รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงแนวทางการเพิ่มผู้เรียนสายอาชีวศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ว่า ขณะนี้ไม่ใช่แต่ประเทศไทย แต่หลายประเทศก็ประสบปัญหาไม่มีผู้เรียนในสายอาชีพ จะแตกต่างตรงที่ในส่วนของประเทศไทยมีปัญหาเด็กทะเลาะวิวาท หรือตีกัน โดยที่ผ่านมา ศธ.โดย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มีนโยบายจัดโครงการเตรียมความพร้อมอาชีวศึกษา หรือ พรีอาชีวศึกษา เพื่อการเตรียมความพร้อมในการเรียนด้านอาชีวศึกษาให้แก่นักเรียน ด้วยการจัดให้มีการฝึกทักษะการอยู่ร่วมกัน การปลูกฝังระเบียบวินัย ความรักความสามัคคี เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเพิ่มผู้เรียนอาชีวะเอกชนก็ควรจะต้องดึงภาคเอกชนมาร่วมมือกับ วิทยาลัยเอกชนในการจัดการศึกษาร่วมกัน โดยอาจมีการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กเพื่อจูงใจ โดยออกทุนคนละครึ่ง และวางแผนร่วมจัดการศึกษาซึ่งวิทยาลัยอาชีวะเอกชนก็ต้องสร้างหลักประกันให้ ภาคเอกชนที่มาร่วมมั่นใจว่า การร่วมมือกันจะทำให้เราสามารถผลิตเด็กได้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของ สถานประกอบการ ไม่มีปัญหาตีกัน
“ทุกวันนี้ภาคเอกชนต้องการแรงงานฝีมือที่จบในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวนมาก แต่กลุ่มที่จบมายังไม่ตรงกับความต้องการ ซึ่งไม่ใช่ว่า วิทยาลัยไม่เปิดสอนแต่เป็นปัญหาว่าเด็กไม่เลือกเรียน ซึ่งที่ผ่านมามีการเสนอแนวคิดให้รวมอาชีวศึกษาเอกชนกับอาชีวศึกษารัฐเข้าด้วยกัน โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อพัฒนาผู้เรียนในสายอาชีพทั้งรัฐ และเอกชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีลักษณะคล้ายกับที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดูแลมหาวิทยาลัยเอกชน เป็นต้น โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากสมาคมวิทยาลัยและเทคโนโลยีอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ก็ตอบรับแนวคิดดังกล่าว ซึ่งหากจะมีการควบรวม ก็จะต้องมีการปรับแก้กฎหมาย โดยเวลานี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่าง ยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อาชีวศึกษาเอกชน พ.ศ.. เพื่อรองรับ” รศ.นพ.กำจร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเพิ่มผู้เรียนอาชีวะเอกชนก็ควรจะต้องดึงภาคเอกชนมาร่วมมือกับ วิทยาลัยเอกชนในการจัดการศึกษาร่วมกัน โดยอาจมีการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กเพื่อจูงใจ โดยออกทุนคนละครึ่ง และวางแผนร่วมจัดการศึกษาซึ่งวิทยาลัยอาชีวะเอกชนก็ต้องสร้างหลักประกันให้ ภาคเอกชนที่มาร่วมมั่นใจว่า การร่วมมือกันจะทำให้เราสามารถผลิตเด็กได้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของ สถานประกอบการ ไม่มีปัญหาตีกัน
“ทุกวันนี้ภาคเอกชนต้องการแรงงานฝีมือที่จบในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวนมาก แต่กลุ่มที่จบมายังไม่ตรงกับความต้องการ ซึ่งไม่ใช่ว่า วิทยาลัยไม่เปิดสอนแต่เป็นปัญหาว่าเด็กไม่เลือกเรียน ซึ่งที่ผ่านมามีการเสนอแนวคิดให้รวมอาชีวศึกษาเอกชนกับอาชีวศึกษารัฐเข้าด้วยกัน โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อพัฒนาผู้เรียนในสายอาชีพทั้งรัฐ และเอกชนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีลักษณะคล้ายกับที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ดูแลมหาวิทยาลัยเอกชน เป็นต้น โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากสมาคมวิทยาลัยและเทคโนโลยีอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ก็ตอบรับแนวคิดดังกล่าว ซึ่งหากจะมีการควบรวม ก็จะต้องมีการปรับแก้กฎหมาย โดยเวลานี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่าง ยกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อาชีวศึกษาเอกชน พ.ศ.. เพื่อรองรับ” รศ.นพ.กำจร กล่าว