xs
xsm
sm
md
lg

ปีศาจบนหลังม้ากับประชาธิปไตย

เผยแพร่:   โดย: ไสว บุญมา

พระคัมภีร์ของศาสนาคริสต์ตอนหนึ่งพูดถึงเรื่องผู้มาเยือน 4 คน แต่ละคนขี่ม้าต่างสี เรื่องนี้ถูกตีความหมายหลายอย่างและศิลปินได้นำมาวาดเป็นภาพต่างๆ กัน แต่ส่วนใหญ่ จะออกมาในรูปของปีศาจบนหลังม้าซึ่งเมื่อปรากฏตัวออกมาหมายความว่าถึงเวลาสิ้นโลกปัจจุบัน หรือจะเกิดเหตุการณ์ใหญ่ที่นำไปสู่การสิ้นยุค คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยกับเรื่องนี้นักเนื่องจากส่วนใหญ่มิได้สนใจในเรื่องราวของคริสต์ศาสนาซึ่งถูกมองว่าเป็นศาสนาของฝรั่ง ส่วนฝรั่งจะที่มีความฝังใจมากน้อยเพียงไรกับเรื่องเลข 4 ไม่เป็นที่ประจักษ์ อย่างไรก็ดี มีเรื่องที่อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยท่านหนึ่งเล่าว่า ฝรั่งมองปัญหาการพัฒนาเมืองไทยว่ามาจากปัจจัยซึ่งแยกออกได้เป็นเลข “4” เช่นกัน นั่นคือ ขี้โกง ขี้เกียจ ขี้โอ่ และขี้อิจฉา

เรื่อง “ขี้ 4 อย่าง” นี้จะเป็นปัจจัยในการสร้างปัญหาต่อการพัฒนาของไทยหรือไม่ อย่างไร ผมได้ขยายความไว้ในหนังสือชื่อ “มองเมืองไทย : จากสิบปีของการใช้หนี้แผ่นดิน” แล้ว (หนังสือเล่มนี้อาจดาวโหลดได้ฟรีที่เว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) จึงจะไม่นำมาเสนออีก เนื่องจากในช่วงนี้มีการถกเถียงกันเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และการนำระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในสังคมไทยซึ่งเป็นไปอย่างล้มลุกคลุกคลาน จึงใคร่เชิญชวนให้พิจารณาว่า เมืองไทยจะใช้ระบอบประชาธิปไตยได้ดีกว่าเท่าที่เป็นมาเป็นเวลากว่า 80 ปีหรือไม่ตราบใดที่คนไทยยังมี “ขี้ 4 อย่าง” ซึ่งมีส่วนเหมือนและส่วนต่างกับขี้ที่ฝรั่งอ้างถึง

ส่วนที่เหมือนกับของฝรั่งได้แก่ “ขี้โกง” เรื่องนี้คงเป็นที่ยอมรับกันแล้วอย่างกว้างขวางเนื่องจากข้อมูลต่างๆ ยืนยันแม้พวกนักการเมืองทรามๆ และพวกหลงเดินตามจะแย้งแบบหัวชนฝาว่าไม่จริงก็ตาม เรื่องความขี้โกงของคนไทยส่วนใหญ่ดูจะฝังอยู่ในรหัสพันธุกรรม หรือเข้ากระดูกดำเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะการสำรวจความเห็นทุกครั้งสรุปว่า คนไทยส่วนใหญ่รับความฉ้อฉลของคนอื่นได้ถ้าตนได้ประโยชน์ด้วย หากไม่ฝังอยู่ในรหัสพันธุกรรมก็คงฝึกกันตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ทั้งนี้ทั้งครูและผู้อยู่ในสถาบันการศึกษาหาทางโกงกันอย่างกว้างขวาง ขอยกตัวอย่างที่มาจากสังคมออนไลน์ในช่วงนี้

Kittipoom Sacharung

เส้นทางในการเกิด มารการศึกษา

จ่ายครบจบแน่...เรียนไม่ถึงปี จบ ป.โท แล้วเอาวุฒิมาปรับเงินเดือนที่เพิ่งบรรจุไม่ถึงปี แล้ววิ่งลู่โท ........ได้โทจากจ่ายครบจบแน่...มาต่อวิทยฐานะ...จาก 6-8 เหลือ 4-5 ปีทำวิทยฐานะชำนาญการได้

ได้เงินไปกินฟรี 3,500 บาทต่อเดือน อายุราชการไม่ถึง 10 ปี .....จากนั้นแล้วมาซื้อ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 5600x2 จาก PA ที่ให้เขตฯ ดูแลกันอย่างเต็มที่

...นี่ไง เส้นทางการได้เปรียบของการศึกษาที่ท่านๆ ทั้งหลายในห้องแอร์คิดกันมา

...การศึกษาคือ ธุรกิจ การศึกษาคือเส้นทางการแสวงหาโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าด้วยระบบที่สร้างไว้เพื่ออวยกันและกัน.

