ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -ฉากระเบิดสะเทือนขวัญใจกลางกรุงเทพมหานคร บริเวณแยกราชประสงค์ เหตุการณ์จริงที่พรากชีวิตบริสุทธิ์สร้างความเสียหายต่อประเทศไทย “คนร้ายวางระเบิดทิ้งไว้ แล้วเดินออกจากที่เกิดเหตุ” ภาพคลับคล้ายคลับคลากับเรื่องราวบนแผ่นฟิล์มที่เจนตาผู้ชม โดยเฉพาะในฮอลลีวูดที่มีภาพยนตร์มากมายเชื่อมโยงกับประเด็นก่อการร้าย ไม่ว่าจะสร้างจากเรื่องจริงหรือจินตนาการก็ล้วนแล้วแต่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
“เหตุระเบิดหน้าศาลพระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์ ลักษณะคนร้ายนำกระเป๋าบรรจุระเบิดมาวางไว้ในจุดเกิดเหตุ เหมือนกับฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง The Battle of Algiers ที่ฉายในปี 2509 เกี่ยวกับกลุ่มแอลจีเรียที่เรียกร้องอิสรภาพจากฝรั่งเศส แบบกองโจรใต้ดินด้วยการก่อเหตุวินาศกรรม ในฉากนั้นมีหญิงสาวรายหนึ่งถือกระเป๋าหิ้วบรรจุระเบิด เดินเข้าไปในคาเฟ่ที่เต็มไปด้วยผู้คน ภาพตัดไปที่นาฬิกาแขวนผนังที่เข็มวินาทีกำลังทำหน้าที่ของมันอย่างขยันขันแข็งผ่านไป 15 วินาที แล้วตัดไปที่บรรยากาศชื่นมื่นของชาวเมืองที่เข้ามาซุกตัวอยู่ในคาเฟ่ บ้างพูดคุยกันอย่างออกรส บ้างกำลังหัวเราะกับเรื่องชวนหัวของคู่สนทนา เพียงครู่เดียวก็ตัดภาพไปที่นาฬิกาแขวนผนังอีกครั้ง หญิงสาวปริศนาหายไปขณะที่เข็มวินาทีเดินต่อไปได้อีก 15 วินาที แล้วก็เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงทุกอย่างพินาศลงทันที”
ณัฐพงศ์ โสภา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ แอดมินเฟซบุ๊กเพจ MyFavouriteFilms ให้ข้อมูลพร้อมอธิบายว่า หนังก่อการร้ายที่เป็นเรื่องแต่งส่วนมากจะมอบบทบาทผู้ร้ายให้ศาสนาอิสลาม (Islamistic terrorism) เช่น The Kingdom, Vantage Point, Body of Lies, Unthinkable, The Siege ฯลฯ
ทั้งนี้ พล๊อตยอดนิยมของภาพยนตร์ทริลเลอร์สุดระทึกแนวก่อวินาศกรรม โดยหลักแล้วคงหนีไม่พ้นการสร้างภาพตัวร้ายเป็นมุสลิมเพื่อเชิดชูความสามารถของทหารอเมริกัน จะมีบางเรื่องที่ลงน้ำหนักไปถึงสภาพจิตใจตัว ละคร เช่น Munich ที่พูดถึงจิตใจของสายลับที่ต้องปฏิบัติการล้างแค้นว่าสุดท้ายก็ล้างแค้นไปมาไม่มีใครหยุดไม่มีใครมีความสุข
สำหรับภาพเหตุการณ์ระเบิดบริเวณแยกราชประสงค์นั้น ในฐานะคอหนังตัวยงเป็นภาพที่คุ้นชินตาบนแผ่นฟิล์ม ภาพชายปริศนานำกระเป๋าบรรจุระเบิดมาวางทิ้งไว้แล้วหลบหนีออกไปจากที่เกิดเหตุเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในภาพยนตร์ก่อการร้ายหลายๆ เรื่อง
