น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชน และประธานอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า เปิดเผยว่า ในระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากราษฎรในหลายพื้นที่ทั่วประเทศว่า ถูกละเมิดสิทธิในการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ครอบคลุมทุกประเภทฐานทรัพยากร อาทิ ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเล ทรัพยากรแร่ ดิน และหิน ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรพลังงาน จำนวน 800 เรื่อง และกสม.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นทำหน้าที่ใน การสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร
ทั้งนี้ มีประเด็นปัญหาที่พบจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในภาพรวม 9 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาการกำหนดแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ปัญหาการจัดทำผังเมือง ปัญหาการดำเนินนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย ผลกระทบจากการที่เจ้าหน้าที่อ้างคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 64/2557 ปัญหาการจัดการทรัพยากรพลังงาน ผลกระทบมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและปัญหาการจัดการกากของเสียอันตรายภาคอุตสาหกรรม ปัญหาการจัดการทรัพยากรแร่ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน และ ปัญหาการจัดการทรัพยากรประมงทะเล
คณะอนุกรรมการฯ จึงได้รายงานสรุปสถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิด้านชุมชนและฐานทรัพยากรดังกล่าว รวมถึงข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อปกป้อง คุ้มครองสิทธิของประชาชนและชุมชนที่อาจจะเกิดขึ้น ประกอบด้วย
1 .ขอให้ ระงับ หรือยุติการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และสิทธิชุมชน เช่น กรณีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กรณีโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกทั้งที่ปากบารา จ.สตูล และ จ.สงขลา กรณีการดำเนินการตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ชายแดน กรณีการจัดผังเมืองในพื้นที่ที่ยังมีปัญหาในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และกรณีโครงการเหมืองแร่โปรแตซ จ.อุดรธานี ทั้งนี้ หากจะยังคงดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรมต่อไป ควรเริ่มต้นกระบวนการใหม่โดยต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจอย่างแท้จริง
2. ชดเชย เยียวยา และฟื้นฟู ในกรณีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เช่น ผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล กรณีผลกระทบจากโครงการสำรวจปิโตรเลียมในหลายพื้นที่ภาคอีสาน และกรณีผลกระทบมลพิษจากการโรงงานอุตสาหกรรม
3. กรณีผลกระทบจากการปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 64/2557 มีความเห็นว่า ควรยุติการดำเนินนโยบายยึดคืนผืนป่ารวมทั้งที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ ยุติการตัดฟันต้นยางพารา และยุติหรือชะลอการดำเนินคดีในกรณีที่มีพบว่า ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และไร้ที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยมาแต่เดิม ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 66/2557 นอกจากนี้ควรทบทวนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแผน
ทั้งนี้ มีประเด็นปัญหาที่พบจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในภาพรวม 9 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาการกำหนดแผนพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ ปัญหาการจัดทำผังเมือง ปัญหาการดำเนินนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย ผลกระทบจากการที่เจ้าหน้าที่อ้างคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 64/2557 ปัญหาการจัดการทรัพยากรพลังงาน ผลกระทบมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมและปัญหาการจัดการกากของเสียอันตรายภาคอุตสาหกรรม ปัญหาการจัดการทรัพยากรแร่ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน และ ปัญหาการจัดการทรัพยากรประมงทะเล
คณะอนุกรรมการฯ จึงได้รายงานสรุปสถานการณ์ปัญหาการละเมิดสิทธิด้านชุมชนและฐานทรัพยากรดังกล่าว รวมถึงข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวที่เกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อปกป้อง คุ้มครองสิทธิของประชาชนและชุมชนที่อาจจะเกิดขึ้น ประกอบด้วย
1 .ขอให้ ระงับ หรือยุติการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สภาพแวดล้อม และสิทธิชุมชน เช่น กรณีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน กรณีโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกทั้งที่ปากบารา จ.สตูล และ จ.สงขลา กรณีการดำเนินการตามนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษบริเวณพื้นที่ชายแดน กรณีการจัดผังเมืองในพื้นที่ที่ยังมีปัญหาในกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และกรณีโครงการเหมืองแร่โปรแตซ จ.อุดรธานี ทั้งนี้ หากจะยังคงดำเนินนโยบาย โครงการ หรือกิจกรรมต่อไป ควรเริ่มต้นกระบวนการใหม่โดยต้องเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจอย่างแท้จริง
2. ชดเชย เยียวยา และฟื้นฟู ในกรณีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ได้เกิดขึ้นแล้ว และได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน เช่น ผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ทองคำ จ.เลย ผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล กรณีผลกระทบจากโครงการสำรวจปิโตรเลียมในหลายพื้นที่ภาคอีสาน และกรณีผลกระทบมลพิษจากการโรงงานอุตสาหกรรม
3. กรณีผลกระทบจากการปฏิบัติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 64/2557 มีความเห็นว่า ควรยุติการดำเนินนโยบายยึดคืนผืนป่ารวมทั้งที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ ยุติการตัดฟันต้นยางพารา และยุติหรือชะลอการดำเนินคดีในกรณีที่มีพบว่า ผู้ถูกดำเนินคดีเป็นประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย และไร้ที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยมาแต่เดิม ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 66/2557 นอกจากนี้ควรทบทวนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงแผน