วานนี้ (10 มิ.ย.)ตุลาการศาลปกครองกลาง ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษาในคดีที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ฟ้องคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) กรณี ก.ตร. มีมติไม่ให้สิทธิการนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณแก่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ และการยกเลิกมติที่เห็นชอบให้คัดเลือกแต่งตั้ง พล.ต.ต.ศรีวราห์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (ผบช.ภ.1.) เนื่องจากเป็นผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งขาดคุณสมบัติ ที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นเป็นผู้บัญชาการ ว่า เป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังเป็นการกระทำที่ทำให้ พล.ต.ต.ศรีวราห์ ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
โดยศาลพิจารณาเห็นว่า การพิจารณาว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดจะได้สิทธิการนับระยะเวลาเป็นทวีคูณ ข้าราชการตำรวจผู้นั้นต้องปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นการประจำในตำแหน่งระดับต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะปฏิบัติงานในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือหลายหน่วยงาน และระยะเวลาการปฏิบัติงาน จะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไปน้อยกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ให้เริ่มนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณดังกล่าวได้ตั้งแต่ วันที่ 30 ส.ค.50 โดยสามารถนำระยะเวลาที่ข้าราชการตำรวจผู้นั้นเคยปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เมื่อนับระยะเวลาที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ เคยปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 47-25 ส.ค. 48 ในตำแหน่ง รองผู้บังคับการ และ วันที่ 7 ต.ค. - 23 พ.ค. 48 ในตำแหน่งผู้บังคับการ หากนำมารวมกับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-1 ต.ค. 53 ก็จะนับได้ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
อีกทั้ง พล.ต.ต.ศรีวราห์ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.52-วันที่ 31 มี.ค.53 ก่อนที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ จะได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการในตำแหน่งที่ปรึกษา กอ.รมน. 4 เป็นเวลา 1 ปี 1 เดือน 12 วัน รวมกับระยะเวลาที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ ดำรงตำแหน่ง ที่ได้รับสิทธิการรับเวลา ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. - 31ส.ค. 53 เป็นการปฏิบัติงานทวีคูณ รวม 10 เดือน พล.ต.ต.ศรีวราห์ จะมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ในระดับรองผู้บัญชาการ 1 ปี 11 เดือน 12 วัน แต่การคัดเลือก หรือแต่งตั้งที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี เป็นการคัดเลือก หรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปีงบประมาณ 2553 มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 53 ซึ่งเป็นปีงบประมาณถัดไป การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการของพล.ต.ต.ศรีวราห์ จึงนับเดือนก.ย. 53 อีก 1 เดือน รวมเป็น 2 ปี 12 วัน
ดังนั้น พล.ต.ต.ศรีวราห์ เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น เป็นผู้บัญชาการ ตามข้อ 11 ของกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึงจเรตำรวจ แห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2555 การที่ ก.ตร. มีมติในการประชุม ครั้งที่ 9/2555 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 55 ที่เพิกถอนมติคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณ ของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รับรองให้นับระยะเวลาการปฏิงานเป็นทวีคูณ ของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 53 เฉพาะช่วงเวลาวันที่ 1 เม.ย.- 31 ส.ค. 53 และมติที่ไม่คัดเลือกแต่งตั้ง พล.ต.ศรีวราห์ ดำรงตำแหน่ง ผบช.ภ.1. ของกฎ ก.ตร. ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำพิพากษาเพิกถอนมติก.ตร. ดังกล่าว และให้ปฏิบัติต่อสิทธิของ พล.ต.ต.ศรีวราห์ ที่พึงมีพึงได้ ตามที่กฎหมายกำหนด
โดยศาลพิจารณาเห็นว่า การพิจารณาว่า ข้าราชการตำรวจผู้ใดจะได้สิทธิการนับระยะเวลาเป็นทวีคูณ ข้าราชการตำรวจผู้นั้นต้องปฏิบัติงานในหน้าที่เป็นการประจำในตำแหน่งระดับต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะปฏิบัติงานในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือหลายหน่วยงาน และระยะเวลาการปฏิบัติงาน จะต่อเนื่องกันหรือไม่ก็ได้ แต่รวมแล้วต้องไปน้อยกว่า 1 ปี ทั้งนี้ ให้เริ่มนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณดังกล่าวได้ตั้งแต่ วันที่ 30 ส.ค.50 โดยสามารถนำระยะเวลาที่ข้าราชการตำรวจผู้นั้นเคยปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2547 เมื่อนับระยะเวลาที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ เคยปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 6 ธ.ค. 47-25 ส.ค. 48 ในตำแหน่ง รองผู้บังคับการ และ วันที่ 7 ต.ค. - 23 พ.ค. 48 ในตำแหน่งผู้บังคับการ หากนำมารวมกับระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-1 ต.ค. 53 ก็จะนับได้ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
อีกทั้ง พล.ต.ต.ศรีวราห์ ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ.52-วันที่ 31 มี.ค.53 ก่อนที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ จะได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการในตำแหน่งที่ปรึกษา กอ.รมน. 4 เป็นเวลา 1 ปี 1 เดือน 12 วัน รวมกับระยะเวลาที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ ดำรงตำแหน่ง ที่ได้รับสิทธิการรับเวลา ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. - 31ส.ค. 53 เป็นการปฏิบัติงานทวีคูณ รวม 10 เดือน พล.ต.ต.ศรีวราห์ จะมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ในระดับรองผู้บัญชาการ 1 ปี 11 เดือน 12 วัน แต่การคัดเลือก หรือแต่งตั้งที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี เป็นการคัดเลือก หรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ วาระประจำปีงบประมาณ 2553 มีผลตั้งแต่ 1 ต.ค. 53 ซึ่งเป็นปีงบประมาณถัดไป การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการของพล.ต.ต.ศรีวราห์ จึงนับเดือนก.ย. 53 อีก 1 เดือน รวมเป็น 2 ปี 12 วัน
ดังนั้น พล.ต.ต.ศรีวราห์ เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น เป็นผู้บัญชาการ ตามข้อ 11 ของกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตร ถึงจเรตำรวจ แห่งชาติ และรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2555 การที่ ก.ตร. มีมติในการประชุม ครั้งที่ 9/2555 เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 55 ที่เพิกถอนมติคณะกรรมการตามหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นทวีคูณ ของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รับรองให้นับระยะเวลาการปฏิงานเป็นทวีคูณ ของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 53 เฉพาะช่วงเวลาวันที่ 1 เม.ย.- 31 ส.ค. 53 และมติที่ไม่คัดเลือกแต่งตั้ง พล.ต.ศรีวราห์ ดำรงตำแหน่ง ผบช.ภ.1. ของกฎ ก.ตร. ดังกล่าว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำพิพากษาเพิกถอนมติก.ตร. ดังกล่าว และให้ปฏิบัติต่อสิทธิของ พล.ต.ต.ศรีวราห์ ที่พึงมีพึงได้ ตามที่กฎหมายกำหนด