xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

“คุณชายหมู”จะรักษาการใช้เงิน 7 หมื่นล้านบาท งบประมาณปี 59 - ต่อเนื่องรักษาการงบประมาณปี 60

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ผลพวงจากที่ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ สปช.ถูกคว่ำไป ทำให้ นักการเมืองยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งได้รวมไปถึง “การเมืองท้องถิ่น” ก็จะยังไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งในทุกระดับได้เช่นกันตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 85/2557 เรื่อง “การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว”

ดังนั้นก็จะทำผู้บริหารท้องถิ่น และนัการเมืองท้องถิ่นทุกระดับ ที่หมดสมัยไปแล้ว ยังคงรักษาการและอาจจะได้อยู่ตำแหน่งต่อไปในระยะ 2 ปี (2559-60) หลังจาก ที่รัฐบาลและ คสช. กำลังร่างโรดแมปใหม่นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่เช่นกัน

วันก่อนฝ่ายบริหารท้องถิ่นที่ใหญ่อันดับต้น ๆในประเทศไทยอย่าง “กรุงเทพมหานคร”ที่มี หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บริหารสุงสุด

อ่านเพิ่มเติม http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/228/1.PDF

ได้ผ่านการเห็นชอบ “ข้อบัญญติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จํานวนเงินทั้งสิ้น ๗๐,๔๒๔,๘๓๘,๐๐๐ บาท ซึ่งในปี 2558 มีตัวเลขยอดงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น 65,882,323,400 บาท

กทม. แบ่งเงินออกเป็นงบประมาณรายจ่าย โดยตั้งจ่ายเป็นจํานวน ๗๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ประกอบด้วยรายจ่ายประจําจําแนก เป็น งบกลาง รวม ๙,๒๒๗,๖๙๐,๐๓๘ บาท เงินสํารองจ่ายทั่วไป ๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท กรณีฉุกเฉินหรือจําเป็น ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท กรณีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำท่วม ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท กรณีค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนา กรุงเทพมหานคร ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

เป็นเงินช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง ๒,๑๖๗,๖๙๐,๐๓๘ บาท เงินบําเหน็จลูกจ้าง ๔๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินสํารองสําหรับค่าสาธารณูปโภคและค่าบํารุงรักษาอุปกรณ์ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินสํารองสําหรับค่าซ่อมแซมยานพาหนะ ๒๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินสํารองค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเขต ๓๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินสํารองสําหรับค่างานส่วนที่เพิ่ม ตามสัญญาแบบปรับราคาได้ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ค่าใช้จ่ายโครงการตามพระราชดําริ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของ กทม. ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินสํารองสําหรับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ๑๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินสํารองสําหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากร ๖๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภารกิจและหรือนโยบายที่ได้รับมอบจากรัฐบาล ๓,๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างปรับปรุง ซ่อมแซมถนน ตรอก ซอยและสิ่งก่อสร้าง ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินสํารองสําหรับภาระผูกพันที่ค้างจ่ายตามกฎหมาย ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของสํานักงานเขต ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการอาคารสงเคราะห์ของกรุงเทพมหานคร ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินช่วยค่าครองชีพผู้ได้รับบํานาญของกรุงเทพมหานคร ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

นอกจากนั้นยังแบ่งเป็น สํานักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร รวม ๙๕,๐๘๓,๒๐๐ บาท สํานักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวม ๖๖,๘๑๔,๐๐๐ บาท สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร รวม ๑๓๓,๑๔๙,๐๐๐ บาท สํานักปลัดกรุงเทพมหานคร รวม ๙๔๙,๔๗๖,๑๐๐ บาท สํานักการแพทย์ รวม ๒,๘๗๘,๐๖๖,๐๐๐ บาท สํานักอนามัย รวม๒,๐๕๓,๔๕๑,๔๐๐ บาท สํานักการศึกษา รวม ๑,๙๖๐,๘๘๒,๕๐๐ บาท

