ผู้สื่่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ลงนามในคำสั่ง สปช. ที่ 20/2558 เรื่องแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจ จำนวน 17 คน ดังนี้ 1. นายเทียนฉาย เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการ 2.พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ที่ปรึกษาคณะกรรมการ 3. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ ประธานกรรมการ 4. ผู้ตรวจราชการ กระทรวงมหาดไทย กรรมการ 5. นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กรรมการ 6. พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน กรรมการ 7. อัยการสูงสุด หรือผู้แทน กรรมการ 8. เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม หรือผู้แทน กรรมการ 9. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กรรมการ 10. พล.ต.อ.ชาญชิต เพียรเลิศ กรรมการ 11. พล.ต.อ.ชัยยง กีรติขจร กรรมการ 12. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กรรมการ 13. นายพงศ์โพยม วาศภูติ กรรมการ 14. นายเช็มชัย ชุติวงศ์ กรรมการ 15. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ กรรมการ 16. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น กรรมการ และ 17.นายวันชัย สอนศิริ กรรมการ และเลขานุการ
ทั้งนี้ ในคำสั่งดังกล่าวกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ สำคัญ ดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจในประเด็นหรือในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดองค์กรและโครงสร้าง อำนาจหน้าที และภารกิจของกิจการตำรวจ การกำหนดกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ การบริหารราชการ และการพัฒนาคุณภาพข้าราชการตำรวจ เพื่อให้กิจการตำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและชอบด้วยหลักธรรมาภิบาล
2.การดำเนินการให้ใช้พื้นฐานแนวคิดและผลการศึกษาจากรายงานการปฏิรูปกิจการตำรวจของคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รายงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ และรายงานกับข้อมูลจากแหล่งอื่นมาเป็นฐานในการพิจารณาด้วย
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโดยความเห็นชอบของประธานสปช.เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
4.จัดทำรายงานแผนปฏิรูปตำรวจฉบับสมบูรณ์เสนอต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ทั้งนี้ ในคำสั่งดังกล่าวกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ สำคัญ ดังนี้
1. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนปฏิรูปกิจการตำรวจในประเด็นหรือในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดองค์กรและโครงสร้าง อำนาจหน้าที และภารกิจของกิจการตำรวจ การกำหนดกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจ การบริหารราชการ และการพัฒนาคุณภาพข้าราชการตำรวจ เพื่อให้กิจการตำรวจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและชอบด้วยหลักธรรมาภิบาล
2.การดำเนินการให้ใช้พื้นฐานแนวคิดและผลการศึกษาจากรายงานการปฏิรูปกิจการตำรวจของคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม รายงานของคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ และรายงานกับข้อมูลจากแหล่งอื่นมาเป็นฐานในการพิจารณาด้วย
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการโดยความเห็นชอบของประธานสปช.เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
4.จัดทำรายงานแผนปฏิรูปตำรวจฉบับสมบูรณ์เสนอต่อประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