นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในศาลปกครองจากกรณีการพักราชการ และตั้งคณะกรรมการสอบสวนนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ว่า การพักราชการ และตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตุลาการนั้น ถือเป็นอำนาจของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ที่สามารถทำได้ แต่ในระเบียบ ก.ศป.เองก็ได้กำหนดเวลาเร่งรัดของการดำเนินการสอบสวนของคณะกรรมการฯให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน หากมีการขยาย ก็ควรที่จะต้องมีเหตุผลที่สมควร ก.ศป. จึงควรออกมาชี้แจงว่า อุปสรรคบางประการ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการสอบสวนที่ระบุในแถลงการณ์สำนักงานศาลปกครอง เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมานั้น คืออะไร เพราะหากไม่มีความชัดเจนว่า อุปสรรคบางประการนั้น หมายถึงเรื่องใด ก็อาจจะถูกครหาว่า ต้องการประวิงเวลาให้การสอบสวนยืดเยื้อได้ เนื่องจากมีการตั้งคณะกรรมการฯตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และการคัดค้านกรรมการผู้แทนจาก คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ก็ได้ข้อยุติไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่า การสอบสวนไม่ได้เร่งรัดตามที่ระเบียบของ ก.ศป. กำหนดไว้
นอกจากนี้ ยังมีการระบุด้วยว่า คณะกรรมการสอบสวนฯได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และมีมติเสียงข้างมาก ว่า ไม่มีมูลความผิดของนายหัสวุฒิ แต่ทางก.ศป.กลับมีมติให้ คณะกรรมการสอบสวนฯ ให้นายหัสวุฒิ มารับทราบข้อกล่าวหาอีก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ของกระบวนการสอบสวนตามระเบียบ ก.ศป. แต่เมื่อผลการสอบสวนออกมาเป็นคุณกับผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ตามหลักกฎหมายก็ควรที่จะยกประโยชน์ให้กับนายหัสวุฒิ เพราะถือว่า เป็นความบกพร่องของคณะกรรมการสอบสวนฯเอง ที่ไม่ได้เชิญนายหัสวุฒิ มารับทราบข้อกล่าวหาตั้งแต่ต้น ดังนั้น มติของ ก.ศป. ที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จโดยเร็วเช่นนี้ ก็อาจถูกตั้งข้อครหาอีกได้เช่นกัน
"การกำหนดระยะเวลาเร่งรัด เกี่ยวกับการสอบสวนบุคคลนั้น แม้จะไม่ได้เป็นการบังคับโดยตรงให้ต้องทำการสอบสวนแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ถือเป็นการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้ต้องตกอยู่กระบวนการสอบสวนนานเกินไป กรณีนี้ในระเบียบ ก.ศป. ก็กำหนดให้ขยายระยะเวลาสอบสวนได้ แต่ก็ต้องมีเหตุผลที่สมควร ดังนั้น ก.ศป. ต้องออกมาชี้แจงว่า อุปสรรคบางประการที่ระบุนั้น หมายถึงเรื่องใด" นายกิตติศักดิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ ก.ศป. มีมติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย นายหัสวุฒิ เพิ่มเติมในกรณีเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงในการไปร่วมพิธียกยอดฉัตรทองคำ ที่ จ.สุโขทัย ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีภารกิจที่ จ.พิษณุโลก นั้น นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อมีการร้องเรียนมา ก็สามารถสอบสวนได้ โดยเรื่องนี้ควรจะดูข้อเท็จจริงของการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวว่า เป็นการจงใจ หรือเป็นการเข้าใจผิด เนื่องจากตามระบบราชการอาจมีหน่วยงานตั้งเรื่องขึ้นมา แล้วบุคคลนั้นอาจจะลงนามตามเรื่องที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่ได้มีเจตนา แต่หากมีเจตนา ก็ถือว่าไม่เหมาะสม
ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในศาลปกครองขณะนี้ ถือว่ากระทบกับภาพลักษณ์ขององค์กรตุลาการอย่างแน่นอน เพราะต้องทำตัวให้เป็นที่น่าเชื่อถือ แต่กลับเกิดความขัดแย้งกันเองภายใน ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องพิจารณาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากเรื่องใด อีกทั้งเมื่อพบว่าเกิดความผิดพลาด ไม่ว่าในกระบวนการใด ก็ควรที่จะรีบแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีโอกาสหลายครั้งในการแก้ไข แต่ก็ยังปล่อยให้เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจนบัดนี้ ก็เหมือนกับรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจที่อาจจะทำผิดพลาดกันได้ แต่เมื่อมีเรื่องผิดพลาดก็ต้องรีบแก้ไข สังคมก็พร้อมที่จะให้โอกาส แต่หากไม่แก้ไขสุดท้ายก็อยู่ไม่ได้