สํานักการโยธา รวม ๕,๑๔๕,๘๕๒,๐๐๐ บาท เป็นงบในงานบริหารทั่วไปด้านการโยธา และระบบจราจร ๑๓๒,๔๐๓,๔๐๐ บาท โครงการก่อสร้าง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ ดินแดง (ระยะที่ ๔) ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท โครงการติดตั้งระบบความปลอดภัย และระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติอาคารศาลาว่าการ กรุงเทพมหานคร ๒ ดินแดง (ระยะที่ ๒) ๑๗,๔๐๐,๐๐๐ บาท โครงการก่อสร้างปรับปรุงอาคารหอประชุม สภากรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ ดินแดง (ระยะที่ ๓) และอาคารประกอบ ๒๕,๙๐๐,๐๐๐ บาท

โครงการติดตั้งระบบความปลอดภัยและระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒

ดินแดง (ระยะที่ ๓) ๗,๔๐๐,๐๐๐ บาท โครงการก่อสร้างระบบ ควบคุมการจราจร และความปลอดภัย ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ ดินแดง (ระยะที่ ๑) ๖,๑๕๐,๐๐๐ บาท โครงการก่อสร้าง ตกแต่งภายในอาคาร Tower ๑
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ ดินแดง ส่วนผู้บริหารฝ่ายการเมือง และสํานักงานสนบสนุน ๑๔๖,๘๑๐,๐๐๐ บาท โครงการก่อสร้างตกแต่งภายในอาคาร Tower ๑ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ ดินแดง ส่วนสํานักงานทั่วไป และองค์ประกอบเสริม ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

โครงการก่อสร้างตกแต่งภายในอาคาร Tower ๑ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ ดินแดง ส่วนผบรู้ ิหารฝ่ายข้าราชการประจํา ส่วนรับรองสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสํานักงานสนับสนุน ๑๑๒,๓๐๐,๐๐๐ บาทโครงการก่อสร้างตกแต่งภายในอาคารหอประชุมสภากรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒
ดินแดง ๓๗,๔๐๐,๐๐๐ บาทงานแผนงานและประสานสาธารณูปโภค ๓๙,๐๓๗,๕๐๐ บาท

นอกจากนี้ยังมี งบในแผนงานการโยธา ๒,๔๙๖,๑๓๖,๔๐๐ บาท แบ่งเป็นโครงการก่อสร้าง

ปรับปรุงถนน จำนวน 32 โครงการ ที่น่าสนใจ เช่น โครงการโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ๑๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท โครงการก่อสร้างอาคาร ที่ได้รับผลกระทบ ตามโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ๔๖,๔๐๐,๐๐๐ บาท โครงการจ้างที่ปรึกษา ศึกษา สํารวจออกแบบเบื้องต้นและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการศูนย์ราชการ กรุงเทพมหานคร (บางนา) ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท โครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษ สํารวจ และออกแบบสะพานคนเดิน และทางจักรยาน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าพระจันทร์ - ท่าศิริราช ๑๙,๗๖๐,๐๐๐ บาท

มีเงินใน แผนงานพัฒนาการโยธาและระบบจราจร ๒,๐๖๓,๙๑๔,๗๐๐ บาท จำนวน 6 โครงการ งบในสํานักการระบายน้ำ รวม ๘,๐๘๐,๐๘๗,๘๖๒ บาท 27 โครงการ งบในแผนงานจัดการระบายน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ๔,๒๑๔,๗๘๗,๔๒๒ บาท จำนวน 48 โครงการ งบในแผนงานจัดการคุณภาพน้ำ๑,๑๗๙,๔๙๖,๖๗๔ บาท 11 โครงการ ส่วนของ สํานักการคลัง รวม ๓,๑๒๗,๗๔๗,๑๐๐ บาท งบของสํานักเทศกิจ รวม ๒๒๔,๖๘๔,๐๐๐ บาท มีเงินในงานตรวจและปฏิบัติการ(เทศกิจ) ๑๑๒,๓๓๐,๗๐๐ บาท

เงินของสํานักการจราจรและขนส่ง รวม ๔,๒๘๐,๓๓๓,๕๐๐ บาท มีโครงการที่น่าสนใจ เช่น โครงการก่อสร้างทางเดินยกระดับ (Sky Walk) ลานจอดรถแล้วจร (Park & Ride) ๑๙,๘๗๔,๑๐๐ บาท โครงการก่อสร้างและ ติดตั้งลิฟต์สําหรับคนพิการ ในระบบขนส่งมวลชน กรุงเทพมหานคร ๒๘๘,๑๘๒,๘๐๐ บาทโครงการก่อสร้าง ทางเดินยกระดับ (Sky Walk) จากสถานีบางหว้า (S12) ถึงท่าเรือตากสิน เพชรเกษม ๑๗,๕๐๐,๐๐๐ บาท

นอกจานั้น ยังมีโครงการรถบริการสําหรับผู้พิการและผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ๓๕,๑๔๙,๗๐๐ บาทงานนโยบายและแผนงาน ๗๕,๗๙๔,๑๐๐ บาทโครงการจัดหาพร้อมติดตั้ง กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)เพื่อเพิ่มความปลอดภัย บริเวณชุมนุมชนและ จุดเสี่ยงภัยในพื้นท ี่ กรุงเทพมหานคร ๓๐๔,๗๖๖,๒๐๐ บาท

โครงการจัดหาพร้อมติดตั้ง กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)บริเวณชุมนุมชนใกล้ประตูระบายน้ำสถานีสูบน้ำ และพื้นที่สุ่มเสี่ยง บริเวณชุมนุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๔๙๔,๐๐๐,๐๐๐ บาทโครงการติดตั้งระบบ ศูนย์บริหารจัดการ กล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) จํานวน ๑๒ ศูนย์ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ในส่วนของ สํานักผังเมือง รวม ๒๓๘,๘๕๙,๐๐๐ บาท มี 5 โครงการ ในส่วนของสํานักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวม ๑,๐๗๙,๖๐๙,๐๐๐ บาท 9 โครงการ สํานักงบประมาณกรุงเทพมหานคร รวม ๗๒,๗๒๓,๐๐๐ บาท สํานักสิ่งแวดล้อม รวม ๘,๓๑๗,๙๓๕,๒๐๐ บาท 48 โครงการ สํานักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รวม ๑,๒๕๖,๔๙๘,๖๐๐ บาท 9 โครงการ สํานักพัฒนาสังคม รวม ๕๔๐,๔๐๘,๐๐๐ บาท

นอกจากนั้น เป็นงบประมาณของสำนักงานเขตต่าง ๆ 70 เขต โดย สํานักงานเขตบางกอกน้อย ได้มากที่สุด รวม ๖๐๗,๘๔๘,๖๐๐ บาท น้อยที่สุดคือสํานักงานเขตสัมพันธวงศ์ ได้รวม ๑๙๗,๐๕๙,๖๐๐ บาท ส่วนเขตที่ได้เกิน 500 ล้าน ประกอบด้วย สํานักงานเขตลาดกระบัง สํานักงานเขตหนองจอก สํานักงานเขตบางขุนเทียน

สํานักงานเขตจตุจักร และ สํานักงานเขตบึงกุ่ม โดยร่วมงบในมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ที่อยู่ในกำกับของ กทม. รวม ๑,๖๗๒,๕๙๘,๐๐๐ บาท

สุดท้าย งบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานครให้ตั้งจ่ายเป็นจํานวน ๔๒๔,๘๓๘,๐๐๐ บาท ประกอบด้วย รายจ่ายประจํา จํานวน ๒๓๙,๔๐๖,๐๐๐ บาท และรายจ่ายพิเศษ จํานวน ๑๘๕,๔๓๒,๐๐๐ บาท จําแนก (๑) สํานักงานสถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร รวม ๒๘๐,๗๘๑,๐๐๐ บาท (๒) สํานักงานตลาดกรุงเทพมหานคร รวม ๑๔๐,๔๓๑,๐๐๐ บาท และ (๓) สํานักงานพัฒนาที่อยู่อาศัย รวม ๓,๖๒๖,๐๐๐ บาท

โดยข้อบัญญติกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รักษาการและ ควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามรายการและจํานวนเงินที่กําหนดไว้ในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครนี้ งบประมาณปี 2559 ที่มากกว่าเดิมถึง 500 ล้านบาท และจะต้องเนื่องรักษาการงบประมาณ ปี 2560 ที่หน่วยงานใน กทม.กำลังจะมีการร่างในเร็วๆนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น