“ส่วนตัวผมมองว่าวิธีการวางระเบิดมันคงทำได้ไม่กี่วิธี และภาพที่ราชประสงค์ก็คงจะเป็นวิธีทั่วไปที่อาจจะพบเห็นได้ในหนังคือวางระเบิดทิ้งไว้แล้วเดินออกจากที่เกิดเหตุ แต่ที่เราอยากเห็นเหมือนในหนังก็คือประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่และเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำกัดวงค้นหาคนร้าย เช่นการตรวจกล้องวงจรปิดในรัศมีหลายกิโลเมตรรอบที่เกิดเหตุ, หน่วยนิติวิทยาศาสตร์ที่พึ่งพาได้ ถึงอย่างนั้นก็มีภาพหนึ่งที่ผมยังไม่เคยเห็นในหนังก็คือความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในการส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจับกุมคนร้าย เช่นภาพจากกล้องติดหน้ารถ, ภาพจากมือถือในช่วงเวลาก่อนหลังเกิดเหตุ” นักวิจารณ์ภาพยนตร์กล่าว
สำหรับกระแสว่าภาพยนตร์แนวก่อการร้ายที่สร้างขึ้นมานั้นอาจเป็นคู่มือสังหาร เกิดพฤติกรรมลอกเลียนเป็นแรงจูงใจในการก่อเหตุวินาศกรรม เขาบอกว่า หนังก่อการร้ายทั้งหลายของฮอลลีวูดก็คือการสร้างโฆษณาชวนเชื่อยัดเยียดภาพมุสลิมให้เป็นผู้ร้ายมาโดยตลอดหลายปี ซึ่งจากเดิมคือรัสเซีย และในอนาคตก็อาจจะเปลี่ยนได้อีกตามประเทศที่อเมริการู้สึกว่าเป็นภัยร้าย
ด้าน ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็เห็นด้วยกับประเด็นเรื่องพล็อตภาพยนตร์ดังในฮอลลีวูดหลายเรื่องที่มักสร้างภาพให้ผู้ก่อการร้ายเป็นกลุ่มมุสลิม อย่างไรก็ตาม แม้ภาพยนตร์บางส่วนสร้างจากเรื่องจริง แต่ต้องยอมรับว่ามีการปรับบทเพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมภาพยนตร์ ทำให้มีความเกินเลยไปจากเหตุการณ์จริง
สำหรับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นบริเวณแยกราชประสงค์นั้น โดยส่วนตัวเชื่อว่า เกิดจากกลุ่มก่อกวนความสงบท้าทายอำนาจรัฐบาลและพุ่งเป้าทำลายในเรื่องเศรษฐกิจเสียมากกว่า ขณะที่ประเด็นก่อการร้ายยังคงเป็นเรื่องที่ต้องมีการสืบสวนต่อไป
“กรณีที่มีการนำประเด็นมุสลิมจีนอุยกูร์เข้ามาเป็นหนึ่งในข้อสันนิฐานของเหตุก่อการร้ายครั้งนี้ เพื่อแก้แค้นรัฐบาลทหารกรณีส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากเพราะชนกลุ่มนี้ไม่มีการเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติ อีกอย่างประเทศไทยถือเป็นทางผ่านที่ดีของพวกเขาถ้ามาก่อเหตุจริงก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง”
ผศ.ทวี วิพากษ์ทิ้งท้ายถึงท่าทีประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานครว่า แม้ไม่สามารถฟันธงได้ว่าต้นสายปลายเหตุเป็นเช่นไร ก็ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ เอง จะถูกจับตาเป็นพิเศษจากทั่วโลกอยู่ไม่น้อย ยิ่งเมื่อนับรวมกับการที่สหรัฐฯ ส่ง เกล็น เดวีส์ เข้ามาเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำไทยคนใหม่แทน คริสตี้ เคนนีย์ ก็ยิ่งทำให้เห็นว่า ท่าทีของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศไทยนั้นไม่ธรรมดา เพราะเป็นที่รับรู้ว่านายเกล็น เดวีส์นั้น เป็นนักการทูตลายครามที่ผ่านการทำงานในประเทศต่างๆ มาอย่างโชกโชน
