นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพเด็กไทยให้มีพัฒนาการสมวัย เป็นหนึ่งในนโยบายที่สำคัญของ สธ. ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการดำเนินงานให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด และกินยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกวันต่อเนื่องจนถึง 6 เดือนหลังคลอด เพื่อเพิ่มเติมจากสารอาหารที่รับประทานที่อาจไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม จากการสุ่มสำรวจหญิงตั้งครรภ์ 61 จังหวัดในปี 2558 พบว่า แม้หญิงตั้งครรภ์จะได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนร้อยละ 95 แต่การกินยาทุกวันต่อเนื่องกลับอยู่ที่ร้อยละ 84 สาเหตุเนื่องจากกลัวลูกโตผิดปกติ ทำให้เด็กได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ ขณะที่การศึกษาของกรมอนามัย ปี 2557 พบว่า ค่าปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์ในหลายจังหวัด น้อยกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตร ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ถือว่าอยู่ในระดับเสี่ยงที่จะเกิดการขาดสารไอโอดีน ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาสติปัญญาหรือไอคิว และพัฒนาการที่ผิดปกติของเด็ก จึงได้ให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอสม. สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ทุกคน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ไอโอดีนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีผลในการสร้างสมอง ระบบประสาท และการเจริญเติบโตของร่างกายเด็กในครรภ์ โรคขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อประชากรทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะทารกในครรภ์จนอายุ 3 ปี หากขาดหรือได้ไอโอดีนไม่เพียงพอ จะทำให้เซลล์สมองเกิดขึ้นน้อย ระดับไอคิวหรือความเฉลียวฉลาดลดลง ทั้งนี้ ยืนยันว่า ยาเม็ดเสริมไอโอดีนที่ให้หญิงตั้งครรภ์กิน ไม่ทำให้ลูกในครรภ์ตัวโตผิดปกติ แต่ทำให้ลูกมีความสมบูรณ์ ทั้งสมองและการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ การที่เด็กในครรภ์ตัวโตมีหลายสาเหตุ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน หรือแม่กินอาหารรสหวานมากขณะตั้งครรภ์
"ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมลูก 6 เดือน จะมีความต้องการไอโอดีนมากกว่าคนทั่วไปคือวันละ 250 ไมโครกรัม ไอโอดีนที่ได้รับจากอาหารทั่วๆ ไปอาจไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเสริมด้วยการกินยาเม็ด วันละ 1 เม็ดทุกวัน เพื่อให้ผลดีต่อลูก หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งนี้ ความต้องการไอโอดีนในแต่ละวัยแตกต่างกัน ผู้ใหญ่และวัยรุ่นต้องการเพียงวันละ 150 ไมโครกรัม เด็กอายุ 6-12 ปีต้องการวันละ 120 ไมโครกรัม และเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ ต้องการวันละ 90 ไมโครกรัม โดยในเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไป นอกจากอาหารแล้ว จะได้รับไอโอดีนจากเกลือ และเครื่องปรุงรสเค็มที่เสริมไอโอดีนตามกฎหมาย" นพ.พรเทพกล่าวและว่า สำหรับประชาชนทั่วไปที่ขาดไอโอดีน จะทำให้อ่อนเพลีย เฉื่อยชา ประสิทธิภาพการทำงานลดลง จึงควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนเป็นประจำ ได้แก่ อาหารทะเล เช่น ปลาทูนึ่ง ปลาสีกุน ปลากระบอก กุ้งทะเลตัวเล็ก รวมทั้งไข่ไก่และเป็ดที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมไอโอดีน และเลือกใช้เครื่องปรุงรสเค็มที่เสริมไอโอดีน เช่น เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลา หรือซีอิ้วเสริมไอโอดีน ปรุงประกอบอาหารทุกวัน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ไอโอดีนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีผลในการสร้างสมอง ระบบประสาท และการเจริญเติบโตของร่างกายเด็กในครรภ์ โรคขาดสารไอโอดีนมีผลกระทบต่อประชากรทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะทารกในครรภ์จนอายุ 3 ปี หากขาดหรือได้ไอโอดีนไม่เพียงพอ จะทำให้เซลล์สมองเกิดขึ้นน้อย ระดับไอคิวหรือความเฉลียวฉลาดลดลง ทั้งนี้ ยืนยันว่า ยาเม็ดเสริมไอโอดีนที่ให้หญิงตั้งครรภ์กิน ไม่ทำให้ลูกในครรภ์ตัวโตผิดปกติ แต่ทำให้ลูกมีความสมบูรณ์ ทั้งสมองและการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ การที่เด็กในครรภ์ตัวโตมีหลายสาเหตุ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน หรือแม่กินอาหารรสหวานมากขณะตั้งครรภ์
"ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมลูก 6 เดือน จะมีความต้องการไอโอดีนมากกว่าคนทั่วไปคือวันละ 250 ไมโครกรัม ไอโอดีนที่ได้รับจากอาหารทั่วๆ ไปอาจไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเสริมด้วยการกินยาเม็ด วันละ 1 เม็ดทุกวัน เพื่อให้ผลดีต่อลูก หากมีปัญหาควรปรึกษาแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งนี้ ความต้องการไอโอดีนในแต่ละวัยแตกต่างกัน ผู้ใหญ่และวัยรุ่นต้องการเพียงวันละ 150 ไมโครกรัม เด็กอายุ 6-12 ปีต้องการวันละ 120 ไมโครกรัม และเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ ต้องการวันละ 90 ไมโครกรัม โดยในเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไป นอกจากอาหารแล้ว จะได้รับไอโอดีนจากเกลือ และเครื่องปรุงรสเค็มที่เสริมไอโอดีนตามกฎหมาย" นพ.พรเทพกล่าวและว่า สำหรับประชาชนทั่วไปที่ขาดไอโอดีน จะทำให้อ่อนเพลีย เฉื่อยชา ประสิทธิภาพการทำงานลดลง จึงควรรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนเป็นประจำ ได้แก่ อาหารทะเล เช่น ปลาทูนึ่ง ปลาสีกุน ปลากระบอก กุ้งทะเลตัวเล็ก รวมทั้งไข่ไก่และเป็ดที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมไอโอดีน และเลือกใช้เครื่องปรุงรสเค็มที่เสริมไอโอดีน เช่น เกลือเสริมไอโอดีน น้ำปลา หรือซีอิ้วเสริมไอโอดีน ปรุงประกอบอาหารทุกวัน