เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้ (17 มิ.ย.) ที่โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวปาฐกถาพิเศษในการประชุมทางวิชาการระหว่างประเทศ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ครั้งที่ 3 ตอนหนึ่งว่า การประชุมครั้งนี้ นับเป็นโอกาสดี ที่ทั้งนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานด้านการต่อต้านการทุจริต จะได้มาร่วมอภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการต่อต้านการทุจริต ซึ่งเรากำลังเริ่มต้นในการแก้ปัญหา แต่ที่ผ่านมาก็ทำกันมาตลอด เพียงแต่เราต้องเอาจริงเอาจังมากยิ่งขึ้น ด้วยความสนับสนุนของทุกภาคส่วนให้ถือ เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมฝากทุกประเทศที่เป็นภาคี ก็ขอให้คำแนะนำกับเราด้วย และกรุณามองประเทศไทย ให้ความเป็นธรรมกับไทย ว่าที่เราลุกขึ้นมาโครมครามกัน ไม่ใช่ว่าไม่ทำ เราทำมาตลอด แต่มันถูกทาบทับด้วยการเมือง ผลประโยชน์ต่างๆ ที่ถูกกดทับมาเป็นเวลานาน วันนี้เราจึงต้องรื้อทุกอย่าง และแก้ไขให้ได้ ไม่ให้เกิดปัญหาต่อไป ซึ่งตั้งอยู่บนหลักฐานเชิงประจักษ์ ที่ได้จากผลการวิจัย และการสืบสวนสอบสวน เพราะการทุจริต คอร์รัปชัน เป็นปัญหาใหญ่ที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมายาวนาน และนับวันจะยิ่งเลวร้ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประเทศต้องสูญเสียโอกาสในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะ การขาดความเชื่อมั่นจากสายตาของชาวต่างชาติ ทำให้ถูกปิดกั้นการลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งยังทำให้ประเทศสูญเสียทรัพยากรแบบสูญเปล่า ซึ่งพวกเราทุกคน ล้วนเป็นพลังสำคัญที่จะต่อสู้ และสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้โปร่งใสและเป็นธรรม
นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชัน และกำหนดให้การแก้ไขปัญหาอยู่ในทุกหัวข้อของการปฏิรูป และถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ การแก้ไขปัญหาทุกด้านจะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบราชการ ข้าราชการทุกคน ต้องนำแนวทางของหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นรากฐานที่ดีต่อการทำงานทุกระดับ ขั้นตอนการดำเนินงานทุกขั้นตอนต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ ไม่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แม้จะ
เพียงเล็กน้อย ซึ่งหัวข้อของการประชุมปีนี้ มีความเชื่อมโยงระหว่างเงิน และการเมือง และการครอบงำสถาบันของภาครัฐโดยกลุ่มทุนที่มีอำนาจ ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การยอมรับ เรียกร้อง และขู่เข็ญ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสินบน การใช้อำนาจในทางที่ผิดผ่านทางระบบอุปถัมภ์ และการเล่นพรรคเล่นพวก การยักยอกทรัพย์สินของรัฐ ตลอดจนการเปลี่ยน หรือผันการใช้งบประมาณภาครัฐ อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่สามารถทำให้ประเทศเป็นอัมพาตได้
ประเทศไทยต้องสร้างรากฐานเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน ในสถานการณ์ปัจจุบันบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เข้มงวด เพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ที่มีการตรวจสอบ และถ่วงดุลอย่างแท้จริง แม้จะมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบออกมาบังคับใช้ แต่ทางออกของการแก้ไขปัญหานี้ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน เปลี่ยนจากการเพิกเฉย และการยอมรับการทุจริต มาต่อต้านอย่างจริงจัง และร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นสังคมที่มีบรรยากาศน่าอยู่ มีความชอบธรรมในทุกด้าน นำงบประมาณแผ่นดินที่ต้องสูญเสียไปกับการทุจริต คอร์รัปชัน มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกลไก หรือเครื่องมือที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการภาครัฐแบบเดิม ได้แก่ กลไกด้านความโปร่งใส ด้านความพร้อมรับผิดและตรวจสอบได้ และกลไกการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของกลุ่มต่างๆ เช่น ภาคประชาคม ระหว่างประเทศ ภาคเอกชนในประเทศ ภาคการเงิน และกลุ่มวิชาชีพต่างๆ หรืออาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้กลไกที่เป็นการสั่งการหรือการใช้อำนาจบังคับ
นายกฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้จัดทำโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ ในโครงการก่อสร้างภาครัฐขนาดใหญ่ และได้โยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดที่มีส่วนพัวพันกับคดีการทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งคดียังไม่สิ้นสุด เพื่อให้กระบวนการสืบสวนแล้วเสร็จโดยเร็ว และสามารถดำเนินไปได้ โดยปราศจากการข่มขู่คุกคาม การสืบสวนสอบสวนคดีคอร์รัปชันและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบธรรมภิบาลในระดับชาติ ถือเป็นความท้าทายของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยนโยบายที่ดีต้องมาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง ที่สำนั กงาน ป.ป.ช.ไม่ได้จำกัดตัวเองเพียงการทำงานด้านการสืบสวนสอบสวน หากแต่ยังได้สร้างเสริมสมรรถนะ และความสามารถในการดำเนินงานผ่านการวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล
วันนี้เรากำลังเดินหน้าประเทศ ต่างชาติเริ่มมีความสนใจเรื่องการลงทุน จากการที่ดูนิทรรศการภายในงานมี 3 เรื่อง ที่เห็นเป็นปัญหาใหญ่คือ เรื่องจำนำข้าว คลองด่าน และ เอ็นจีวี ซึ่งเรื่องรถเอ็นจีวี สิ่งที่ตนต้องการคือ ให้ประชาชนได้มีรถเมล์ ใหม่ใช้ แต่ตนไม่ได้ต้องการให้ท้ายใคร ไม่เคยได้พบใคร และไม่เคยมีใครไปที่บ้าน และภรรยาตนเอง ก็ไม่เคยพบใครเช่นกัน แต่ย้ำสิ่งที่ทำเพื่ออนาคต ปัญหาการทุจริตวันนี้ เพราะว่าคนยอมรับกติกาน้อยลง จนกระทั่งไม่เคารพกติกา ส่งผลให้สังคมเกิดความสับสน วุ่นวาย การทำงานของของทุกคนไม่ว่าจะองค์กรใดๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้
อง กับการตรวจสอบ จะต้องกำหนดบทบาทของหน้าที่ให้ ชัดเจน ใครมีหน้าที่อะไร ก็ทำแบบนั้น ถ้าทำแบบนี้ประเทศจะเดินหน้าได้ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ พร้อมให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ให้ทุกคนได้มีสิทธิสู้ เพราะคนผิดยังไงก็ผิดอยู่ดี แต่อยู่ที่การหาหลักฐานจะต้องหาให้ดี มิเช่นนั้นจะเกิดความวุ่นวาย คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจะเดือดร้อน คนในองค์กรจะต้องเป็นบุคคลที่ดี ถ้าเปรียบแบบทหาร คือ ดีหนึ่ง ประเภทหนึ่ง เป็นบุคคลากรที่ไม่มีตัวตน ตนได้ดูหนังเรื่อง Game of Throne บุรุษไร้หน้า เป็นบุรุษที่ไม่มีหน้า ใครมาถ้ามีความผิดฟันหมด ขอให้ ป.ป.ช. ไปเคลียร์ทุกคดีก่อนวันที่ 22 พ.ค. ให้เรียบ ร้อย ส่วนเรื่องที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 22 พ.ค. ตนจัดการเอง
นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับนโยบายการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชัน และกำหนดให้การแก้ไขปัญหาอยู่ในทุกหัวข้อของการปฏิรูป และถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ การแก้ไขปัญหาทุกด้านจะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบราชการ ข้าราชการทุกคน ต้องนำแนวทางของหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นรากฐานที่ดีต่อการทำงานทุกระดับ ขั้นตอนการดำเนินงานทุกขั้นตอนต้องมีความโปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบได้ ไม่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แม้จะ
เพียงเล็กน้อย ซึ่งหัวข้อของการประชุมปีนี้ มีความเชื่อมโยงระหว่างเงิน และการเมือง และการครอบงำสถาบันของภาครัฐโดยกลุ่มทุนที่มีอำนาจ ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว การยอมรับ เรียกร้อง และขู่เข็ญ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินสินบน การใช้อำนาจในทางที่ผิดผ่านทางระบบอุปถัมภ์ และการเล่นพรรคเล่นพวก การยักยอกทรัพย์สินของรัฐ ตลอดจนการเปลี่ยน หรือผันการใช้งบประมาณภาครัฐ อย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นภัยอันตรายที่สามารถทำให้ประเทศเป็นอัมพาตได้
