เมืองไทยมีกบอาศัยอยู่ทั่วทุกหัวระแหง คนไทยโดยทั่วไปจึงรู้จักกบดี กบมีประโยชน์หลายอย่างรวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารจานเด็ด และตุ๊กตาที่คนไทยนำมาใช้ในคำพังเพย โดยเฉพาะ “กบในกะลา” และ “ต้มกบ” “กบในกะลา” ถูกนำมาใช้เมื่อต้องการตราว่าใครไม่ค่อยมีความรู้ หรือเป็นผู้มีโลกแคบ ส่วน “ต้มกบ” ถูกนำมาใช้เมื่อต้องการชี้ให้เห็นภาวะของความไม่ตระหนักถึงอันตรายของผู้อยู่ในเหตุการณ์ จึงมักหลงระเริง หรือไม่เตรียมตัวเผชิญกับอันตรายที่ค่อยๆ เคลื่อนใกล้เข้ามา นายกรัฐมนตรีและเมืองไทยตกอยู่ในภาวะนี้หรือไม่เป็นประเด็นน่าใส่ใจในขณะนี้
กระบวนการซึ่งกำลังนำเมืองไทยไปสู่ภาวะต้มกบหรือไม่และตั้งแต่เมื่อไรอาจถกเถียงกันได้แบบไม่รู้จบ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเมืองไทยในขณะนี้เริ่มต้นจากวันที่มีการใช้นโยบายแนวใหม่ซึ่งรัฐบาลไทยไม่เคยใช้มาก่อน นั่นคือ นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายที่เริ่มในปี 2544
ก่อนเขียนต่อไป ขอย้ำคำว่า “ประชานิยมแบบเลวร้าย” เนื่องจาก “ประชานิยม” โดยเนื้อแท้เป็นสิ่งที่ดี แต่มีการบิดเบือนไปในทางเลวร้าย ความเสียหายร้ายแรงจึงตามมา ความแตกต่างระหว่างความหมายดั้งเดิมและการนำมาใช้ในด้านเลวร้ายผมได้เขียนถึงหลายครั้งแล้ว จึงจะไม่นำมาเสนอซ้ำอีก ผู้ที่ต้องการอ่านรายละเอียดอาจเข้าไปดาวน์โหลดเรื่อง “ขยายความคำว่า ‘ประชานิยม’” ได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงอย่างไรมีอยู่ในหนังสือและบทความทางประวัติศาสตร์ ผู้สนใจอาจหาอ่านได้ทั่วไปในขณะนี้เนื่องจากมีการเขียนถึงกันมากหลังจากรัฐบาลเริ่มนำมาใช้ อาร์เจนตินามักถูกนำมาเป็นตัวอย่าง ผู้ต้องการอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับอาร์เจนตินาอาจมองหาหนังสือชื่อ “ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย?” พิมพ์โดยเนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อปี 2546 เนื่องจากหนังสือเล่มนี้พิมพ์มากว่า 10 ปีแล้ว จึงอาจมีอยู่ตามห้องสมุด หรือตามร้านหนังสือเก่าเท่านั้น ในปัจจุบัน เรื่องราวของการใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายในอาร์เจนตินาอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “ประชานิยม : ทางสู่ความหายนะ” เล่มนี้มีเรื่องราวของเวเนซุเอลาซึ่งน่าจะให้บทเรียนอีกมุมหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเวเนซุเอลามีน้ำมันปิโตรเลียมปริมาณมหาศาล แต่การบริหารจัดการรายได้จากการขายน้ำมันไม่เหมาะสม ส่งผลให้สังคมเป็นง่อยทั้งในด้านความคิดและพฤติกรรม นโยบายประชานินมแบบเลวร้ายทำให้เวเนซุเอลายิ่งพยายามพัฒนายิ่งถอยหลัง