สำหรับภาพยนตร์เนื้อหาเกี่ยวโยงกับเรื่องก่อการร้ายนั้นมีอยู่หลายเรื่อง ทั้งดัดแปลงจากเรื่องจริงและสร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการของผู้ประพันธ์ อาทิ
1. Munich (2549) เหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นจริงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในมิวนิก เยอรมันตะวันตกปี ค.ศ. 1972 ที่เยอรมันตะวันตก เกิดการโจมตีของผู้ก่อการร้าย กลุ่มชาวปาเลสไตน์หัวรุนแรงในชื่อ แบล็กเซปเทมเบอร์ ทำการลงมือสังหารสมาชิกทีมโอลิมปิกอิสราเอล จำนวน 2 ราย พร้อมกับจับตัวประกันอีก 9 ราย ทางการอิสราเอลจึงจัดตั้งกลุ่มคนขึ้นมาตามสังหารผู้เกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายที่โอลิมปิกมิวนิก ตีแผ่การแก้แค้นด้วยปฏิบัติการเลือดล้างด้วยเลือด
2. The Battle of Algiers (2509) นำเสนอเหตุการณ์ ศึกแอลเจียร์ กลุ่มชาวแอลจีเรียเรียกร้องอิสรภาพจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองจากการล่าอาณานิคมในขณะนั้น รูปแบบการเรียกร้องอิสรภาพของเขาเป็นแบบกองโจรใต้ดินคอยก่อเหตุวินาศกรรม ตั้งแต่ไล่ยิงตำรวจ จนทหารเข้ามาทำหน้าที่แทน ก็เริ่มมีการสังหารหมู่ชาวรุโรป ใช้ระเบิดเป็นเครื่องมือก่อการร้าย ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้หลายประเทศที่มีสงครามกลางเมืองใช้กลยุทธ์สู้รบแบบกองโจร และยังเป็นตำราเรียนของทีมปราบจลาจลต่อต้านการรบแบบกองโจรของสหรัฐฯ ในสงครามอีรักด้วย
3. United 93 (2549) ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของผู้โดยสารบนเครื่องบินFlight 93 ที่ร่วมกันหยุดภารกิจการก่อร้ายจากเหตุการณ์ 9/11 หลังเครื่องบินทะยานขึ้นสู่น่านฟ้าเป็นสัญญาณให้ผู้โดยสารทราบว่าพวกเขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งโจมตีสหรัฐอเมริกา
4. The Siege (2541) หลังเกิดเหตุการณ์รถประจำทางที่มีผู้โดยสารเต็มคันระเบิด ย่านบรูคลิน มหานครนิวยอร์ก คือจุดเริ่มเรื่องของเหตุการณ์ก่อการร้ายระดับชาติรุนแรงถึงขั้นประกาศประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเป็นภารกิจของเจ้าหน้าที่พิเศษของเอฟบีไอ ที่จะเข้ามายุติความหายนะ และล่าตัวผู้ก่อการร้ายมาลงโทษ
5. Taken 2 (2552) ภาพยนตร์แอ็กชันระทึกขวัญ สัญชาติฝรั่งเศส เรื่องราวของ ไบรอัน มิลส์ อดีตสายลับ CIAฝีมือระดับพระกาฬ โดนล่าตามล้างแค้นจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวอัลบาเนียในภาคแรก พวกเขาทำการลักพาตัวลูกสาวของ ไบรอัน และนั่นเป็นจุดเริ่มของการล่าหัวผู้ก่อการร้ายอย่างบ้าระห่ำเพื่อพาตัวแก้วตาดวงใจของเขาคืนมา
6. Mission Impossible : Rogue Nation (2558) ภาพยนตร์ชื่อดังมหากาพย์แอ็กชันฟอร์มยักษ์ ที่มีเรื่องราวขององค์กรก่อการร้ายเข้ามาเอี่ยว กับปฏิบัติสุดยอดปฏิบัติการของสายลับ อีธาน ฮันท์ พร้อมด้วยทีม เตรียมประจัญบานกับซินดิเคท องค์กรลับระดับนานาชาติ ที่มีเป้าหมายปฏิวัติโลกใหม่ด้วยวิธีก่อการร้าย ซึ่งก็เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมทุกภาคเช่นกัน
7. JAMES BOND 007 CASINO ROYALE 007 (2549) สายลับกับผู้ก่อการร้ายมักจะมาคู่กันเสมอ เจมส์ บอนด์ สายลับมือล่าสังหาร กับภาระหน้าที่กับภารกิจล้างบางกลุ่มผู้ก่อการร้ายรายใหญ่ใน กาสิโน รอยัล เผชิญหน้าอาชญากรร้ายข้ามชาติ หัวหน้ากลุ่มผู้ก่อการร้ายรายใหญ่ที่สุดของโลก เพื่อทำลายแผนก่อการร้ายให้สิ้นซาก
8. Iron Man (2551) ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากค่าย มาร์เวล สตูดิโอส์ ที่สร้างมาจากการ์ตูน เรื่องราวของมหาเศรษฐีอัจฉริยะนักประดิษฐ์ โทนี่ สตาร์ค ผู้ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มก่อการร้ายตะวันออกกลาง และโดนบีบบังคับให้คิดค้นอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง แต่แทนที่จะอ่อนข้อกับกลุ่มก่อการร้ายเขาใช้สติปัญญาอันปราดเปรื่องประดิษฐ์เกราะเหล็กเพื่อหลบหนีกลับมายังอเมริกา และพัฒนามันขึ้นจนเป็นรู้จักในชื่อ Iron Man พร้อมเริ่มปฏิบัติการพิทักษ์โลกจากผู้ก่อการร้ายนานาชาติ
9. The Bourne (2545) ภาพยนตร์ภาคต่อที่ขมวดปมแผนการสมคบคิดของผู้ก่อการร้าย ตีแผ่การทรยศหักหลังในพวกพ้อง และการช่วยเหลืออเมริกาให้รอดพ้นจากการทำลายล้างของศัตรูผู้ก่อการร้าย เจสัน บอร์น เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะหยุดยั้งภัยร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ อย่างในภาค The Bourne Betrayal เล่าเรื่องราวของผู้ก่อการร้ายลักลอบขนแร่ยูเรเนียมสำหรับทำระเบิดนิวเคลียร์ ผูกโยงถึงคนรักของพระเอกที่ถูกลักพาตัวไปขณะปฏิบัติภารกิจสืบหาร่องรอยดังกล่าว ซึ่งเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องตามหาคนรักและหยุดยั้งอาชญากรทำลายล้างโลก