ประเทศไทยต้องสร้างรากฐานเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน ในสถานการณ์ปัจจุบันบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เข้มงวด เพื่อนำไปสู่การมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ที่มีการตรวจสอบ และถ่วงดุลอย่างแท้จริง แม้จะมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบออกมาบังคับใช้ แต่ทางออกของการแก้ไขปัญหานี้ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อน เปลี่ยนจากการเพิกเฉย และการยอมรับการทุจริต มาต่อต้านอย่างจริงจัง และร่วมกันปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นสังคมที่มีบรรยากาศน่าอยู่ มีความชอบธรรมในทุกด้าน นำงบประมาณแผ่นดินที่ต้องสูญเสียไปกับการทุจริต คอร์รัปชัน มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาประเทศ
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกลไก หรือเครื่องมือที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการภาครัฐแบบเดิม ได้แก่ กลไกด้านความโปร่งใส ด้านความพร้อมรับผิดและตรวจสอบได้ และกลไกการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นของกลุ่มต่างๆ เช่น ภาคประชาคม ระหว่างประเทศ ภาคเอกชนในประเทศ ภาคการเงิน และกลุ่มวิชาชีพต่างๆ หรืออาจมีความจำเป็นที่ต้องใช้กลไกที่เป็นการสั่งการหรือการใช้อำนาจบังคับ
นายกฯ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้จัดทำโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ ในโครงการก่อสร้างภาครัฐขนาดใหญ่ และได้โยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐทั้งหมดที่มีส่วนพัวพันกับคดีการทุจริต คอร์รัปชัน ซึ่งคดียังไม่สิ้นสุด เพื่อให้กระบวนการสืบสวนแล้วเสร็จโดยเร็ว และสามารถดำเนินไปได้ โดยปราศจากการข่มขู่คุกคาม การสืบสวนสอบสวนคดีคอร์รัปชันและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบธรรมภิบาลในระดับชาติ ถือเป็นความท้าทายของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยนโยบายที่ดีต้องมาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และรู้สึกยินดีอย่างยิ่ง ที่สำนั กงาน ป.ป.ช.ไม่ได้จำกัดตัวเองเพียงการทำงานด้านการสืบสวนสอบสวน หากแต่ยังได้สร้างเสริมสมรรถนะ และความสามารถในการดำเนินงานผ่านการวิจัยและการบริหารจัดการข้อมูล
วันนี้เรากำลังเดินหน้าประเทศ ต่างชาติเริ่มมีความสนใจเรื่องการลงทุน จากการที่ดูนิทรรศการภายในงานมี 3 เรื่อง ที่เห็นเป็นปัญหาใหญ่คือ เรื่องจำนำข้าว คลองด่าน และ เอ็นจีวี ซึ่งเรื่องรถเอ็นจีวี สิ่งที่ตนต้องการคือ ให้ประชาชนได้มีรถเมล์ ใหม่ใช้ แต่ตนไม่ได้ต้องการให้ท้ายใคร ไม่เคยได้พบใคร และไม่เคยมีใครไปที่บ้าน และภรรยาตนเอง ก็ไม่เคยพบใครเช่นกัน แต่ย้ำสิ่งที่ทำเพื่ออนาคต ปัญหาการทุจริตวันนี้ เพราะว่าคนยอมรับกติกาน้อยลง จนกระทั่งไม่เคารพกติกา ส่งผลให้สังคมเกิดความสับสน วุ่นวาย การทำงานของของทุกคนไม่ว่าจะองค์กรใดๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้
อง กับการตรวจสอบ จะต้องกำหนดบทบาทของหน้าที่ให้ ชัดเจน ใครมีหน้าที่อะไร ก็ทำแบบนั้น ถ้าทำแบบนี้ประเทศจะเดินหน้าได้ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ พร้อมให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย ให้ทุกคนได้มีสิทธิสู้ เพราะคนผิดยังไงก็ผิดอยู่ดี แต่อยู่ที่การหาหลักฐานจะต้องหาให้ดี มิเช่นนั้นจะเกิดความวุ่นวาย คนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องจะเดือดร้อน คนในองค์กรจะต้องเป็นบุคคลที่ดี ถ้าเปรียบแบบทหาร คือ ดีหนึ่ง ประเภทหนึ่ง เป็นบุคคลากรที่ไม่มีตัวตน ตนได้ดูหนังเรื่อง Game of Throne บุรุษไร้หน้า เป็นบุรุษที่ไม่มีหน้า ใครมาถ้ามีความผิดฟันหมด ขอให้ ป.ป.ช. ไปเคลียร์ทุกคดีก่อนวันที่ 22 พ.ค. ให้เรียบ ร้อย ส่วนเรื่องที่เกิดขึ้นหลังวันที่ 22 พ.ค. ตนจัดการเอง