สำหรับในเมืองไทย มาตรการไหนและนโยบายอะไรเป็นประชานิยมแบบเลวร้ายหรือไม่คงถกเถียงกันแบบไม่รู้จบ เช่นเดียวกับเรื่องเมืองไทยกำลังตกอยู่ในภาวะต้มกบหรือไม่ ฉะนั้น วันนี้จะไม่ฟันธงลงไปว่าอะไรบ้างที่เป็นประชานิยมแบบเลวร้าย ยกเว้นเรื่องโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา เนื่องจากโครงการนี้ยังมีความเสียหายร้ายแรงให้เห็นอยู่ตำตาไม่ว่าจะเป็นความเสียหายในรูปของการเงินนับแสนล้านบาท หรือในรูปของข้าวที่ยังเน่าอยู่ตามโกดังต่างๆ ทั่วประเทศนับล้านตัน นอกจากนั้น มันยังชี้ให้เห็นด้วยว่าน่าจะมีความฉ้อฉลร้ายแรงของผู้เกี่ยวข้องเกิดขึ้น
โครงการรับจำนำข้าวเป็นประชานิยมแบบเลวร้ายและจะทำให้ชาติไทยล่มจมอย่างไร ผมได้อธิบายไว้ในคอลัมน์นี้ตั้งแต่ปี 2555 ด้วยเรื่อง “การรับจำนำข้าวเป็นสัญญาณสุดท้ายของการบอกให้เตรียมตัว” ซึ่งพิมพ์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 และเรื่อง “การสร้างทาสชาวนาและการฆ่าชาติไทยของนโยบายรับจำนำข้าว” ซึ่งพิมพ์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 หากหาไม่ได้ อาจเข้าไปดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาที่อ้างถึงแล้ว
ทั้งที่แสนเลวร้ายจนอาจพาเมืองไทยไปสู่ความล่มจม แต่นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายมิได้ถาโถมเข้ามาสู่สังคมไทยเพียงอย่างเดียว ยังมีสิ่งอื่นที่มากับ “คลื่นลูกที่ 4” ซึ่งมีพลังสูงพอที่จะพาเมืองไทยไปสู่ความล่มจมได้อีก “คลื่นลูกที่ 4” คืออะไร อาจทำเมืองไทยให้ล่มจมได้อย่างไร และอะไรเป็นทางออกของเมืองไทยอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “โต้คลื่นลูกที่ 4” ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2549 โดยเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป ในที่นี้ขอชี้ให้เห็นแต่เพียงว่า ภาวะของโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่เคยใช้ได้ผลตามเป้าหมายจึงใช้ไม่ได้ดังครั้งก่อนๆ หลังจากเกิดภาวะถดถอยร้ายแรงเมื่อปี 2551
จะเห็นว่าหลังจากปี 2551 ประเทศต่างๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปต่างทุ่มเงินเข้าไปในระบบจำนวนมหาศาลและลดดอกเบี้ยกันลงมาเหลือศูนย์ หรือใกล้ศูนย์ มาตรการเหล่านั้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเต็มอัตราตามตำราที่ใช้กันมาเกือบร้อยปี แต่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในภาวะต้วมเตี้ยมรวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาซึ่งถูกยกย่องให้เป็นดารามานานปี เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล
ภาวะของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญมีหลายด้านด้วยกันโดยเฉพาะสองด้านนี้
- การเดินสวนทางกันของจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทุกวันกับทรัพยากรที่ร่อยหรอลงส่งผลให้เกิดการแย่งชิงกันอย่างเข้มข้นขึ้น การแย่งชิงเป็นไปทั้งในรูปที่ถูกกฎหมายและในรูปที่ผิดกฎหมายและหลักมนุษยธรรมรวมทั้งการทำสงครามและความฉ้อฉลที่เพิ่มขึ้น ผู้ที่มีอำนาจและทรัพย์สินมากอยู่แล้วได้เปรียบผู้ที่มีน้อยส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำเลวร้ายยิ่งขึ้น วิธีการหนึ่งซึ่งใช้ในการแย่งชิงได้แก่กิจกรรมจำพวกผีโม่แป้งที่ไม่มีผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ตัวอย่างสำคัญได้แก่การเล่นแร่แปรธาตุของภาคการเงินที่นำตราสารหนี้ต่างๆ มายำแล้วขายต่อๆ ไปให้สถาบันทางการเงินด้วยกัน กิจการจำพวกนี้เป็นต้นตอของการก่อหนี้และภาวะฟองสบู่ที่ปะทุเมื่อปี 2551 และทำให้เกิดภาวะถดถอยครั้งใหญ่ ภาคการเงินเป็นผีโม่แป้งอย่างไรอาจหาอ่านได้ในหนังสือที่เพิ่งพิมพ์ออกมาชื่อ The Other People’s Money: The Real Business of Finance เขียนโดย John Kay ในเมืองไทย องค์กรซ้ำซ้อนที่ตั้งขึ้นมาก็จัดได้ว่าอยู่ในจำพวกนี้เช่นกัน
- ครอบครัวเกือบทั่วทั้งโลกตกอยู่ในภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวรวมทั้งครอบครัวไทยในเกือบทุกสายอาชีพ
เมืองไทยตกอยู่ในสภาวะเดียวกันกับโลกโดยทั่วไปเพราะใช้ระบบตลาดเสรีและเปิดประเทศค้าขายกับชาวโลกสูงมาก เรื่องนี้รัฐบาลคงเข้าใจ แต่เพราะอะไรจึงเริ่มผลักดันด้วยการใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2544 และการทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเข้าไปในเศรษฐกิจในรูปต่างๆ ไม่มีความกระจ่างแม้แต่น้อย เงินจำนวนมากที่ทุ่มเข้าไปในตำบลและหมู่บ้านจะไหลกลับเข้าสู่กระเป๋าของนายทุน แต่ในขณะเดียวกันมันจะทำให้ภาระหนี้สินของชาวบ้านจะพุ่งขึ้นไปแบบไม่หยุดยั้งดังที่เกิดขึ้นแล้ว
ปรากฏการณ์นี้ทำให้มีการคาดเดากันว่า ผู้ที่อยู่รอบๆ ตัวนายกรัฐมนตรีและพวกพ้องต้องการปูทางเพื่อสร้างฐานไปสู่การลงเลือกตั้งครั้งหน้า ทั้งนี้เพราะนายกรัฐมนตรีแสดงตัวออกมาแล้วว่าไม่มีความทะเยอทะยานที่จะทำเช่นนั้น หากนั่นเป็นแรงจูงใจตามการคาดเดา นโยบายทั้งหลายที่ตามมาย่อมไม่ต่างกับความพยายามซื้อเสียงล่วงหน้าอันเป็นความสามานย์ในคราบของประชาธิปไตย เรื่องแนวนี้เกิดขึ้นในอาร์เจนตินาซึ่งรัฐบาลทหารที่ยึดอำนาจมาก็ใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้าย นายทหารที่ทำให้อาร์เจนตินาล่มจมได้แก่ฮวน เปโรน อาร์เจนตินาตกอยู่ในวังวนของวงจรอัปรีย์มากว่า 59 ปีแล้ว
นโยบายใหม่ ๆ ทั้งหลายจะนำไปสู่เป้าหมายในการคงไว้ซึ่งอำนาจ หรือเข้าสู่อำนาจของพวกทะเยอทะยานทางการเมืองได้หรือไม่คงทำนายไม่ได้ในขณะนี้ แต่สิ่งที่ทำนายได้คือ มันจะทำให้เมืองไทยตกอยู่ในวงจรอัปรีย์เช่นเดียวกับที่อาร์เจนตินาและเวเนซุเอลาตกอยู่มานาน ส่วนหัวหน้ารัฐบาลจะถูกตราหน้าว่าทำให้ชาติเสียโอกาสทองอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมองได้ว่าบุคคลที่มีความทะเยอทะยานกำลังสุมไฟซึ่งจะส่งผลให้ทั้งนายกรัฐมนตรีและเมืองไทยตกอยู่ในภาวะต้มกบ อย่างไรก็ดี หากตัวนายกรัฐมนตรีรวมอยู่ในกลุ่มที่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองด้วย เมืองไทยก็จะตกอยู่ในภาวะต้มกบแบบโดดเดี่ยว
กระบวนการซึ่งกำลังนำเมืองไทยไปสู่ภาวะต้มกบหรือไม่และตั้งแต่เมื่อไรอาจถกเถียงกันได้แบบไม่รู้จบ อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเมืองไทยในขณะนี้เริ่มต้นจากวันที่มีการใช้นโยบายแนวใหม่ซึ่งรัฐบาลไทยไม่เคยใช้มาก่อน นั่นคือ นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายที่เริ่มในปี 2544
ก่อนเขียนต่อไป ขอย้ำคำว่า “ประชานิยมแบบเลวร้าย” เนื่องจาก “ประชานิยม” โดยเนื้อแท้เป็นสิ่งที่ดี แต่มีการบิดเบือนไปในทางเลวร้าย ความเสียหายร้ายแรงจึงตามมา ความแตกต่างระหว่างความหมายดั้งเดิมและการนำมาใช้ในด้านเลวร้ายผมได้เขียนถึงหลายครั้งแล้ว จึงจะไม่นำมาเสนอซ้ำอีก ผู้ที่ต้องการอ่านรายละเอียดอาจเข้าไปดาวน์โหลดเรื่อง “ขยายความคำว่า ‘ประชานิยม’” ได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com
นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงอย่างไรมีอยู่ในหนังสือและบทความทางประวัติศาสตร์ ผู้สนใจอาจหาอ่านได้ทั่วไปในขณะนี้เนื่องจากมีการเขียนถึงกันมากหลังจากรัฐบาลเริ่มนำมาใช้ อาร์เจนตินามักถูกนำมาเป็นตัวอย่าง ผู้ต้องการอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับอาร์เจนตินาอาจมองหาหนังสือชื่อ “ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย?” พิมพ์โดยเนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อปี 2546 เนื่องจากหนังสือเล่มนี้พิมพ์มากว่า 10 ปีแล้ว จึงอาจมีอยู่ตามห้องสมุด หรือตามร้านหนังสือเก่าเท่านั้น ในปัจจุบัน เรื่องราวของการใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายในอาร์เจนตินาอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “ประชานิยม : ทางสู่ความหายนะ” เล่มนี้มีเรื่องราวของเวเนซุเอลาซึ่งน่าจะให้บทเรียนอีกมุมหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเวเนซุเอลามีน้ำมันปิโตรเลียมปริมาณมหาศาล แต่การบริหารจัดการรายได้จากการขายน้ำมันไม่เหมาะสม ส่งผลให้สังคมเป็นง่อยทั้งในด้านความคิดและพฤติกรรม นโยบายประชานินมแบบเลวร้ายทำให้เวเนซุเอลายิ่งพยายามพัฒนายิ่งถอยหลัง
สำหรับในเมืองไทย มาตรการไหนและนโยบายอะไรเป็นประชานิยมแบบเลวร้ายหรือไม่คงถกเถียงกันแบบไม่รู้จบ เช่นเดียวกับเรื่องเมืองไทยกำลังตกอยู่ในภาวะต้มกบหรือไม่ ฉะนั้น วันนี้จะไม่ฟันธงลงไปว่าอะไรบ้างที่เป็นประชานิยมแบบเลวร้าย ยกเว้นเรื่องโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมา เนื่องจากโครงการนี้ยังมีความเสียหายร้ายแรงให้เห็นอยู่ตำตาไม่ว่าจะเป็นความเสียหายในรูปของการเงินนับแสนล้านบาท หรือในรูปของข้าวที่ยังเน่าอยู่ตามโกดังต่างๆ ทั่วประเทศนับล้านตัน นอกจากนั้น มันยังชี้ให้เห็นด้วยว่าน่าจะมีความฉ้อฉลร้ายแรงของผู้เกี่ยวข้องเกิดขึ้น
โครงการรับจำนำข้าวเป็นประชานิยมแบบเลวร้ายและจะทำให้ชาติไทยล่มจมอย่างไร ผมได้อธิบายไว้ในคอลัมน์นี้ตั้งแต่ปี 2555 ด้วยเรื่อง “การรับจำนำข้าวเป็นสัญญาณสุดท้ายของการบอกให้เตรียมตัว” ซึ่งพิมพ์เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2555 และเรื่อง “การสร้างทาสชาวนาและการฆ่าชาติไทยของนโยบายรับจำนำข้าว” ซึ่งพิมพ์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2555 หากหาไม่ได้ อาจเข้าไปดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาที่อ้างถึงแล้ว
ทั้งที่แสนเลวร้ายจนอาจพาเมืองไทยไปสู่ความล่มจม แต่นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายมิได้ถาโถมเข้ามาสู่สังคมไทยเพียงอย่างเดียว ยังมีสิ่งอื่นที่มากับ “คลื่นลูกที่ 4” ซึ่งมีพลังสูงพอที่จะพาเมืองไทยไปสู่ความล่มจมได้อีก “คลื่นลูกที่ 4” คืออะไร อาจทำเมืองไทยให้ล่มจมได้อย่างไร และอะไรเป็นทางออกของเมืองไทยอาจหาอ่านได้ในหนังสือชื่อ “โต้คลื่นลูกที่ 4” ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 2549 โดยเนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป ในที่นี้ขอชี้ให้เห็นแต่เพียงว่า ภาวะของโลกได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้น นโยบายเศรษฐกิจที่เคยใช้ได้ผลตามเป้าหมายจึงใช้ไม่ได้ดังครั้งก่อนๆ หลังจากเกิดภาวะถดถอยร้ายแรงเมื่อปี 2551
จะเห็นว่าหลังจากปี 2551 ประเทศต่างๆ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและกลุ่มสหภาพยุโรปต่างทุ่มเงินเข้าไปในระบบจำนวนมหาศาลและลดดอกเบี้ยกันลงมาเหลือศูนย์ หรือใกล้ศูนย์ มาตรการเหล่านั้นเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเต็มอัตราตามตำราที่ใช้กันมาเกือบร้อยปี แต่เศรษฐกิจส่วนใหญ่ยังตกอยู่ในภาวะต้วมเตี้ยมรวมทั้งประเทศกำลังพัฒนาซึ่งถูกยกย่องให้เป็นดารามานานปี เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล
ภาวะของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญมีหลายด้านด้วยกันโดยเฉพาะสองด้านนี้
- การเดินสวนทางกันของจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทุกวันกับทรัพยากรที่ร่อยหรอลงส่งผลให้เกิดการแย่งชิงกันอย่างเข้มข้นขึ้น การแย่งชิงเป็นไปทั้งในรูปที่ถูกกฎหมายและในรูปที่ผิดกฎหมายและหลักมนุษยธรรมรวมทั้งการทำสงครามและความฉ้อฉลที่เพิ่มขึ้น ผู้ที่มีอำนาจและทรัพย์สินมากอยู่แล้วได้เปรียบผู้ที่มีน้อยส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำเลวร้ายยิ่งขึ้น วิธีการหนึ่งซึ่งใช้ในการแย่งชิงได้แก่กิจกรรมจำพวกผีโม่แป้งที่ไม่มีผลผลิตทางเศรษฐกิจที่แท้จริง ตัวอย่างสำคัญได้แก่การเล่นแร่แปรธาตุของภาคการเงินที่นำตราสารหนี้ต่างๆ มายำแล้วขายต่อๆ ไปให้สถาบันทางการเงินด้วยกัน กิจการจำพวกนี้เป็นต้นตอของการก่อหนี้และภาวะฟองสบู่ที่ปะทุเมื่อปี 2551 และทำให้เกิดภาวะถดถอยครั้งใหญ่ ภาคการเงินเป็นผีโม่แป้งอย่างไรอาจหาอ่านได้ในหนังสือที่เพิ่งพิมพ์ออกมาชื่อ The Other People’s Money: The Real Business of Finance เขียนโดย John Kay ในเมืองไทย องค์กรซ้ำซ้อนที่ตั้งขึ้นมาก็จัดได้ว่าอยู่ในจำพวกนี้เช่นกัน
- ครอบครัวเกือบทั่วทั้งโลกตกอยู่ในภาวะมีหนี้สินล้นพ้นตัวรวมทั้งครอบครัวไทยในเกือบทุกสายอาชีพ
เมืองไทยตกอยู่ในสภาวะเดียวกันกับโลกโดยทั่วไปเพราะใช้ระบบตลาดเสรีและเปิดประเทศค้าขายกับชาวโลกสูงมาก เรื่องนี้รัฐบาลคงเข้าใจ แต่เพราะอะไรจึงเริ่มผลักดันด้วยการใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2544 และการทุ่มเงินจำนวนมหาศาลเข้าไปในเศรษฐกิจในรูปต่างๆ ไม่มีความกระจ่างแม้แต่น้อย เงินจำนวนมากที่ทุ่มเข้าไปในตำบลและหมู่บ้านจะไหลกลับเข้าสู่กระเป๋าของนายทุน แต่ในขณะเดียวกันมันจะทำให้ภาระหนี้สินของชาวบ้านจะพุ่งขึ้นไปแบบไม่หยุดยั้งดังที่เกิดขึ้นแล้ว
ปรากฏการณ์นี้ทำให้มีการคาดเดากันว่า ผู้ที่อยู่รอบๆ ตัวนายกรัฐมนตรีและพวกพ้องต้องการปูทางเพื่อสร้างฐานไปสู่การลงเลือกตั้งครั้งหน้า ทั้งนี้เพราะนายกรัฐมนตรีแสดงตัวออกมาแล้วว่าไม่มีความทะเยอทะยานที่จะทำเช่นนั้น หากนั่นเป็นแรงจูงใจตามการคาดเดา นโยบายทั้งหลายที่ตามมาย่อมไม่ต่างกับความพยายามซื้อเสียงล่วงหน้าอันเป็นความสามานย์ในคราบของประชาธิปไตย เรื่องแนวนี้เกิดขึ้นในอาร์เจนตินาซึ่งรัฐบาลทหารที่ยึดอำนาจมาก็ใช้นโยบายประชานิยมแบบเลวร้าย นายทหารที่ทำให้อาร์เจนตินาล่มจมได้แก่ฮวน เปโรน อาร์เจนตินาตกอยู่ในวังวนของวงจรอัปรีย์มากว่า 59 ปีแล้ว
นโยบายใหม่ ๆ ทั้งหลายจะนำไปสู่เป้าหมายในการคงไว้ซึ่งอำนาจ หรือเข้าสู่อำนาจของพวกทะเยอทะยานทางการเมืองได้หรือไม่คงทำนายไม่ได้ในขณะนี้ แต่สิ่งที่ทำนายได้คือ มันจะทำให้เมืองไทยตกอยู่ในวงจรอัปรีย์เช่นเดียวกับที่อาร์เจนตินาและเวเนซุเอลาตกอยู่มานาน ส่วนหัวหน้ารัฐบาลจะถูกตราหน้าว่าทำให้ชาติเสียโอกาสทองอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ จึงมองได้ว่าบุคคลที่มีความทะเยอทะยานกำลังสุมไฟซึ่งจะส่งผลให้ทั้งนายกรัฐมนตรีและเมืองไทยตกอยู่ในภาวะต้มกบ อย่างไรก็ดี หากตัวนายกรัฐมนตรีรวมอยู่ในกลุ่มที่มีความทะเยอทะยานทางการเมืองด้วย เมืองไทยก็จะตกอยู่ในภาวะต้มกบแบบโดดเดี่ยว