นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยถึงความสำเร็จด้านเทคโนโลยีทางการสืบพันธุ์สัตว์ป่าของศูนย์นวัตกรรมทางการสืบพันธุ์สัตว์ป่า องค์การสวนสัตว์ฯว่า ขณะนี้ประสบความสำเร็จด้านการผลิตละมั่งหลอดแก้วตัวแรกของโลก การผสมเทียมหมีแพนด้า เสือลายเมฆผสมเทียม และการขยายพันธุ์นกกระเรียนพันธุ์ไทย ขณะนี้นักวิจัยกำลังพยายามพัฒนาการผสมเทียมช้างเอเชีย โดยศูนย์ดังกล่าวเป็นศูนย์นวัตกรรมแห่งแรก และแห่งเดียวของไทย มีเป้าหมายเพื่อขยายพันธุ์และอนุรักษ์สัตว์ป่าหายาก ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพทางการสืบพันธุ์ ทั้งการเก็บรักษาน้ำเชื้อแช่แข็ง การผสมเทียม การย้ายฝากตัวอ่อน การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย และการโคลนนิ่ง ตลอดจนพัฒนาธนาคารพันธุกรรมสัตว์ป่า ที่เป็นเสมือนสวนสัตว์แช่แข็ง มีการเก็บตัวอย่างพันธุกรรมของสัตว์เพศผู้และเพศเมีย ทั้งจากสัตว์ที่มีชีวิต และสัตว์ที่ตายไปแล้วเพื่อใช้ขยายพันธุ์ในอนาคต ซึ่งปัจจุบันมีการเก็บพันธุกรรมสัตว์หายากไว้ 32 ชนิด มีตัวอย่างพันธุกรรมกว่า 5,000 ตัวอย่าง อาทิ ละมั่ง สมเสร็จ และกวางผา เป็นต้น
“การดำเนินการของธนาคารพันธุกรรมนั้นยินดีแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฝากตัวอย่างพันธุกรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ทางการการวิจัย อาทิ สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ล่าสุด สวนสัตว์แห่งชาติประเทศแอฟริกาใต้ ได้เล็งเห็นถึงความสามารถของนักวิจัยไทย และเตรียมทำ MOUร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนนักวิจัยให้มีประสิทธิภาพด้านการขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากด้วย” นายเบญจพล กล่าว
“การดำเนินการของธนาคารพันธุกรรมนั้นยินดีแลกเปลี่ยนข้อมูลและรับฝากตัวอย่างพันธุกรรมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ทางการการวิจัย อาทิ สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ล่าสุด สวนสัตว์แห่งชาติประเทศแอฟริกาใต้ ได้เล็งเห็นถึงความสามารถของนักวิจัยไทย และเตรียมทำ MOUร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนนักวิจัยให้มีประสิทธิภาพด้านการขยายพันธุ์สัตว์ป่าหายากด้วย” นายเบญจพล กล่าว