"ผู้ที่เกี่ยวข้องในศาลปกครองทั้งหมด ควรจะทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้น หากแก้ไขได้โดยเร็ว สังคมก็พร้อมที่จะเข้าใจ และให้ความเชื่อถือต่อไป แต่หากปล่อยให้ยืดเยื้อต่อไปเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นผลดีกับศาลปกครองเอง" นายกิตติศักดิ์ ระบุ
นอกจากนี้ ยังมีการระบุด้วยว่า คณะกรรมการสอบสวนฯได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และมีมติเสียงข้างมาก ว่า ไม่มีมูลความผิดของนายหัสวุฒิ แต่ทางก.ศป.กลับมีมติให้ คณะกรรมการสอบสวนฯ ให้นายหัสวุฒิ มารับทราบข้อกล่าวหาอีก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความไม่สมบูรณ์ของกระบวนการสอบสวนตามระเบียบ ก.ศป. แต่เมื่อผลการสอบสวนออกมาเป็นคุณกับผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ตามหลักกฎหมายก็ควรที่จะยกประโยชน์ให้กับนายหัสวุฒิ เพราะถือว่า เป็นความบกพร่องของคณะกรรมการสอบสวนฯเอง ที่ไม่ได้เชิญนายหัสวุฒิ มารับทราบข้อกล่าวหาตั้งแต่ต้น ดังนั้น มติของ ก.ศป. ที่ทำให้การสอบสวนไม่แล้วเสร็จโดยเร็วเช่นนี้ ก็อาจถูกตั้งข้อครหาอีกได้เช่นกัน
"การกำหนดระยะเวลาเร่งรัด เกี่ยวกับการสอบสวนบุคคลนั้น แม้จะไม่ได้เป็นการบังคับโดยตรงให้ต้องทำการสอบสวนแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด แต่ก็ถือเป็นการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้ต้องตกอยู่กระบวนการสอบสวนนานเกินไป กรณีนี้ในระเบียบ ก.ศป. ก็กำหนดให้ขยายระยะเวลาสอบสวนได้ แต่ก็ต้องมีเหตุผลที่สมควร ดังนั้น ก.ศป. ต้องออกมาชี้แจงว่า อุปสรรคบางประการที่ระบุนั้น หมายถึงเรื่องใด" นายกิตติศักดิ์ กล่าว
ส่วนกรณีที่ ก.ศป. มีมติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย นายหัสวุฒิ เพิ่มเติมในกรณีเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงในการไปร่วมพิธียกยอดฉัตรทองคำ ที่ จ.สุโขทัย ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีภารกิจที่ จ.พิษณุโลก นั้น นายกิตติศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อมีการร้องเรียนมา ก็สามารถสอบสวนได้ โดยเรื่องนี้ควรจะดูข้อเท็จจริงของการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวว่า เป็นการจงใจ หรือเป็นการเข้าใจผิด เนื่องจากตามระบบราชการอาจมีหน่วยงานตั้งเรื่องขึ้นมา แล้วบุคคลนั้นอาจจะลงนามตามเรื่องที่ตั้งขึ้นมาโดยไม่ได้มีเจตนา แต่หากมีเจตนา ก็ถือว่าไม่เหมาะสม
ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในศาลปกครองขณะนี้ ถือว่ากระทบกับภาพลักษณ์ขององค์กรตุลาการอย่างแน่นอน เพราะต้องทำตัวให้เป็นที่น่าเชื่อถือ แต่กลับเกิดความขัดแย้งกันเองภายใน ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องพิจารณาว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจากเรื่องใด อีกทั้งเมื่อพบว่าเกิดความผิดพลาด ไม่ว่าในกระบวนการใด ก็ควรที่จะรีบแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีโอกาสหลายครั้งในการแก้ไข แต่ก็ยังปล่อยให้เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจนบัดนี้ ก็เหมือนกับรัฐบาล หรือผู้มีอำนาจที่อาจจะทำผิดพลาดกันได้ แต่เมื่อมีเรื่องผิดพลาดก็ต้องรีบแก้ไข สังคมก็พร้อมที่จะให้โอกาส แต่หากไม่แก้ไขสุดท้ายก็อยู่ไม่ได้
"ผู้ที่เกี่ยวข้องในศาลปกครองทั้งหมด ควรจะทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้น หากแก้ไขได้โดยเร็ว สังคมก็พร้อมที่จะเข้าใจ และให้ความเชื่อถือต่อไป แต่หากปล่อยให้ยืดเยื้อต่อไปเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นผลดีกับศาลปกครองเอง" นายกิตติศักดิ์ ระบุ