นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมทุกกระทรวง ที่มีข้าราชการถูกพักงาน กรณีอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตก่อนหน้านี้ รวมถึงหน่วยงานกลางที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อชี้แจงว่า รายชื่อที่มีการถูกพักงานนั้นต้องมีการตั้งกรรมการสอบวินัยควบคู่ไปด้วย ไม่เช่นนั้นผู้บังคับบัญชาจะมีความผิด รวมถึงต้องการให้การพักงานจบลงโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นจะไม่รู้ว่าการพักงานจะยาวนานแค่ไหน หากไม่ผิดก็คืนตำแหน่ง ถ้าผิดก็ลงโทษ ซึ่งตรงนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการสอบของ ป.ป.ช. หากกระทรวงสอบแล้วไม่ผิด ป.ป.ช.ก็สามารถดำเนินการต่อไป แต่หากพบว่าผิด ก็ยังลงโทษได้
ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวง หากไม่มีการกล่าวหาก่อนข้าราชการเกษียณอายุ จะสอบต่อไม่ได้ แต่หากกล่าวหาไว้ก่อน ก็ยังสอบต่อไปได้ ส่วนผู้ที่ถูกพักงาน หากจะขอลาออก ก็สามารถทำได้ แต่ควรมีการตั้งข้อกล่าวหาไว้ก่อน เพื่อให้การสอบเดินหน้าไปได้เช่นกัน
สำหรับใครที่สงสัยเรื่องการถูกพักงานว่า ด้วยสาเหตุใด สามารถสอบถามไปยังศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้ ส่วนข้าราชการที่อาจส่อทุจริตในรอบ 3 จะมีหรือไม่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบให้ชัดเจน ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรม และหากพูดให้ชัดๆต้องบอกว่า มีแน่
**สมัครกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว 13 ราย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า จากการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 2 ต.ค. 58 เวลา 08.30-16.30 น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ จุดรับสมัครบริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2 และ ชั้น 1 อาคารสุขประพฤตินั้น ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ มีผู้สมัครแล้วทั้งสิ้น จำนวน 13 คน ได้แก่ 1.นายไพโรจน์ โพธิไสย รองเลขาธิการวุฒิสภา 2. นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้เชี่ยวชาญประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3. พล.อ.ชนะทัพ อินทามระ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 4. พล.อ.บุญยวัจน์ เครือหงส์ ประธานกรรมการติดตามและประเมินผล กสทช. 5. น.ส.ประพีร์ อังกินันทน์ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 6. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ 7. น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา 8. นายวิชัย ศรีคำ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9. นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล รองอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 1 10. นายวันชัย รุจนวงศ์ อดีตอธิบดีกรมคุมประพฤติ อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 11. นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 12. นายอภิมุข สุขประสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และ นางเยาวลักษณ์ มานะตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวง หากไม่มีการกล่าวหาก่อนข้าราชการเกษียณอายุ จะสอบต่อไม่ได้ แต่หากกล่าวหาไว้ก่อน ก็ยังสอบต่อไปได้ ส่วนผู้ที่ถูกพักงาน หากจะขอลาออก ก็สามารถทำได้ แต่ควรมีการตั้งข้อกล่าวหาไว้ก่อน เพื่อให้การสอบเดินหน้าไปได้เช่นกัน
สำหรับใครที่สงสัยเรื่องการถูกพักงานว่า ด้วยสาเหตุใด สามารถสอบถามไปยังศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ได้ ส่วนข้าราชการที่อาจส่อทุจริตในรอบ 3 จะมีหรือไม่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบให้ชัดเจน ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรม และหากพูดให้ชัดๆต้องบอกว่า มีแน่
**สมัครกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว 13 ราย
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า จากการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 2 ต.ค. 58 เวลา 08.30-16.30 น. โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ จุดรับสมัครบริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 2 และ ชั้น 1 อาคารสุขประพฤตินั้น ปรากฏว่าจนถึงขณะนี้ มีผู้สมัครแล้วทั้งสิ้น จำนวน 13 คน ได้แก่ 1.นายไพโรจน์ โพธิไสย รองเลขาธิการวุฒิสภา 2. นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้เชี่ยวชาญประจำตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3. พล.อ.ชนะทัพ อินทามระ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และหัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 4. พล.อ.บุญยวัจน์ เครือหงส์ ประธานกรรมการติดตามและประเมินผล กสทช. 5. น.ส.ประพีร์ อังกินันทน์ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 6. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ 7. น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา 8. นายวิชัย ศรีคำ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 9. นายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล รองอธิบดีผู้พิพากษา ภาค 1 10. นายวันชัย รุจนวงศ์ อดีตอธิบดีกรมคุมประพฤติ อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ 11. นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ 12. นายอภิมุข สุขประสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และ นางเยาวลักษณ์ มานะตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