วานนี้ (3 ส.ค.) นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ได้เตรียมจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการแก้กฎหมาย และบทบาทของสนช. ในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ต้องทำเพราะมีพันธะกรณี ระหว่างประเทศที่มี 2 มิติ คือเรื่องของการป้องกัน และกำกับดูแลการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ สนช. โดยตลอด 1 ปีที่ผ่านมา คสช. เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้ สนช.ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งปัญหาของแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองแบบผิดกฎหมายเป็นที่มาของการละเมิดสิทธิเสรีภาพ เนื่องแรงงานดังกล่าว ไม่ได้รับสวัสดิการจากรัฐ ซึ่งเมื่อ คสช. เข้ามาบริหาร ก็ได้มีการออกกฎระเบียบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในคำสั่งของคสช. ซึ่งทำให้แรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบ และได้รับสิทธิประโยชน์จากรัฐมากขึ้น อาทิ ค่าแรงงานขั้นต่ำ เดือนละ 9 พันบาท ค่าประกันสังคมไม่เกิน 700 บาท รวมทั้งสวัสดิการต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานของคสช.ทั้งสิ้น
ส่วนแรงงานต่างด้าวทางประมง ที่ถูกเพ่งเล็งเป็นกรณีพิเศษนั้น เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมาย ต้องใช้เจ้าหน้าที่และเครื่องมือในการตรวจสอบแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ คสช.ตระหนักในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวโดย สนช.ได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโทษสูงขึ้น และมีมาตรการอื่นๆ ในการปราบปรามการค้ามนุษย์ทางประมงมาให้ สนช.พิจารณา ทั้งนี้ มีการดูแลแรงงานดังกล่าวมากขึ้น เพื่อไม่ให้ถูกตำหนิ
อย่างไรก็ดี การค้ามนุษย์เกี่ยวกับเพศก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีการใช้ผู้หญิง และเด็ก เป็นเหยื่อทางธุรกิจทางเพศ ซึ่งต่างประเทศมักมองว่า ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของการให้บริการในรูปแบบดังกล่าว ทั้งนี้ สนช.ได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเยาวชนแล้ว
"ไทยมีจุดยืนอย่างชัดเจน ตั้งแต่มี คสช.เข้ามาปราบปราม และแก้ไขในเรื่องดังกล่าว แต่แน่นอนว่า กฎหมายคลอดออกมาได้ไม่นาน และรอการบังคับใช้ ซึ่ง สนช.จะศึกษา ตรวจสอบการบังคับใช้ด้วย หากพบว่ามีปัญหา ก็อาจตั้งกระทู้ถามรัฐบาลในส่วนของการบังคับใช้ และจะเร่งดำเนินการรวมทั้งจะแปลกฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ให้เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ต่างประเทศเข้าใจ และจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ ซึ่งยอมรับว่า สนช. ยังอ่อนแอกับเรื่องการประชาสัมพันธ์อยู่มาก" นายพรเพชร กล่าว
ส่วนแรงงานต่างด้าวทางประมง ที่ถูกเพ่งเล็งเป็นกรณีพิเศษนั้น เนื่องจากการบังคับใช้กฎหมาย ต้องใช้เจ้าหน้าที่และเครื่องมือในการตรวจสอบแรงงานต่างด้าวเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ คสช.ตระหนักในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวโดย สนช.ได้แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มโทษสูงขึ้น และมีมาตรการอื่นๆ ในการปราบปรามการค้ามนุษย์ทางประมงมาให้ สนช.พิจารณา ทั้งนี้ มีการดูแลแรงงานดังกล่าวมากขึ้น เพื่อไม่ให้ถูกตำหนิ
อย่างไรก็ดี การค้ามนุษย์เกี่ยวกับเพศก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีการใช้ผู้หญิง และเด็ก เป็นเหยื่อทางธุรกิจทางเพศ ซึ่งต่างประเทศมักมองว่า ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของการให้บริการในรูปแบบดังกล่าว ทั้งนี้ สนช.ได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อเยาวชนแล้ว
"ไทยมีจุดยืนอย่างชัดเจน ตั้งแต่มี คสช.เข้ามาปราบปราม และแก้ไขในเรื่องดังกล่าว แต่แน่นอนว่า กฎหมายคลอดออกมาได้ไม่นาน และรอการบังคับใช้ ซึ่ง สนช.จะศึกษา ตรวจสอบการบังคับใช้ด้วย หากพบว่ามีปัญหา ก็อาจตั้งกระทู้ถามรัฐบาลในส่วนของการบังคับใช้ และจะเร่งดำเนินการรวมทั้งจะแปลกฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ให้เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ต่างประเทศเข้าใจ และจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ ซึ่งยอมรับว่า สนช. ยังอ่อนแอกับเรื่องการประชาสัมพันธ์อยู่มาก" นายพรเพชร กล่าว