เมื่อเช้าวานนี้ (16ก.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานในการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เพื่อหารือถึงสถานการณ์น้ำ ทั้งน้ำท่วม และน้ำแล้ง โดยมีรัฐมนตรีที่เข้าร่วมประชุม อาทิ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์น้ำเพราะมีฝนตกน้ำท่วม และน้ำแล้ง โดยในส่วนของน้ำท่วมทั้งในกทม. และต่างจังหวัดนั้น นายกฯย้ำในหลักการในส่วนของกทม.ว่า ท่อระบายน้ำอาจจะไม่รองรับการระบายน้ำ เพราะผังเมืองไม่ค่อยดี และปัญหาขยะที่มาพร้อมกับฝน ทำให้การระบายน้ำมีปัญหา
ทั้งนี้ ทางกระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ได้มีการหารือกับ กทม. หน่วยทหาร และกระทรวงศึกษาธิการ ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยจะไม่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติเหมือนที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การตรวจสอบเรดาห์ หาพิกัดว่าตรงไหนจะมีฝนตก เพื่อทำการระบายรถก่อนที่ฝนจะตก ไม่ให้การจราจรคับคั่ง และเมื่อน้ำเริ่มท่วมขัง จะมีนักเรียนอาชีวะจะเปิดจุดบริการเร่งด่วน เพื่อช่วยซ่อมรถ ขณะที่ทหาร และเจ้าหน้าที่กทม. ต้องเคลียร์พื้นที่ไม่ให้มีรถเสียจอดบนผิวการจราจร ส่วนน้ำท่วมในต่างจังหวัดในส่วนของผิวจราจรที่มีน้ำท่วมขัง จะทำให้น้ำระบายได้เร็วที่สุด ซึ่งแต่ละจังหวัด ก็มีข้อจำกัดแตกต่างกัน
นายกฯ ยังเน้นย้ำว่า กรณีที่มีฝนตกน้ำท่วม อย่าคิดถึงแค่เรื่องการระบายน้ำ เพื่อให้ผิวการจราจรแห้งเท่านั้น ต้องคิดถึงเรื่องเก็บกักน้ำด้วย จึงมีการเรียกข้อมูลจากกรมชลประทานมาดู ซึ่งมีการทำข้อมูลมาให้ดูแบบละเอียด แต่ในที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ขอให้เพิ่มความละเอียดมากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาที่มามีแต่ข้อมูลน้ำในเขื่อนหลักเท่านั้น แต่นายกฯ ต้องการข้อมูลน้ำบาดาลที่มีการขุดเจาะแล้ว ว่ามีปริมาณเท่าใด แหล่งเก็บกักน้ำที่รัฐบาลส่งเสริมด้วยการอัดเม็ดเงินลงไป ปัจจุบันเก็บกักน้ำได้เท่าไรแล้ว ดังนั้นหมายความว่า น้ำต้นทุนที่เคยพูดถึงเฉพาะเขื่อนหลักไม่เพียงพอแล้ว เนื่องจากปีนี้
ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ ปริมาณค่าเฉลี่ยของฝนที่น้อยกว่าที่ผ่านมา 25% จึงต้องวางแผนจากข้อมูลที่ละเอียดตั้งแต่วันนี้ นายกฯ จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นแกนกลางในการประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการระดมข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน
ในที่ประชุมยังมีการหารือถึงการที่จะนำน้ำจากแม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน ที่มีการพูดกันมานานแล้ว มีการตรวจสอบแล้วว่า มีความเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นแม่น้ำที่มีพื้นที่ในประเทศอื่นด้วย ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ กลับมาดูแม่น้ำในประเทศทั้งสายหลัก และสายย่อย ที่จะไหลลงแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน ควรทำพื้นที่เก็บกักน้ำที่เป็นแก้มลิง และฝายแยกออกจากแม่น้ำหลักและแม่น้ำสาขาภายในประเทศก่อนที่จะลงในแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน เพื่อให้มีแหล่งเก็บกักในพื้นที่ก่อน ให้อยู่ในประเทศนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ซึ่งในที่ประชุมพล.อ.ฉัตรชัย ระบุว่าได้จัดเตรียมข้อมูลเรื่องแก้มลิงเอาไว้แล้วจำนวน 30 แห่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคอีสาน คือ จ.นครพนม หนองคาย บึงกาฬ เลย และ มุกดาหาร และมีการทำฝายอีก 22 จังหวัด ที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานตอนบน และภาคกลางตอนบนบางส่วน
