วานนี้ (29 มิ.ย.) นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผอ.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท พร้อมด้วย นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช กรรมการชมรมแพทย์ชนบท นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ผอ.รพ.ชุมพวง อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จ.สงขลา และกลุ่มแพทย์ชนบทรวมประมาณกว่า 10 คน เดินทางมายังอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เพื่อยื่นหนังสือเรื่อง "ข้าราชการทุจริตต่อหน้าที่ และขัดต่อนโยบายรัฐบาล" ให้แก่ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยมี นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษา รมว.สธ.เป็นผู้รับหนังสือแทน
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวนายกรัฐมนตรี จะส่ง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กลับมายังกระทรวงฯ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อระบบสุขภาพ เพราะทุกอย่างจะกลับมาไม่เป็นเอกภาพเหมือนเดิม บุคลากรจะงงว่าควรฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาคนไหน ระหว่าง รมว.สธ. และปลัด สธ. ยิ่งขณะนี้ สธ.ต้องดูแลโรคเมอร์ส ซึ่งหากระบบการจัดการไม่เป็นเอกภาพ ก็อาจเกิดปัญหาในการควบคุมโรคได้
นอกจากนี้ การตรวจสอบข้อเท็จจริง นพ.ณรงค์ ก็ยังไม่มีข้อสรุปชัด และยังมีเรื่องขัดนโยบายรัฐบาลและการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจมีการทุจริต ซึ่งชมรมแพทย์ชนบทได้รวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อเสนอต่อ รมว.สธ. และเร็วๆ นี้ จะเสนอต่อนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ด้วย เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง และตั้งคณะกรรมการสอบวินัย นพ.ณรงค์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ข้อมูลที่พบว่าอาจทุจริต คือ 1. ช่วง นพ.ณรงค์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้รับเงินค่ารถประจำตำแหน่งเดือนละ 31,800 บาท ตกปีละ 381,600 บาท แต่ใช้อำนาจสั่งการใช้รถยนต์ราชการเป็นประจำ จำนวน 3 คัน แม้มาดำรงตำแหน่งปลัด สธ. ก็ขอยืมรถทั้ง 3 คันจากกรมสุขภาพจิต และใช้พนักงานขับรถคนเดิม ขณะที่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.คนใกล้ชิด ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน ซึ่งการรับเงินค่ารถประจำตำแหน่งมาแล้ว ไม่สมควรใช้รถยนต์ราชการอีก แต่ควรนำเงินที่ได้ไปจ้างคนขับรถเอง หรือน้ำไปใช้เป็นค่าน้ำมันรถส่วนตัวมากกว่า ซึ่งเรื่องดังกล่าวคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคยมีมติว่า เป็นความผิดวินัยร้ายแรง จึงขอให้ ครม.ชุดปัจจุบันตั้งคณะกรรมการสอบสวนด่วน
2.ช่วงเป็นปลัด สธ. ก็พยายามสร้างความขัดแย้งกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยสร้างสถานการณ์ รพ.ขาดทุนกว่า 100 แห่ง และกล่าวหาว่า สปสช. บริหารผิดพลาด แม้บอร์ด สปสช. ซึ่งมี รมว.สธ.เป็นประธานจะตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาก็ไม่เคยให้ความร่วมมือ การสั่งย้ายจึงถูกต้องแล้ว นอกจากนี้ การขาดทุนยังอาจเกิดจากการสร้างสถานการณ์เอง จากการตัดเงินเดือนให้เหมือนได้รับเงินไม่เพียงพอ เช่น รพ.ต่างๆใน จ.ตาก ซึ่งประสบปัญหาขาดทุนรุนแรง สธ.มีการหักเงินเดือนเกินไปราว 25 ล้านบาท ทั้งที่ปกติจะต้องได้รับการช่วยเหลือไม่น้อยกว่าปีละ 70 ล้านบาท และพบว่ามีการจัดสรรงบเพิ่มเติมให้ รพ.บางแห่ง ซึ่งผู้บริหาร รพ.เหล่านั้นล้วนเป็นผู้ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุน นพ.ณรงค์ เช่น รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ได้เงินเพิ่มกว่า 11 ล้านบาท มี นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล เป็น ผอ.รพ. รพ.พระนครศรีอยุธยา ได้เงินเพิ่มกว่า 45 ล้านบาท มี นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล เป็นผอ.รพ. เช่นนี้ถือเป็นการโกงงบประมาณหรือไม่
3.นพ.ณรงค์ พร้อมภรรยา และคณะกว่า 30-40 คนพากันไปศึกษาดูงานที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา และจงใจหลีกเลี่ยงไม่ให้มีหลักฐานผ่านแดน ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยประสานงานและอำนวยความสะดวกของ ผอ.รพ.เบตง เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดหลักฐาน เนื่องจากจะขัดต่อมติ ครม. จึงขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยด่วน
4. เมื่อได้รับคำสั่งไปปฎิบัติงานสำนักนายกฯ แต่ นพ.ณรงค์ กลับให้ข่าวว่า ไม่ได้มีการมอบหมายงาน นับเป็นการให้ข้อมูลเท็จ
5.กรณีนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯ ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง นพ.ณรงค์ไม่สนองนโยบายรัฐบาล พบว่าไม่มีการสรุปผลการสอบสวน ซึ่งเกิดจาก นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอคติให้สรุปเป็นข้อแนะนำโดยไม่มีความผิด ทั้งที่ข้อมูลต่างๆ ผิดวินัยชัดเจน แต่ระบุว่าเป็นความผิดของ สป.สธ. ซึ่งจริงๆ แล้ว ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ทั้งหมดนี้จึงขอให้นายกฯ พิจารณา ควรใช้มาตรา 44 กับกลุ่มคนดังกล่าวที่ส่อทุจริต และไม่สมควรให้กลับมาที่สธ. เพราะจะทำให้ระบบปั่นป่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีการย้าย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. เป็นการแลกเปลี่ยนทางการเมืองหลังย้าย นพ.ณรงค์ หรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาตกลงกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลทางการเมือง ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล แต่หากมีข้อมูลสอบสวนวินัยส่วนบุคคล ก็ถือว่าถูกต้อง แต่กรณี นพ.วินัย ไม่ใช่ความผิดพลาดของตัวบุคคล ไม่มีเรื่องทุจริต เชื่อว่าเป็นอคติของบุคคลบางกลุ่มที่อาจต้องการช่วยใครหรือไม่ แต่ชมรมฯ จะไม่ก่อม็อบเคลื่อนไหว จะเน้นให้ข้อมูลหลักฐาน เพราะเรามีสติพอ และจะยื่นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตรวจสอบ
เมื่อถามถึงกรณี ป.ป.ช.มีคำสั่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีกล่าวหา รมว.สธ.และ รมช.สธ. เรื่องตั้งคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ว่าควรแสดงสปิริตออกจากตำแหน่งหรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ทราบ แต่ทราบว่า ป.ป.ช.จะมีขั้นตอนการทำงาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ชี้มูล หากพบว่าผิดก็ต้องว่ากันไป
เมื่อถามว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลข้อกล่าวหา รมว.สธ.และ รมช.สธ.ด้วยหรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ได้ติดตาม