10. Vantage Point เสี้ยววินาทีสังหาร (2551)เบาะแสจากคนแปลกหน้า 8 คน ที่อยู่ในเหตุการณ์และที่สามารถจับภาพผู้ก่อการร้ายในเสี้ยววินาทีก่อนเกิดเหตุ ลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยการลอบยิง ขณะขึ้นกล่าวในการประชุมต่อต้านการก่อการร้ายที่จัดขึ้นในประเทศสเปน ซ้ำร้ายเหตุการณ์นี้ยังสร้างความบอบช้ำด้วยเหตุระเบิดที่พรากชีวิตประชาชนบริสุทธิ์จำนวนมากในเวลาต่อมา เบาะแสจากคลิปวิดีโอโดยความร่วมมือจากประชาชนสามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่ลากตัวผู้ร้ายและผู้บงการได้อย่างรวดเร็ว
“เหตุระเบิดหน้าศาลพระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์ ลักษณะคนร้ายนำกระเป๋าบรรจุระเบิดมาวางไว้ในจุดเกิดเหตุ เหมือนกับฉากหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง The Battle of Algiers ที่ฉายในปี 2509 เกี่ยวกับกลุ่มแอลจีเรียที่เรียกร้องอิสรภาพจากฝรั่งเศส แบบกองโจรใต้ดินด้วยการก่อเหตุวินาศกรรม ในฉากนั้นมีหญิงสาวรายหนึ่งถือกระเป๋าหิ้วบรรจุระเบิด เดินเข้าไปในคาเฟ่ที่เต็มไปด้วยผู้คน ภาพตัดไปที่นาฬิกาแขวนผนังที่เข็มวินาทีกำลังทำหน้าที่ของมันอย่างขยันขันแข็งผ่านไป 15 วินาที แล้วตัดไปที่บรรยากาศชื่นมื่นของชาวเมืองที่เข้ามาซุกตัวอยู่ในคาเฟ่ บ้างพูดคุยกันอย่างออกรส บ้างกำลังหัวเราะกับเรื่องชวนหัวของคู่สนทนา เพียงครู่เดียวก็ตัดภาพไปที่นาฬิกาแขวนผนังอีกครั้ง หญิงสาวปริศนาหายไปขณะที่เข็มวินาทีเดินต่อไปได้อีก 15 วินาที แล้วก็เกิดเหตุระเบิดอย่างรุนแรงทุกอย่างพินาศลงทันที”
ณัฐพงศ์ โสภา นักวิจารณ์ภาพยนตร์ แอดมินเฟซบุ๊กเพจ MyFavouriteFilms ให้ข้อมูลพร้อมอธิบายว่า หนังก่อการร้ายที่เป็นเรื่องแต่งส่วนมากจะมอบบทบาทผู้ร้ายให้ศาสนาอิสลาม (Islamistic terrorism) เช่น The Kingdom, Vantage Point, Body of Lies, Unthinkable, The Siege ฯลฯ
ทั้งนี้ พล๊อตยอดนิยมของภาพยนตร์ทริลเลอร์สุดระทึกแนวก่อวินาศกรรม โดยหลักแล้วคงหนีไม่พ้นการสร้างภาพตัวร้ายเป็นมุสลิมเพื่อเชิดชูความสามารถของทหารอเมริกัน จะมีบางเรื่องที่ลงน้ำหนักไปถึงสภาพจิตใจตัว ละคร เช่น Munich ที่พูดถึงจิตใจของสายลับที่ต้องปฏิบัติการล้างแค้นว่าสุดท้ายก็ล้างแค้นไปมาไม่มีใครหยุดไม่มีใครมีความสุข
สำหรับภาพเหตุการณ์ระเบิดบริเวณแยกราชประสงค์นั้น ในฐานะคอหนังตัวยงเป็นภาพที่คุ้นชินตาบนแผ่นฟิล์ม ภาพชายปริศนานำกระเป๋าบรรจุระเบิดมาวางทิ้งไว้แล้วหลบหนีออกไปจากที่เกิดเหตุเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในภาพยนตร์ก่อการร้ายหลายๆ เรื่อง
“ส่วนตัวผมมองว่าวิธีการวางระเบิดมันคงทำได้ไม่กี่วิธี และภาพที่ราชประสงค์ก็คงจะเป็นวิธีทั่วไปที่อาจจะพบเห็นได้ในหนังคือวางระเบิดทิ้งไว้แล้วเดินออกจากที่เกิดเหตุ แต่ที่เราอยากเห็นเหมือนในหนังก็คือประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่และเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำกัดวงค้นหาคนร้าย เช่นการตรวจกล้องวงจรปิดในรัศมีหลายกิโลเมตรรอบที่เกิดเหตุ, หน่วยนิติวิทยาศาสตร์ที่พึ่งพาได้ ถึงอย่างนั้นก็มีภาพหนึ่งที่ผมยังไม่เคยเห็นในหนังก็คือความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในการส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจับกุมคนร้าย เช่นภาพจากกล้องติดหน้ารถ, ภาพจากมือถือในช่วงเวลาก่อนหลังเกิดเหตุ” นักวิจารณ์ภาพยนตร์กล่าว
สำหรับกระแสว่าภาพยนตร์แนวก่อการร้ายที่สร้างขึ้นมานั้นอาจเป็นคู่มือสังหาร เกิดพฤติกรรมลอกเลียนเป็นแรงจูงใจในการก่อเหตุวินาศกรรม เขาบอกว่า หนังก่อการร้ายทั้งหลายของฮอลลีวูดก็คือการสร้างโฆษณาชวนเชื่อยัดเยียดภาพมุสลิมให้เป็นผู้ร้ายมาโดยตลอดหลายปี ซึ่งจากเดิมคือรัสเซีย และในอนาคตก็อาจจะเปลี่ยนได้อีกตามประเทศที่อเมริการู้สึกว่าเป็นภัยร้าย
ด้าน ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็เห็นด้วยกับประเด็นเรื่องพล็อตภาพยนตร์ดังในฮอลลีวูดหลายเรื่องที่มักสร้างภาพให้ผู้ก่อการร้ายเป็นกลุ่มมุสลิม อย่างไรก็ตาม แม้ภาพยนตร์บางส่วนสร้างจากเรื่องจริง แต่ต้องยอมรับว่ามีการปรับบทเพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมภาพยนตร์ ทำให้มีความเกินเลยไปจากเหตุการณ์จริง
สำหรับเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นบริเวณแยกราชประสงค์นั้น โดยส่วนตัวเชื่อว่า เกิดจากกลุ่มก่อกวนความสงบท้าทายอำนาจรัฐบาลและพุ่งเป้าทำลายในเรื่องเศรษฐกิจเสียมากกว่า ขณะที่ประเด็นก่อการร้ายยังคงเป็นเรื่องที่ต้องมีการสืบสวนต่อไป
“กรณีที่มีการนำประเด็นมุสลิมจีนอุยกูร์เข้ามาเป็นหนึ่งในข้อสันนิฐานของเหตุก่อการร้ายครั้งนี้ เพื่อแก้แค้นรัฐบาลทหารกรณีส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ผมคิดว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากเพราะชนกลุ่มนี้ไม่มีการเคลื่อนไหวในระดับนานาชาติ อีกอย่างประเทศไทยถือเป็นทางผ่านที่ดีของพวกเขาถ้ามาก่อเหตุจริงก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง”
ผศ.ทวี วิพากษ์ทิ้งท้ายถึงท่าทีประเทศสหรัฐอเมริกาต่อเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานครว่า แม้ไม่สามารถฟันธงได้ว่าต้นสายปลายเหตุเป็นเช่นไร ก็ดูเหมือนว่าสหรัฐฯ เอง จะถูกจับตาเป็นพิเศษจากทั่วโลกอยู่ไม่น้อย ยิ่งเมื่อนับรวมกับการที่สหรัฐฯ ส่ง เกล็น เดวีส์ เข้ามาเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำไทยคนใหม่แทน คริสตี้ เคนนีย์ ก็ยิ่งทำให้เห็นว่า ท่าทีของสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศไทยนั้นไม่ธรรมดา เพราะเป็นที่รับรู้ว่านายเกล็น เดวีส์นั้น เป็นนักการทูตลายครามที่ผ่านการทำงานในประเทศต่างๆ มาอย่างโชกโชน