"ไม่ต้องขออนุญาตต่างประเทศ เพราะแม่น้ำอยู่ในพื้นที่ของเราก่อนที่จะไป แต่ต้องทำให้ประเทศอื่นเขาไม่รู้สึกว่า จะทำให้ส่วนรวมเสียหายหรือไม่ เพราะนี่ไม่ใช่การดึงน้ำจากแม่น้ำโขง เข้าประเทศเรา แต่เราทำแก้มลิงเพื่อกักน้ำให้อยู่ในประเทศนานที่สุด ซึ่งนายกฯ สั่งให้นำกำลังทหารมาช่วยขุดแก้มลิง ซึ่งตอนนี้เขามีจุดที่ขุดแล้ว" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมหารือถึงการแย่งน้ำของประชาชน จากบทเรียนครั้งที่ผ่านมาว่า พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวในที่ประชุมว่า เป็นไปไม่ได้ที่ปล่อยน้ำไปแล้วจะนิ่งเฉย เพราะชาวบ้านต้องสู้เพื่อชีวิตของเขา ดังนั้น จึงมีความสำคัญในเรื่องข้อมูลที่นายกฯ สั่งการว่า ข้อมูลจะต้องละเอียดลึกถึงกึ๋น และต้องมีความชัดเจนว่า ตรงไหน ช่วยเหลืออย่างไร ถ้าทุกคนคิดว่าทุกอย่างต้องได้เหมือนเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นถ้าทำให้ประชาชนทราบข้อมูลพร้อมกับรัฐบาล คือสิ่งที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ นายกฯยังห่วงใยในเรื่องของการแจ้งข้อมูลกับประชาชนว่า ไม่สามารถทำได้แบบเป็น“ต่อน ต่อน”หรือเป็นเรื่องๆได้ เพราะประชาชน จะต้องรับทราบข้อมูลและสถานการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงไปพร้อมกับรัฐบาล เพื่อเข้าใจว่าจะเกิดปัญหาอะไรในวันข้างหน้า เพื่อเข้าใจว่าทำไมรัฐบาลจึงต้องมีมาตรการแบบนี้ ซึ่งนายกฯ ให้เวลาหน่วยงานในการดำเนินมาตรการภายใน 2 สัปดาห์ นับจากนี้ให้ชัดเจนว่าถ้าหากรัฐบาลจะขอความกรุณาประชาชน และเกษตรกรในการห้ามทำอะไร ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกจะต้องออกไปเป็นแพกเกจ ไม่ใช่มีเพียงระบุมาตรการว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร แต่จะต้องมีมาตรการในการช่วยเหลือพร้อมไปทีเดียว เพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งหลายว่ารัฐจะมีแนวทางช่วยเหลือเพื่อประคับประคองให้ผ่านวิกฤติไปได้อย่างไร เพราะถ้าออกมาตรการเป็นแพกเกจ จะไม่มีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา เพราะอย่างปีที่ผ่านมาเราบอกว่า ห้ามปลูก บางทีมันลำบาก เพราะเกษตรกรมีวิธีการปฏิบัติแบบนี้มาตลอดทั้งชีวิต ฉะนั้นนายกฯ จึงสั่งทุกหน่วยงาน ธนาคาร ธกส. ธนาคารออมสิน ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชลประทานที่อยู่ในพื้นที่ต้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนในสิ่งที่ตัวเองเกี่ยวข้องด้วย และมั่นใจว่าวิกฤติการณ์เหล่านี้จะดีขึ้น เนื่องจากประชาชนจะเข้าใจสถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นในเรื่องน้ำ
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวยกตัวอย่างแพกเกจในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ว่า นายกฯ ยกตัวอย่างถึงขั้นว่าไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น มีตลาดรองรับพืชที่จะให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่ สัดส่วนในการปรับเปลี่ยนเป็นอย่างไร เรานำเอาปัญหาของปีที่แล้วที่ปล่อยให้ประชาชนเห็นข้าวยืนต้นตาย มันทำไม่ได้ ดังนั้นต้องมีความชัดเจนทั้งแพกเกจ ซึ่งนายกฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการออกมาตรการ และให้ได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมครม.ต่อไป โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นการแกนกลางในการประสานงานในการคิดแพกเกจทั้งระบบ
เมื่อถามว่าให้เวลาคิดมาตรการ 2 สัปดาห์ จะทันหรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ข้อมูลมีอยู่แล้ว แต่วันนี้มีการนำข้อมูลมาเรียงแต่ยังไม่ครบทุกส่วน ดังนั้น การทำข้อมูลมาครบทุกส่วนคิดว่าจะดำเนินการทัน ซึ่งรองนายกฯสมคิด พูดด้วยซ้ำไปว่าให้เวลา 1 สัปดาห์ เพราะมีการสอบถามกันแล้ว พบว่าส่วนใหญ่มีข้อมูลดิบกันอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องทำข้อมูลของทุกส่วนมาประสานกัน
