จากข่าวการปรับ ครม. "ประยุทธ์ 2" ซึ่งคาดว่าน่าจะมีขึ้นในเร็วๆนี้ เนื่องจากรัฐบาลบริหารงานเกือบครบ1 ปี ซึ่งการปรับ ครม. ครั้งนี้มีกระแสว่าจะเน้นไปที่ทีมเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชน และส่งผลต่อความเชื่อมั่นโดยรวมของรัฐบาล เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน สวนดุสิตโพล จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,383 คน ระหว่างวันที่ 20-25 ก.ค.58 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร กับ ข่าวการปรับครม.ประยุทธ์ 2 อันดับ 1 บ้านเมืองจะได้เดินหน้า พัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ 72.02% อันดับ 2 เป็นเรื่องปกติทางการเมือง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี 68.60% อันดับ 3 เป็นการปรับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนต่างชาติ 65.29% อันดับ 4 คงต้องรอดูว่ากระทรวงใดที่ถูกปรับและกระทรวงใดที่ยังทำงานต่อไป 63.12% อันดับ 5 รัฐบาลสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 57.92%
2. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการปรับครม. ประยุทธ์ 2 อันดับ 1 เห็นด้วย 68.11% เพราะ บางกระทรวงมีผลงานไม่โดดเด่น ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ดีขึ้นได้ ช่วยลดความกดดันภายในรัฐบาล รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 24.51% เพราะไม่รู้ว่าปรับแล้วจะดีขึ้นหรือแย่ลง สถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยังไม่รู้ว่ากระทรวงใด ที่ถูกปรับบ้าง ฯลฯ อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 7.38% เพราะการทำงานหยุดชะงัก ไม่ต่อเนื่อง บางเรื่องแก้ไขยากเนื่องจากปัญหาสะสมมานาน ควรให้เวลามากกว่านี้ ฯลฯ
3. กระทรวง 3 อันดับแรก ที่ประชาชนคิดว่าควรมีการปรับรัฐมนตรี อันดับ 1 กระทรวงการคลัง 86.77% เพราะสภาพเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนยังคงย่ำแย่ ในภาพรวมยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้ดีขึ้นได้ ฯลฯ อันดับ 2 กระทรวงพาณิชย์ 77.22% เพราะ สินค้ายังคงมีราคาแพง ประชาชนแบกภาระค่าใช้จ่ายสูง รัฐไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าได้ ฯลฯ อันดับ 3กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 70.93% เพราะยังไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆให้กับเกษตรกรได้ โดยเฉพาะภัยแล้ง เป็นเพียงการแก้ในระยะสั้นเท่านั้น ฯลฯ
4. สิ่งที่ประชาชนคาดหวังต่อ การปรับครม. ประยุทธ์ 2 คือ อันดับ 1หวังว่าจะได้คนดี มีฝีมือ มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานตรงกับตำแหน่งที่ได้รับ 78.31% อันดับ 2 เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น การค้าการลงทุนคึกคัก ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 71.58% อันดับ 3 หวังว่ารัฐมนตรีใหม่ที่กำลังจะเข้ามา จะช่วยรัฐบาลแก้ปัญหาต่างๆได้ 69.41% อันดับ 4 หวังว่าการเลือกเข้ามาครั้งนี้จะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความเหมาะสม ทุกคนยอมรับ 66.16% อันดับ 5 เมื่อเข้ามาแล้ว คงจะทำงานร่วมกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในกระทรวงได้ 59.65%
5. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงคณะรัฐมนตรีทั้งชุดเก่าและชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามา อันดับ 1 ขอให้เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนให้ดีขึ้นโดยเร็ว 73.10% อันดับ 2 ตั้งใจทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 70.50% อันดับ 3 แก้ปัญหาให้ตรงจุด ตรงตามความต้องการของประชาชน มีผลงานเป็นรูปธรรม ชัดเจน 68.33% อันดับ 4 มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทำตามนโยบายที่รัฐบาลได้เคยประกาศไว้ 67.46% อันดับ 5สร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของต่างประเทศ61.39%
**นิด้าโพลหนุนปรับ ครม.เศรษฐกิจ
ด้าน"นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง"ได้เวลาปรับครม.ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ หรือยัง " สำรวจระหว่างวันที่ 22 - 23 ก.ค. 58 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ 1,251 หน่วยตัวอย่าง
โดยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.72 ระบุว่า ควรปรับคณะรัฐมนตรีในขณะนี้จำแนกออกได้ 3 กลุ่ม คือ ร้อยละ 17.35 ระบุว่า ควรปรับเฉพาะรัฐมนตรีสายเศรษฐกิจ ด้วยหลายเหตุผล เช่น เศรษฐกิจตกต่ำมาก ประชาชนเดือดร้อน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น ค่าครองชีพแพง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ รองลงมา ควรปรับเฉพาะรัฐมนตรีที่ไม่มีผลงานอย่างเป็นรูปธรรม มีเพียง 13.83 ที่ระบุว่า ควรปรับรัฐมนตรีทั้งคณะ
ขณะที่ ร้อยละ 41.81 ระบุว่า ไม่ควรปรับคณะรัฐมนตรีในขณะนี้ เพราะไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองวุ่นวายมากไปกว่านี้ รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเต็มที่ ควรให้โอกาสและเวลา
สำหรับรัฐมนตรีที่ควรถูกปรับออกจากตำแหน่งมากที่สุด ร้อยละ 71.52 ระบุ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ รองลงมา ร้อยละ 68.68 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์ ตามด้วย นายปีติพงศ์ พี่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง
ส่วนกระแสข่าวจะมีอดีตนักการเมือง เข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.74 เห็นด้วย เพราะมีประสบการณ์ทำงาน น่าจะมีความรู้ความสามารถ และความเข้าใจปัญหาได้ดีกว่า จะได้ช่วยกันหลายฝ่าย ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขื้น ขณะที่ร้อยละ 36.68 ไม่เห็นด้วย เพราะกังวลว่า จะล่าช้า และเกิดปัญหาเดิมๆ โดยเฉพาะการทุจริต คอร์รัปชัน การเข้ามาเพราะมีผลประโยชน์แอบแฝง ประเทศจะกลับเข้าสู่วังวนเดิม
** สปช.ห่วงปม ศก.ทำลายเชื่อมั่นรัฐบาล
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับครม. ว่า ต้องยอมรับว่า ประชาชนบ่นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจกันมาก ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจเป็นตัวทำลายความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขืนปล่อยให้เป็นเช่นนี้ นานวันเข้าจะทำให้ความเชื่อถือของรัฐบาลลดลง อาจทำให้ประชาชนหมดศรัทธา จะเป็นอันตรายต่อรัฐบาลอย่างยิ่ง แม้ว่าจะไม่มีรัฐมนตรีคนใดทำงานผิดพลาดบกพร่อง แต่ถ้าไม่มีการขยับปรับเปลี่ยน ปล่อยไว้เหมือนเดิม คนจะเซ็งๆ เบื่อๆ ความรู้สึกที่ดีที่มีต่อรัฐบาลจะพลอยเซ็งๆ เบื่อๆ กับรัฐบาลไปด้วย
ดังนั้น ต้องรีบปรับ รีบเปลี่ยนให้คนมีความรู้สึกดีอยู่กับรัฐบาลต่อไป พล.อ.ประยุทธ์ ต้องบริหารจัดการความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล อย่าปล่อยให้เขาหมดหวังสิ้นหวัง การปรับ ครม. ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้รัฐมนตรีคนนั้นเสียหน้า ถ้าทำแล้วประเทศ และประชาชนได้ประโยชน์ ควรจะทำดีกว่าไม่ทำ และควรรีบทำในภาวะเช่นนี้เพราะสถานการณ์และเสียงสะท้อนและการเรียกร้องมีมากขึ้น ๆ ในหลายภาคส่วน
ทั้งนี้ การปรับ ครม. ถือเป็นเรื่องปกติ รัฐมนตรีทุกคนไม่ควรยึดติดเก้าอี้ และไม่ใช่เรื่องเสียชื่อเสียงเกียรติยศ ควรบอกนายกฯไปเลยว่า พร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ จะออกก็ไม่ว่าอะไรกัน ถือเป็นการช่วยนายกฯ ให้นายกฯทำได้เต็มที่ การปรับ ครม. ในสถานการณ์เช่นนี้ นายกฯมีแต่ได้ ไม่มีอะไรเสีย แต่ถ้าไม่ปรับจะมีแต่เสียกับเสีย จึงควรรีบปรับ รีบดำเนินการ อย่าปล่อยให้อึมครึม ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อความรู้สึก ทั้งการทำงาน การรอคอยว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ขณะนี้ควรรีบทำเสียเลย จะทำให้บรรยากาศทุกอย่างเดินไปได้ดี ทั้งตัวรัฐบาลจะได้รัฐมนตรีใหม่ การทำงานใหม่ ความรู้สึกใหม่ที่ดี ขอให้รีบทำ
**"วิษณุ" ระบุข่าวปรับ ครม.แค่คาดเดา
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับครม.ที่ปรากฏตามสื่อ ว่า ทุกคนพูดตรงกันว่า เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจึงอยากให้ยอมรับว่า จะเป็นการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี และไม่มีประโยชน์ที่จะต้องไปไล่สอบถามเป็นรายบุคคล เป็นการคาดเดา และไม่มีทางที่จะตรงกับความเป็นจริง ซึ่งกระแสข่าวที่ออกมาว่า จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ในความเป็นจริงยังไม่ทราบว่าจะปรับจริงหรือไม่ รวมถึงมีกระแสข่าวเป็นตัวบุคคลว่า ใครจะพ้นจากตำแหน่ง และใครเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นการพูดเกินเลย และไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ในส่วนกรณีที่นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ กรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอให้มีพรรคการเมืองใหญ่ และภาคเอกชน เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีนั้น คณะกรรมการปรองดองได้เสนอมาแล้วหลายเรื่อง เช่น เรื่องนิรโทษกรรม และ เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ไม่ผิด และเชื่อว่าข้อเสนอทั้งหมดนายกรัฐมนตรีได้รับทราบแน่นอน ส่วนจะดำเนินการตัดสินใจอย่างไร ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ส่วนตนเองเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี จึงไม่ควรที่จะวิพากษ์วิจารณ์
**แนะเลือกคนเหมาะสมนั่ง รมต.
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แกนนำ กปปส. อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กระแสการปรับครม. ว่าเป็นอำนาจของ นายกรัฐมนตรี ที่จะต้องตัดสินใจ แต่คงต้องประเมินก่อนว่า ในภารกิจที่มอบให้แต่ละกระทรวงบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ส่วนถ้าจะปรับ ครม. แล้วจะเอาใครเข้ามานั้น ตนคิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องรู้ดีว่าผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนั้น ต้องทำงานภายใต้ความเชื่อถือของประชาชน และจะต้องไม่ทำให้ความขัดแย้งเกิดขึ้น
ส่วนกระแสข่าวที่จะนำเอานักการเมืองเข้ามาเป็นรัฐมนตรี หลังจากปรับ ครม.นั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า ภารกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการเข้ามาเพื่อให้เกิดการปฏิรูป และพยายามขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมือง
"ผมไม่แน่ใจว่าการนำเอานักการเมืองซีกโน้น ซีกนี้ เข้ามาจะขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งได้หรือไม่ เราต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้งแล้ว ก็คิดว่าการเมืองคงดีขึ้น เพราะฉะนั้น ผมไม่มีความเห็นว่าท่านจะเอาใครเข้ามา เพราะผมรู้ว่า ท่านควรจะปรับเอาใครเข้ามา" นายสาทิตย์ กล่าว