สำหรับภาพยนตร์เนื้อหาเกี่ยวโยงกับเรื่องก่อการร้ายนั้นมีอยู่หลายเรื่อง ทั้งดัดแปลงจากเรื่องจริงและสร้างสรรค์ขึ้นจากจินตนาการของผู้ประพันธ์ อาทิ
1. Munich (2549) เหตุการณ์ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นจริงในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในมิวนิก เยอรมันตะวันตกปี ค.ศ. 1972 ที่เยอรมันตะวันตก เกิดการโจมตีของผู้ก่อการร้าย กลุ่มชาวปาเลสไตน์หัวรุนแรงในชื่อ แบล็กเซปเทมเบอร์ ทำการลงมือสังหารสมาชิกทีมโอลิมปิกอิสราเอล จำนวน 2 ราย พร้อมกับจับตัวประกันอีก 9 ราย ทางการอิสราเอลจึงจัดตั้งกลุ่มคนขึ้นมาตามสังหารผู้เกี่ยวข้องกับเหตุก่อการร้ายที่โอลิมปิกมิวนิก ตีแผ่การแก้แค้นด้วยปฏิบัติการเลือดล้างด้วยเลือด
2. The Battle of Algiers (2509) นำเสนอเหตุการณ์ ศึกแอลเจียร์ กลุ่มชาวแอลจีเรียเรียกร้องอิสรภาพจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองจากการล่าอาณานิคมในขณะนั้น รูปแบบการเรียกร้องอิสรภาพของเขาเป็นแบบกองโจรใต้ดินคอยก่อเหตุวินาศกรรม ตั้งแต่ไล่ยิงตำรวจ จนทหารเข้ามาทำหน้าที่แทน ก็เริ่มมีการสังหารหมู่ชาวรุโรป ใช้ระเบิดเป็นเครื่องมือก่อการร้าย ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้หลายประเทศที่มีสงครามกลางเมืองใช้กลยุทธ์สู้รบแบบกองโจร และยังเป็นตำราเรียนของทีมปราบจลาจลต่อต้านการรบแบบกองโจรของสหรัฐฯ ในสงครามอีรักด้วย
3. United 93 (2549) ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริงของผู้โดยสารบนเครื่องบินFlight 93 ที่ร่วมกันหยุดภารกิจการก่อร้ายจากเหตุการณ์ 9/11 หลังเครื่องบินทะยานขึ้นสู่น่านฟ้าเป็นสัญญาณให้ผู้โดยสารทราบว่าพวกเขาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ก่อการร้ายที่มุ่งโจมตีสหรัฐอเมริกา
4. The Siege (2541) หลังเกิดเหตุการณ์รถประจำทางที่มีผู้โดยสารเต็มคันระเบิด ย่านบรูคลิน มหานครนิวยอร์ก คือจุดเริ่มเรื่องของเหตุการณ์ก่อการร้ายระดับชาติรุนแรงถึงขั้นประกาศประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเป็นภารกิจของเจ้าหน้าที่พิเศษของเอฟบีไอ ที่จะเข้ามายุติความหายนะ และล่าตัวผู้ก่อการร้ายมาลงโทษ
5. Taken 2 (2552) ภาพยนตร์แอ็กชันระทึกขวัญ สัญชาติฝรั่งเศส เรื่องราวของ ไบรอัน มิลส์ อดีตสายลับ CIAฝีมือระดับพระกาฬ โดนล่าตามล้างแค้นจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวอัลบาเนียในภาคแรก พวกเขาทำการลักพาตัวลูกสาวของ ไบรอัน และนั่นเป็นจุดเริ่มของการล่าหัวผู้ก่อการร้ายอย่างบ้าระห่ำเพื่อพาตัวแก้วตาดวงใจของเขาคืนมา