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่องสถานการณ์น้ำเพราะมีฝนตกน้ำท่วม และน้ำแล้ง โดยในส่วนของน้ำท่วมทั้งในกทม. และต่างจังหวัดนั้น นายกฯย้ำในหลักการในส่วนของกทม.ว่า ท่อระบายน้ำอาจจะไม่รองรับการระบายน้ำ เพราะผังเมืองไม่ค่อยดี และปัญหาขยะที่มาพร้อมกับฝน ทำให้การระบายน้ำมีปัญหา
ทั้งนี้ ทางกระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ได้มีการหารือกับ กทม. หน่วยทหาร และกระทรวงศึกษาธิการ ในการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยจะไม่ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติเหมือนที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่การตรวจสอบเรดาห์ หาพิกัดว่าตรงไหนจะมีฝนตก เพื่อทำการระบายรถก่อนที่ฝนจะตก ไม่ให้การจราจรคับคั่ง และเมื่อน้ำเริ่มท่วมขัง จะมีนักเรียนอาชีวะจะเปิดจุดบริการเร่งด่วน เพื่อช่วยซ่อมรถ ขณะที่ทหาร และเจ้าหน้าที่กทม. ต้องเคลียร์พื้นที่ไม่ให้มีรถเสียจอดบนผิวการจราจร ส่วนน้ำท่วมในต่างจังหวัดในส่วนของผิวจราจรที่มีน้ำท่วมขัง จะทำให้น้ำระบายได้เร็วที่สุด ซึ่งแต่ละจังหวัด ก็มีข้อจำกัดแตกต่างกัน
นายกฯ ยังเน้นย้ำว่า กรณีที่มีฝนตกน้ำท่วม อย่าคิดถึงแค่เรื่องการระบายน้ำ เพื่อให้ผิวการจราจรแห้งเท่านั้น ต้องคิดถึงเรื่องเก็บกักน้ำด้วย จึงมีการเรียกข้อมูลจากกรมชลประทานมาดู ซึ่งมีการทำข้อมูลมาให้ดูแบบละเอียด แต่ในที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ขอให้เพิ่มความละเอียดมากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาที่มามีแต่ข้อมูลน้ำในเขื่อนหลักเท่านั้น แต่นายกฯ ต้องการข้อมูลน้ำบาดาลที่มีการขุดเจาะแล้ว ว่ามีปริมาณเท่าใด แหล่งเก็บกักน้ำที่รัฐบาลส่งเสริมด้วยการอัดเม็ดเงินลงไป ปัจจุบันเก็บกักน้ำได้เท่าไรแล้ว ดังนั้นหมายความว่า น้ำต้นทุนที่เคยพูดถึงเฉพาะเขื่อนหลักไม่เพียงพอแล้ว เนื่องจากปีนี้
ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ ปริมาณค่าเฉลี่ยของฝนที่น้อยกว่าที่ผ่านมา 25% จึงต้องวางแผนจากข้อมูลที่ละเอียดตั้งแต่วันนี้ นายกฯ จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นแกนกลางในการประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการระดมข้อมูลทั้งหมดมาเชื่อมโยงกัน
ในที่ประชุมยังมีการหารือถึงการที่จะนำน้ำจากแม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน ที่มีการพูดกันมานานแล้ว มีการตรวจสอบแล้วว่า มีความเป็นไปได้ยาก เพราะเป็นแม่น้ำที่มีพื้นที่ในประเทศอื่นด้วย ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ กลับมาดูแม่น้ำในประเทศทั้งสายหลัก และสายย่อย ที่จะไหลลงแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน ควรทำพื้นที่เก็บกักน้ำที่เป็นแก้มลิง และฝายแยกออกจากแม่น้ำหลักและแม่น้ำสาขาภายในประเทศก่อนที่จะลงในแม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน เพื่อให้มีแหล่งเก็บกักในพื้นที่ก่อน ให้อยู่ในประเทศนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ซึ่งในที่ประชุมพล.อ.ฉัตรชัย ระบุว่าได้จัดเตรียมข้อมูลเรื่องแก้มลิงเอาไว้แล้วจำนวน 30 แห่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคอีสาน คือ จ.นครพนม หนองคาย บึงกาฬ เลย และ มุกดาหาร และมีการทำฝายอีก 22 จังหวัด ที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานตอนบน และภาคกลางตอนบนบางส่วน