** กปปส.ไม่เข้าร่วม ครม.
เมื่อถามว่า หากแกนนำกลุ่ม กปปส. ถูกทาบทามให้เข้ามีตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี จะปฏิเสธ หรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่าจริงๆ แล้วเรื่องนี้ยังไม่มีการหารือกัน แต่คิดว่าในส่วนของ กปปส. คงอยากจะให้เป็นหน้าที่ของทาง คสช. ที่จะทำการปฏิรูปน่าจะดีกว่า และในส่วนของ กปปส. ก็น่าจะอยู่ในฐานะของผู้เฝ้าดู ยืนยันว่า ไม่เข้าไปร่วมอย่างแน่นอน
ส่วนบทบาทของ พระสุเทพ ปภากโร ที่จะมีการลาสิขาบทวันที่ 28 ก.ค. จะมาดำเนินการช่วยเหลือด้านการปฏิรูปอย่างไรนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า เท่าที่คุยกันนั้นภารกิจของพระสุเทพ หลังจากสึกแล้วก็คงจะไปทำภารกิจกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งงานของมูลนิธินั้นก็เกี่ยวกับการปฏิรูป การเสนอแนะการให้ความเห็นทางวิชาการอยู่แล้ว และยังมีภารกิจดำเนินการเรื่องโรงเรียนอาชีวะแนววิถีพุทธ
เมื่อถามถึงกระแสว่าพระสุเทพ จะมีการเปิดแถลงข่าวถึงบทบาทหลังลาสิขาบทที่โรงแรมย่านราชประสงค์ ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ นายสาทิตย์ กล่าวตอบสั้นๆว่า ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง
**ยันตั้ง รบ.แห่งชาติก่อนเลือกตั้งไม่ได้
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กระแสข่าวให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติว่า หลายคนเข้าใจผิดเรื่องนี้กันเยอะ ขอยืนยันว่า รัฐบาลแห่งชาตินั้นไม่สามารถมีก่อนเลือกตั้งได้อย่างแน่นอน และต้องมีหลังเลือกตั้งและต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา ตามที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในเรื่องของนายกรัฐมนตรีคนนอกจึงจะจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติได้
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะให้นักการเมืองมาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีนั้น ตนคิดว่าเป็นได้แต่ควรเข้ามาเป็นในนามส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองนั้นๆ ทั้งนี้ การเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในนามพรรคในขณะนี้ ยืนยันว่าทำไม่ได้เพราะต้องเป็นหลังเลือกตั้งข้อเสนอของกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่เสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติออกมานั้นตนคิดว่าเลอะเทอะ เพราะคงทำก่อนเลือกตั้งไม่ได้
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวต่อถึงเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าควรเปลี่ยนในเรื่องของนโยบายด้วยไม่ใช่เปลี่ยนแค่ตัวบุคคล โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจ มิฉะนั้นคงจะช่วยอะไรไม่ได้
**"ปึ้ง" เย้ยปรับ ครม.ไม่ช่วย ศก.ดีขึ้น
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีต รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคประชาธิปัตย์ พยายามเสนอชื่อ อดีตรัฐมนตรีสมัยต้มยำกุ้ง เช่น นายศุภชัย พานิชภักดิ์ และ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ขึ้นมาช่วยรัฐบาล พ.ล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า สถานการณ์ ของประเทศในขณะนี้ แตกต่างจากในอดีตเมื่อ18 ปีที่แล้ว ตอนนี้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และคู่แข่งขันในตลาดโลกเปลี่ยนไป สถานะภาพของไทยในสังคมประชาธิปไตย ก็เปลี่ยนไป การทำอะไรของรัฐบาลก็อยู่ในสายตาชาวโลก เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติในขณะนี้คือสร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้นำเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้ฟันฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ได้
ทั้งนี้ อยากจะเสนอแนะท่านนายกฯ ว่า หากท่านดูตัวอย่างประเทศอื่นๆ จะเห็นว่าบางประเทศแค่เอ่ยชื่อผู้นำแค่นั้นเศรษฐกิจเขาก็ดีขึ้น ดังนั้น ปรับครม.ในครั้งนี้ คงไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้นได้ในมุมมองของตน สงสารก็แต่คนไทย ที่จะต้องประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงเพราะการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาล และพระเอกตัวจริง ที่จะแก้วิกฤติต้มยำกุ้งภาค 2 จะเป็นใคร ก็ต้องช่วยกันคิดให้รอบคอบ ก่อนจะพัง
"อลงกรณ์" ชี้ปรับ ครม.ไม่ตอบโจทย์
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง"เปลี่ยนแม่ทัพ ปรับขุนพลกลางศึก?" ว่ากระแสเรียกร้องให้ปรับครม.เศรษฐกิจ ปรากฏเป็นข่าวต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ เหตุผลที่เป็นข้อหาสำคัญคือ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ บางข้อเรียกร้องเสนอให้โละทีมเศรษฐกิจทั้งทีม ในมุมมองของผม เห็นต่างมุมครับ
