ศูนย์ข่าวภูมิภาค - พัทยายังไม่พ้นวิกฤตหลังพายุฝนพัดกระหน่ำต่อเนื่อง หน่วยงานภาครัฐสนธิกำลังลงพื้นที่บรรเทาความเดือดร้อน พร้อมตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ด้านเมืองพัทยาประกาศเขตภัยพิบัติเพื่อเยียวยาผู้ได้รับความเสียหาย ขณะที่เมืองระยองอ่วม ฝายอ่างคลองบางไผ่แตกน้ำทะลักท่วมบ้าน-รถยนต์-รถ จยย.จมน้ำเสียหายหลายคัน ผู้ว่าฯ กนอ.มั่นใจพิษหว่ามก๋อไม่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจม กรมอุตุเตือน "หว่ามก๋อ" ยังปกคลุมทั่วประเทศ
วานนี้ (17 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลายพื้นที่ทั่วประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักติดต่อหลายวันจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "หว่ามก๋อ" ทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ตลอดจนเจ้าหน้าที่อาสาสมัครต่างๆ ต้องเร่งระดมกำลังให้ความช่วยเหลือประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อน
โดยเฉพาะในเขตเมืองพัทยา และ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลายพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่และประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก โดยทางเมืองพัทยาได้สนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปทำการช่วยเหลือ พร้อมบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ขณะที่สภาพอากาศโดยทั่วไปตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง และน้ำเริ่มสะสมจนเกิดการท่วมขังในหลายพื้นที่
ส่วนที่บริเวณถนนสาย 331 เส้นทางพัทยา-สัตหีบในเขตพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ มีปริมาณน้ำท่วมขังในระดับสูงจนถนนถูกตัดขาด รถไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ เช่นเดียวกันกับถนนสายห้วยใหญ่ พบว่ากระแสน้ำที่เชี่ยวกรากได้พัดสะพานข้ามห้วยบริเวณหน้าวัดเทพบุตรจนถนนทรุด และขาดออก รวมทั้งที่บ้านหนองผักกูด ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันที่ประสบปัญหาเขื่อนกักน้ำขนาดเล็กแตกออกทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านจนประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เจ้าหน้าที่และหน่วยกู้ภัยต้องระดมกำลังเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
ขณะที่เมืองพัทยา ร่วมกับอำเภอบางละมุงและ มทบ.14 จัดการประชุมเร่งด่วนเพื่อติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีการสรุปพื้นที่ที่ประสบปัญหาพร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดให้ทำการเปิดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมการประสานไปยัง จ.ชลบุรี เพื่อให้มีการประกาศพื้นที่เมืองพัทยาเป็นเขตภัยพิบัติ เพื่อสนับสนุนปัจจัย กำลังพลและสิ่งของมาช่วยเหลือผู้เดือดร้อนต่อไป
**พัทยาประกาศเขตภัยพิบัติน้ำท่วมหนัก
นอกจากนี้นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา พร้อมกำลังทหารจาก มทบ.14 และเจ้าหน้าที่จากกองสวัสดิการและสังคม ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณซอยสุขุมวิท 45 ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและรับน้ำที่หลากมาจากฝั่งตะวันออก พบว่ามีปริมาณน้ำเริ่มสะสมและปริมาณสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงเข้าช่วยเหลือพร้อมเร่งตรวจสอบเครื่องสูบน้ำเพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับประชาสัมพันธ์ เปิดศูนย์แจ้งข่าวผ่านระบบ CallCenter 1337 เพื่อรับแจ้งปัญหาและเข้าไปทำการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
นายกเมืองพัทยา เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดชลบุรีได้มีการประกาศให้เมืองพัทยาเป็นเขตภัยพิบัติตามระเบียบว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยประกาศเพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้ตามหลักเกณฑ์ของราชการ ในเรื่องของการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมเมื่อวานนี้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วม ได้คลี่คลายไปหมดแล้ว ในเชิงของการท่องเที่ยว ยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ แต่ยังงดกิจกรรมทางน้ำ เนื่องจากมีคลื่นลมแรงอยู่ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมยังไม่น่าเป็นกังวล แม้ว่าจะมีฝนตกอยู่ก็ตาม เพราะเจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเฝ้าระวังตามจุดต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อยู่ตลอด
**ระยองน้ำท่วมฉับพลัน-อพยพ นร.วุ่น
ส่วนสถานการณ์น้ำที่ จ.ระยอง จากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย.จนถึงวานนี้ ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำลำคลองและลำรางสาธารณะเอ่อล้นตลิ่ง บ้านเรือนและถนนที่อยู่ริมคลองต่างได้รับผลกระทบ เช่น ถนนสุขุมวิท บริเวณแยกเนินกะปรอก อ.บ้านฉาง มีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ส่วนที่บริเวณแยกขนส่ง หน้าหมู่บ้านเพลินใจ อ.เมืองระยอง มีน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร รถยนต์จมน้ำหลายคัน ส่วนถนนสาย 36 หน้าวัดทับมา น้ำเริ่มสูงขึ้น กำลังจะท่วมถนน
นอกจากนี้ ปริมาณน้ำยังไหลเอ่อเข้าท่วมตามบ้านเรือนและหมู่บ้านที่อยู่ติดแม่น้ำลำคลองต่างๆ เช่น ที่หมู่บ้านกรุงไทย บ้านเรือน ห้องแถวใน ต.ทับมา อ.เมืองระยอง ชาวบ้านต้องขนของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น แต่ก็ขนไม่ทันจนข้าวของได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ท้องฟ้ามืดครึ้มและมีฝนตกตลอดเวลา
ส่วนที่บริเวณแยกห้วยโป่ง น้ำได้ล้นข้ามเกาะกลางถนนทำให้รถผ่านไปมาได้ทั้งขาเข้าและขาออก การจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตร และที่โรงเรียนวัดห้วยโป่งในถูกน้ำท่วมจนทางโรงเรียนต้องประกาศปิดเรียนเป็นเวลา 2 วัน พร้อมแจ้งให้ผู้ปกครองมารับลูกหลานกลับบ้าน
ส่วนที่บริเวณโรงเรียนมณีวัลย์ ในขุมชนตลาดมาดตาพุด จ.ระยอง ซึ่งด้านในน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตรภายในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนกว่า 1,000 คน เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง พร้อมทหารต้องนำรถเข้าไปนำเด็กออกมาจากโรงเรียน โดยใช้เรือยางซึ่งสามารถนำเด็กออกจากโรงเรียนได้ครั้งละประมาณ 10 คน หลังจากนั้นรถทหารได้นำเด็กออกสู่ภายนอก พร้อมทั้งประสานผู้ปกครองเด็กให้มารับกลับบ้าน
**ผู้ว่า กนอ.มั่นใจนิคมมาบตาพุตไม่ท่วม
ขณะที่ชลประทานจังหวัดระยอง ได้สั่งเปิดประตูน้ำทุกบานเพื่อให้น้ำไหลลงทะเล คาดว่าคงจะลดระดับลงในเวลาไม่นาน ขณะที่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ฝายกั้นน้ำแตก ประกอบกับฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำทะลักเข้าถนนในหมู่บ้านยายร้า ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง ปริมาณน้ำสูงประมาณ 50 ซม.ถึง 1 เมตร ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่องเร่งเข้าช่วยเหลือประชาชน
ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ที่บริเวณสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยองนั้นในช่วงเช้ามีฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมถนนบริเวณสวนภูมิรักษ์สูงประมาณ 20 ซม.ซึ่งอยู่ติดคลองชากหมาก น้ำฝนได้ไหลลงมาจากที่สูงไหลข้ามถนนสุขุมวิท ไหลลงคลองชากหมาก ประกอบกับมีขยะจำนวนมากปนมากับน้ำ ทำให้บริเวณคอสะพานน้ำไหลลงทะเลไม่สะดวก ส่งผลทำให้น้ำท่วมถนน และตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่รีบดำเนินการจัดเก็บขยะบริเวณคอสะพานโดยเร็ว จนขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วทำให้น้ำไหลลงคลองออกสู่ทะเลผิวถนนแห้งหมดแล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำจะท่วมการนิคมฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง
**"ธเนตร์"สั่ง ตร.ทั่วตะวันออกช่วย ปชช.
ขณะที่ พล.ต.ท.ธเนตร์ พิณเมืองงาม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (ผบช.ภ.2) ได้ออกคำสั่งไปยัง 127 หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรทั้ง 8 จังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว โดยให้ตำรวจในทุกสังกัดของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ออกช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมขัง ลมกระโชกแรงพัดบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย
พร้อมทั้งคอยดูแลความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในทุกพื้นที่อย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังให้ทุกสังกัดออกเฝ้าติดตามดูแลตลอดทั้งสถานการณ์ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือโทรศัพท์ 191 ตลอด 24 ชั่วโมง
**อุตุเตือน"หว่ามก๋อ"ยังปกคลุมทั่ว ปท.
ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือน "พายุหมุนเขตร้อนบริเวณทะเลจีนใต้" ฉบับที่ 19 เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 17 ก.ย.58 ว่า หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน "หว่ามก๋อ" ยังคงปกคลุมบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก รวมถึงฝนที่ตกสะสม
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 17-18 กันยายน 2558 ไว้ด้วย
***เตือน "คนนอนในน้ำท่วม" สุดเสี่ยงติด
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาเตือนถึงโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น ว่า โรคและภัยสุขภาพที่มักมากับน้ำท่วม คือ โรคติดเชื้อ โรคน้ำกัดเท้า ไฟฟ้าดูด และแมลงมีพิษกัดต่อย เป็นต้น อย่างรายที่เดินลุยน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน ก็มีความเสี่ยงต่อโรคน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา โดยเชื้อราจะทำให้ผิวหนังซอกนิ้วเท้าแดง ขอบนูนเป็นวงกลมและคัน หากเกา แผลจะแตกและมีน้ำเหลืองเยิ้มออกมา ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินในที่ที่มีน้ำท่วมขัง ถ้าจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมรองเท้าบูท และเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหลังขึ้นจากน้ำ และหากผิวหนังเริ่มเปื่อย เกิดตุ่มคัน น้ำกัดเท้า หรือมีบาดแผล ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการดังกล่าวก่อนที่จะลุกลามจนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนคนที่นอนแช่น้ำท่วมก็เสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูดได้ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บรุนแรง พิการ และเสียชีวิตได้ แม้จะมีการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูงก็ตาม แต่ควรงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เนื่องจากตัวเปียกอยู่ตลอดเวลา หรือตัวยังอยู่ในน้ำ ก็อาจเกิดความเสี่ยงได้ รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิทซ์ไฟขณะตัวเปียกด้วย ทั้งนี้ ช่วงน้ำท่วมขอให้ขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึง และถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด หากระดับน้ำท่วมขังสูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดินไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ และควรระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าให้เล่นน้ำบริเวณใกล้เสาไฟ
ส่วนโรคติดเชื้อที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ โรคอุจจาระร่วงและโรคตาแดง จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-14 กันยายน 2558 โดยทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 768,127 ราย ผู้ป่วยโรคตาแดง 86,861 ราย โดยโรคอุจจาระร่วง สาเหตุมาจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน ป้องกันโดยดูแลสุขอนามัย ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ไม่ถ่ายอุจจาระลงน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค ส่วนโรคตาแดง เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา ติดต่อโดยการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคตาแดง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ขอให้ประชาชนล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ไม่คลุกคลีใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย อย่าให้แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องใช้ต่างๆ ไม่ควรลงเล่นน้ำในสระหรือคลอง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายในน้ำ
นอกจากนี้ ยังมีอันตายที่เกิดจากสัตว์และแมลงมีพิษกัดต่อยด้วย เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ที่หนีน้ำท่วมเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ควรดูแลรักษาความสะอาดในบ้าน จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่วางของกองทิ้งใกล้บ้าน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษต่างๆ
ด้าน นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวว่า การนอนท่ามกลางน้ำท่วมถือว่าอันตราย และไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะน้ำท่วมนั้นเป็นน้ำที่ไม่สะอาด หากนอนแช่ในน้ำท่วมอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ คือ 1.การติดเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิวหนังมีบาดแผล โรคที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งคือโรคฉี่หนู ซึ่งอาจมีทั้งอาการไม่รุนแรง จนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 2.หากแช่น้ำเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดปัญหาเกิดผิวหนังอับชื้น เกิดเชื้อราขึ้นที่ผิวหนัง เกิดกลากขึ้น และ 3.ผิวหนังเปื่อย ผิวหนังระคายเคือง ทั้งนี้ ช่วงน้ำท่วมหากหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำได้ควรหลีกเลี่ยง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วขอให้รีบชำระล้างร่างกายให้สะอาด และเช็ดตัวให้แห้ง