**ประชาคมสธ.โต้ข้อหาหมอชนบท
ด้านนพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ และประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวถึง กรณีชมรมแพทย์ชนบท เรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรณีส่อทุจริตต่างๆดังที่กล่าวข้างต้น ว่า เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน และตรวจสอบด้วยว่าหลักฐานเป็นจริงหรือไม่
ส่วนกรณีระบุ นพ.ณรงค์ พาภรรยาและพวกพ้องไปปีนังเพื่อศึกษาดูงาน ขัดนโยบายห้ามข้าราชการไปต่างประเทศ จริงๆ แล้วทุกคนมีสิทธิที่จะเดินทางไปพักผ่อนได้ และที่มีการระบุว่าตนเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเดินทางไปด้วย ถือว่าเป็นการกล่าวที่ร้ายแรงด้วยข้อมูลที่มั่วมาก เพราะช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาตนไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้นข้อมูลต่างๆ ที่ยกมานั้นเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่
“การที่แพทย์ชนบทออกมาพูดเรื่องนี้คืดว่าเพราะเลขาธิการ สปสช.ถูกให้พักงาน เพราะทีมนี้โยงใยกันอยู่ และมาแก้ลำว่าว่าถ้าเลขาธิการ สปสช. โดนเรื่องทุจริตก็เอาเรื่องปลัด สธ.มาพูดด้วย” นพ.สุทัศน์ กล่าว และว่า ส่วนที่ระบุ สธ.คุมโรคเมอร์สได้สำเร็จเพราะ นพ.ณรงค์ ไม่อยู่ ทำให้การทำงานมีเอกภาพ หากนำ นพ.ณรงค์ กลับมาอาจเกิดปัญหานั้น ไม่จำเป็น เพราะไม่ว่าปลัด สธ.จะเป็นใคร รมว.สาธารณสุขจะเป็นใคร อธิบดีกรมควบคุมโรคจะเป็นใคร หรือกระทรวงเกิดสุญญากาศ แต่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนยังทำงานกันได้ตามปกติ เป็นหน้าที่ของทุกคนในการควบคุมป้องกันโรคตามระบบที่ได้มาตรฐานกันอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบ รมว.สธ.และ รมช.สธ. นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า ก็คงมีมูล ถ้าไม่มีมูลคงไม่ตั้งสอบ แต่นักการเมืองของประเทศไทยแตกต่างจากนักการเมืองของต่างประเทศ เพราะนักการเมืองของประเทศอื่นๆ ถ้าโดนตั้งกรรมการสอบก็จะลาออกเพื่อแสดงสปิริตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็คงต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกตรวจสอบด้วย
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวนายกรัฐมนตรี จะส่ง นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กลับมายังกระทรวงฯ ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อระบบสุขภาพ เพราะทุกอย่างจะกลับมาไม่เป็นเอกภาพเหมือนเดิม บุคลากรจะงงว่าควรฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชาคนไหน ระหว่าง รมว.สธ. และปลัด สธ. ยิ่งขณะนี้ สธ.ต้องดูแลโรคเมอร์ส ซึ่งหากระบบการจัดการไม่เป็นเอกภาพ ก็อาจเกิดปัญหาในการควบคุมโรคได้
นอกจากนี้ การตรวจสอบข้อเท็จจริง นพ.ณรงค์ ก็ยังไม่มีข้อสรุปชัด และยังมีเรื่องขัดนโยบายรัฐบาลและการปฏิบัติหน้าที่ที่อาจมีการทุจริต ซึ่งชมรมแพทย์ชนบทได้รวบรวมข้อมูลหลักฐาน เพื่อเสนอต่อ รมว.สธ. และเร็วๆ นี้ จะเสนอต่อนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ด้วย เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริง และตั้งคณะกรรมการสอบวินัย นพ.ณรงค์
นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ข้อมูลที่พบว่าอาจทุจริต คือ 1. ช่วง นพ.ณรงค์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้รับเงินค่ารถประจำตำแหน่งเดือนละ 31,800 บาท ตกปีละ 381,600 บาท แต่ใช้อำนาจสั่งการใช้รถยนต์ราชการเป็นประจำ จำนวน 3 คัน แม้มาดำรงตำแหน่งปลัด สธ. ก็ขอยืมรถทั้ง 3 คันจากกรมสุขภาพจิต และใช้พนักงานขับรถคนเดิม ขณะที่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัด สธ.คนใกล้ชิด ก็มีพฤติกรรมไม่ต่างกัน ซึ่งการรับเงินค่ารถประจำตำแหน่งมาแล้ว ไม่สมควรใช้รถยนต์ราชการอีก แต่ควรนำเงินที่ได้ไปจ้างคนขับรถเอง หรือน้ำไปใช้เป็นค่าน้ำมันรถส่วนตัวมากกว่า ซึ่งเรื่องดังกล่าวคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคยมีมติว่า เป็นความผิดวินัยร้ายแรง จึงขอให้ ครม.ชุดปัจจุบันตั้งคณะกรรมการสอบสวนด่วน
2.ช่วงเป็นปลัด สธ. ก็พยายามสร้างความขัดแย้งกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยสร้างสถานการณ์ รพ.ขาดทุนกว่า 100 แห่ง และกล่าวหาว่า สปสช. บริหารผิดพลาด แม้บอร์ด สปสช. ซึ่งมี รมว.สธ.เป็นประธานจะตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาก็ไม่เคยให้ความร่วมมือ การสั่งย้ายจึงถูกต้องแล้ว นอกจากนี้ การขาดทุนยังอาจเกิดจากการสร้างสถานการณ์เอง จากการตัดเงินเดือนให้เหมือนได้รับเงินไม่เพียงพอ เช่น รพ.ต่างๆใน จ.ตาก ซึ่งประสบปัญหาขาดทุนรุนแรง สธ.มีการหักเงินเดือนเกินไปราว 25 ล้านบาท ทั้งที่ปกติจะต้องได้รับการช่วยเหลือไม่น้อยกว่าปีละ 70 ล้านบาท และพบว่ามีการจัดสรรงบเพิ่มเติมให้ รพ.บางแห่ง ซึ่งผู้บริหาร รพ.เหล่านั้นล้วนเป็นผู้ออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุน นพ.ณรงค์ เช่น รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ได้เงินเพิ่มกว่า 11 ล้านบาท มี นพ.สุทัศน์ ศรีวิไล เป็น ผอ.รพ. รพ.พระนครศรีอยุธยา ได้เงินเพิ่มกว่า 45 ล้านบาท มี นพ.ธานินทร์ สีวราภรณ์สกุล เป็นผอ.รพ. เช่นนี้ถือเป็นการโกงงบประมาณหรือไม่
3.นพ.ณรงค์ พร้อมภรรยา และคณะกว่า 30-40 คนพากันไปศึกษาดูงานที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยมิได้ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชา และจงใจหลีกเลี่ยงไม่ให้มีหลักฐานผ่านแดน ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยประสานงานและอำนวยความสะดวกของ ผอ.รพ.เบตง เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดหลักฐาน เนื่องจากจะขัดต่อมติ ครม. จึงขอให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนโดยด่วน
4. เมื่อได้รับคำสั่งไปปฎิบัติงานสำนักนายกฯ แต่ นพ.ณรงค์ กลับให้ข่าวว่า ไม่ได้มีการมอบหมายงาน นับเป็นการให้ข้อมูลเท็จ
5.กรณีนายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกฯ ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง นพ.ณรงค์ไม่สนองนโยบายรัฐบาล พบว่าไม่มีการสรุปผลการสอบสวน ซึ่งเกิดจาก นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอคติให้สรุปเป็นข้อแนะนำโดยไม่มีความผิด ทั้งที่ข้อมูลต่างๆ ผิดวินัยชัดเจน แต่ระบุว่าเป็นความผิดของ สป.สธ. ซึ่งจริงๆ แล้ว ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ทั้งหมดนี้จึงขอให้นายกฯ พิจารณา ควรใช้มาตรา 44 กับกลุ่มคนดังกล่าวที่ส่อทุจริต และไม่สมควรให้กลับมาที่สธ. เพราะจะทำให้ระบบปั่นป่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีการย้าย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. เป็นการแลกเปลี่ยนทางการเมืองหลังย้าย นพ.