การโละทีมเศรษฐกิจทั้งหมดไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น อาจมีผลทางจิตวิทยาบ้าง แต่ผลทางปฏิบัติคงไม่เปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก ผมคิดว่าอาจปรับขุนพลบ้างในบางตำแหน่ง แต่ไม่ใช่แม่ทัพ การบริหารประเทศในยามวิกฤติ จะบริหารตามกระแสตามอารมณ์ความรู้สึกไม่ได้ ยิ่งวิกฤติทิศทางยุทธศาสตร์ ยิ่งต้องนิ่งเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศยังไม่ฟื้น มิหนำซ้ำอาจชะลอตัวยาวนานกว่าที่คาดคะเน เปรียบเหมือนประเทศไทย กำลังเผชิญสงครามใหญ่จึงยังไม่ควรเปลี่ยนแม่ทัพปรับขุนพลทั้งคณะกลางศึกหรือเปลี่ยนม้ากลางน้ำในขณะนี้
วิกฤติการณ์ของประเทศครั้งนี้ เกิดขึ้นจากปัญหาภายนอกและภายในประเทศทั้งปัญหาเรื้อรัง และปัญหาเฉพาะหน้า เป็นปัญหาที่สะสมหมักหมมมายาวนานเป็นเสมือนโจทย์ใหญ่ โจทย์ยาก ที่ประดังประเดมาพร้อมๆ กัน
เป็นวิกฤติที่หนักหนากว่าวิกฤติต้มยำกุ้งและวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อประเทศไทยรุนแรงแต่เศรษฐกิจฐานล่างในชนบทยังประคองตัวได้มิหนำซ้ำยังช่วยดูแลคนว่างงานในเมืองที่กลับไปพึ่งพาครอบครัวในต่างจังหวัด
ในขณะที่วิกฤติการณ์คราวนี้โดนกันถ้วนหน้าทั้งฐานเศรษฐกิจทั้งบน และล่าง ทั้งในเมืองและชนบท ทั้งในประเทศในภูมิภาคและทุกทวีปทั่วโลก ยิ่งกว่านั้นประเทศของเรายังเผชิญกับความขัดแย้งแตกแยกทางการเมืองถึงขั้นใช้ความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ทำให้ขาดการปฏิรูปประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนานนับทศวรรษ
ทฤษฎีพระเอกขี่ม้าขาว คงใช้ไม่ได้ในช่วงนี้ มีแต่ทฤษฎีดำอึด ดำทนเท่านั้น จึงจะใช้ได้เพราะความรุนแรงของวิกฤติการณ์ครั้งนี้จะมีแต่ต้องอดทนอดกลั้นบอกความจริงต่อประชาชนเพื่อร่วมกันรับรู้และรับมือและมุ่งมั่นเดินหน้าตามแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจปฏิรูปการเมืองปฏิรูปสังคมปฏิรูประบบราชการ ปฎิรูปการศึกษาฯลฯและการปรองดองเท่านั้นจึงจะนำประเทศก้าวพ้นปมความขัดแย้งและความล้าหลังยากจนได้อย่างมั่นคงยั่งยืน
ผมเคยอยู่ในคณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคที่เข้ามาบริหารประเทศช่วงปลายวิกฤติแฮมเบอ์เกอร์ปี 2551 ทุ่มเททำงานหนัก แต่เอาไม่อยู่ ปี 2552 ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งออกติดลบ ก่อนจะกระเตื้องขึ้นในปีต่อมาทั้งที่ตอนนั้นวิกฤติไม่รุนแรงลงลึกทุกระดับเหมือนช่วงปี 2557-2558
ปัญหาประเทศวันนี้หนักหน่วงยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าในอดีตจำเป็นต้องให้โอกาสและเวลาทีมเศรษฐกิจในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพราะ1ปีที่ผ่านมารู้เข้าใจและกำลังแก้ไขปัญหาดีอยู่แล้วเพียงรอให้ยาออกฤทธิ์เช่นการเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ขับเคลื่อนโดยดิจิตัลอีโคโนมี การสร้างความเป็นประเทศศูนย์กลางธุรกิจการค้าพาณิชย์และการปรับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมใหม่สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยฐานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุนแผนใหม่ที่เริ่มเห็นผลตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมาซึ่งผมมองว่าเดินมาถูกทางแล้ว และควรเดินต่อไป
ฉะนั้นผมจึงมองเรื่องการเรียกร้องให้ปรับครม.อย่างเข้าใจคนที่ออกมาเรียกร้องที่อึดอัดกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งตกสะเก็ดมานาน แต่ก็ต้องคิดว่าเปลี่ยนแล้ว ราคายางราคาข้าวราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะดีดตัวสูงขึ้นได้ทันทีหรือใน
เมื่อราคาสินค้าเกษตรตกต่ำกันทั่วโลกทุกประเทศ หรือจะใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่งมาอุดหนุนสินค้าเกษตรเหมือนในอดีตซึ่งสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้กับประเทศและส่งผลกระทบถึงเกษตรกรมาจนถึงทุกวันนี้เท่าที่ติดตามการทำงานมาตลอดขวบปี ผมเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้างกับการทำงานของทีมเศรษฐกิจที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นแม่ทัพ แต่ก็ยอมรับว่าทีมนี้ อาจไม่ใช่ดรีมทีม แต่เป็นเดย์ทีม คือไม่ใช่ทีมในอุดมคติแต่เป็นทีมที่มีประสบการณ์ มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ จากภาคเอกชนภาครัฐ และเป็นมืออาชีพไม่ใชมือสมัครเล่น เรียกว่า เก๋าเกมพอตะลุมบอนกับปัญหาได้ในภาวะวิกฤติ.
1. ประชาชนคิดอย่างไร กับ ข่าวการปรับครม.ประยุทธ์ 2 อันดับ 1 บ้านเมืองจะได้เดินหน้า พัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจของประเทศ 72.02% อันดับ 2 เป็นเรื่องปกติทางการเมือง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี 68.60% อันดับ 3 เป็นการปรับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและนักลงทุนต่างชาติ 65.29% อันดับ 4 คงต้องรอดูว่ากระทรวงใดที่ถูกปรับและกระทรวงใดที่ยังทำงานต่อไป 63.12% อันดับ 5 รัฐบาลสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 57.92%
2. ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่จะมีการปรับครม. ประยุทธ์ 2 อันดับ 1 เห็นด้วย 68.11% เพราะ บางกระทรวงมีผลงานไม่โดดเด่น ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ดีขึ้นได้ ช่วยลดความกดดันภายในรัฐบาล รัฐบาลมีเสถียรภาพมากขึ้น ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจ 24.51% เพราะไม่รู้ว่าปรับแล้วจะดีขึ้นหรือแย่ลง สถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ยังไม่รู้ว่ากระทรวงใด ที่ถูกปรับบ้าง ฯลฯ อันดับ 3 ไม่เห็นด้วย 7.38% เพราะการทำงานหยุดชะงัก ไม่ต่อเนื่อง บางเรื่องแก้ไขยากเนื่องจากปัญหาสะสมมานาน ควรให้เวลามากกว่านี้ ฯลฯ
3. กระทรวง 3 อันดับแรก ที่ประชาชนคิดว่าควรมีการปรับรัฐมนตรี อันดับ 1 กระทรวงการคลัง 86.77% เพราะสภาพเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนยังคงย่ำแย่ ในภาพรวมยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้ดีขึ้นได้ ฯลฯ อันดับ 2 กระทรวงพาณิชย์ 77.22% เพราะ สินค้ายังคงมีราคาแพง ประชาชนแบกภาระค่าใช้จ่ายสูง รัฐไม่สามารถควบคุมราคาสินค้าได้ ฯลฯ อันดับ 3กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 70.93% เพราะยังไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆให้กับเกษตรกรได้ โดยเฉพาะภัยแล้ง เป็นเพียงการแก้ในระยะสั้นเท่านั้น ฯลฯ
4. สิ่งที่ประชาชนคาดหวังต่อ การปรับครม. ประยุทธ์ 2 คือ อันดับ 1หวังว่าจะได้คนดี มีฝีมือ มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานตรงกับตำแหน่งที่ได้รับ 78.31% อันดับ 2 เศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น การค้าการลงทุนคึกคัก ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 71.58% อันดับ 3 หวังว่ารัฐมนตรีใหม่ที่กำลังจะเข้ามา จะช่วยรัฐบาลแก้ปัญหาต่างๆได้ 69.41% อันดับ 4 หวังว่าการเลือกเข้ามาครั้งนี้จะเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม มีความเหมาะสม ทุกคนยอมรับ 66.16% อันดับ 5 เมื่อเข้ามาแล้ว คงจะทำงานร่วมกับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในกระทรวงได้ 59.65%
5. สิ่งที่ประชาชนอยากฝากถึงคณะรัฐมนตรีทั้งชุดเก่าและชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามา อันดับ 1 ขอให้เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชนให้ดีขึ้นโดยเร็ว 73.10% อันดับ 2 ตั้งใจทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค 70.50% อันดับ 3 แก้ปัญหาให้ตรงจุด ตรงตามความต้องการของประชาชน มีผลงานเป็นรูปธรรม ชัดเจน 68.33% อันดับ 4 มีความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันทำงาน ทำตามนโยบายที่รัฐบาลได้เคยประกาศไว้ 67.46% อันดับ 5สร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาของต่างประเทศ61.39%
**นิด้าโพลหนุนปรับ ครม.เศรษฐกิจ
ด้าน"นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง"ได้เวลาปรับครม.ในรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ หรือยัง " สำรวจระหว่างวันที่ 22 - 23 ก.ค. 58 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทั่วทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ 1,251 หน่วยตัวอย่าง
โดยพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.72 ระบุว่า ควรปรับคณะรัฐมนตรีในขณะนี้จำแนกออกได้ 3 กลุ่ม คือ ร้อยละ 17.35 ระบุว่า ควรปรับเฉพาะรัฐมนตรีสายเศรษฐกิจ ด้วยหลายเหตุผล เช่น เศรษฐกิจตกต่ำมาก ประชาชนเดือดร้อน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้น ค่าครองชีพแพง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ รองลงมา ควรปรับเฉพาะรัฐมนตรีที่ไม่มีผลงานอย่างเป็นรูปธรรม มีเพียง 13.83 ที่ระบุว่า ควรปรับรัฐมนตรีทั้งคณะ
ขณะที่ ร้อยละ 41.81 ระบุว่า ไม่ควรปรับคณะรัฐมนตรีในขณะนี้ เพราะไม่ต้องการเห็นบ้านเมืองวุ่นวายมากไปกว่านี้ รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างเต็มที่ ควรให้โอกาสและเวลา
สำหรับรัฐมนตรีที่ควรถูกปรับออกจากตำแหน่งมากที่สุด ร้อยละ 71.52 ระบุ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ รองลงมา ร้อยละ 68.68 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์ ตามด้วย นายปีติพงศ์ พี่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง
ส่วนกระแสข่าวจะมีอดีตนักการเมือง เข้ามาดำรงตำแหน่งในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.74 เห็นด้วย เพราะมีประสบการณ์ทำงาน น่าจะมีความรู้ความสามารถ และความเข้าใจปัญหาได้ดีกว่า จะได้ช่วยกันหลายฝ่าย ให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขื้น ขณะที่ร้อยละ 36.68 ไม่เห็นด้วย เพราะกังวลว่า จะล่าช้า และเกิดปัญหาเดิมๆ โดยเฉพาะการทุจริต คอร์รัปชัน การเข้ามาเพราะมีผลประโยชน์แอบแฝง ประเทศจะกลับเข้าสู่วังวนเดิม
** สปช.ห่วงปม ศก.ทำลายเชื่อมั่นรัฐบาล
นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกระแสข่าวการปรับครม. ว่า ต้องยอมรับว่า ประชาชนบ่นเรื่องปัญหาเศรษฐกิจกันมาก ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจเป็นตัวทำลายความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขืนปล่อยให้เป็นเช่นนี้ นานวันเข้าจะทำให้ความเชื่อถือของรัฐบาลลดลง อาจทำให้ประชาชนหมดศรัทธา จะเป็นอันตรายต่อรัฐบาลอย่างยิ่ง แม้ว่าจะไม่มีรัฐมนตรีคนใดทำงานผิดพลาดบกพร่อง แต่ถ้าไม่มีการขยับปรับเปลี่ยน ปล่อยไว้เหมือนเดิม คนจะเซ็งๆ เบื่อๆ ความรู้สึกที่ดีที่มีต่อรัฐบาลจะพลอยเซ็งๆ เบื่อๆ กับรัฐบาลไปด้วย
ดังนั้น ต้องรีบปรับ รีบเปลี่ยนให้คนมีความรู้สึกดีอยู่กับรัฐบาลต่อไป พล.อ.ประยุทธ์ ต้องบริหารจัดการความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อรัฐบาล อย่าปล่อยให้เขาหมดหวังสิ้นหวัง การปรับ ครม. ไม่ได้หมายความว่า จะทำให้รัฐมนตรีคนนั้นเสียหน้า ถ้าทำแล้วประเทศ และประชาชนได้ประโยชน์ ควรจะทำดีกว่าไม่ทำ และควรรีบทำในภาวะเช่นนี้เพราะสถานการณ์และเสียงสะท้อนและการเรียกร้องมีมากขึ้น ๆ ในหลายภาคส่วน
ทั้งนี้ การปรับ ครม. ถือเป็นเรื่องปกติ รัฐมนตรีทุกคนไม่ควรยึดติดเก้าอี้ และไม่ใช่เรื่องเสียชื่อเสียงเกียรติยศ ควรบอกนายกฯไปเลยว่า พร้อมให้ความร่วมมือเต็มที่ จะออกก็ไม่ว่าอะไรกัน ถือเป็นการช่วยนายกฯ ให้นายกฯทำได้เต็มที่ การปรับ ครม. ในสถานการณ์เช่นนี้ นายกฯมีแต่ได้ ไม่มีอะไรเสีย แต่ถ้าไม่ปรับจะมีแต่เสียกับเสีย จึงควรรีบปรับ รีบดำเนินการ อย่าปล่อยให้อึมครึม ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อความรู้สึก ทั้งการทำงาน การรอคอยว่าจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยน ขณะนี้ควรรีบทำเสียเลย จะทำให้บรรยากาศทุกอย่างเดินไปได้ดี ทั้งตัวรัฐบาลจะได้รัฐมนตรีใหม่ การทำงานใหม่ ความรู้สึกใหม่ที่ดี ขอให้รีบทำ
**"วิษณุ" ระบุข่าวปรับ ครม.แค่คาดเดา
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการปรับครม.ที่ปรากฏตามสื่อ ว่า ทุกคนพูดตรงกันว่า เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจึงอยากให้ยอมรับว่า จะเป็นการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี และไม่มีประโยชน์ที่จะต้องไปไล่สอบถามเป็นรายบุคคล เป็นการคาดเดา และไม่มีทางที่จะตรงกับความเป็นจริง ซึ่งกระแสข่าวที่ออกมาว่า จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ในความเป็นจริงยังไม่ทราบว่าจะปรับจริงหรือไม่ รวมถึงมีกระแสข่าวเป็นตัวบุคคลว่า ใครจะพ้นจากตำแหน่ง และใครเข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งถือว่าเป็นการพูดเกินเลย และไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ในส่วนกรณีที่นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ กรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอให้มีพรรคการเมืองใหญ่ และภาคเอกชน เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีนั้น คณะกรรมการปรองดองได้เสนอมาแล้วหลายเรื่อง เช่น เรื่องนิรโทษกรรม และ เรื่องรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ไม่ผิด และเชื่อว่าข้อเสนอทั้งหมดนายกรัฐมนตรีได้รับทราบแน่นอน ส่วนจะดำเนินการตัดสินใจอย่างไร ขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ส่วนตนเองเป็นหนึ่งในคณะรัฐมนตรี จึงไม่ควรที่จะวิพากษ์วิจารณ์
**แนะเลือกคนเหมาะสมนั่ง รมต.
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แกนนำ กปปส. อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กระแสการปรับครม. ว่าเป็นอำนาจของ นายกรัฐมนตรี ที่จะต้องตัดสินใจ แต่คงต้องประเมินก่อนว่า ในภารกิจที่มอบให้แต่ละกระทรวงบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ส่วนถ้าจะปรับ ครม. แล้วจะเอาใครเข้ามานั้น ตนคิดว่า พล.อ.ประยุทธ์ ต้องรู้ดีว่าผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งนั้น ต้องทำงานภายใต้ความเชื่อถือของประชาชน และจะต้องไม่ทำให้ความขัดแย้งเกิดขึ้น
ส่วนกระแสข่าวที่จะนำเอานักการเมืองเข้ามาเป็นรัฐมนตรี หลังจากปรับ ครม.นั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า ภารกิจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องการเข้ามาเพื่อให้เกิดการปฏิรูป และพยายามขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งทางการเมือง
"ผมไม่แน่ใจว่าการนำเอานักการเมืองซีกโน้น ซีกนี้ เข้ามาจะขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งได้หรือไม่ เราต้องการให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หลังการเลือกตั้งแล้ว ก็คิดว่าการเมืองคงดีขึ้น เพราะฉะนั้น ผมไม่มีความเห็นว่าท่านจะเอาใครเข้ามา เพราะผมรู้ว่า ท่านควรจะปรับเอาใครเข้ามา" นายสาทิตย์ กล่าว
** กปปส.ไม่เข้าร่วม ครม.
เมื่อถามว่า หากแกนนำกลุ่ม กปปส. ถูกทาบทามให้เข้ามีตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี จะปฏิเสธ หรือไม่ นายสาทิตย์ กล่าวว่าจริงๆ แล้วเรื่องนี้ยังไม่มีการหารือกัน แต่คิดว่าในส่วนของ กปปส. คงอยากจะให้เป็นหน้าที่ของทาง คสช. ที่จะทำการปฏิรูปน่าจะดีกว่า และในส่วนของ กปปส. ก็น่าจะอยู่ในฐานะของผู้เฝ้าดู ยืนยันว่า ไม่เข้าไปร่วมอย่างแน่นอน
ส่วนบทบาทของ พระสุเทพ ปภากโร ที่จะมีการลาสิขาบทวันที่ 28 ก.ค. จะมาดำเนินการช่วยเหลือด้านการปฏิรูปอย่างไรนั้น นายสาทิตย์ กล่าวว่า เท่าที่คุยกันนั้นภารกิจของพระสุเทพ หลังจากสึกแล้วก็คงจะไปทำภารกิจกับมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งงานของมูลนิธินั้นก็เกี่ยวกับการปฏิรูป การเสนอแนะการให้ความเห็นทางวิชาการอยู่แล้ว และยังมีภารกิจดำเนินการเรื่องโรงเรียนอาชีวะแนววิถีพุทธ
เมื่อถามถึงกระแสว่าพระสุเทพ จะมีการเปิดแถลงข่าวถึงบทบาทหลังลาสิขาบทที่โรงแรมย่านราชประสงค์ ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ นายสาทิตย์ กล่าวตอบสั้นๆว่า ไม่ใช่ก็ใกล้เคียง
**ยันตั้ง รบ.แห่งชาติก่อนเลือกตั้งไม่ได้
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กระแสข่าวให้จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติว่า หลายคนเข้าใจผิดเรื่องนี้กันเยอะ ขอยืนยันว่า รัฐบาลแห่งชาตินั้นไม่สามารถมีก่อนเลือกตั้งได้อย่างแน่นอน และต้องมีหลังเลือกตั้งและต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภา ตามที่กำหนดไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในเรื่องของนายกรัฐมนตรีคนนอกจึงจะจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติได้
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าจะให้นักการเมืองมาดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีนั้น ตนคิดว่าเป็นได้แต่ควรเข้ามาเป็นในนามส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองนั้นๆ ทั้งนี้ การเข้ามาเป็นรัฐมนตรีในนามพรรคในขณะนี้ ยืนยันว่าทำไม่ได้เพราะต้องเป็นหลังเลือกตั้งข้อเสนอของกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่เสนอให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติออกมานั้นตนคิดว่าเลอะเทอะ เพราะคงทำก่อนเลือกตั้งไม่ได้
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวต่อถึงเรื่องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าควรเปลี่ยนในเรื่องของนโยบายด้วยไม่ใช่เปลี่ยนแค่ตัวบุคคล โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายเศรษฐกิจ มิฉะนั้นคงจะช่วยอะไรไม่ได้
**"ปึ้ง" เย้ยปรับ ครม.ไม่ช่วย ศก.ดีขึ้น
นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย อดีต รองนายกฯ และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่ พรรคประชาธิปัตย์ พยายามเสนอชื่อ อดีตรัฐมนตรีสมัยต้มยำกุ้ง เช่น นายศุภชัย พานิชภักดิ์ และ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ขึ้นมาช่วยรัฐบาล พ.ล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่า สถานการณ์ ของประเทศในขณะนี้ แตกต่างจากในอดีตเมื่อ18 ปีที่แล้ว ตอนนี้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และคู่แข่งขันในตลาดโลกเปลี่ยนไป สถานะภาพของไทยในสังคมประชาธิปไตย ก็เปลี่ยนไป การทำอะไรของรัฐบาลก็อยู่ในสายตาชาวโลก เพราะฉะนั้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติในขณะนี้คือสร้างความเชื่อมั่นในตัวผู้นำเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้ฟันฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ได้
ทั้งนี้ อยากจะเสนอแนะท่านนายกฯ ว่า หากท่านดูตัวอย่างประเทศอื่นๆ จะเห็นว่าบางประเทศแค่เอ่ยชื่อผู้นำแค่นั้นเศรษฐกิจเขาก็ดีขึ้น ดังนั้น ปรับครม.ในครั้งนี้ คงไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้นได้ในมุมมองของตน สงสารก็แต่คนไทย ที่จะต้องประสบปัญหาข้าวยากหมากแพงเพราะการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาล และพระเอกตัวจริง ที่จะแก้วิกฤติต้มยำกุ้งภาค 2 จะเป็นใคร ก็ต้องช่วยกันคิดให้รอบคอบ ก่อนจะพัง
"อลงกรณ์" ชี้ปรับ ครม.ไม่ตอบโจทย์
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิก สปช. ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เรื่อง"เปลี่ยนแม่ทัพ ปรับขุนพลกลางศึก?" ว่ากระแสเรียกร้องให้ปรับครม.เศรษฐกิจ ปรากฏเป็นข่าวต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ เหตุผลที่เป็นข้อหาสำคัญคือ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ บางข้อเรียกร้องเสนอให้โละทีมเศรษฐกิจทั้งทีม ในมุมมองของผม เห็นต่างมุมครับ