** สธ.สั่ง รพ.รับมือพายุหว่ามก๋อ ออกตรวจ ปชช.
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการรับมือฝนตกหนักจากพายุหว่ามก๋อ ว่า ได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผอ.โรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 16 จังหวัด จัดแผนความพร้อมป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาล ขนย้ายเวชภัณฑ์ ยา เครื่องมือแพทย์ หรือเครื่องสำรองไฟฟ้าให้อยู่ในที่ปลอดภัย พร้อมใช้งาน และปรับแผนการจัดบริการผู้ป่วย รวมทั้งให้เตรียมพร้อมหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ออกปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะสถานพยาบาลที่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อนหรือตั้งใกล้ลุ่มน้ำ 12 แห่งใน 3 จังหวัด ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย จ.ชลบุรี 2 แห่งคือ รพ.พานทอง รพ.พนัสนิคม จ.นครนายก 4 แห่ง ได้แก่ รพ.บ้านนา รพ.องครักษ์ รพ.ปากพลี และรพ.นครนายก จ.ฉะเชิงเทรา 6 แห่งได้แก่ รพ.บางคล้า รพ.ราชสาส์น รพ.พนมสารคาม รพ.สนามชัยเขต รพ.ฉะเชิงเทรา และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองเขื่อน สำหรับ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี สถานพยาบาลของ สธ.ทั้ง 20 แห่งไม่ถูกน้ำท่วม สามารถเปิดบริการตามปกติ
วานนี้ (17 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลายพื้นที่ทั่วประเทศยังคงได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักติดต่อหลายวันจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "หว่ามก๋อ" ทำให้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ตลอดจนเจ้าหน้าที่อาสาสมัครต่างๆ ต้องเร่งระดมกำลังให้ความช่วยเหลือประชาชนที่กำลังได้รับความเดือดร้อน
โดยเฉพาะในเขตเมืองพัทยา และ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลายพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่และประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก โดยทางเมืองพัทยาได้สนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปทำการช่วยเหลือ พร้อมบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ขณะที่สภาพอากาศโดยทั่วไปตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง และน้ำเริ่มสะสมจนเกิดการท่วมขังในหลายพื้นที่
ส่วนที่บริเวณถนนสาย 331 เส้นทางพัทยา-สัตหีบในเขตพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ มีปริมาณน้ำท่วมขังในระดับสูงจนถนนถูกตัดขาด รถไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ เช่นเดียวกันกับถนนสายห้วยใหญ่ พบว่ากระแสน้ำที่เชี่ยวกรากได้พัดสะพานข้ามห้วยบริเวณหน้าวัดเทพบุตรจนถนนทรุด และขาดออก รวมทั้งที่บ้านหนองผักกูด ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันที่ประสบปัญหาเขื่อนกักน้ำขนาดเล็กแตกออกทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านจนประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เจ้าหน้าที่และหน่วยกู้ภัยต้องระดมกำลังเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
ขณะที่เมืองพัทยา ร่วมกับอำเภอบางละมุงและ มทบ.14 จัดการประชุมเร่งด่วนเพื่อติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยมีการสรุปพื้นที่ที่ประสบปัญหาพร้อมแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยกำหนดให้ทำการเปิดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมการประสานไปยัง จ.ชลบุรี เพื่อให้มีการประกาศพื้นที่เมืองพัทยาเป็นเขตภัยพิบัติ เพื่อสนับสนุนปัจจัย กำลังพลและสิ่งของมาช่วยเหลือผู้เดือดร้อนต่อไป
**พัทยาประกาศเขตภัยพิบัติน้ำท่วมหนัก
นอกจากนี้นายอิทธิพล คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา พร้อมกำลังทหารจาก มทบ.14 และเจ้าหน้าที่จากกองสวัสดิการและสังคม ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณซอยสุขุมวิท 45 ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและรับน้ำที่หลากมาจากฝั่งตะวันออก พบว่ามีปริมาณน้ำเริ่มสะสมและปริมาณสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงเข้าช่วยเหลือพร้อมเร่งตรวจสอบเครื่องสูบน้ำเพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับประชาสัมพันธ์ เปิดศูนย์แจ้งข่าวผ่านระบบ CallCenter 1337 เพื่อรับแจ้งปัญหาและเข้าไปทำการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
นายกเมืองพัทยา เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดชลบุรีได้มีการประกาศให้เมืองพัทยาเป็นเขตภัยพิบัติตามระเบียบว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยประกาศเพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้ตามหลักเกณฑ์ของราชการ ในเรื่องของการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมเมื่อวานนี้ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วม ได้คลี่คลายไปหมดแล้ว ในเชิงของการท่องเที่ยว ยังสามารถดำเนินการได้ตามปกติ แต่ยังงดกิจกรรมทางน้ำ เนื่องจากมีคลื่นลมแรงอยู่ อย่างไรก็ตาม ภาพรวมยังไม่น่าเป็นกังวล แม้ว่าจะมีฝนตกอยู่ก็ตาม เพราะเจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเฝ้าระวังตามจุดต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อยู่ตลอด
**ระยองน้ำท่วมฉับพลัน-อพยพ นร.วุ่น
ส่วนสถานการณ์น้ำที่ จ.ระยอง จากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย.จนถึงวานนี้ ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำลำคลองและลำรางสาธารณะเอ่อล้นตลิ่ง บ้านเรือนและถนนที่อยู่ริมคลองต่างได้รับผลกระทบ เช่น ถนนสุขุมวิท บริเวณแยกเนินกะปรอก อ.บ้านฉาง มีน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตร ส่วนที่บริเวณแยกขนส่ง หน้าหมู่บ้านเพลินใจ อ.เมืองระยอง มีน้ำท่วมสูงเกือบ 2 เมตร รถยนต์จมน้ำหลายคัน ส่วนถนนสาย 36 หน้าวัดทับมา น้ำเริ่มสูงขึ้น กำลังจะท่วมถนน
นอกจากนี้ ปริมาณน้ำยังไหลเอ่อเข้าท่วมตามบ้านเรือนและหมู่บ้านที่อยู่ติดแม่น้ำลำคลองต่างๆ เช่น ที่หมู่บ้านกรุงไทย บ้านเรือน ห้องแถวใน ต.ทับมา อ.เมืองระยอง ชาวบ้านต้องขนของหนีน้ำกันจ้าละหวั่น แต่ก็ขนไม่ทันจนข้าวของได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ท้องฟ้ามืดครึ้มและมีฝนตกตลอดเวลา
ส่วนที่บริเวณแยกห้วยโป่ง น้ำได้ล้นข้ามเกาะกลางถนนทำให้รถผ่านไปมาได้ทั้งขาเข้าและขาออก การจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตร และที่โรงเรียนวัดห้วยโป่งในถูกน้ำท่วมจนทางโรงเรียนต้องประกาศปิดเรียนเป็นเวลา 2 วัน พร้อมแจ้งให้ผู้ปกครองมารับลูกหลานกลับบ้าน
ส่วนที่บริเวณโรงเรียนมณีวัลย์ ในขุมชนตลาดมาดตาพุด จ.ระยอง ซึ่งด้านในน้ำท่วมสูงกว่า 1 เมตรภายในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนกว่า 1,000 คน เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง พร้อมทหารต้องนำรถเข้าไปนำเด็กออกมาจากโรงเรียน โดยใช้เรือยางซึ่งสามารถนำเด็กออกจากโรงเรียนได้ครั้งละประมาณ 10 คน หลังจากนั้นรถทหารได้นำเด็กออกสู่ภายนอก พร้อมทั้งประสานผู้ปกครองเด็กให้มารับกลับบ้าน
**ผู้ว่า กนอ.มั่นใจนิคมมาบตาพุตไม่ท่วม
ขณะที่ชลประทานจังหวัดระยอง ได้สั่งเปิดประตูน้ำทุกบานเพื่อให้น้ำไหลลงทะเล คาดว่าคงจะลดระดับลงในเวลาไม่นาน ขณะที่ในบริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ฝายกั้นน้ำแตก ประกอบกับฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องทำให้น้ำทะลักเข้าถนนในหมู่บ้านยายร้า ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง ปริมาณน้ำสูงประมาณ 50 ซม.ถึง 1 เมตร ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่องเร่งเข้าช่วยเหลือประชาชน
ดร.วีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ที่บริเวณสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยองนั้นในช่วงเช้ามีฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมถนนบริเวณสวนภูมิรักษ์สูงประมาณ 20 ซม.ซึ่งอยู่ติดคลองชากหมาก น้ำฝนได้ไหลลงมาจากที่สูงไหลข้ามถนนสุขุมวิท ไหลลงคลองชากหมาก ประกอบกับมีขยะจำนวนมากปนมากับน้ำ ทำให้บริเวณคอสะพานน้ำไหลลงทะเลไม่สะดวก ส่งผลทำให้น้ำท่วมถนน และตนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่รีบดำเนินการจัดเก็บขยะบริเวณคอสะพานโดยเร็ว จนขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วทำให้น้ำไหลลงคลองออกสู่ทะเลผิวถนนแห้งหมดแล้ว จึงไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำจะท่วมการนิคมฯ เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง
**"ธเนตร์"สั่ง ตร.ทั่วตะวันออกช่วย ปชช.
ขณะที่ พล.ต.ท.ธเนตร์ พิณเมืองงาม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 (ผบช.ภ.2) ได้ออกคำสั่งไปยัง 127 หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรทั้ง 8 จังหวัดภาคตะวันออก ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว โดยให้ตำรวจในทุกสังกัดของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ออกช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมขัง ลมกระโชกแรงพัดบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย
พร้อมทั้งคอยดูแลความสะดวกด้านการจราจร และดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในทุกพื้นที่อย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังให้ทุกสังกัดออกเฝ้าติดตามดูแลตลอดทั้งสถานการณ์ และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือโทรศัพท์ 191 ตลอด 24 ชั่วโมง
**อุตุเตือน"หว่ามก๋อ"ยังปกคลุมทั่ว ปท.
ทางด้านกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเตือน "พายุหมุนเขตร้อนบริเวณทะเลจีนใต้" ฉบับที่ 19 เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 17 ก.ย.58 ว่า หย่อมความกดอากาศต่ำที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชัน "หว่ามก๋อ" ยังคงปกคลุมบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกเป็นบริเวณกว้างกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ระมัดระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก รวมถึงฝนที่ตกสะสม
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย มีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กในบริเวณดังกล่าวควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 17-18 กันยายน 2558 ไว้ด้วย
***เตือน "คนนอนในน้ำท่วม" สุดเสี่ยงติด
นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาเตือนถึงโรคภัยที่อาจเกิดขึ้น ว่า โรคและภัยสุขภาพที่มักมากับน้ำท่วม คือ โรคติดเชื้อ โรคน้ำกัดเท้า ไฟฟ้าดูด และแมลงมีพิษกัดต่อย เป็นต้น อย่างรายที่เดินลุยน้ำหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน ก็มีความเสี่ยงต่อโรคน้ำกัดเท้าที่เกิดจากเชื้อรา โดยเชื้อราจะทำให้ผิวหนังซอกนิ้วเท้าแดง ขอบนูนเป็นวงกลมและคัน หากเกา แผลจะแตกและมีน้ำเหลืองเยิ้มออกมา ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินในที่ที่มีน้ำท่วมขัง ถ้าจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมรองเท้าบูท และเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งหลังขึ้นจากน้ำ และหากผิวหนังเริ่มเปื่อย เกิดตุ่มคัน น้ำกัดเท้า หรือมีบาดแผล ให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการดังกล่าวก่อนที่จะลุกลามจนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
นพ.โสภณ กล่าวว่า ส่วนคนที่นอนแช่น้ำท่วมก็เสี่ยงต่อการถูกไฟฟ้าดูดได้ ซึ่งอาจทำให้บาดเจ็บรุนแรง พิการ และเสียชีวิตได้ แม้จะมีการย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูงก็ตาม แต่ควรงดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เนื่องจากตัวเปียกอยู่ตลอดเวลา หรือตัวยังอยู่ในน้ำ ก็อาจเกิดความเสี่ยงได้ รวมถึงห้ามเปิดปิดสวิทซ์ไฟขณะตัวเปียกด้วย ทั้งนี้ ช่วงน้ำท่วมขอให้ขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและสิ่งของจำเป็นไว้ที่สูงที่น้ำท่วมไม่ถึง และถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน งดใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด หากระดับน้ำท่วมขังสูงเกินกว่าปลั๊กหรือเมนสวิทซ์อย่าเดินลุยน้ำ ให้หาวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ลังไม้ กล่องพลาสติก เพื่อใช้เป็นทางเดินไม่ให้ร่างกายถูกน้ำ และควรระมัดระวังดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าให้เล่นน้ำบริเวณใกล้เสาไฟ
