วิกฤตเศรษฐกิจจีนลามตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งเหว ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิต นำโด่ง ร่วงหนักกว่า 8.4% ดาวโจนส์ 6% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยหนี้ไม่พ้น ปรับตัวลดลงกว่า 64.55 จุด หรือ 4.73% ปิดที่ 1,301.06 จุด มาร์เกตแคปวันเดียวสูญกว่า 6.2 แสนล้านบาท ขุนคลังคนใหม่ “อภิศักดิ์” ปลอบร่วงตามตลาดทุนทั่วโลก ขณะที่ “เกศรา” ย้ำพื้นฐานบจ.ไทยแข็งแกร่ง
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (24 ส.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก จากปัจจัยลบความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาจำนวนมาก แม้จะเริ่มมีแรงซื้อเข้ามาบ้างในช่วงบ่าย แต่ไม่สามารถต้านทานแรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องได้
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทย แตะระดับสูงสุดที่ 1,336.79 จุด ก่อนจะผันผวนในแดนลบ และปิดระดับต่ำสุดของวันที่ 1,301.06 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 64.55 จุด หรือคิดเป็น 4.73% มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 60,491.34 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมลดลงเหลือ (Market Cap) 12.29 ล้านล้านบาท จากวันก่อนหน้า ((21 ส.ค.) อยู่ที่12.91 ล้านล้านบาท หรือเพียงวันเดียวมูลค่าตลาดหุ้นรวมลดลงกว่า 6.2 แสนล้านบาท
ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ยังคงขายสุทธิกว่า 4,775.20 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 58 รวมทั้งสิ้นเกือบ 3.40 หมื่นล้านบาท และยอดขายสิทธิตั้งแต่ต้นปี 58 รวมกว่า 7.60 หมื่นล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิด 240 บาท ลดลง 25 บาท หรือคิดเป็น 9.43% มูลค่าการซื้อขาย 5,208.40 ล้านบาท บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) ราคาปิด 254 บาท ลดลง 11 บาท หรือ 4.15% มูลค่า 2,624.64 ล้านบาท และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ราคาปิด 163.50 บาท ลดลง 9 บาท หรือ 5.22% มูลค่า 2,490.48 ล้านบาท
ขณะเดียวกันตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวเช่นกัน อาทิ ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิท ตลาดหุ้นจีนร่วง 8.4%, ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ร่วงต่ำ 4%, ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น 225 ร่วง 2.8% ต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน, ดัชนีคอสปิ ของเกาหลีใต้ ร่วง 1.4%, ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ในสหรัฐฯร่วงลง 6%, ดัชนีเอฟทีเอสอี 100 ของอังกฤษ ร่วงลง 5%
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน คือ ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้, ความไม่มั่นใจเกี่ยวกับกำหนดเวลาการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED, และราคาน้ำมันโลกตกต่ำอย่างหนัก โดยปัจจุบันราคาน้ำมันดิบแตะอยู่ที่เกือบ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำที่สุดในรอบกว่า 6 ปี
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยืนยันว่า พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง ส่วนสาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงวานนี้ ปัจจัยหลักมาจากความกังวลในต่างประเทศ ไม่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของทีมเศรษฐกิจชุดนี้ พร้อมกันนี้ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เมื่อรัฐบาลเร่งขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สถานการณ์น่าจะดีขึ้น
“สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้คล้ายกับเมื่อตอนเกิดเหตุการณ์แบล็กมันเดย์ ดังนั้น แม้ตลาดหุ้นไทยจะมีพื้นฐานดีแต่ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงก็คงหลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ เรื่องหุ้นมีทั้งคนซื้อ และคนขายเป็นเรื่องปกติ มีคนขายมากมีคนซื้อน้อยก็ปรับตัวลดลงเป็นธรรมดา ไม่อยากให้คิดว่ามาจากเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เรื่องหุ้นมันเกี่ยวกับหลายสาเหตุ” นายอภิศักด์ กล่าว