แล้วประชาชนรากหญ้าได้อะไร


ต่อตระกูล ยมนาค added 3 new photos.

ผลสำรวจพบนักศึกษาไทย รับทุจริตการสอบ ไม่เป็นไร

ผลการสำรวจ เรื่อง “ทัศนคตินิสิตนักศึกษาต่อการทุจริตคอร์รัปชัน การโกงในการเรียนการสอบ” ซึ่งที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เมื่อ มิ.ย. 2557 ที่ได้มอบให้สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้าโพล ช่วยสำรวจนิสิตนักศึกษา จำนวน 5,654 คน จาก 23 มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของ ทปอ. ผลปรากฏว่า

- 16% เคยทุจริตการสอบ

- 6% คิดว่าการทุจริตการสอบผิดเล็กน้อย หรือผิดไม่ร้ายแรง

- 30% เคยช่วยเพื่อนทุจริตในการสอบ

- 23% คิดว่าการช่วยเพื่อนทุจริตในการสอบ ผิดเล็กน้อยหรือไม่ร้ายแรง


หมายเหตุ : ภาพแรก เป็นภาพข่าวเมื่อเร็วๆ นี้ที่ดังไปทั่วโลก เป็นการสอบ mid term ในมหาวิทยาลัยใหญ่อันดับ 1 ใน 5 ของรัฐฯ



ทั้งสองเรื่องนี้มีผู้ส่งความเห็นกลับไปให้ผู้เขียนมากซึ่งพอสรุปได้สั้นๆ ว่า ความฉ้อฉลของคนไทยฝังอยู่ในส่วนลึกของจิตวิญญาณ ในการเลือกตั้งทุกครั้งหลังปี 2540 จึงซื้อและขายเสียงกันชนิดไม่อายผีสางเทวดา หลังจากนั้นมา นักการเมืองก็พากันแสวงหาผลประโยชน์จากความฉ้อฉลเพื่อถอนทุนคืน ท่ามกลางความฉ้อฉลจนชนิดเข้ากระดูกดำคงเกิดประชาธิปไตยได้ยากมากและเมืองไทยจะล่มจมก็เพราะสังคมฉ้อฉลจนเข้ากระดูกดำนี่แหละ

ส่วนที่ต่างกับของฝรั่งมี 3 อย่างด้วยกัน นั่นคือ ความเชื่อง่าย ความดูดาย และความไม่ใส่ใจในการเมือง

โดยทั่วไปคนไทยเชื่อง่ายมากหากผู้พูดมีมาดดี มีเงินทอง มีตำแหน่งใหญ่ในด้านการงานและมีสถานะด้านสังคมสูง
ความเชื่อง่ายนี้เป็นที่น่าแปลกเพราะคนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาและในช่วงนี้มีการศึกษาถึงระดับปริญญากันเต็มบ้านเต็มเมืองแล้ว หลักกาลามสูตรของพุทธศาสนาสอนว่า อย่าเชื่อใครง่ายไม่ว่าเขาจะเป็นใครรวมทั้งองค์ศาสดาเอง วิกิพีเดียนำหลักกาลามสูตรจากพระไตรปิฎกมาเสนอไว้ดังนี้

กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อมีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ


ระบบการศึกษาไทยมีเป้าหมายหลายอย่าง เป้าหมายหนึ่งได้แก่การปลูกฝังให้คนไทยรู้จักใช้วิจารณญาณอย่างพินิจพิเคราะห์ (Critical Thinking) ตั้งแต่วันที่เราเริ่มมีการเรียนการสอนกันในสถาบันการศึกษาตามแนวฝรั่ง ทั้งที่เรามีโรงเรียนชั้นประถมศึกษามาตั้งแต่ในสมัย ร. 6 และตอนนี้มีสถาบันการศึกษาระดับมหาวัทยาลัยกระจายไปทั่วทุกหัวระแหง แต่เป็นที่ยอมรับกันว่า เรื่องการปลูกฝังให้ใช้วิจารณญาณอย่างพินิจพิเคราะห์ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง นอกจากนั้น การที่คนไทยไม่ค่อยอ่านหนัง (มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าอ่านหนังสือกันคนละ 8 บรรทัดต่อปี) ส่งผลให้ไม่มีโอกาสใช้ความคิดติดตามความเป็นไปในหนังสือด้วยเหตุผล จะเป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร หากคนส่วนใหญ่ยังไร้ความคิดอย่างมีวิจารณญาณแบบพินิจพิเคราะห์?