ณรงค์ หรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาตกลงกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลทางการเมือง ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่ใช่หลักธรรมาภิบาล แต่หากมีข้อมูลสอบสวนวินัยส่วนบุคคล ก็ถือว่าถูกต้อง แต่กรณี นพ.วินัย ไม่ใช่ความผิดพลาดของตัวบุคคล ไม่มีเรื่องทุจริต เชื่อว่าเป็นอคติของบุคคลบางกลุ่มที่อาจต้องการช่วยใครหรือไม่ แต่ชมรมฯ จะไม่ก่อม็อบเคลื่อนไหว จะเน้นให้ข้อมูลหลักฐาน เพราะเรามีสติพอ และจะยื่นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตรวจสอบ
เมื่อถามถึงกรณี ป.ป.ช.มีคำสั่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีกล่าวหา รมว.สธ.และ รมช.สธ. เรื่องตั้งคณะกรรมการสรรหาและคณะกรรมการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ว่าควรแสดงสปิริตออกจากตำแหน่งหรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ทราบ แต่ทราบว่า ป.ป.ช.จะมีขั้นตอนการทำงาน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ชี้มูล หากพบว่าผิดก็ต้องว่ากันไป
เมื่อถามว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลข้อกล่าวหา รมว.สธ.และ รมช.สธ.ด้วยหรือไม่ นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ได้ติดตาม
**ประชาคมสธ.โต้ข้อหาหมอชนบท
ด้านนพ.สุทัศน์ ศรีวิไล ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ และประธานประชาคมสาธารณสุข กล่าวถึง กรณีชมรมแพทย์ชนบท เรียกร้องให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กรณีส่อทุจริตต่างๆดังที่กล่าวข้างต้น ว่า เรื่องนี้ต้องมีการตรวจสอบหลักฐาน และตรวจสอบด้วยว่าหลักฐานเป็นจริงหรือไม่
ส่วนกรณีระบุ นพ.ณรงค์ พาภรรยาและพวกพ้องไปปีนังเพื่อศึกษาดูงาน ขัดนโยบายห้ามข้าราชการไปต่างประเทศ จริงๆ แล้วทุกคนมีสิทธิที่จะเดินทางไปพักผ่อนได้ และที่มีการระบุว่าตนเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเดินทางไปด้วย ถือว่าเป็นการกล่าวที่ร้ายแรงด้วยข้อมูลที่มั่วมาก เพราะช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาตนไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ ดังนั้นข้อมูลต่างๆ ที่ยกมานั้นเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่
“การที่แพทย์ชนบทออกมาพูดเรื่องนี้คืดว่าเพราะเลขาธิการ สปสช.ถูกให้พักงาน เพราะทีมนี้โยงใยกันอยู่ และมาแก้ลำว่าว่าถ้าเลขาธิการ สปสช. โดนเรื่องทุจริตก็เอาเรื่องปลัด สธ.มาพูดด้วย” นพ.สุทัศน์ กล่าว และว่า ส่วนที่ระบุ สธ.คุมโรคเมอร์สได้สำเร็จเพราะ นพ.ณรงค์ ไม่อยู่ ทำให้การทำงานมีเอกภาพ หากนำ นพ.ณรงค์ กลับมาอาจเกิดปัญหานั้น ไม่จำเป็น เพราะไม่ว่าปลัด สธ.จะเป็นใคร รมว.สาธารณสุขจะเป็นใคร อธิบดีกรมควบคุมโรคจะเป็นใคร หรือกระทรวงเกิดสุญญากาศ แต่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนยังทำงานกันได้ตามปกติ เป็นหน้าที่ของทุกคนในการควบคุมป้องกันโรคตามระบบที่ได้มาตรฐานกันอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบ รมว.สธ.และ รมช.สธ. นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า ก็คงมีมูล ถ้าไม่มีมูลคงไม่ตั้งสอบ แต่นักการเมืองของประเทศไทยแตกต่างจากนักการเมืองของต่างประเทศ เพราะนักการเมืองของประเทศอื่นๆ ถ้าโดนตั้งกรรมการสอบก็จะลาออกเพื่อแสดงสปิริตไปแล้ว อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็คงต้องให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่ถูกตรวจสอบด้วย