พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญ อาทิ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ต่างประเทศ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 7 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 2-4 ก.ค.58 เพื่อยืนยันบทบาทของไทย ในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือฉบับใหม่ ความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมา สปป. ลาว กัมพูชา เวียดนาม และญี่ปุ่น ริเริ่มโดยญี่ปุ่น เมื่อปี 2551 เพื่อลดช่องว่างเพื่อการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่อาเซียน สนับสนุนการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างราบรื่น โดยไทยมีบทบาทเป็นประเทศหุ้นส่วนร่วมกับญี่ปุ่นในการพัฒนาอนุภูมิภาคนี้ และในการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นครั้งล่าสุด ซึ่งจัดขึ้นระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ กรุงเนปยีดอ เมียนมา ในวันที่ 12 พ.ย.57 ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในลุ่มน้ำโขง การพัฒนาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาไปพร้อมกัน และการรักษาความมั่นคงของมนุษย์และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
การเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 7 นี้ จะย้ำถึงบทบาทนำของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาร่วมกับญี่ปุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้ มีนัยยะสำคัญ เนื่องจากเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของไทย เพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือฉบับใหม่ในการพัฒนาลุ่มน้ำโขง คือ ยุทธศาสตร์โตเกียว ค.ศ. 2015 (Tokyo Strategy 2015 for Mekong-Japan Cooperation) ซึ่งผู้นำทั้ง 6 ประเทศ จะร่วมรับรองในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ในส่วนของไทย นายกรัฐมนตรี จะย้ำความสำคัญของการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืน มั่นคง ครอบคลุมทุกมิติ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยในการพัฒนาความเชื่อมโยงและการพัฒนาที่ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกเติบโตไปพร้อมกัน โดยเน้นการสร้างงาน สร้างรายได้ โดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน Thailand +1 และการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ลุ่มน้ำโขงเป็นพลังขับเคลื่อนของอาเซียนและของภูมิภาคที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งประเทศ CLMV และญี่ปุ่นด้วย
ระหว่างการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และผู้นำลุ่มน้ำโขง ยังมีกำหนดการสำคัญอื่นๆ อาทิ การพบปะ และการเข้าร่วมประชุมกับภาคส่วนต่างๆที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง อาทิ กลุ่มสมาชิกภาพรัฐสภาแม่โขง-ญี่ปุ่น การเข้าร่วมประชุม Mekong-Five Economic Forum ที่จัดโดย JETRO การพบหารือกับประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นและประธานวุฒิสภาญี่ปุ่น การพบปะและร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับผู้นำภาคเอกชนญี่ปุ่น ได้แก่สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JCCI) นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงความร่วมมือโครงการทวายระหว่างไทย–เมียนมา–ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม และเป็นการเพิ่มบทบาทของญี่ปุ่นในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
การเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 7 นี้ จะย้ำถึงบทบาทนำของไทยในฐานะหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาร่วมกับญี่ปุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้ มีนัยยะสำคัญ เนื่องจากเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของไทย เพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือฉบับใหม่ในการพัฒนาลุ่มน้ำโขง คือ ยุทธศาสตร์โตเกียว ค.ศ. 2015 (Tokyo Strategy 2015 for Mekong-Japan Cooperation) ซึ่งผู้นำทั้ง 6 ประเทศ จะร่วมรับรองในการประชุมครั้งนี้ด้วย
ในส่วนของไทย นายกรัฐมนตรี จะย้ำความสำคัญของการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืน มั่นคง ครอบคลุมทุกมิติ และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของไทยในการพัฒนาความเชื่อมโยงและการพัฒนาที่ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกเติบโตไปพร้อมกัน โดยเน้นการสร้างงาน สร้างรายได้ โดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดน Thailand +1 และการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้ลุ่มน้ำโขงเป็นพลังขับเคลื่อนของอาเซียนและของภูมิภาคที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งประเทศ CLMV และญี่ปุ่นด้วย
ระหว่างการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และผู้นำลุ่มน้ำโขง ยังมีกำหนดการสำคัญอื่นๆ อาทิ การพบปะ และการเข้าร่วมประชุมกับภาคส่วนต่างๆที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง อาทิ กลุ่มสมาชิกภาพรัฐสภาแม่โขง-ญี่ปุ่น การเข้าร่วมประชุม Mekong-Five Economic Forum ที่จัดโดย JETRO การพบหารือกับประธานรัฐสภาผู้แทนราษฎรญี่ปุ่นและประธานวุฒิสภาญี่ปุ่น การพบปะและร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับผู้นำภาคเอกชนญี่ปุ่น ได้แก่สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (Keidanren) และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JCCI) นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงความร่วมมือโครงการทวายระหว่างไทย–เมียนมา–ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม และเป็นการเพิ่มบทบาทของญี่ปุ่นในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง