ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจไหมว่าจะลงจากหลังเสือได้อย่างสง่างาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบว่า “เรื่องนี้ก็แล้วแต่พวกเรา ผมก็ลงเหมือนคนเดินดินปกติ” เมื่อถามต่อว่า ที่ผ่านมาอดีตนายกฯ หลายคนเวลาลงจากหลังเสือก็บาดเจ็บตลอด พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “ก็ลงให้เป็นสิ หรือฆ่าเสือก่อนสิ”
1 ปีเศษการยึดอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่ง ณ เวลานั้นน่าจะเป็นทางออกเดียวเพื่อยุติความขัดแย้งและผ่าทางตันของประเทศ เพราะบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้ รัฐบาลกลายเป็นองค์กรที่ไม่สมประกอบเพราะไม่มีนายกฯ มีแต่รักษาการนายกรัฐมนตรี ที่ไม่รู้ว่ามีอำนาจอย่างชอบธรรมหรือไม่ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบไปแล้วสรรหาใหม่ไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขว่านายกฯ ต้องเป็น ส.ส.
ขณะที่การรุกไล่ของประชาชนบนท้องถนนก็เดินหน้าไปไม่ได้ ผู้ชุมนุมอ่อนล้า ข้อเรียกร้องให้ตั้งนายกฯ คนนอกเข้ามาบริหารประเทศเพื่อปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้งตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมก็ไม่มีกฎหมายไหนให้ตั้งได้กลายเป็นทางตัน
ทางออกของการยึดอำนาจ จึงเป็นทางออกที่คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายยอมรับได้
ตอนที่เกิดรัฐประหารใหม่ๆ นักวิชาการเสื้อแดงเองก็เชื่อว่า มีซูเปอร์ดีลระหว่างทักษิณกับทหาร เพราะทักษิณเรียกร้องให้คนเสื้อแดงให้ความร่วมมือกับทหารอย่าไปขัดขวาง ขณะที่พระสุเทพก็บอกมวลชนของตัวเองว่า คณะรัฐประหารเป็นพวกเดียวกัน
ตอนนั้นพล.อ.ประยุทธ์เองก็พูดถึงสองฝ่ายแบบกลางๆ ทำนองว่า บ้านเมืองขัดแย้งกันมากว่า 10 ปี โดยพูดเป็นนัยว่าทั้งสองฝ่ายสองสีเสื้อล้วนแล้วแต่เป็นปัญหา คำปรารภในรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็เขียนประมาณนี้ ประชาชนแตกแยกเป็นฝ่ายต่างๆ ขาดความสามัคคี และมีทัศนคติไม่เป็นมิตรต่อกัน บางครั้งเกิดความรุนแรง ใช้กําลังและอาวุธสงครามเข้าทําร้ายประหัตประหารกัน สวัสดิภาพและการดํารงชีวิตของประชาชนไม่เป็นปกติสุข การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองชะงักงัน กระทบต่อการใช้อํานาจในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร และในทางตุลาการ การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล นับเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ในห้วงแรกดูเหมือนว่าฝ่ายทหารจะพุ่งเป้าไปที่การปรามทุกฝ่าย การรุกไล่พวกติดอาวุธและพวกหมิ่นเจ้ามากกว่าจะพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนเสื้อแดงโดยทั่วไป เหมือนพยายามจะเอาใจทุกฝ่าย
แต่ถึงตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เพราะดูเหมือนทหารจะรุกไล่ฝั่งทักษิณหนักขึ้น ตั้งแต่ปิดทีวีเสื้อแดงมาจนปิดดีลเมื่อมาถึงขั้นถอนพาสปอร์ตและถอดยศ จนเสียงชื่นชมพล.อ.ประยุทธ์จากฝ่ายต่อต้านทักษิณดังกระหึ่ม
แต่สถานการณ์แบบนี้มันจะทำให้เกิดการถอนรากถอนโคนระบอบทักษิณหรือไม่ สำหรับผมแล้วเห็นว่าไม่กระเทือนต่อระบอบทักษิณและทักษิณเลย
แม้ว่า การยึดพาสปอร์ตและการถอดยศเป็นเรื่องที่สมควรทำ (มาตั้งนานแล้ว ยังสงสัยว่าสมัย ปชป.มีอำนาจทำไมถึงไม่ทำ) ซึ่งคงทำให้ทักษิณโกรธ แต่ไม่ส่งผลเสียอะไรกับทักษิณมากกว่าที่เป็นอยู่
สิ่งที่ทักษิณรอคอยและรอได้ก็คือการเลือกตั้ง เพราะทุกคนในประเทศนี้มีต้นทุนเท่ากันคือ หนึ่งคนหนึ่งเสียงไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ว่าจบป. 4 หรือจบปริญญาเอก ดังนั้น ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะออกแบบมาอย่างไรทักษิณก็มั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้งอีก
ดังนั้น สิ่งสำคัญมากกว่าพาสปอร์ตและยศของทักษิณก็คือ ความเข้าใจของคนไทยต่อระบอบทักษิณและทักษิณ ที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ระบอบทักษิณเป็นระบอบที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของนายทุนพรรคการเมือง แล้วผลร้ายจะตกอยู่กับประชาชนและประเทศชาติในระยะยาว
และแนวร่วมของทักษิณก็คือพวกเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมจะไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน
แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะพยายามออกแบบให้มี “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” และ “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ” เพื่อกำกับการทำงานของรัฐบาลหลังมีการเลือกตั้งไปอย่างน้อย 5 ปี แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เนิ่นนานไปจนทำให้ระบอบทักษิณรอไม่ได้แล้วเหี่ยวเฉาไปเอง
เพราะผมคิดว่าทักษิณและพวกเชื่อว่าพวกเขาได้เปรียบในเรื่องเงื่อนของเวลาระหว่างสิ่งที่ฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณพยายามปกป้องคือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับสิ่งที่ทักษิณมองว่าเป็นศัตรูของเขา ทักษิณเชื่อว่า ฝ่ายที่จะถูกเวลากัดกร่อนก็คือศัตรูของเขาต่างหาก
สิ่งที่ต้องคิดก็คือว่า การที่ฝ่ายทักษิณเชื่อมั่นว่า พวกเขาคือ ฝ่ายประชาธิปไตยที่ได้รับการยอมรับมากกว่าในทางสากล การที่เราพยายามสร้างกลไกของรัฐธรรมนูญเพื่อมาควบคุมพรรคการเมือง และนักการเมืองมันสามารถใช้ได้ในระยะยาวไหม เพราะนั่นเท่ากับการลิดรอนสิทธิของประชาชนไปด้วย ลองคิดดูสิว่า “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” และ “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ” ที่มาจากการแต่งตั้งแต่สามารถควบคุมสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลได้นั้นมันมีสภาพเช่นไร ถ้าทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกัน แล้วความชอบธรรมจะอยู่กับฝ่ายไหน
ผมคิดว่าถึงตอนนั้นแต้มต่อของความชอบธรรมจะอยู่ฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แม้รัฐธรรมนูญจะออกแบบว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถทำตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติได้ ให้มีการทำประชามติก็จะเกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้ ลองคิดเล่นๆ ดูว่า ถ้ารัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคของทักษิณ แล้วฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณจะยอมไหม
แล้วถ้ารัฐบาลซึ่งคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งทุกเรื่องกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ประเทศจะตกอยู่ในภาวะเช่นไร วังวนความขัดแย้งจะกลับมาอีกไหม
ไม่รู้เหมือนกันว่า พล.อ.ประยุทธ์แทนค่าเสือตัวที่ขี่อยู่ด้วยอะไร ถ้าเขาหมายถึงการจัดการกับระบอบทักษิณ ก็ต้องถามตัวเองว่า การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของประชาชนนั้น สามารถใช้ได้ในระยะยาวไหม และจะเอาประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบทักษิณและตัวทักษิณไปไว้ที่ไหน
รัฐธรรมนูญใหม่อาจลดทอนความเข้มแข็งพรรคการเมืองของทักษิณลงได้ แต่ถามว่าเราจะใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อล้อมกรอบระบอบทักษิณ และความเชื่อมั่นต่อตัวทักษิณในหมู่คนรากหญ้าไว้ได้นานแค่ไหน ถ้าเราไม่ทำให้ประชาชนที่ยังงมงายรู้ถึงความชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ในระบอบทักษิณ
หากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่าทักษิณถูกดำเนินคดีและศาลลงโทษเพราะทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย แทนความเชื่อที่ถูกฝังในสมองว่า ทักษิณถูกกลั่นแกล้งจากอำนาจเก่าและคนในวัง เหมือนที่ทักษิณพยายามตอกย้ำเรื่องนี้เพื่อประกาศตัวว่า เขาพร้อมจะเปิดหน้าชกกับคนที่เขาเชื่อว่าเป็นศัตรู
นี่ต่างหากที่เป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่น่ากลัวกว่าเสือตัวที่พล.อ.ประยุทธ์กำลังขี่อยู่
1 ปีเศษการยึดอำนาจของพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่ง ณ เวลานั้นน่าจะเป็นทางออกเดียวเพื่อยุติความขัดแย้งและผ่าทางตันของประเทศ เพราะบ้านเมืองเดินหน้าต่อไปไม่ได้ รัฐบาลกลายเป็นองค์กรที่ไม่สมประกอบเพราะไม่มีนายกฯ มีแต่รักษาการนายกรัฐมนตรี ที่ไม่รู้ว่ามีอำนาจอย่างชอบธรรมหรือไม่ สภาผู้แทนราษฎรถูกยุบไปแล้วสรรหาใหม่ไม่ได้เพราะติดเงื่อนไขว่านายกฯ ต้องเป็น ส.ส.
ขณะที่การรุกไล่ของประชาชนบนท้องถนนก็เดินหน้าไปไม่ได้ ผู้ชุมนุมอ่อนล้า ข้อเรียกร้องให้ตั้งนายกฯ คนนอกเข้ามาบริหารประเทศเพื่อปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้งตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมก็ไม่มีกฎหมายไหนให้ตั้งได้กลายเป็นทางตัน
ทางออกของการยึดอำนาจ จึงเป็นทางออกที่คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายยอมรับได้
ตอนที่เกิดรัฐประหารใหม่ๆ นักวิชาการเสื้อแดงเองก็เชื่อว่า มีซูเปอร์ดีลระหว่างทักษิณกับทหาร เพราะทักษิณเรียกร้องให้คนเสื้อแดงให้ความร่วมมือกับทหารอย่าไปขัดขวาง ขณะที่พระสุเทพก็บอกมวลชนของตัวเองว่า คณะรัฐประหารเป็นพวกเดียวกัน
ตอนนั้นพล.อ.ประยุทธ์เองก็พูดถึงสองฝ่ายแบบกลางๆ ทำนองว่า บ้านเมืองขัดแย้งกันมากว่า 10 ปี โดยพูดเป็นนัยว่าทั้งสองฝ่ายสองสีเสื้อล้วนแล้วแต่เป็นปัญหา คำปรารภในรัฐธรรมนูญชั่วคราวก็เขียนประมาณนี้ ประชาชนแตกแยกเป็นฝ่ายต่างๆ ขาดความสามัคคี และมีทัศนคติไม่เป็นมิตรต่อกัน บางครั้งเกิดความรุนแรง ใช้กําลังและอาวุธสงครามเข้าทําร้ายประหัตประหารกัน สวัสดิภาพและการดํารงชีวิตของประชาชนไม่เป็นปกติสุข การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองการปกครองชะงักงัน กระทบต่อการใช้อํานาจในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร และในทางตุลาการ การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล นับเป็นวิกฤตการณ์ร้ายแรงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ในห้วงแรกดูเหมือนว่าฝ่ายทหารจะพุ่งเป้าไปที่การปรามทุกฝ่าย การรุกไล่พวกติดอาวุธและพวกหมิ่นเจ้ามากกว่าจะพุ่งเป้าไปที่กลุ่มคนเสื้อแดงโดยทั่วไป เหมือนพยายามจะเอาใจทุกฝ่าย
แต่ถึงตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เพราะดูเหมือนทหารจะรุกไล่ฝั่งทักษิณหนักขึ้น ตั้งแต่ปิดทีวีเสื้อแดงมาจนปิดดีลเมื่อมาถึงขั้นถอนพาสปอร์ตและถอดยศ จนเสียงชื่นชมพล.อ.ประยุทธ์จากฝ่ายต่อต้านทักษิณดังกระหึ่ม
แต่สถานการณ์แบบนี้มันจะทำให้เกิดการถอนรากถอนโคนระบอบทักษิณหรือไม่ สำหรับผมแล้วเห็นว่าไม่กระเทือนต่อระบอบทักษิณและทักษิณเลย
แม้ว่า การยึดพาสปอร์ตและการถอดยศเป็นเรื่องที่สมควรทำ (มาตั้งนานแล้ว ยังสงสัยว่าสมัย ปชป.มีอำนาจทำไมถึงไม่ทำ) ซึ่งคงทำให้ทักษิณโกรธ แต่ไม่ส่งผลเสียอะไรกับทักษิณมากกว่าที่เป็นอยู่
สิ่งที่ทักษิณรอคอยและรอได้ก็คือการเลือกตั้ง เพราะทุกคนในประเทศนี้มีต้นทุนเท่ากันคือ หนึ่งคนหนึ่งเสียงไม่ว่ารวยหรือจน ไม่ว่าจบป. 4 หรือจบปริญญาเอก ดังนั้น ไม่ว่ารัฐธรรมนูญจะออกแบบมาอย่างไรทักษิณก็มั่นใจว่าจะชนะเลือกตั้งอีก
ดังนั้น สิ่งสำคัญมากกว่าพาสปอร์ตและยศของทักษิณก็คือ ความเข้าใจของคนไทยต่อระบอบทักษิณและทักษิณ ที่จะทำอย่างไรให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ระบอบทักษิณเป็นระบอบที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ของนายทุนพรรคการเมือง แล้วผลร้ายจะตกอยู่กับประชาชนและประเทศชาติในระยะยาว
และแนวร่วมของทักษิณก็คือพวกเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ซึ่งผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมจะไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน
แม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะพยายามออกแบบให้มี “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” และ “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ” เพื่อกำกับการทำงานของรัฐบาลหลังมีการเลือกตั้งไปอย่างน้อย 5 ปี แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เนิ่นนานไปจนทำให้ระบอบทักษิณรอไม่ได้แล้วเหี่ยวเฉาไปเอง
เพราะผมคิดว่าทักษิณและพวกเชื่อว่าพวกเขาได้เปรียบในเรื่องเงื่อนของเวลาระหว่างสิ่งที่ฝ่ายต่อต้านระบอบทักษิณพยายามปกป้องคือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับสิ่งที่ทักษิณมองว่าเป็นศัตรูของเขา ทักษิณเชื่อว่า ฝ่ายที่จะถูกเวลากัดกร่อนก็คือศัตรูของเขาต่างหาก
สิ่งที่ต้องคิดก็คือว่า การที่ฝ่ายทักษิณเชื่อมั่นว่า พวกเขาคือ ฝ่ายประชาธิปไตยที่ได้รับการยอมรับมากกว่าในทางสากล การที่เราพยายามสร้างกลไกของรัฐธรรมนูญเพื่อมาควบคุมพรรคการเมือง และนักการเมืองมันสามารถใช้ได้ในระยะยาวไหม เพราะนั่นเท่ากับการลิดรอนสิทธิของประชาชนไปด้วย ลองคิดดูสิว่า “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ” และ “คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ” ที่มาจากการแต่งตั้งแต่สามารถควบคุมสภาฯ ที่มาจากการเลือกตั้งและรัฐบาลได้นั้นมันมีสภาพเช่นไร ถ้าทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกัน แล้วความชอบธรรมจะอยู่กับฝ่ายไหน
ผมคิดว่าถึงตอนนั้นแต้มต่อของความชอบธรรมจะอยู่ฝ่ายที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แม้รัฐธรรมนูญจะออกแบบว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถทำตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติได้ ให้มีการทำประชามติก็จะเกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้ ลองคิดเล่นๆ ดูว่า ถ้ารัฐบาลนั้นเป็นรัฐบาลที่มาจากพรรคของทักษิณ แล้วฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณจะยอมไหม
แล้วถ้ารัฐบาลซึ่งคุมเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งทุกเรื่องกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปแห่งชาติ ประเทศจะตกอยู่ในภาวะเช่นไร วังวนความขัดแย้งจะกลับมาอีกไหม
ไม่รู้เหมือนกันว่า พล.อ.ประยุทธ์แทนค่าเสือตัวที่ขี่อยู่ด้วยอะไร ถ้าเขาหมายถึงการจัดการกับระบอบทักษิณ ก็ต้องถามตัวเองว่า การออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของประชาชนนั้น สามารถใช้ได้ในระยะยาวไหม และจะเอาประชาชนส่วนใหญ่ที่ยังเชื่อมั่นและศรัทธาในระบอบทักษิณและตัวทักษิณไปไว้ที่ไหน
รัฐธรรมนูญใหม่อาจลดทอนความเข้มแข็งพรรคการเมืองของทักษิณลงได้ แต่ถามว่าเราจะใช้กลไกทางกฎหมายเพื่อล้อมกรอบระบอบทักษิณ และความเชื่อมั่นต่อตัวทักษิณในหมู่คนรากหญ้าไว้ได้นานแค่ไหน ถ้าเราไม่ทำให้ประชาชนที่ยังงมงายรู้ถึงความชั่วร้ายที่ซ่อนอยู่ในระบอบทักษิณ
หากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่าทักษิณถูกดำเนินคดีและศาลลงโทษเพราะทำในสิ่งที่ผิดกฎหมาย แทนความเชื่อที่ถูกฝังในสมองว่า ทักษิณถูกกลั่นแกล้งจากอำนาจเก่าและคนในวัง เหมือนที่ทักษิณพยายามตอกย้ำเรื่องนี้เพื่อประกาศตัวว่า เขาพร้อมจะเปิดหน้าชกกับคนที่เขาเชื่อว่าเป็นศัตรู
นี่ต่างหากที่เป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่น่ากลัวกว่าเสือตัวที่พล.อ.ประยุทธ์กำลังขี่อยู่