เรื่องความดูดาย
สังคมเรามีวัฒนธรรมซึ่งถูกปลูกฝังมานมนานจากด้านการสอนให้ “อย่าแกว่งเท้าหาเสี้ยน” หรือ “ธุระไม่ใช่” และเรื่อง “ผู้ทำจะถูกกรรมตามสนองเอง” การสอนนี้มิได้มีอะไรผิด แต่การนำมาประยุกต์ใช้ในระบอบประชาธิปไตยมักนำไปสู่การปฏิบัติที่ขัดกับหลักประชาธิปไตย

ในระบอบประชาธิปไตย เมื่อเราเห็นใครทำอะไรไม่ชอบมาพากล เราต้องให้ความสนใจและออกไปเคลื่อนไหวเมื่อแน่ใจว่าสิ่งนั้นมีผลร้ายต่อส่วนรวม แต่คนไทยส่วนใหญ่มักคิดกันว่ามิใช่หน้าที่และผู้ที่ทำจะรับกรรมเอง จึงปล่อยไปโดยไม่แยแสอันเป็นการดูดาย ในระบอบประชาธิปไตย ความดูดายเป็นบาป ผลของบาปส่วนหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นคือ ความล้มลุกคลุกคลานมากว่า 80 ปีและมีรัฐธรรมนูญมาถึง 16 ฉบับแล้ว

ความไม่ใส่ใจในการเมือง
เรื่องนี้อาจมีต้นเหตุหลายอย่าง กลุ่มแรกเป็นผู้ที่ไม่สนใจในด้านการเมืองไม่ว่าการปกครองจะเป็นระบบอะไร กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่ไปออกเสียงเลือกตั้ง หรือถ้าไปก็ทำแบบขอไปที หรือตามที่ผู้อื่นชี้นำให้เลือกซึ่งอาจมีการตอบแทนด้วยเงิน หรือสิ่งอื่น กลุ่มที่สองเป็นผู้ที่ติดตามและเข้าใจเหตุการณ์ แต่หมดใจและมองไม่เห็นว่าการออกเสียงของตนเพียงคนเดียวจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ตนเห็นว่าดีได้อย่างไร กลุ่มนี้มักไม่สนใจที่จะไปออกเสียงเลือกตั้ง กลุ่มที่สามเป็นผู้มักง่าย นั่นคือ ไม่ใส่ใจติดตามความเป็นไป ไม่ศึกษาให้ถี่ถ้วนว่าประเด็นปัญหาที่แท้จริงคืออะไร และไม่ใส่ใจที่จะพิจารณาจุดยืนของนักการเมืองว่าอยู่ที่ไหนและจะมีผลอย่างไร ถ้าพวกเขาได้รับเลือกให้เข้าไปใช้อำนาจ ในสังคมที่มีคนไม่ใส่ใจในการเมืองอย่างจริงจังเป็นจำนวนมากเช่นในเมืองไทย ระบอบประชาธิปย่อมเกิดขึ้นได้ยากมาก

ในเมื่อเมืองไทยตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ จึงมีคำถามตามมาว่าจะบริหารบ้านเมืองอย่างไร


ในฐานะผู้ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านระบบการบริหารบ้านเมือง แต่สนใจที่จะมีส่วนช่วยทำให้เมืองไทยพัฒนา ขอเสนอให้คิดกันว่า ตอนนี้ผู้มีอำนาจสูงมากมาจาก 3 เหล่าทัพบวกกับตำรวจ ทั้ง 4 กลุ่มนี้ประกอบกันเป็น คสช.เราอาจมองว่าทั้ง 4 มีลักษณะของการบริหารบ้านเมืองในยุคก่อนเก่าซึ่งแบ่งงานออกเป็น เวียง วัง คลัง นา หรือ จะมองว่าเป็นผู้ขี่ม้าดังในพระคัมภีร์ของคริสต์ศาสนาก็ได้ จะยกการบริหารบ้านเมืองให้อยู่ในมือของคน 4 กลุ่มนี้สัก 5 -10 ปีโดยให้มีการแยกกันบริหารแบบ เวียง วัง คลัง นา จะดีไหม ทั้งนี้เพื่อรอคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตที่ดูจะอยากได้กันนัก? แน่ละ จะทำเช่นนั้นได้ก็ต่อเมื่อทั้ง 4 กลุ่มไม่ฉ้อฉลเพราะนั่นจะหมายถึงคนขี่ม้าเป็นปีศาจ ตรงข้าม พวกเขาจะต้องมีความซื่อสัตย์ดุจดังยอดอัศวิน

กำลังโหลดความคิดเห็น