ในการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วานนี้ (11ส.ค.) เพื่อทบทวนบทบัญญัติ ร่างรัฐธรรมนูญที่ค้างการพิจารณาในส่วนที่เหลือ ประชุมลับต่อเนื่องเป็นวันที่ 2โดยยังเหลือ 2 ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณาคือ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่ยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จ โดยกมธ.ยกร่างฯได้วางแนวทางไว้ 3 ทาง คือ 1. จะคงหลักการเดิมให้มี ส.ว.เลือกตั้ง 77 คน และ ส.ว.สรรหา 123 คน หรือไม่ 2. ประเภทของส.ว.สรรหาทั้ง 4 กลุ่มที่กำหนดไว้ในร่างเดิมมีความหลากหลายเกินไปหรือไม่ 3. รูปแบบที่มาของคณะกรรมการสรรหา ทั้ง 4 กลุ่ม มีความเหมาะสมหรือไม่ รวมไปถึงการหาข้อยุติใน ภาค 4 ว่าด้วยการปฏิรูป และการสร้างความปรองดอง ในส่วนโครงสร้างคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
ต่อมาพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ แถลงผลงการประชุมเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ว่า ที่ประชุมมีมติ กำหนดให้มาตรา 118 ให้วุฒิสภามีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้ง 77 คน มาจากการสรรหา 123 คน โดยแบ่งเป็นการสรรหาจาก 4 กลุ่มใหญ่ โดยมาตรา 119 กมธ.ยกร่างฯ เห็นชอบให้เขียนองค์ประกอบของที่มากรรมการสรรหา ส.ว.ทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว ให้ไปอยู่ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. เนื่องจากที่ผ่านมาตลอด 2 สัปดาห์ มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกรรมการสรรหา ว่ามีจำนวนมากเกินไป ซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับอำนาจต่างๆ ดังนั้นเพื่อความรอบคอบ จึงได้นำไปไว้ในกฎหมายลูก ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของ คณะอนุกมธ. และกมธ.ยกร่างฯ รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยตนมั่นใจว่ากรรมการที่จะมาสรรหาส.ว. จะมีความหลากหลาย เป็นกลาง และไม่ยึดโยงกับการเมือง
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยของบ้านเมือง สอดรับกับการปฏิรูปประเทศ และการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูป และการสร้างความปรองดองแห่งชาติที่จะเกิดขึ้น กมธ.ยกร่างฯ จึงได้เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล เห็นชอบให้ ส.ว.ชุดแรก จำนวน 200 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี โดย ส.ว.เลือกตั้ง 77 จังหวัด ให้กกต.เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง ส่วน ส.ว.สรรหา123 คน ให้อำนาจครม.เป็นผู้สรรหา โดยผ่านกรรมการเป็นผู้คัดเลือก เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศ ร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ
จากนั้นเมื่อส.ว.ชุดแรกทั้ง 200 คน ครบวาระ ก็จะเข้าสู่การเลือกตั้งส.ว. ตามปกติ ภายใต้บทบัญญัติ มาตรา 118 และ มาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ดำรงวาระ 6 ปี โดยจะไม่มีการตัดสิทธิ ส.ว.ชุดแรก มาลงสมัครในรอบถัดไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเขียนให้ ส.ว.ชุดแรกที่มาจากการสรรหา 123 คน เป็นอำนาจครม. ตรงนี้เป็นการปูทางให้สปช.ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 7 ก.ย.นี้ หรือไม่ โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ไม่มีใครตอบได้ เพราะต้องผ่านการสรรหา ที่เชื่อว่าครม.ก็ต้องเลือกคนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ แต่ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเปิดช่องให้ สปช. เข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวได้หรือไม่ ส่วนกรรมการสรรหาเป็นอำนาจรัฐบาลในการแต่งตั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้ ยังไม่สามารถตอบได้ว่ามีกี่คน แต่ก็เชื่อว่า ครม. จะตั้งกรรมการสรรหาฯ ที่มีความเหมาะสม และหลากหลาย
ต่อมาพล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างฯ แถลงผลงการประชุมเกี่ยวกับที่มา ส.ว.ว่า ที่ประชุมมีมติ กำหนดให้มาตรา 118 ให้วุฒิสภามีจำนวน 200 คน มาจากการเลือกตั้ง 77 คน มาจากการสรรหา 123 คน โดยแบ่งเป็นการสรรหาจาก 4 กลุ่มใหญ่ โดยมาตรา 119 กมธ.ยกร่างฯ เห็นชอบให้เขียนองค์ประกอบของที่มากรรมการสรรหา ส.ว.ทั้ง 4 กลุ่มดังกล่าว ให้ไปอยู่ใน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. เนื่องจากที่ผ่านมาตลอด 2 สัปดาห์ มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกรรมการสรรหา ว่ามีจำนวนมากเกินไป ซึ่งไม่ได้ยึดโยงกับอำนาจต่างๆ ดังนั้นเพื่อความรอบคอบ จึงได้นำไปไว้ในกฎหมายลูก ซึ่งต้องผ่านการพิจารณาของ คณะอนุกมธ. และกมธ.ยกร่างฯ รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยตนมั่นใจว่ากรรมการที่จะมาสรรหาส.ว. จะมีความหลากหลาย เป็นกลาง และไม่ยึดโยงกับการเมือง
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยของบ้านเมือง สอดรับกับการปฏิรูปประเทศ และการทำงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูป และการสร้างความปรองดองแห่งชาติที่จะเกิดขึ้น กมธ.ยกร่างฯ จึงได้เขียนไว้ในบทเฉพาะกาล เห็นชอบให้ ส.ว.ชุดแรก จำนวน 200 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี โดย ส.ว.เลือกตั้ง 77 จังหวัด ให้กกต.เป็นผู้จัดการเลือกตั้ง ส่วน ส.ว.สรรหา123 คน ให้อำนาจครม.เป็นผู้สรรหา โดยผ่านกรรมการเป็นผู้คัดเลือก เพื่อสนับสนุนภารกิจของรัฐบาลในการปฏิรูปประเทศ ร่วมกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ฯ
จากนั้นเมื่อส.ว.ชุดแรกทั้ง 200 คน ครบวาระ ก็จะเข้าสู่การเลือกตั้งส.ว. ตามปกติ ภายใต้บทบัญญัติ มาตรา 118 และ มาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดให้ดำรงวาระ 6 ปี โดยจะไม่มีการตัดสิทธิ ส.ว.ชุดแรก มาลงสมัครในรอบถัดไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเขียนให้ ส.ว.ชุดแรกที่มาจากการสรรหา 123 คน เป็นอำนาจครม. ตรงนี้เป็นการปูทางให้สปช.ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 7 ก.ย.นี้ หรือไม่ โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าวว่า ไม่มีใครตอบได้ เพราะต้องผ่านการสรรหา ที่เชื่อว่าครม.ก็ต้องเลือกคนที่เหมาะสมที่สุด เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ แต่ก็ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเปิดช่องให้ สปช. เข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าวได้หรือไม่ ส่วนกรรมการสรรหาเป็นอำนาจรัฐบาลในการแต่งตั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้ ยังไม่สามารถตอบได้ว่ามีกี่คน แต่ก็เชื่อว่า ครม. จะตั้งกรรมการสรรหาฯ ที่มีความเหมาะสม และหลากหลาย