"ไม่ต้องขออนุญาตต่างประเทศ เพราะแม่น้ำอยู่ในพื้นที่ของเราก่อนที่จะไป แต่ต้องทำให้ประเทศอื่นเขาไม่รู้สึกว่า จะทำให้ส่วนรวมเสียหายหรือไม่ เพราะนี่ไม่ใช่การดึงน้ำจากแม่น้ำโขง เข้าประเทศเรา แต่เราทำแก้มลิงเพื่อกักน้ำให้อยู่ในประเทศนานที่สุด ซึ่งนายกฯ สั่งให้นำกำลังทหารมาช่วยขุดแก้มลิง ซึ่งตอนนี้เขามีจุดที่ขุดแล้ว" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวด้วยว่า ในที่ประชุมหารือถึงการแย่งน้ำของประชาชน จากบทเรียนครั้งที่ผ่านมาว่า พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวในที่ประชุมว่า เป็นไปไม่ได้ที่ปล่อยน้ำไปแล้วจะนิ่งเฉย เพราะชาวบ้านต้องสู้เพื่อชีวิตของเขา ดังนั้น จึงมีความสำคัญในเรื่องข้อมูลที่นายกฯ สั่งการว่า ข้อมูลจะต้องละเอียดลึกถึงกึ๋น และต้องมีความชัดเจนว่า ตรงไหน ช่วยเหลืออย่างไร ถ้าทุกคนคิดว่าทุกอย่างต้องได้เหมือนเดิมนั้น เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นถ้าทำให้ประชาชนทราบข้อมูลพร้อมกับรัฐบาล คือสิ่งที่ดีที่สุด
นอกจากนี้ นายกฯยังห่วงใยในเรื่องของการแจ้งข้อมูลกับประชาชนว่า ไม่สามารถทำได้แบบเป็น“ต่อน ต่อน”หรือเป็นเรื่องๆได้ เพราะประชาชน จะต้องรับทราบข้อมูลและสถานการณ์ที่เป็นข้อเท็จจริงไปพร้อมกับรัฐบาล เพื่อเข้าใจว่าจะเกิดปัญหาอะไรในวันข้างหน้า เพื่อเข้าใจว่าทำไมรัฐบาลจึงต้องมีมาตรการแบบนี้ ซึ่งนายกฯ ให้เวลาหน่วยงานในการดำเนินมาตรการภายใน 2 สัปดาห์ นับจากนี้ให้ชัดเจนว่าถ้าหากรัฐบาลจะขอความกรุณาประชาชน และเกษตรกรในการห้ามทำอะไร ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกจะต้องออกไปเป็นแพกเกจ ไม่ใช่มีเพียงระบุมาตรการว่าควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร แต่จะต้องมีมาตรการในการช่วยเหลือพร้อมไปทีเดียว เพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งหลายว่ารัฐจะมีแนวทางช่วยเหลือเพื่อประคับประคองให้ผ่านวิกฤติไปได้อย่างไร เพราะถ้าออกมาตรการเป็นแพกเกจ จะไม่มีปัญหาเหมือนที่ผ่านมา เพราะอย่างปีที่ผ่านมาเราบอกว่า ห้ามปลูก บางทีมันลำบาก เพราะเกษตรกรมีวิธีการปฏิบัติแบบนี้มาตลอดทั้งชีวิต ฉะนั้นนายกฯ จึงสั่งทุกหน่วยงาน ธนาคาร ธกส. ธนาคารออมสิน ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชลประทานที่อยู่ในพื้นที่ต้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนในสิ่งที่ตัวเองเกี่ยวข้องด้วย และมั่นใจว่าวิกฤติการณ์เหล่านี้จะดีขึ้น เนื่องจากประชาชนจะเข้าใจสถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นในเรื่องน้ำ
พล.ต.สรรเสริญ กล่าวยกตัวอย่างแพกเกจในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช ว่า นายกฯ ยกตัวอย่างถึงขั้นว่าไม่ใช่เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น มีตลาดรองรับพืชที่จะให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่ สัดส่วนในการปรับเปลี่ยนเป็นอย่างไร เรานำเอาปัญหาของปีที่แล้วที่ปล่อยให้ประชาชนเห็นข้าวยืนต้นตาย มันทำไม่ได้ ดังนั้นต้องมีความชัดเจนทั้งแพกเกจ ซึ่งนายกฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการออกมาตรการ และให้ได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้ ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ ซึ่งจะมีการนำเสนอต่อที่ประชุมครม.ต่อไป โดยกระทรวงเกษตรฯ จะเป็นการแกนกลางในการประสานงานในการคิดแพกเกจทั้งระบบ
เมื่อถามว่าให้เวลาคิดมาตรการ 2 สัปดาห์ จะทันหรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ข้อมูลมีอยู่แล้ว แต่วันนี้มีการนำข้อมูลมาเรียงแต่ยังไม่ครบทุกส่วน ดังนั้น การทำข้อมูลมาครบทุกส่วนคิดว่าจะดำเนินการทัน ซึ่งรองนายกฯสมคิด พูดด้วยซ้ำไปว่าให้เวลา 1 สัปดาห์ เพราะมีการสอบถามกันแล้ว พบว่าส่วนใหญ่มีข้อมูลดิบกันอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องทำข้อมูลของทุกส่วนมาประสานกัน