมาตำรวจถูกมองว่ารับใช้นักการเมือง ดังนั้นหากจะมีการปฏิรูปตำรวจ ก็ต้องแก้ไขกฎหมาย โดยขณะนี้ก็มีร่างกฎหมายเตรียมไว้เบื้องต้นแล้ว ซึ่งตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจ หรือ ผบ.ตร. ต้องไม่มีนายกรัฐมนตรี หรือจากฝ่ายการมเองมานั่งทำหน้าที่ในสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ต.ร.คัดเลือก และคุณสมบัติ ผบ.ตร. ควรมาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่มาจากยศพลตำรวจเอกอย่างเดียว
**"เสรี" ชี้สปท.เป็นแกนทำงานร่วมครม.
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสปท. และอดีต สปช. กล่าวถึงการทำหน้าที่สปท. ว่า วิธีขับเคลื่อนการปฏิรูปทั้งประเทศ สามารถทำได้ 2 วิธี คือการปฏิรูปองค์กร กับการปฏิรูปการทำงาน สิ่งที่ทำได้เร็วคือ การปฏิรูปการทำงาน เช่น การให้ข้าราชการดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างไร ไม่ใช่ให้เกิดการจับผิดกันเอง ในส่วนของสปท. นั้น จะเป็นแกนกลางในการเสนอแนวทางการทำงานให้เดินทั้งระบบ ร่วมกับครม. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม แตกต่างจากสปช. ที่เป็นการอภิปรายเสนอความคิดเห็นจัดทำแผนปฏิรูป แบบต่างคนต่างทำ และเริ่มจากประเด็นย่อยๆ แต่ สปท. จะแบ่งประเด็นการปฏิรูปเป็น 11 ประเด็นใหญ่ๆ แล้วลงมือทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีชื่อประธานสปท. ที่คิดไว้หรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ไม่มี รอดูกันก่อน แต่คุณสมบัติที่สำคัญคือ ต้องเข้ากับคนอื่นได้ทุกคน และมีความเข้าใจในการทำงาน
** "พล.อ.นคร"ปัดตอบเลือกใครประธาน
พล.อ.นคร สุขประเสริฐ สมาชิกสปท. อดีต กมธ.ยกร่างฯ และสมาชิก สปช. กล่าวว่า มีความยินดีที่ได้รับเลือก และขอบคุณผู้มีอำนาจที่มองเห็น และให้โอกาส แม้เราจะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ คิดว่าการทำเช่นนี้ ก็จะเกิดผลดี เพราะการทำงาน สปท.ก็จะมีความเห็นหลากหลาย และที่สำคัญสมาชิก สปท. ก็มีหลายหลาก ทั้งเอกชน ข้าราชการ และอื่นๆ ไม่ใช่มีเพียงแต่นักวิชาการ
ส่วนเรื่องการเลือกประธาน สปท.นั้น เมื่อมีการรายงานตัวครบแล้ว เป็นการเรียกประชุมกันนัดแรก จากนั้นเข้าสู่กระบวนการประชุมเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสม ทั้งคุณวุฒิ คุณสมบัติ เข้ามาทำหน้าที่ ซึ่งตรงนี้ตนก็ยังไม่ทราบว่าจะเป็นใคร ทราบข่าวมีการเสนอว่า น่าจะเป็นคนนั้นคนนี้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีความแน่นอนว่า จะเป็นใคร เป็นเพียงการคาดการณ์ของสื่อ และส่วนใหญ่สมาชิก สปท. เราก็ยังไม่มีความสนิทสนมกันการจะมาเลือกใครตอนนี้คงไม่เหมาะสม
** "วันชัย"ชี้ ปธ.สปท.ต้องคล้าย"บิ๊กตู่"
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสปท. กล่าวว่า การทำงานของสปท. ต่างจากสปช. เพราะวันนี้เราต้องมาขับเคลื่อน ทั้งนี้อยากให้ สปท.นำวาระปฏิรูป 37 วาระ ของสปช.ทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งควรนำเรื่องสำคัญมาดำเนินการให้เสร็จสิ้น โดยต้องทำให้เห็นผลทันทีภายใน 1 ปี คือ เรื่องของการเลือกตั้งที่ต้องได้ตัวแทนพรรคการเมืองเป็นคนดีเข้ามาทำหน้าที่ เรื่ององค์กรส่วนท้องถิ่น ที่ต้องกระจายอำนาจ การบริหารราชการแผ่นดิน เรื่องการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และปฏิรูปตำรวจ ซึ่งที่ผ่านมา สปช.ได้นำเสนอ ครม. และครม.ส่งเรื่องต่างๆไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนิน การ ทั้งนี้ สปท.เปรียบเสมือนมือของครม. ที่จะต้องมาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ
เมื่อถามว่า การประชุมนัดแรก ต้องมีการคัดเลือกประธานสปท. ขณะนี้มีรายชื่อในดวงใจหรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า ตนไม่ขอพูดถึงรายบุคคล และไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ใคร แต่ตนอยากได้ประธานสปท. ที่มีบุคลิกคล้าย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นคนทำงานมุ่งมั่น ทุ่มเท กระตือรือร้น ไม่ใช่มานั่งแค่เป็นประธาน เพราะการขับเคลื่อนการปฏิรูป ต้องผลักดันถึงจะสำเร็จ ตัวประธานจึงสำคัญที่จะต้องมีลักษณะดังกล่าว จะเป็นทหารหรือพลเรือนก็ได้ แต่ต้องมีคุณสมบัตินี้
** "ภัทระ"ลาออกปธ.สภาการหนังสือพิมพ์
เมื่อวานนี้ นายภัทระ คำพิทักษ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยในหนังสือลาออกระบุว่า เนื่องจากได้ตอบรับเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยส่วนหนึ่งเห็นว่า เป็นงานที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิชาชีพ และองค์กรสื่อมวลชน แต่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว จะเป็นการขัดแย้งต่อผลประโยชน์ เพราะต้องมีการเขียนบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องสื่อในรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้เกิดปัญหาดังกล่าว และป้องกันผลกระทบต่อองค์กร จึงขอลาออกจากตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค.58
** "นวยนิ่ม"จะเสนอแนวทางปฏิรูปตร.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 07.45 น. พล.อ.อ.อนาวิล ภิรมย์รัตน์ อดีตรอง ผบ.ทอ. เดินทางเข้ามารายงานตัวเป้นคนแรกด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ตามมาด้วย นายกลินท์ สาระสิน กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เข้ารายงานตัวลำดับที่ 2
พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน อดีตผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 หรือ ผบก.น. 1 ได้เข้ารายงานตัวในช่วงเช้า และได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่าการมาทำหน้าที่ สปท. ไม่ขัดต่อคุณสมบัติการเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคาว 2557 และมาตรา 8 ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 จึงไม่จำเป็นต้องลาออกจาการเป็น สปท. พร้อมกับย้ำว่า ตลอดชีวิตการทำงานด้านการสืบสวนสอบสวน สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้จริง และที่ผ่านมาก็ผ่านประสบการณ์ทาง การเมืองมาตั้งแต่ปี 2550 จนได้รับฉายาว่า"นวยอดทน" ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งประกันได้ว่า ตนมีความเหมาะสมต่อคุณสมบัติ กรรมการป.ป.ช.ได้
ส่วนการที่ได้รับตำแหน่งทำหน้าที่ในสปท. ก็ต้องขอบคุณหัวหน้าคสช. ที่ให้โอกาส และขอปวารณาตัวว่าจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องการปฏิรูปด้านการยุติธรรม และตำรวจ ซึ่งมีความถนัดเดิมอยู่แล้ว และมีความเข้าใจในตำรวจดี ต้องทำให้ตำรวจเป็นคนของพระมหากษัตริย์ และประชาชน เพราะที่ผ่านมาตำรวจถูกมองว่ารับใช้นักการเมือง ดังนั้นหากจะมีการปฏิรูปตำรวจ ก็ต้องแก้ไขกฎหมาย โดยขณะนี้ก็มีร่างกฎหมายเตรียมไว้เบื้องต้นแล้ว ซึ่งตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจ หรือ ผบ.ตร. ต้องไม่มีนายกรัฐมนตรี หรือจากฝ่ายการมเองมานั่งทำหน้าที่ในสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ต.ร.คัดเลือก และคุณสมบัติ ผบ.ตร. ควรมาจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ใช่มาจากยศพลตำรวจเอกอย่างเดียว
