นายกฯ รับมอบรางวัล ITU Global Sustainable Digital Development Award ฟุ้งไทยได้เป็น ปธ.จี77 เพราะแก้ปัญหาความยากจนสำเร็จ ด้านโฆษกรัฐบาล เผยนานาชาติเข้าใจและยอมรับไทย พร้อมเชื่อมั่นรัฐบาลนำพาประเทศข้ามผ่านวิกฤต ลดความเหลื่อมล้ำ วางรากฐานประเทศ นายกฯ ฝากขอบคุณคนไทย ที่ร่วมสร้างประเทศให้แข็งแรง
เมื่อวันที่ 26 ก.ย.58 เวลา 20.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้ร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำในโอกาสฉลองครบรอบ150 ปี สหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union :ITU)และร่วมรับรางวัล ITU Global Sustainable Digital Development Award
ทั้งนี้ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปกับคณะของนายกรัฐมนตรี ได้สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้เข้าร่วมงานในเย็นวันนี้ และขอขอบคุณสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ที่ได้มอบรางวัล ITU Global Sustainable Digital Development Award ให้แก่ประเทศไทย โดยเมื่อปี ค.ศ. 1883 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทย หรือ สยาม ในขณะนั้นได้ตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกไอทียู ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การระหว่างประเทศแรก ที่ไทยเข้าเป็นสมาชิก ด้วยเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับในการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศ และขยายขอบเขตการบริการโทรคมนาคม ให้กว้างขวางทันสมัย ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งรวมทั้งการบริหารความถี่วิทยุเพื่อกิจการโทรคมนาคมด้วย
ประเทศไทย ยังได้รับเลือกเป็นที่ตั้งของสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเมื่อปี ค.ศ. 1992 ทำให้ไทยสามารถติดต่อและมีความร่วมมือทางวิชาการกับไอทียู ในการพัฒนาบุคลากร และรับวิทยาการที่ทันสมัยได้สะดวกยิ่งขึ้น และประเทศไทยยังเป็นฐานของไอทียู ที่จะขยายการสนับสนุนและความช่วยเหลือ แก่ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้ด้วย
ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ และต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ประเทศสมาชิกไอทียู ได้ให้ความเห็นชอบต่อปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเจนีวา เพื่อช่วยรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างสังคมสารสนเทศที่ประชากรทั่วโลกสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ภายในปี ค.ศ. 2015 การประชุมสุดยอดที่ตูนิส ในปี ค.ศ.2006 ประชาคมโลกเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามอันเกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิด ประเทศไทย จึงได้ออกกฎหมาย และมีมาตรการในการทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้เทคโนโลยีนี้ในทางที่เหมาะสม ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศสมาชิกอาเซียน และในระดับโลก
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า ในการประชุม UNGA 70 ครั้งนี้ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการลดช่องว่างด้านดิจิตัล และการกำหนดนโยบายที่จะกระตุ้นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ การวิจัย และการส่งเสริมนวัตกรรมในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมของไทย ที่จะทำให้ทุกภาคส่วนด้านเศรษฐกิจก้าวหน้าทันโลก และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งด้านการผลิต การค้าผลิตภัณฑ์ดิจิตัลโดยตรง และการใช้ดิจิตัลรองรับบริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสารและบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิตัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ไทยจะสามารถแบ่งปันประสบการณ์และความสำเร็จกับมิตรประเทศ และยินดีจะรับฟังคำแนะนำในทุกๆ ด้าน ทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเทคโนโลยีดิจิตัลและการพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อเผชิญหน้าและรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบัน เพราะไทยพร้อมจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อประชาคมโลกจะสามารถก้าวไปพร้อมกันบนเส้นทางสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยไม่มีใครถูกทิ้งอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้ ประเทศไทยขอให้คำมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมสารสนเทศเพื่อประชาคมโลก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