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากตลาดทุนทั่วโลกที่ปรับลงมาก พร้อมกล่าวแนะนำนักลงทุนติดตามข่าวสารจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะการทยอยประกาศผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2/58 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทจดทะเบียนยังมีศักยภาพทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง
"น่าจะกระทบกับตลาดบางส่วน แต่ไม่น่าจะรุนแรง เพราะนักลงทุนได้รับทราบข้อมูลมาแล้ว เชื่อว่าทุกคนมีข้อมูลข่าวสารในมือมากในมือเพียงพอ แต่อยากให้ใช้ข้อมุลจริงจากตลาดหุ้นไทย ซึ่งผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนยังคงมีความแข็งแกร่ง นอกจากนั้นเชื่อว่าธุรกิจในบ้านเรามีการกระจายความเสี่ยงได้ดีและยังมี Domestic Demand จึงแนะนำนักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการลงทุนวันนี้ด้วย” นางเกศรา กล่าว
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ กรรมการผู้จัดการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับลงไปตามตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ที่รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับลงอย่างต่อเนื่อง และเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอยังไม่เห็นแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้นักลงทุนต้องเทขายลดความเสี่ยงมาถือสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย
ส่วนปัจจัยในประเทศ การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่โดยเฉพาะทีมเศรษฐกิจ คงยังไม่เห็นผลชัดเจนในทันที ทำให้ปัจจัยภายนอกมีน้ำหนักมากกว่า และเชื่อว่าภาครัฐคงไม่มีมาตรการพิเศษใด ๆ ออกมาใช้ เพราะเป็นไปตามสถานการณ์ของตลาดหุ้นทั่วโลก
นายกิจพล ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิแคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย ระบุ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาต่อเนื่องแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และยังมองว่ามีแนวโน้มขาลงต่อ โดยตั้งแต่ต้นปี 2558 ถึงวันนี้ได้ปรับตัวลงไปแล้วราว 12%
“การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงแรงไป 60 จุด มาจากความกังวลเศรษฐกิจจีนที่เป็นปัจจัยหลักที่กดดันการลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวลดลงตามกัน ซึ่งปัจจัยจากเศรษฐกิจของจีนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงลูกโซ่ไปทั่วโลก ทำให้ส่งผลมาถึงการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นกัน” นายกิจพล กล่าว
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (24 ส.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก จากปัจจัยลบความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาจำนวนมาก แม้จะเริ่มมีแรงซื้อเข้ามาบ้างในช่วงบ่าย แต่ไม่สามารถต้านทานแรงขายที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องได้
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทย แตะระดับสูงสุดที่ 1,336.79 จุด ก่อนจะผันผวนในแดนลบ และปิดระดับต่ำสุดของวันที่ 1,301.06 จุด ลดลงจากวันก่อนถึง 64.55 จุด หรือคิดเป็น 4.73% มูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้น 60,491.34 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมลดลงเหลือ (Market Cap) 12.29 ล้านล้านบาท จากวันก่อนหน้า ((21 ส.ค.) อยู่ที่12.91 ล้านล้านบาท หรือเพียงวันเดียวมูลค่าตลาดหุ้นรวมลดลงกว่า 6.2 แสนล้านบาท
ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ยังคงขายสุทธิกว่า 4,775.20 ล้านบาท ส่งผลให้ยอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 58 รวมทั้งสิ้นเกือบ 3.40 หมื่นล้านบาท และยอดขายสิทธิตั้งแต่ต้นปี 58 รวมกว่า 7.60 หมื่นล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิด 240 บาท ลดลง 25 บาท หรือคิดเป็น 9.43% มูลค่าการซื้อขาย 5,208.40 ล้านบาท บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) ราคาปิด 254 บาท ลดลง 11 บาท หรือ 4.15% มูลค่า 2,624.64 ล้านบาท และธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ราคาปิด 163.50 บาท ลดลง 9 บาท หรือ 5.22% มูลค่า 2,490.48 ล้านบาท
ขณะเดียวกันตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวเช่นกัน อาทิ ดัชนีเซี่ยงไฮ้ คอมโพสิท ตลาดหุ้นจีนร่วง 8.4%, ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ร่วงต่ำ 4%, ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นญี่ปุ่น 225 ร่วง 2.8% ต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน, ดัชนีคอสปิ ของเกาหลีใต้ ร่วง 1.4%, ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ในสหรัฐฯร่วงลง 6%, ดัชนีเอฟทีเอสอี 100 ของอังกฤษ ร่วงลง 5%
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน คือ ความกังวลเรื่องเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้, ความไม่มั่นใจเกี่ยวกับกำหนดเวลาการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED, และราคาน้ำมันโลกตกต่ำอย่างหนัก โดยปัจจุบันราคาน้ำมันดิบแตะอยู่ที่เกือบ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ต่ำที่สุดในรอบกว่า 6 ปี
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวยืนยันว่า พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง ส่วนสาเหตุที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงวานนี้ ปัจจัยหลักมาจากความกังวลในต่างประเทศ ไม่เกี่ยวข้องกับภาพลักษณ์ของทีมเศรษฐกิจชุดนี้ พร้อมกันนี้ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เมื่อรัฐบาลเร่งขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ สถานการณ์น่าจะดีขึ้น
“สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้คล้ายกับเมื่อตอนเกิดเหตุการณ์แบล็กมันเดย์ ดังนั้น แม้ตลาดหุ้นไทยจะมีพื้นฐานดีแต่ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงก็คงหลีกเลี่ยงผลกระทบไม่ได้ เรื่องหุ้นมีทั้งคนซื้อ และคนขายเป็นเรื่องปกติ มีคนขายมากมีคนซื้อน้อยก็ปรับตัวลดลงเป็นธรรมดา ไม่อยากให้คิดว่ามาจากเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง เรื่องหุ้นมันเกี่ยวกับหลายสาเหตุ” นายอภิศักด์ กล่าว
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. กล่าวว่าตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากตลาดทุนทั่วโลกที่ปรับลงมาก พร้อมกล่าวแนะนำนักลงทุนติดตามข่าวสารจากตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉพาะการทยอยประกาศผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2/58 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัทจดทะเบียนยังมีศักยภาพทำกำไรได้อย่างต่อเนื่อง
"น่าจะกระทบกับตลาดบางส่วน แต่ไม่น่าจะรุนแรง เพราะนักลงทุนได้รับทราบข้อมูลมาแล้ว เชื่อว่าทุกคนมีข้อมูลข่าวสารในมือมากในมือเพียงพอ แต่อยากให้ใช้ข้อมุลจริงจากตลาดหุ้นไทย ซึ่งผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนยังคงมีความแข็งแกร่ง นอกจากนั้นเชื่อว่าธุรกิจในบ้านเรามีการกระจายความเสี่ยงได้ดีและยังมี Domestic Demand จึงแนะนำนักลงทุนใช้ความระมัดระวังในการลงทุนวันนี้ด้วย” นางเกศรา กล่าว
นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ กรรมการผู้จัดการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ในฐานะนายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ระบุว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับลงไปตามตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่ที่รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับลงอย่างต่อเนื่อง และเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอยังไม่เห็นแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้นักลงทุนต้องเทขายลดความเสี่ยงมาถือสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย
ส่วนปัจจัยในประเทศ การปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่โดยเฉพาะทีมเศรษฐกิจ คงยังไม่เห็นผลชัดเจนในทันที ทำให้ปัจจัยภายนอกมีน้ำหนักมากกว่า และเชื่อว่าภาครัฐคงไม่มีมาตรการพิเศษใด ๆ ออกมาใช้ เพราะเป็นไปตามสถานการณ์ของตลาดหุ้นทั่วโลก
นายกิจพล ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิแคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย ระบุ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาต่อเนื่องแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และยังมองว่ามีแนวโน้มขาลงต่อ โดยตั้งแต่ต้นปี 2558 ถึงวันนี้ได้ปรับตัวลงไปแล้วราว 12%
“การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวลดลงแรงไป 60 จุด มาจากความกังวลเศรษฐกิจจีนที่เป็นปัจจัยหลักที่กดดันการลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวลดลงตามกัน ซึ่งปัจจัยจากเศรษฐกิจของจีนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบเชิงลูกโซ่ไปทั่วโลก ทำให้ส่งผลมาถึงการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกเช่นกัน” นายกิจพล กล่าว