พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. แถลงภายหลังการประชุม ครม. เรื่องนโยบายปฏิรูปการศึกษาว่า ขณะนี้อยู่ในระยะที่ 2 จึงต้องลงรายละเอียดว่า นักเรียนจะเรียนหนังสืออย่างไร โดยที่ความรู้ไม่น้อยไปกว่าเดิม แต่มีความสุขมากกว่าเดิม ไม่ใช่ว่าเรียนมาก แล้วรู้มาก
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปพิจารณาให้เกิดความชัดเจนขึ้น อย่าให้เป็นอย่างที่เขาเรียกร้องมาว่า ลดเวลาเรียนลง แล้วลูกเขาจะโง่ลงหรือเปล่า จะสอบมหาวิทยาลัยไม่ได้ ซึ่งต้องมีการสร้างความเข้าใจ ซึ่งการลดเวลานั้นต้องเอาหลักสูตรมาดูว่า ที่เรียนกัน 8 สาระวิชา กี่ชั่วโมง อันไหน จำเป็น ไม่จำเป็น บางวิชาไม่ต้องเรียนตอนประถม เอาไปเรียนตอนมัธยมก็ได้ หรือจะเรียนให้น้อยลง เพราะด้วยความเจริญวัยของคน สมองมีแค่นั้น เด็กก็เรียนได้แค่นั้น แต่ไอ้ที่มันใช้สอบแข่งขัน ก็ลดไม่ได้
วันนี้ต้องทำให้คนทุกคนอย่าติดกับดักตัวเอง ติดอยู่กับใบปริญญา เรียนให้จบ แต่ไม่ได้มองว่าจะหากินกับอาชีพไหน ฉะนั้นต้องเรียนรู้ด้วย เอาเวลาที่เหลือมาวันละ 2 ชั่วโมง มาเติมในส่วนนี้เข้าไป เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่า เขาจะมีความเข้มแข็งอย่างไรในสังคม เรียนรู้ในเรื่องของโลกภายนอก วิธีการทำงาน เมื่อเขาโตขึ้น
วันนี้เรื่องที่ประเทศไทยขาด คือ คณิตคิดในใจ เรียงความย่อความ การคิดที่เป็นวิสัยทัศน์ ขาดนักค้นคว้า นักวิจัย ขาดเรื่องอาชีพ กีฬา ซึ่งหากเราสามารถใส่ในส่วนนี้ได้ จะทำให้เด็กมีทางเลือก จัดกลุ่มวิชาขึ้นมา และต้องหาครูที่มีคุณภาพ ไม่ใช่พอว่าง 2 ชั่วโมง แล้วครูบอกให้อ่านหนังสือเอา ครูต้องสอนวิชาเหล่านี้แล้วนับเป็นหน่วยกิตเหมือนกัน แต่อาจไม่ต้องเน้นเรื่องการสอบ แต่เน้นที่การให้การเรียนรู้ วันนี้โลกโซเชียลมีเดียนั้น รวดเร็ว มีทั้งประโยชน์และโทษ อาจจะเอาตรงนี้มาสอนกันว่า เราจะมีวินัยกันอย่างไร การเคารพกฎหมาย อย่าทำให้ตัวเองมันซ้ายหรือขวาจนสุด เพราะทุกคนต้องอยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายที่เท่าเทียม
"การเป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมเป็นระบบที่ดีที่สุด แต่อย่าลืมว่า เราแก้ปัญหาเรื่องความเท่าเทียมไม่ได้ เพราะมันต้องมีการลงทุน มาก-น้อย ภายใต้การแข่งขันเสรี ไม่ใช่เฉลี่ยเท่าเทียมกัน แต่ทำอย่างไรให้คนทุกคนไม่มีความเหลื่อมล้ำ ก็ต้องใช้กฎหมาย สอนให้คนเคารพกฎหมาย"
เมื่อถามว่า ขอให้นายกฯ อธิบายแนวทางการปฏิรูปการศึกษา นายกฯ กล่าวว่า ไปดูว่าที่ผ่านมามีรัฐมนตรีกี่คน นโยบายชัดเจนและมีความต่อเนื่องหรือไม่ ประชาชน ผู้ปกครองร่วมมือหรือไม่ สภาพสังคมทำให้เกิดความสับสนหรือเปล่า ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานั้น ต้องมี 2 อย่าง คือ
1.เรียนเพื่อปริญญา ซึ่งห้ามไม่ได้ ทุกคนอยากมีหมด 2. เราจะเข้มแข็งได้อย่างไร ทำงานอย่างไร ตนเองมีศักยภาพตรงไหน ที่ผ่านมามีเด็กนักเรียนมาหาตนหลายคน บอกว่าอยากเป็นครู เป็นแพทย์ พยาบาล ซึ่งพวกนี้เรียนหนังสือเก่ง อีกพวกนึงก็อยากเป็นครูบ้าง แต่เรียนหนังสือไม่ดี เขาก็ต้องมีทางเลือกของเขา ปริญญาเอาเมื่อไรก็ได้ หากพ่อแม่ไม่มีเงิน หรือต้องเรียนต่อแล้วใช้เงินเยอะ ทำให้พ่อแม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ก็หางานทำก่อนก็ได้
"ต้องให้ประชาชนรู้จักตนเองก่อน หากสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ก็ต้องไปหางานทำ ไม่ก็ไปเรียนวิชาชีพ ช่าง วิศวกรรถไฟ วิศวกรราง ที่รัฐกำลังขาดอยู่ ต้องเร่งตรงนี้ หากทำอย่างนี้มหาวิทยาลัยเอกชนจะมีคนไปเรียนเยอะขึ้น เพราะจะมีการรับรองว่า จบมาจะได้รายได้เท่าไหร่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ทั้งนี้ ได้สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการ ไปพิจารณาให้เกิดความชัดเจนขึ้น อย่าให้เป็นอย่างที่เขาเรียกร้องมาว่า ลดเวลาเรียนลง แล้วลูกเขาจะโง่ลงหรือเปล่า จะสอบมหาวิทยาลัยไม่ได้ ซึ่งต้องมีการสร้างความเข้าใจ ซึ่งการลดเวลานั้นต้องเอาหลักสูตรมาดูว่า ที่เรียนกัน 8 สาระวิชา กี่ชั่วโมง อันไหน จำเป็น ไม่จำเป็น บางวิชาไม่ต้องเรียนตอนประถม เอาไปเรียนตอนมัธยมก็ได้ หรือจะเรียนให้น้อยลง เพราะด้วยความเจริญวัยของคน สมองมีแค่นั้น เด็กก็เรียนได้แค่นั้น แต่ไอ้ที่มันใช้สอบแข่งขัน ก็ลดไม่ได้
วันนี้ต้องทำให้คนทุกคนอย่าติดกับดักตัวเอง ติดอยู่กับใบปริญญา เรียนให้จบ แต่ไม่ได้มองว่าจะหากินกับอาชีพไหน ฉะนั้นต้องเรียนรู้ด้วย เอาเวลาที่เหลือมาวันละ 2 ชั่วโมง มาเติมในส่วนนี้เข้าไป เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่า เขาจะมีความเข้มแข็งอย่างไรในสังคม เรียนรู้ในเรื่องของโลกภายนอก วิธีการทำงาน เมื่อเขาโตขึ้น
วันนี้เรื่องที่ประเทศไทยขาด คือ คณิตคิดในใจ เรียงความย่อความ การคิดที่เป็นวิสัยทัศน์ ขาดนักค้นคว้า นักวิจัย ขาดเรื่องอาชีพ กีฬา ซึ่งหากเราสามารถใส่ในส่วนนี้ได้ จะทำให้เด็กมีทางเลือก จัดกลุ่มวิชาขึ้นมา และต้องหาครูที่มีคุณภาพ ไม่ใช่พอว่าง 2 ชั่วโมง แล้วครูบอกให้อ่านหนังสือเอา ครูต้องสอนวิชาเหล่านี้แล้วนับเป็นหน่วยกิตเหมือนกัน แต่อาจไม่ต้องเน้นเรื่องการสอบ แต่เน้นที่การให้การเรียนรู้ วันนี้โลกโซเชียลมีเดียนั้น รวดเร็ว มีทั้งประโยชน์และโทษ อาจจะเอาตรงนี้มาสอนกันว่า เราจะมีวินัยกันอย่างไร การเคารพกฎหมาย อย่าทำให้ตัวเองมันซ้ายหรือขวาจนสุด เพราะทุกคนต้องอยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายที่เท่าเทียม
"การเป็นประชาธิปไตยที่เหมาะสมเป็นระบบที่ดีที่สุด แต่อย่าลืมว่า เราแก้ปัญหาเรื่องความเท่าเทียมไม่ได้ เพราะมันต้องมีการลงทุน มาก-น้อย ภายใต้การแข่งขันเสรี ไม่ใช่เฉลี่ยเท่าเทียมกัน แต่ทำอย่างไรให้คนทุกคนไม่มีความเหลื่อมล้ำ ก็ต้องใช้กฎหมาย สอนให้คนเคารพกฎหมาย"
เมื่อถามว่า ขอให้นายกฯ อธิบายแนวทางการปฏิรูปการศึกษา นายกฯ กล่าวว่า ไปดูว่าที่ผ่านมามีรัฐมนตรีกี่คน นโยบายชัดเจนและมีความต่อเนื่องหรือไม่ ประชาชน ผู้ปกครองร่วมมือหรือไม่ สภาพสังคมทำให้เกิดความสับสนหรือเปล่า ซึ่งการปฏิรูปการศึกษานั้น ต้องมี 2 อย่าง คือ
1.เรียนเพื่อปริญญา ซึ่งห้ามไม่ได้ ทุกคนอยากมีหมด 2. เราจะเข้มแข็งได้อย่างไร ทำงานอย่างไร ตนเองมีศักยภาพตรงไหน ที่ผ่านมามีเด็กนักเรียนมาหาตนหลายคน บอกว่าอยากเป็นครู เป็นแพทย์ พยาบาล ซึ่งพวกนี้เรียนหนังสือเก่ง อีกพวกนึงก็อยากเป็นครูบ้าง แต่เรียนหนังสือไม่ดี เขาก็ต้องมีทางเลือกของเขา ปริญญาเอาเมื่อไรก็ได้ หากพ่อแม่ไม่มีเงิน หรือต้องเรียนต่อแล้วใช้เงินเยอะ ทำให้พ่อแม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ก็หางานทำก่อนก็ได้
"ต้องให้ประชาชนรู้จักตนเองก่อน หากสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ก็ต้องไปหางานทำ ไม่ก็ไปเรียนวิชาชีพ ช่าง วิศวกรรถไฟ วิศวกรราง ที่รัฐกำลังขาดอยู่ ต้องเร่งตรงนี้ หากทำอย่างนี้มหาวิทยาลัยเอกชนจะมีคนไปเรียนเยอะขึ้น เพราะจะมีการรับรองว่า จบมาจะได้รายได้เท่าไหร่" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว