ASTVผู้จัดการรายวัน-ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย มั่นใจ ดำเนินการตามแผนฟื้นฟู เสร็จปี 59 แยกหนี้เสียกว่า 4หมื่นล้านบาทออกมาตั้งเอเอ็มซี ตามหนี้คืนให้ครบ เร่งแต่งตัวล้างขาดทุนสะสม 2 หมื่นล้านเจราจาหาพันธมิตรร่วมลงทุนจบภายใน 6 เดือน คาดสัดส่วนถือหุ้นพันธมิตรน่าจะเกิน 50 %
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เปิดเผยว่า แนวทางการฟื้นฟูกิจการ ธนาคารได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อศึกษากลยุทธ์และจัดทำแผนการแก้ไขปัญหากิจการ คือ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ MacQuarie จำกัด เพื่อดำเนินการหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการหาพันธมิตรประมาณ 3 เดือน และตรวจสอบทรัพย์สิน(Due Diligence)อีก 3 เดือน ซึ่งเชื่อว่าในช่วงไตรมาส ที่ 1 ปี 2559 ธนาคารจะสามารถกลับมาเป็นสถาบันทางการเงินชั้นนำอีกครั้ง
ขณะนี้ มีธนาคารชั้นนำหลายรายสนใจร่วมทุน ทั้งจากประเทศตะวันออกกลาง เอเชีย รวมถึงระดับชั้นนำของโลก โดยเฉพาะเงื่อนไขที่จูงใจให้การเข้ามาถือหุ้นที่มากกว่า 50 % เพื่อมีอำนาจในการบริหารงาน และสามารถผลักดันให้ธนาคาร ขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศได้เหมือนธนาคารอิสลามชั้นนำอื่น ๆ โดยผู้ร่วมทุนพร้อมที่จะลงทุนและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ธนาคารสามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นได้ รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมโยงธุรกิจฮาลาล ซึ่งผู้ร่วมทุนจะถือหุ้นในสัดส่วนเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ Super Board
“ธนาคารได้หารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อหาแนวทางล้างขาดทุนสะสมจำนวน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเปิดทางให้พันมิตรเข้ามาถือหุ้น โดยจะมีอยู่ 2 แนวทางคือ ให้พันธมิตรใส่เงินเข้ามาหรือกระทรวงคลังใส่เงินเข้ามา เพื่อล้างขาดทุนสะสม” นายชัยวัฒน์ กล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาสินเชื่อของธนาคาร ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จากการปรับโครงสร้างองค์กรตามแนวทางการฟื้นฟูกิจการ ส่งผลให้ธนาคารมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Non Performing Financing : NPFs) ล่าสุด อยู่ที่ 48,292 ล้านบาท หรือคิดเป็น47 % ของสินเชื่อคงค้าง ลดลงจากก่อนหน้าที่ 55,230 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52 % ของสินเชื่อคงค้าง และมีหนี้ดีกว่า 50,000 ล้านบาท โดยธนาคารมีสินทรัพย์รวม 101,705 ล้านบาท โดยในส่วนของหนี้เสียกว่า 40,000 ล้านบาทอยู่ระหว่างพิจารณาคัดแยกเพื่อไปจัดตั้งเป็น เอเอ็มซี เพื่อบริหารจัดการหนี้เสียโดยเฉพาะ และจะติดตามหนี้กลับมาให้ครบ
“หนี้ส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่ลูกค้าชาวมุสลิม ขณะที่หนี้เสียของชาวมุสลิม มีอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท เท่านั้น ซึ่งหนี้เหล่านี้จะไม่ถูกโอนไป เอเอ็มซี แต่จะถูกบริหารควบคู่ไปกับหนี้ดีของธนาคาร เพื่อให้เป็นตามพันธกิจของธนาคารตามหลักชะรีอะฮ์ เพื่อให้บริการแก่ชาวมุสลิม และ การดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต”ประธานกรรมการ กล่าว
นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เปิดเผยว่า แนวทางการฟื้นฟูกิจการ ธนาคารได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน (FA) เพื่อศึกษากลยุทธ์และจัดทำแผนการแก้ไขปัญหากิจการ คือ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด และ บริษัทหลักทรัพย์ MacQuarie จำกัด เพื่อดำเนินการหาพันธมิตรเข้ามาร่วมทุน คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการหาพันธมิตรประมาณ 3 เดือน และตรวจสอบทรัพย์สิน(Due Diligence)อีก 3 เดือน ซึ่งเชื่อว่าในช่วงไตรมาส ที่ 1 ปี 2559 ธนาคารจะสามารถกลับมาเป็นสถาบันทางการเงินชั้นนำอีกครั้ง
ขณะนี้ มีธนาคารชั้นนำหลายรายสนใจร่วมทุน ทั้งจากประเทศตะวันออกกลาง เอเชีย รวมถึงระดับชั้นนำของโลก โดยเฉพาะเงื่อนไขที่จูงใจให้การเข้ามาถือหุ้นที่มากกว่า 50 % เพื่อมีอำนาจในการบริหารงาน และสามารถผลักดันให้ธนาคาร ขยายการทำธุรกิจไปต่างประเทศได้เหมือนธนาคารอิสลามชั้นนำอื่น ๆ โดยผู้ร่วมทุนพร้อมที่จะลงทุนและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ธนาคารสามารถแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นได้ รวมทั้งเป็นจุดเชื่อมโยงธุรกิจฮาลาล ซึ่งผู้ร่วมทุนจะถือหุ้นในสัดส่วนเท่าใดนั้นจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ Super Board
“ธนาคารได้หารือกับที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อหาแนวทางล้างขาดทุนสะสมจำนวน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเปิดทางให้พันมิตรเข้ามาถือหุ้น โดยจะมีอยู่ 2 แนวทางคือ ให้พันธมิตรใส่เงินเข้ามาหรือกระทรวงคลังใส่เงินเข้ามา เพื่อล้างขาดทุนสะสม” นายชัยวัฒน์ กล่าว
สำหรับการแก้ไขปัญหาสินเชื่อของธนาคาร ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จากการปรับโครงสร้างองค์กรตามแนวทางการฟื้นฟูกิจการ ส่งผลให้ธนาคารมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Non Performing Financing : NPFs) ล่าสุด อยู่ที่ 48,292 ล้านบาท หรือคิดเป็น47 % ของสินเชื่อคงค้าง ลดลงจากก่อนหน้าที่ 55,230 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52 % ของสินเชื่อคงค้าง และมีหนี้ดีกว่า 50,000 ล้านบาท โดยธนาคารมีสินทรัพย์รวม 101,705 ล้านบาท โดยในส่วนของหนี้เสียกว่า 40,000 ล้านบาทอยู่ระหว่างพิจารณาคัดแยกเพื่อไปจัดตั้งเป็น เอเอ็มซี เพื่อบริหารจัดการหนี้เสียโดยเฉพาะ และจะติดตามหนี้กลับมาให้ครบ
“หนี้ส่วนใหญ่นั้นไม่ใช่ลูกค้าชาวมุสลิม ขณะที่หนี้เสียของชาวมุสลิม มีอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท เท่านั้น ซึ่งหนี้เหล่านี้จะไม่ถูกโอนไป เอเอ็มซี แต่จะถูกบริหารควบคู่ไปกับหนี้ดีของธนาคาร เพื่อให้เป็นตามพันธกิจของธนาคารตามหลักชะรีอะฮ์ เพื่อให้บริการแก่ชาวมุสลิม และ การดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคต”ประธานกรรมการ กล่าว