**"เสรี" ชี้สปท.เป็นแกนทำงานร่วมครม.
นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสปท. และอดีต สปช. กล่าวถึงการทำหน้าที่สปท. ว่า วิธีขับเคลื่อนการปฏิรูปทั้งประเทศ สามารถทำได้ 2 วิธี คือการปฏิรูปองค์กร กับการปฏิรูปการทำงาน สิ่งที่ทำได้เร็วคือ การปฏิรูปการทำงาน เช่น การให้ข้าราชการดูแลช่วยเหลือประชาชนอย่างไร ไม่ใช่ให้เกิดการจับผิดกันเอง ในส่วนของสปท. นั้น จะเป็นแกนกลางในการเสนอแนวทางการทำงานให้เดินทั้งระบบ ร่วมกับครม. และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม แตกต่างจากสปช. ที่เป็นการอภิปรายเสนอความคิดเห็นจัดทำแผนปฏิรูป แบบต่างคนต่างทำ และเริ่มจากประเด็นย่อยๆ แต่ สปท. จะแบ่งประเด็นการปฏิรูปเป็น 11 ประเด็นใหญ่ๆ แล้วลงมือทำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีชื่อประธานสปท. ที่คิดไว้หรือไม่ นายเสรี กล่าวว่า ไม่มี รอดูกันก่อน แต่คุณสมบัติที่สำคัญคือ ต้องเข้ากับคนอื่นได้ทุกคน และมีความเข้าใจในการทำงาน
** "พล.อ.นคร"ปัดตอบเลือกใครประธาน
พล.อ.นคร สุขประเสริฐ สมาชิกสปท. อดีต กมธ.ยกร่างฯ และสมาชิก สปช. กล่าวว่า มีความยินดีที่ได้รับเลือก และขอบคุณผู้มีอำนาจที่มองเห็น และให้โอกาส แม้เราจะลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ คิดว่าการทำเช่นนี้ ก็จะเกิดผลดี เพราะการทำงาน สปท.ก็จะมีความเห็นหลากหลาย และที่สำคัญสมาชิก สปท. ก็มีหลายหลาก ทั้งเอกชน ข้าราชการ และอื่นๆ ไม่ใช่มีเพียงแต่นักวิชาการ
ส่วนเรื่องการเลือกประธาน สปท.นั้น เมื่อมีการรายงานตัวครบแล้ว เป็นการเรียกประชุมกันนัดแรก จากนั้นเข้าสู่กระบวนการประชุมเพื่อคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสม ทั้งคุณวุฒิ คุณสมบัติ เข้ามาทำหน้าที่ ซึ่งตรงนี้ตนก็ยังไม่ทราบว่าจะเป็นใคร ทราบข่าวมีการเสนอว่า น่าจะเป็นคนนั้นคนนี้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มีความแน่นอนว่า จะเป็นใคร เป็นเพียงการคาดการณ์ของสื่อ และส่วนใหญ่สมาชิก สปท. เราก็ยังไม่มีความสนิทสนมกันการจะมาเลือกใครตอนนี้คงไม่เหมาะสม
** "วันชัย"ชี้ ปธ.สปท.ต้องคล้าย"บิ๊กตู่"
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสปท. กล่าวว่า การทำงานของสปท. ต่างจากสปช. เพราะวันนี้เราต้องมาขับเคลื่อน ทั้งนี้อยากให้ สปท.นำวาระปฏิรูป 37 วาระ ของสปช.ทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกัน ซึ่งควรนำเรื่องสำคัญมาดำเนินการให้เสร็จสิ้น โดยต้องทำให้เห็นผลทันทีภายใน 1 ปี คือ เรื่องของการเลือกตั้งที่ต้องได้ตัวแทนพรรคการเมืองเป็นคนดีเข้ามาทำหน้าที่ เรื่ององค์กรส่วนท้องถิ่น ที่ต้องกระจายอำนาจ การบริหารราชการแผ่นดิน เรื่องการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และปฏิรูปตำรวจ ซึ่งที่ผ่านมา สปช.ได้นำเสนอ ครม. และครม.ส่งเรื่องต่างๆไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนิน การ ทั้งนี้ สปท.เปรียบเสมือนมือของครม. ที่จะต้องมาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ
เมื่อถามว่า การประชุมนัดแรก ต้องมีการคัดเลือกประธานสปท. ขณะนี้มีรายชื่อในดวงใจหรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า ตนไม่ขอพูดถึงรายบุคคล และไม่ขอวิพากษ์วิจารณ์ใคร แต่ตนอยากได้ประธานสปท. ที่มีบุคลิกคล้าย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเป็นคนทำงานมุ่งมั่น ทุ่มเท กระตือรือร้น ไม่ใช่มานั่งแค่เป็นประธาน เพราะการขับเคลื่อนการปฏิรูป ต้องผลักดันถึงจะสำเร็จ ตัวประธานจึงสำคัญที่จะต้องมีลักษณะดังกล่าว จะเป็นทหารหรือพลเรือนก็ได้ แต่ต้องมีคุณสมบัตินี้
** "ภัทระ"ลาออกปธ.สภาการหนังสือพิมพ์
เมื่อวานนี้ นายภัทระ คำพิทักษ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยในหนังสือลาออกระบุว่า เนื่องจากได้ตอบรับเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ โดยส่วนหนึ่งเห็นว่า เป็นงานที่สำคัญเกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อวิชาชีพ และองค์กรสื่อมวลชน แต่การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว จะเป็นการขัดแย้งต่อผลประโยชน์ เพราะต้องมีการเขียนบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องสื่อในรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้เกิดปัญหาดังกล่าว และป้องกันผลกระทบต่อองค์กร จึงขอลาออกจากตำแหน่งประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 6 ต.ค.58