ส่วนโรคติดเชื้อที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ โรคอุจจาระร่วงและโรคตาแดง จากข้อมูลเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-14 กันยายน 2558 โดยทั่วประเทศพบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง 768,127 ราย ผู้ป่วยโรคตาแดง 86,861 ราย โดยโรคอุจจาระร่วง สาเหตุมาจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน ป้องกันโดยดูแลสุขอนามัย ยึดหลักกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ไม่ถ่ายอุจจาระลงน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค ส่วนโรคตาแดง เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา ติดต่อโดยการสัมผัสคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคตาแดง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ขอให้ประชาชนล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ไม่คลุกคลีใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย อย่าให้แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เครื่องใช้ต่างๆ ไม่ควรลงเล่นน้ำในสระหรือคลอง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายในน้ำ
นอกจากนี้ ยังมีอันตายที่เกิดจากสัตว์และแมลงมีพิษกัดต่อยด้วย เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ที่หนีน้ำท่วมเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือน ควรดูแลรักษาความสะอาดในบ้าน จัดบ้านให้เป็นระเบียบ ไม่วางของกองทิ้งใกล้บ้าน เพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของสัตว์มีพิษต่างๆ
ด้าน นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ รองผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวว่า การนอนท่ามกลางน้ำท่วมถือว่าอันตราย และไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะน้ำท่วมนั้นเป็นน้ำที่ไม่สะอาด หากนอนแช่ในน้ำท่วมอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ คือ 1.การติดเชื้อโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผิวหนังมีบาดแผล โรคที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งคือโรคฉี่หนู ซึ่งอาจมีทั้งอาการไม่รุนแรง จนรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ 2.หากแช่น้ำเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดปัญหาเกิดผิวหนังอับชื้น เกิดเชื้อราขึ้นที่ผิวหนัง เกิดกลากขึ้น และ 3.ผิวหนังเปื่อย ผิวหนังระคายเคือง ทั้งนี้ ช่วงน้ำท่วมหากหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำได้ควรหลีกเลี่ยง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วขอให้รีบชำระล้างร่างกายให้สะอาด และเช็ดตัวให้แห้ง
** สธ.สั่ง รพ.รับมือพายุหว่ามก๋อ ออกตรวจ ปชช.
นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการรับมือฝนตกหนักจากพายุหว่ามก๋อ ว่า ได้สั่งการให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผอ.โรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 16 จังหวัด จัดแผนความพร้อมป้องกันน้ำท่วมสถานพยาบาล ขนย้ายเวชภัณฑ์ ยา เครื่องมือแพทย์ หรือเครื่องสำรองไฟฟ้าให้อยู่ในที่ปลอดภัย พร้อมใช้งาน และปรับแผนการจัดบริการผู้ป่วย รวมทั้งให้เตรียมพร้อมหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ออกปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่เจ็บป่วย โดยเฉพาะสถานพยาบาลที่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อนหรือตั้งใกล้ลุ่มน้ำ 12 แห่งใน 3 จังหวัด ขอให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย จ.ชลบุรี 2 แห่งคือ รพ.พานทอง รพ.พนัสนิคม จ.นครนายก 4 แห่ง ได้แก่ รพ.บ้านนา รพ.องครักษ์ รพ.ปากพลี และรพ.นครนายก จ.ฉะเชิงเทรา 6 แห่งได้แก่ รพ.บางคล้า รพ.ราชสาส์น รพ.พนมสารคาม รพ.สนามชัยเขต รพ.ฉะเชิงเทรา และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองเขื่อน สำหรับ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี สถานพยาบาลของ สธ.ทั้ง 20 แห่งไม่ถูกน้ำท่วม สามารถเปิดบริการตามปกติ