การโละทีมเศรษฐกิจทั้งหมดไม่ช่วยอะไรให้ดีขึ้น อาจมีผลทางจิตวิทยาบ้าง แต่ผลทางปฏิบัติคงไม่เปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก ผมคิดว่าอาจปรับขุนพลบ้างในบางตำแหน่ง แต่ไม่ใช่แม่ทัพ การบริหารประเทศในยามวิกฤติ จะบริหารตามกระแสตามอารมณ์ความรู้สึกไม่ได้ ยิ่งวิกฤติทิศทางยุทธศาสตร์ ยิ่งต้องนิ่งเพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศยังไม่ฟื้น มิหนำซ้ำอาจชะลอตัวยาวนานกว่าที่คาดคะเน เปรียบเหมือนประเทศไทย กำลังเผชิญสงครามใหญ่จึงยังไม่ควรเปลี่ยนแม่ทัพปรับขุนพลทั้งคณะกลางศึกหรือเปลี่ยนม้ากลางน้ำในขณะนี้
วิกฤติการณ์ของประเทศครั้งนี้ เกิดขึ้นจากปัญหาภายนอกและภายในประเทศทั้งปัญหาเรื้อรัง และปัญหาเฉพาะหน้า เป็นปัญหาที่สะสมหมักหมมมายาวนานเป็นเสมือนโจทย์ใหญ่ โจทย์ยาก ที่ประดังประเดมาพร้อมๆ กัน
เป็นวิกฤติที่หนักหนากว่าวิกฤติต้มยำกุ้งและวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อประเทศไทยรุนแรงแต่เศรษฐกิจฐานล่างในชนบทยังประคองตัวได้มิหนำซ้ำยังช่วยดูแลคนว่างงานในเมืองที่กลับไปพึ่งพาครอบครัวในต่างจังหวัด
ในขณะที่วิกฤติการณ์คราวนี้โดนกันถ้วนหน้าทั้งฐานเศรษฐกิจทั้งบน และล่าง ทั้งในเมืองและชนบท ทั้งในประเทศในภูมิภาคและทุกทวีปทั่วโลก ยิ่งกว่านั้นประเทศของเรายังเผชิญกับความขัดแย้งแตกแยกทางการเมืองถึงขั้นใช้ความรุนแรงมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 10 ปี ทำให้ขาดการปฏิรูปประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันนานนับทศวรรษ
ทฤษฎีพระเอกขี่ม้าขาว คงใช้ไม่ได้ในช่วงนี้ มีแต่ทฤษฎีดำอึด ดำทนเท่านั้น จึงจะใช้ได้เพราะความรุนแรงของวิกฤติการณ์ครั้งนี้จะมีแต่ต้องอดทนอดกลั้นบอกความจริงต่อประชาชนเพื่อร่วมกันรับรู้และรับมือและมุ่งมั่นเดินหน้าตามแนวทางการปฏิรูปเศรษฐกิจปฏิรูปการเมืองปฏิรูปสังคมปฏิรูประบบราชการ ปฎิรูปการศึกษาฯลฯและการปรองดองเท่านั้นจึงจะนำประเทศก้าวพ้นปมความขัดแย้งและความล้าหลังยากจนได้อย่างมั่นคงยั่งยืน
ผมเคยอยู่ในคณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรคที่เข้ามาบริหารประเทศช่วงปลายวิกฤติแฮมเบอ์เกอร์ปี 2551 ทุ่มเททำงานหนัก แต่เอาไม่อยู่ ปี 2552 ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งออกติดลบ ก่อนจะกระเตื้องขึ้นในปีต่อมาทั้งที่ตอนนั้นวิกฤติไม่รุนแรงลงลึกทุกระดับเหมือนช่วงปี 2557-2558
ปัญหาประเทศวันนี้หนักหน่วงยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าในอดีตจำเป็นต้องให้โอกาสและเวลาทีมเศรษฐกิจในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพราะ1ปีที่ผ่านมารู้เข้าใจและกำลังแก้ไขปัญหาดีอยู่แล้วเพียงรอให้ยาออกฤทธิ์เช่นการเปลี่ยนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ขับเคลื่อนโดยดิจิตัลอีโคโนมี การสร้างความเป็นประเทศศูนย์กลางธุรกิจการค้าพาณิชย์และการปรับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมใหม่สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยฐานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุนแผนใหม่ที่เริ่มเห็นผลตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมาซึ่งผมมองว่าเดินมาถูกทางแล้ว และควรเดินต่อไป
ฉะนั้นผมจึงมองเรื่องการเรียกร้องให้ปรับครม.อย่างเข้าใจคนที่ออกมาเรียกร้องที่อึดอัดกับภาวะเศรษฐกิจซึ่งตกสะเก็ดมานาน แต่ก็ต้องคิดว่าเปลี่ยนแล้ว ราคายางราคาข้าวราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะดีดตัวสูงขึ้นได้ทันทีหรือใน
เมื่อราคาสินค้าเกษตรตกต่ำกันทั่วโลกทุกประเทศ หรือจะใช้นโยบายประชานิยมสุดโต่งมาอุดหนุนสินค้าเกษตรเหมือนในอดีตซึ่งสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้กับประเทศและส่งผลกระทบถึงเกษตรกรมาจนถึงทุกวันนี้เท่าที่ติดตามการทำงานมาตลอดขวบปี ผมเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้างกับการทำงานของทีมเศรษฐกิจที่มี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นแม่ทัพ แต่ก็ยอมรับว่าทีมนี้ อาจไม่ใช่ดรีมทีม แต่เป็นเดย์ทีม คือไม่ใช่ทีมในอุดมคติแต่เป็นทีมที่มีประสบการณ์ มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ จากภาคเอกชนภาครัฐ และเป็นมืออาชีพไม่ใชมือสมัครเล่น เรียกว่า เก๋าเกมพอตะลุมบอนกับปัญหาได้ในภาวะวิกฤติ.