6. Mission Impossible : Rogue Nation (2558) ภาพยนตร์ชื่อดังมหากาพย์แอ็กชันฟอร์มยักษ์ ที่มีเรื่องราวขององค์กรก่อการร้ายเข้ามาเอี่ยว กับปฏิบัติสุดยอดปฏิบัติการของสายลับ อีธาน ฮันท์ พร้อมด้วยทีม เตรียมประจัญบานกับซินดิเคท องค์กรลับระดับนานาชาติ ที่มีเป้าหมายปฏิวัติโลกใหม่ด้วยวิธีก่อการร้าย ซึ่งก็เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมทุกภาคเช่นกัน
7. JAMES BOND 007 CASINO ROYALE 007 (2549) สายลับกับผู้ก่อการร้ายมักจะมาคู่กันเสมอ เจมส์ บอนด์ สายลับมือล่าสังหาร กับภาระหน้าที่กับภารกิจล้างบางกลุ่มผู้ก่อการร้ายรายใหญ่ใน กาสิโน รอยัล เผชิญหน้าอาชญากรร้ายข้ามชาติ หัวหน้ากลุ่มผู้ก่อการร้ายรายใหญ่ที่สุดของโลก เพื่อทำลายแผนก่อการร้ายให้สิ้นซาก
8. Iron Man (2551) ภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่จากค่าย มาร์เวล สตูดิโอส์ ที่สร้างมาจากการ์ตูน เรื่องราวของมหาเศรษฐีอัจฉริยะนักประดิษฐ์ โทนี่ สตาร์ค ผู้ถูกลักพาตัวโดยกลุ่มก่อการร้ายตะวันออกกลาง และโดนบีบบังคับให้คิดค้นอาวุธที่มีอานุภาพการทำลายล้างสูง แต่แทนที่จะอ่อนข้อกับกลุ่มก่อการร้ายเขาใช้สติปัญญาอันปราดเปรื่องประดิษฐ์เกราะเหล็กเพื่อหลบหนีกลับมายังอเมริกา และพัฒนามันขึ้นจนเป็นรู้จักในชื่อ Iron Man พร้อมเริ่มปฏิบัติการพิทักษ์โลกจากผู้ก่อการร้ายนานาชาติ
9. The Bourne (2545) ภาพยนตร์ภาคต่อที่ขมวดปมแผนการสมคบคิดของผู้ก่อการร้าย ตีแผ่การทรยศหักหลังในพวกพ้อง และการช่วยเหลืออเมริกาให้รอดพ้นจากการทำลายล้างของศัตรูผู้ก่อการร้าย เจสัน บอร์น เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะหยุดยั้งภัยร้ายที่จะเกิดขึ้นได้ อย่างในภาค The Bourne Betrayal เล่าเรื่องราวของผู้ก่อการร้ายลักลอบขนแร่ยูเรเนียมสำหรับทำระเบิดนิวเคลียร์ ผูกโยงถึงคนรักของพระเอกที่ถูกลักพาตัวไปขณะปฏิบัติภารกิจสืบหาร่องรอยดังกล่าว ซึ่งเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องตามหาคนรักและหยุดยั้งอาชญากรทำลายล้างโลก
10. Vantage Point เสี้ยววินาทีสังหาร (2551)เบาะแสจากคนแปลกหน้า 8 คน ที่อยู่ในเหตุการณ์และที่สามารถจับภาพผู้ก่อการร้ายในเสี้ยววินาทีก่อนเกิดเหตุ ลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยการลอบยิง ขณะขึ้นกล่าวในการประชุมต่อต้านการก่อการร้ายที่จัดขึ้นในประเทศสเปน ซ้ำร้ายเหตุการณ์นี้ยังสร้างความบอบช้ำด้วยเหตุระเบิดที่พรากชีวิตประชาชนบริสุทธิ์จำนวนมากในเวลาต่อมา เบาะแสจากคลิปวิดีโอโดยความร่วมมือจากประชาชนสามารถช่วยให้เจ้าหน้าที่ลากตัวผู้ร้ายและผู้บงการได้อย่างรวดเร็ว