อนึ่ง สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ITU(International Telecommunications Union) ฉลองการก่อตั้งครบรอบ 150 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ITU ได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและกระชับความร่วมมือกับไทย โดยเห็นว่า ไทยมีบทบาทนำในเรื่องเทคโโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม (ICT) และไทยยังเป็นที่ตั้งสำนักงาน ITU ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกตั้งแต่ปี 2535 ทั้งนี้ ไทยเข้าเป็นสมาชิก ITU ตั้งแต่ปี 2426 และมีบทบาทสำคัญอาทิ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Connect Asia-Pacific Summit เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 และงาน ITU Telecom World 2013 ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2557 ณ อิมแพค เมืองทองธานี และล่าสุด ไทยได้แสดงความสนใจอย่างเป็นทางการที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน ITU Telecom World ปี 2559 อีกด้วย รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบองค์รวม โดยได้มีการเปลี่ยนกระทรวง ICT เป็น "กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" เพื่อผลักดันการพัฒนาดิจิตอลให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
** ฟุ้งไทยเป็น ปธ.จี77 เพราะแก้ยากจนสำเร็จ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่ประเทศสมาชิกกลุ่มจี 77 ที่รับรองให้ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม สำหรับวาระปี 2559 ว่า ทางกลุ่มจี 77 มีการพูดคุยเรื่องความยากจนและความยั่งยืน การคัดเลือกจะเลือกจากประเทศที่มีประสบการณ์ และประเทศที่ประสบความสำเร็จซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการลดความยากจนลงในปี 2543 กว่าร้อยละ 40 ถือว่ามีบทบาท และมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ปัญหาด้วย “ประเทศที่มีความยากจนจะเกิดความเหลื่อมล้ำเรานำประเด็นนี้มาเสนอว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเข้มแข็งด้วยตนเอง การลดความเหลื่อมล้ำต้องแก้ปัญหาความยากจนโดยเริ่มจากตัวประชาชนก่อนถ้าแก้อย่างอื่นจะไม่สำเร็จ”นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 7.30 น วันที่ 26 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ที่ระลึกเหตุการณ์ไนน์วันวัน วางพวงดอกไม้ รำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวไนน์ และวางดอกกุหลาบขาวบนชื่อคนไทยที่เสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว
**เผยนานาชาติเข้าใจผู้นำ-ยอมรับไทย
พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 70 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และมีบทบาทสำคัญในหลายเวที แสดงให้เห็นถึง การยอมรับจากนานาชาติ ซึ่งทุกฝ่ายได้เห็นสีหน้าที่ยิ้มแย้ม เปิดเผย แสดงให้เห็นถึงการไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ ของผู้นำไทย และคณะ
ทั้งนี้ การที่ไทยก้าวไปยืนอยู่จุดนี้ได้ ไม่ได้เกิดจากปัจจัยเพียงเฉพาะความตั้งใจจริงของรัฐบาลเท่านั้น แต่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในประเทศ รัฐบาลได้เข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ โดยมุ่งขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่มีมายาวนาน สร้างความเป็นธรรมภายใต้หลักกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยพิจารณาตามเหตุและผล วางรากฐานการพัฒนาประเทศทั้งโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีดิจิทัล การเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก เช่น การดูแลค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อย สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้คิดและวางแผนพัฒนาชุมชนของตน โดยคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และการสนับสนุนของรัฐบาลและเอกชน ที่เรียกว่า “ประชารัฐ”
"นายกฯ ฝากขอบพระคุณพี่น้องคนไทยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่รวมใจกันสร้างประเทศให้แข็งแรงขึ้น และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ทุกประเทศมีความเข้าใจแล้วว่า ประเทศไทยมีปัญหาจริง และต้องการการสะสาง พร้อมเชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทยจะทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและใช้เวลาที่เหลืออยู่นำพาประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อีกครั้ง"
** ม็อบกลุ่มต้านไม่มีผลกระทบถึงนายกฯ
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณี มีกลุ่มเคลื่อนไหวรวมตัวกันต่อต้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า จากการติดตามของ คสช.
เท่าดีได้รับข้อมูลมา พบกลุ่มต่อต้านมีบ้าง แต่ผู้สนับสนุนและเห็นด้วยกับรัฐบาล และ คสช. ก็ค่อนข้างมากเช่นกัน. แต่สำหรับการมาเรียกร้องแสดงออกที่นั่นจะมีอยู่หลายประเทศด้วยกัน ภาพโดยทั่วไป จึงไม่ได้ดูเป็นเรื่องผิดปกติ หรือจะมีผลกระทบในเชิงภาพลักษณ์ใดๆ เข้าใจว่าต่างประเทศหลายๆ ประเทศมีความเข้าใจ โดยเฉพาะถ้าได้รับข้อมูลข้อเท็จจริงครบถ้วน รวมถึงเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องการความสงบสุข และต้องการให้เกิดการปฏิรูปอย่างจริงจัง สำหรับการบริหารสถานการณ์ทั้งหมด มีเป้าหมายก็เพื่อสังคมและประทศชาติเป็นที่ตั้ง
พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของนายกฯ ในสายตาของต่างชาติ เพราะเชื่อว่าส่วนใหญ่ต่างชาติเข้าใจในบริบทของสังคมที่แตกต่างกัน และล่าสุดประเทศไทยก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกลุ่มจี 77 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจที่มีต่อประเทศไทย.
เมื่อวันที่ 26 ก.ย.58 เวลา 20.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ได้ร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำในโอกาสฉลองครบรอบ150 ปี สหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union :ITU)และร่วมรับรางวัล ITU Global Sustainable Digital Development Award
ทั้งนี้ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เดินทางไปกับคณะของนายกรัฐมนตรี ได้สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้เข้าร่วมงานในเย็นวันนี้ และขอขอบคุณสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ที่ได้มอบรางวัล ITU Global Sustainable Digital Development Award ให้แก่ประเทศไทย โดยเมื่อปี ค.ศ. 1883 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ประเทศไทย หรือ สยาม ในขณะนั้นได้ตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกไอทียู ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การระหว่างประเทศแรก ที่ไทยเข้าเป็นสมาชิก ด้วยเล็งเห็นผลประโยชน์ที่จะได้รับในการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศ และขยายขอบเขตการบริการโทรคมนาคม ให้กว้างขวางทันสมัย ทัดเทียมกับนานาประเทศ ซึ่งรวมทั้งการบริหารความถี่วิทยุเพื่อกิจการโทรคมนาคมด้วย
ประเทศไทย ยังได้รับเลือกเป็นที่ตั้งของสำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเมื่อปี ค.ศ. 1992 ทำให้ไทยสามารถติดต่อและมีความร่วมมือทางวิชาการกับไอทียู ในการพัฒนาบุคลากร และรับวิทยาการที่ทันสมัยได้สะดวกยิ่งขึ้น และประเทศไทยยังเป็นฐานของไอทียู ที่จะขยายการสนับสนุนและความช่วยเหลือ แก่ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้ด้วย
ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ และต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ประเทศสมาชิกไอทียู ได้ให้ความเห็นชอบต่อปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเจนีวา เพื่อช่วยรัฐบาลให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างสังคมสารสนเทศที่ประชากรทั่วโลกสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ภายในปี ค.ศ. 2015 การประชุมสุดยอดที่ตูนิส ในปี ค.ศ.2006 ประชาคมโลกเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามอันเกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในทางที่ผิด ประเทศไทย จึงได้ออกกฎหมาย และมีมาตรการในการทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ในการใช้เทคโนโลยีนี้ในทางที่เหมาะสม ตลอดจนการส่งเสริมความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศสมาชิกอาเซียน และในระดับโลก
นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า ในการประชุม UNGA 70 ครั้งนี้ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการลดช่องว่างด้านดิจิตัล และการกำหนดนโยบายที่จะกระตุ้นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ การวิจัย และการส่งเสริมนวัตกรรมในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายดิจิตัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมของไทย ที่จะทำให้ทุกภาคส่วนด้านเศรษฐกิจก้าวหน้าทันโลก และสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ทั้งด้านการผลิต การค้าผลิตภัณฑ์ดิจิตัลโดยตรง และการใช้ดิจิตัลรองรับบริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคสื่อสารและบันเทิง ตลอดจนการใช้ดิจิตัลรองรับการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตอนท้าย นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ไทยจะสามารถแบ่งปันประสบการณ์และความสำเร็จกับมิตรประเทศ และยินดีจะรับฟังคำแนะนำในทุกๆ ด้าน ทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านเทคโนโลยีดิจิตัลและการพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อเผชิญหน้าและรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบัน เพราะไทยพร้อมจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อประชาคมโลกจะสามารถก้าวไปพร้อมกันบนเส้นทางสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยไม่มีใครถูกทิ้งอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้ ประเทศไทยขอให้คำมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมสารสนเทศเพื่อประชาคมโลก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
อนึ่ง สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือ ITU(International Telecommunications Union) ฉลองการก่อตั้งครบรอบ 150 ปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ITU ได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและกระชับความร่วมมือกับไทย โดยเห็นว่า ไทยมีบทบาทนำในเรื่องเทคโโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคม (ICT) และไทยยังเป็นที่ตั้งสำนักงาน ITU ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกตั้งแต่ปี 2535 ทั้งนี้ ไทยเข้าเป็นสมาชิก ITU ตั้งแต่ปี 2426 และมีบทบาทสำคัญอาทิ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Connect Asia-Pacific Summit เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 และงาน ITU Telecom World 2013 ระหว่างวันที่ 19-22 พฤศจิกายน 2557 ณ อิมแพค เมืองทองธานี และล่าสุด ไทยได้แสดงความสนใจอย่างเป็นทางการที่จะเป็นเจ้าภาพจัดงาน ITU Telecom World ปี 2559 อีกด้วย รัฐบาลปัจจุบันได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบองค์รวม โดยได้มีการเปลี่ยนกระทรวง ICT เป็น "กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม" เพื่อผลักดันการพัฒนาดิจิตอลให้เกิดประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
** ฟุ้งไทยเป็น ปธ.จี77 เพราะแก้ยากจนสำเร็จ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่ประเทศสมาชิกกลุ่มจี 77 ที่รับรองให้ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานกลุ่ม สำหรับวาระปี 2559 ว่า ทางกลุ่มจี 77 มีการพูดคุยเรื่องความยากจนและความยั่งยืน การคัดเลือกจะเลือกจากประเทศที่มีประสบการณ์ และประเทศที่ประสบความสำเร็จซึ่งประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการลดความยากจนลงในปี 2543 กว่าร้อยละ 40 ถือว่ามีบทบาท และมีการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ปัญหาด้วย “ประเทศที่มีความยากจนจะเกิดความเหลื่อมล้ำเรานำประเด็นนี้มาเสนอว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเข้มแข็งด้วยตนเอง การลดความเหลื่อมล้ำต้องแก้ปัญหาความยากจนโดยเริ่มจากตัวประชาชนก่อนถ้าแก้อย่างอื่นจะไม่สำเร็จ”นายกรัฐมนตรี กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 7.30 น วันที่ 26 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นางนราพร จันทร์โอชา ภริยา เดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ที่ระลึกเหตุการณ์ไนน์วันวัน วางพวงดอกไม้ รำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวไนน์ และวางดอกกุหลาบขาวบนชื่อคนไทยที่เสียชีวิต จากเหตุการณ์ดังกล่าว
**เผยนานาชาติเข้าใจผู้นำ-ยอมรับไทย
พล.ต. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ เดินทางเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ 70 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และมีบทบาทสำคัญในหลายเวที แสดงให้เห็นถึง การยอมรับจากนานาชาติ ซึ่งทุกฝ่ายได้เห็นสีหน้าที่ยิ้มแย้ม เปิดเผย แสดงให้เห็นถึงการไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ ของผู้นำไทย และคณะ
ทั้งนี้ การที่ไทยก้าวไปยืนอยู่จุดนี้ได้ ไม่ได้เกิดจากปัจจัยเพียงเฉพาะความตั้งใจจริงของรัฐบาลเท่านั้น แต่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในประเทศ รัฐบาลได้เข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศ โดยมุ่งขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่มีมายาวนาน สร้างความเป็นธรรมภายใต้หลักกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยพิจารณาตามเหตุและผล วางรากฐานการพัฒนาประเทศทั้งโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยีดิจิทัล การเตรียมรองรับสังคมผู้สูงอายุ ตลอดจนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากฐานราก เช่น การดูแลค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อย สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรซึ่งเป็นกำลังหลักของประเทศ กระตุ้นเศรษฐกิจโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้คิดและวางแผนพัฒนาชุมชนของตน โดยคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ และการสนับสนุนของรัฐบาลและเอกชน ที่เรียกว่า “ประชารัฐ”
"นายกฯ ฝากขอบพระคุณพี่น้องคนไทยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ที่รวมใจกันสร้างประเทศให้แข็งแรงขึ้น และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ ทุกประเทศมีความเข้าใจแล้วว่า ประเทศไทยมีปัญหาจริง และต้องการการสะสาง พร้อมเชื่อมั่นว่า รัฐบาลไทยจะทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถและใช้เวลาที่เหลืออยู่นำพาประเทศกลับสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อีกครั้ง"
** ม็อบกลุ่มต้านไม่มีผลกระทบถึงนายกฯ
พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณี มีกลุ่มเคลื่อนไหวรวมตัวกันต่อต้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า จากการติดตามของ คสช.
เท่าดีได้รับข้อมูลมา พบกลุ่มต่อต้านมีบ้าง แต่ผู้สนับสนุนและเห็นด้วยกับรัฐบาล และ คสช. ก็ค่อนข้างมากเช่นกัน. แต่สำหรับการมาเรียกร้องแสดงออกที่นั่นจะมีอยู่หลายประเทศด้วยกัน ภาพโดยทั่วไป จึงไม่ได้ดูเป็นเรื่องผิดปกติ หรือจะมีผลกระทบในเชิงภาพลักษณ์ใดๆ เข้าใจว่าต่างประเทศหลายๆ ประเทศมีความเข้าใจ โดยเฉพาะถ้าได้รับข้อมูลข้อเท็จจริงครบถ้วน รวมถึงเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ ต้องการความสงบสุข และต้องการให้เกิดการปฏิรูปอย่างจริงจัง สำหรับการบริหารสถานการณ์ทั้งหมด มีเป้าหมายก็เพื่อสังคมและประทศชาติเป็นที่ตั้ง
พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า ยืนยันว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่อต้านดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของนายกฯ ในสายตาของต่างชาติ เพราะเชื่อว่าส่วนใหญ่ต่างชาติเข้าใจในบริบทของสังคมที่แตกต่างกัน และล่าสุดประเทศไทยก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานกลุ่มจี 77 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจที่มีต่อประเทศไทย.