ในการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ช่วงบ่ายวานนี้ (15มิ.ย.) โดยมี น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสปช. คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม มีวาระการพิจารณารับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง เรื่องการเข้าสู่อำนาจ และระบบพรรคการเมือง ซึ่ง นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง
สาระสาระสำคัญในรายงาน เกี่ยวกับการปฏิรูปพรรคการเมือง โดยเฉพาะการให้เป็นสถาบันทางการเมือง ส่งเสริมระบบพรรคการเมืองให้มีหลายพรรค ไม่มีกลุ่มการเมือง เพราะยากต่อการควบคุมและอาจถูกโน้มน้าวไปในทางไม่ก่อประโยชน์ รวมถึงเสนอให้ปฏิรูปการบริหารพรรคการเมือง โดยผู้บริหาร คณะกรรมการบริหาร ต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก และผู้สมัครเป็นคณะกรรมการบริหารจะต้องเป็นสมาชิกพรรคอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค ต้องผ่านการเลือกตั้งขั้นต้นของสมาชิกพรรคในพื้นที่ (Primary Vote)และมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี
ส่วนกรณีการยุบพรรคการเมือง จะกระทำได้เฉพาะกรณีกระทำผิดร้ายแรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ความมั่นคง และผลประโยชน์แห่งชาติ ทั้งนี้ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลยุติธรรมเท่านั้น
สำหรับการปฏิรูปการเลือกตั้ง กมธ.ปฏิรูปการเมือง เสนอว่า ให้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนานเหมือนรัฐธรรมนูญปี 50 เพราะเห็นว่าการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม มีแนวโน้มที่จะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาด ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดรัฐบาลผสม ที่ช่วยลดความแตกแยก แต่ระบบการเลือกตั้งดังกล่าว อาจมีประสิทธิภาพเฉพาะการเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคเท่านั้น แต่ขอให้ระวังพรรคการเมืองอาจร่วมมือกันส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ได้จำนวนส.ส.ในภาพรวมมากขึ้น
นอกจากนั้น ควรกำหนดจำนวน ส.ส.แบบเขต และแบบบัญชีรายชื่อ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทย ส่วนเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของส.ส. นั้น กมธ.ปฏิรูปการเมืองเสนอให้มีการคัดเลือกผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้ง และควรจัดให้มีส.ส. จากกลุ่มวิชาชีพ และชาติพันธุ์ รวมถึงกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะต้องยื่นหลักฐานสำเนาการเสียภาษีให้รัฐย้อนหลัง 5 ปี ในวันสมัคร และแสดงตัวต่อสาธารณชนโดยจดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อนการเลือกตั้ง 1 ปี
ส่วนการปฏิรูปองค์กรอิสระ มีการเสนอให้ กกต. มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้ง เลื่อนวันเลือกตั้ง หรือวันลงคะแนนในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย ซึ่งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งให้กกต. มีอำนาจสั่งเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) ส่วนกรณีหลังประกาศผล หากสืบสวนพบการทุจริตให้กกต. ยื่นคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์กลาง เพื่อเพิกสิทธิเลือกตั้งตลอดชีวิต (ใบแดง) โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหามีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งของกกต. ได้ นอกจากนั้น ยังเสนอให้มีปฏิรูปการสรรหาบุคคลที่เข้าดำรงตำแหน่ง กกต. โดยเสนอเพิ่มจำนวน กกต. จาก 5 คน เป็น 7 คน เพื่อความคล่องตัวในการทำหน้าที่
สาระสาระสำคัญในรายงาน เกี่ยวกับการปฏิรูปพรรคการเมือง โดยเฉพาะการให้เป็นสถาบันทางการเมือง ส่งเสริมระบบพรรคการเมืองให้มีหลายพรรค ไม่มีกลุ่มการเมือง เพราะยากต่อการควบคุมและอาจถูกโน้มน้าวไปในทางไม่ก่อประโยชน์ รวมถึงเสนอให้ปฏิรูปการบริหารพรรคการเมือง โดยผู้บริหาร คณะกรรมการบริหาร ต้องมาจากการเลือกตั้งของสมาชิก และผู้สมัครเป็นคณะกรรมการบริหารจะต้องเป็นสมาชิกพรรคอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค ต้องผ่านการเลือกตั้งขั้นต้นของสมาชิกพรรคในพื้นที่ (Primary Vote)และมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี
ส่วนกรณีการยุบพรรคการเมือง จะกระทำได้เฉพาะกรณีกระทำผิดร้ายแรงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย ความมั่นคง และผลประโยชน์แห่งชาติ ทั้งนี้ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลยุติธรรมเท่านั้น
สำหรับการปฏิรูปการเลือกตั้ง กมธ.ปฏิรูปการเมือง เสนอว่า ให้ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนานเหมือนรัฐธรรมนูญปี 50 เพราะเห็นว่าการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม มีแนวโน้มที่จะไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาด ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดรัฐบาลผสม ที่ช่วยลดความแตกแยก แต่ระบบการเลือกตั้งดังกล่าว อาจมีประสิทธิภาพเฉพาะการเลือกตั้งที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งสังกัดพรรคเท่านั้น แต่ขอให้ระวังพรรคการเมืองอาจร่วมมือกันส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้ได้จำนวนส.ส.ในภาพรวมมากขึ้น
นอกจากนั้น ควรกำหนดจำนวน ส.ส.แบบเขต และแบบบัญชีรายชื่อ ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทย ส่วนเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของส.ส. นั้น กมธ.ปฏิรูปการเมืองเสนอให้มีการคัดเลือกผู้สมัครในแต่ละเขตเลือกตั้ง และควรจัดให้มีส.ส. จากกลุ่มวิชาชีพ และชาติพันธุ์ รวมถึงกำหนดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง จะต้องยื่นหลักฐานสำเนาการเสียภาษีให้รัฐย้อนหลัง 5 ปี ในวันสมัคร และแสดงตัวต่อสาธารณชนโดยจดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก่อนการเลือกตั้ง 1 ปี
ส่วนการปฏิรูปองค์กรอิสระ มีการเสนอให้ กกต. มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้ง เลื่อนวันเลือกตั้ง หรือวันลงคะแนนในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัย ซึ่งก่อนประกาศผลการเลือกตั้งให้กกต. มีอำนาจสั่งเลือกตั้งใหม่ (ใบเหลือง) ส่วนกรณีหลังประกาศผล หากสืบสวนพบการทุจริตให้กกต. ยื่นคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์กลาง เพื่อเพิกสิทธิเลือกตั้งตลอดชีวิต (ใบแดง) โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ถูกกล่าวหามีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งของกกต. ได้ นอกจากนั้น ยังเสนอให้มีปฏิรูปการสรรหาบุคคลที่เข้าดำรงตำแหน่ง กกต. โดยเสนอเพิ่มจำนวน กกต. จาก 5 คน เป็น 7 คน เพื่อความคล่องตัวในการทำหน้าที่